คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2503 ม. 16

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนการกระทำความผิดบุกรุกป่า และการจำกัดขอบเขตการลงโทษตามฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยตัดฟันไม้ แผ้วถางป่า ฯลฯ แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด ดังนี้ จะลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้ใช้ไม่ได้คงลงโทษได้เพียงเป็นผู้สนับสนุน
เมื่อโจทก์ไม่ด้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 11 ก็จะลงโทษจำเลยตามมาตรานี้ตามคำขอท้ายฟ้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกป่า: ที่รกร้างว่างเปล่าถือเป็นป่าตามกฎหมาย แม้ขึ้นทะเบียนสาธารณะประโยชน์
ที่พิพาทไม่ใช่เป็นที่ดินของจำเลย แต่เป็นที่รกร้างว่างเปล่า ย่อมต้องถือว่าเป็นป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4(1) เมื่อจำเลยเข้าทำการแผ้วถางป่านั้นซึ่งยังไม่เคยถูกแผ้วถางมาก่อน และเข้าไปยึดถือครอบครองที่ป่านั้นโดยมิได้รับอนุญาตย่อมต้องมีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 54,72 ตรี ตามที่มีแก้ไขเพิ่มเติมและประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9, 108 แม้โจทก์จะได้กล่าวในฟ้องว่าที่พิพาทนี้เป็นที่ดินซึ่งทางราชการสงวนไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ด้วย ข้อนี้ก็มิใช่องค์ประกอบความผิดของบทกฎหมายดังกล่าว การขึ้นทะเบียนที่ดินนี้ไว้เป็นที่สาธารณะประจำหมู่บ้านจะได้กระทำไปโดยถูกต้องครบถ้วนหรือไม่จึงไม่ใช่ข้อสำคัญ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1862-1863/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์ หากเข้าใจโดยสุจริต ย่อมไม่มีความผิดทางอาญา
จำเลยได้ครอบครองที่พิพาทถึง 30 ปี ได้เสียภาษีบำรุงท้องที่และได้รับ น.ส.3. ต่อมาทางราชการได้รังวัดปักหลักเขตทำเลเลี้ยงสัตว์สาธารณะ. จำเลยได้ฟ้องเจ้าพนักงานเป็นคดีแพ่ง. เมื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน จำเลยยอมรับว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ และฝ่ายเจ้าพนักงานยินยอมให้จำเลยครอบครองที่พิพาทไปก่อน. โดยจะดำเนินการให้ทางราชการถอนสภาพที่พิพาทนั้น เปิดโอกาสให้จำเลยจับจองครอบครองที่พิพาท. แม้จะยังมิได้มีพระราชกฤษฎีกาให้เพิกถอนที่ดินดังกล่าวก็ตาม.ก็เป็นพฤติการณ์ที่ทำให้จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าจำเลยเข้าครอบครองโดยชอบ หาได้จงใจฝ่าฝืนกฎหมายไม่. จึงขาดเจตนาอันเป็นองค์ประกอบความผิดทางอาญา. จำเลยไม่มีความผิด.(อ้างฎีกาที่ 1462/2509).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1862-1863/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการกระทำความผิดทางอาญา: การครอบครองที่ดินโดยสุจริตและพฤติการณ์ที่ทำให้เข้าใจผิด
จำเลยได้ครอบครองที่พิพาทถึง 30 ปี ได้เสียภาษีบำรุงท้องที่และได้รับ น.ส.3. ต่อมาทางราชการได้รังวัดปักหลักเขตทำเลเลี้ยงสัตว์สาธารณะ จำเลยได้ฟ้องเจ้าพนักงานเป็นคดีแพ่ง เมื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน จำเลยยอมรับว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ และฝ่ายเจ้าพนักงานยินยอมให้จำเลยครอบครองที่พิพาทไปก่อน โดยจะดำเนินการให้ทางราชการถอนสภาพที่พิพาทนั้น เปิดโอกาสให้จำเลยจับจองครอบครองที่พิพาท แม้จะยังมิได้มีพระราชกฤษฎีกาให้เพิกถอนที่ดินดังกล่าวก็ตาม ก็เป็นพฤติการณ์ที่ทำให้จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าจำเลยเข้าครอบครองโดยชอบ หาได้จงใจฝ่าฝืนกฎหมายไม่ จึงขาดเจตนาอันเป็นองค์ประกอบความผิดทางอาญา จำเลยไม่มีความผิด (อ้างฎีกาที่ 1462/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1862-1863/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์โดยสุจริตและต่อเนื่อง ย่อมไม่มีความผิดอาญา
จำเลยได้ครอบครองที่พิพาทถึง 30 ปี ได้เสียภาษีบำรุงท้องที่และได้รับ น.ส.3 ต่อมาทางราชการได้รังวัดปักหลักเขตทำเลเลี้ยงสัตว์สาธารณะ จำเลยได้ฟ้องเจ้าพนักงานเป็นคดีแพ่ง เมื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน จำเลยยอมรับว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ และฝ่ายเจ้าพนักงานยินยอมให้จำเลยครอบครองที่พิพาทไปก่อน โดยจะดำเนินการให้ทางราชการถอนสภาพที่พิพาทนั้น เปิดโอกาสให้จำเลยจับจองครอบครองที่พิพาท แม้จะยังมิได้มีพระราชกฤษฎีกาให้เพิกถอนที่ดินดังกล่าวก็ตาม ก็เป็นพฤติการณ์ที่ทำให้จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าจำเลยเข้าครอบครองโดยชอบ หาได้จงใจฝ่าฝืนกฎหมายไม่ จึงขาดเจตนาอันเป็นองค์ประกอบความผิดทางอาญา จำเลยไม่มีความผิด (อ้างฎีกาที่ 1462/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185-195/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษาเดิม แม้จำเลยอ้างการครอบครองต่อเนื่อง ศาลไม่ต้องฟ้องขับไล่ใหม่
คดีที่ศาลพิพากษาให้ลงโทษปรับและให้จำเลยออกจากป่าที่แผ้วถาง. เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา.กล่าวคือ ยังคงครอบครองป่าที่ศาลสั่งให้ออกอยู่ โจทก์จึงมีคำขอต่อศาลให้บังคับคดี. ศาลย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาขั้นบังคับคดีแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 297 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15. โดยไม่จำเป็นจะต้องให้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยในทางแพ่งขึ้นมาใหม่. จำเลยจะอ้างว่าตนได้ครอบครองที่ป่ามาช้านานจนกลายเป็นที่นา.ดังนี้ถือว่า เป็นการอ้างข้อเท็จจริงมาใหม่ขัดกับข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติในทางพิจารณา. หากจะฟังข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างมา ก็เท่ากับให้ดำเนินคดีกับจำเลยใหม่ ซึ่งจะมีผลเป็นการแก้ไขคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วย่อมเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 190.โดยห้ามมิให้แก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอ่านแล้ว.นอกจากถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185-195/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการอ้างข้อเท็จจริงใหม่ขัดกับคำพิพากษาถึงที่สุด ศาลมีอำนาจบังคับคดีได้โดยไม่ต้องฟ้องใหม่
คดีที่ศาลพิพากษาให้ลงโทษปรับและให้จำเลยออกจากป่าที่แผ้วถางเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษากล่าวคือ ยังคงครอบครองป่าที่ศาลสั่งให้ออกอยู่ โจทก์จึงมีคำขอต่อศาลให้บังคับคดีศาลย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาขั้นบังคับคดีแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 297 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โดยไม่จำเป็นจะต้องให้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยในทางแพ่งขึ้นมาใหม่ จำเลยจะอ้างว่าตนได้ครอบครองที่ป่ามาช้านานจนกลายเป็นที่นาดังนี้ถือว่า เป็นการอ้างข้อเท็จจริงมาใหม่ขัดกับข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติในทางพิจารณาหากจะฟังข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างมา ก็เท่ากับให้ดำเนินคดีกับจำเลยใหม่ ซึ่งจะมีผลเป็นการแก้ไขคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วย่อมเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 190โดยห้ามมิให้แก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอ่านแล้วนอกจากถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำขอทางแพ่งและอาญาในคดีบุกรุกป่า และการลดโทษที่ศาลฎีกาแก้ไขได้แม้จำเลยไม่ได้อุทธรณ์
คำขอที่ขอให้บังคับจำเลยออกจากป่าที่จำเลยแผ้วถางครอบครองก่อนใช้พระราชบัญญัติป่าไม้ ฉบับที่ 4 นั้น เป็นคำขอในทางแพ่ง โจทก์มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำขอที่เป็นทางแพ่ง ศาลจึงไม่บังคับให้คำขอที่ขอให้บังคับจำเลยออกจากป่าที่จำเลยแผ้วถางครอบครองภายหลังใช้พระราชบัญญัติดังกล่าว เป็นคำขอในทางอาญา เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยแผ้วถางในที่ตอนใด จึงไม่มีทางจะบังคับให้ได้
ปัญหาที่ว่าความผิดของจำเลยเป็นความผิดต่อเนื่องกันนั้น เป็นปัญหาที่โจทก์มิได้ยกขึ้นว่ามาในชั้นอุทธรณ์จะมายกขึ้นว่าในชั้นฎีกา เป็นการไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นคำนวณลดโทษไม่ถูกต้อง แม้จำเลยมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับให้จำเลยออกจากที่ดินหลังใช้ พ.ร.บ.ป่าไม้ โดยแบ่งแยกช่วงเวลาการกระทำผิดเป็นก่อนและหลังใช้กฎหมาย
คำขอที่ขอให้บังคับจำเลยออกจากป่าที่จำเลยแผ้วถางครอบครองก่อนใช้พระราชบัญญัติป่าไม้ ฉบับที่ 4 นั้น เป็นคำขอให้ทางแพ่ง โจทก์มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำขอที่เป็นทางแพ่งศาลจึงไม่บังคับให้คำขอที่ขอให้บังคับจำเลยออกจากป่าที่จำเลยแผ้วถางครอบครองภายหลังใช้พระราชบัญญัติดังกล่าว เป็นคำขอในทางอาญา เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยแผ้วถางในที่ตอนใด จึงไม่มีทางจะบังคับให้ได้
ปัญหาที่ว่าความผิดของจำเลยเป็นความผิดต่อเนื่องกันนั้นเป็นปัญหาที่โจทก์มิได้ยกขึ้นมาว่าในชั้นอุทธรณ์จะมายกขึ้นว่าในชั้นฎีกา เป็นการไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นคำนวณลดโทษไม่ถูกต้อง แม้จำเลยมิได้ฎีกาศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบท ศาลฎีกาแก้โทษลงบทหนักสุดได้ แม้มีโทษเท่ากัน
การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบทหากศาลล่างลงโทษจำเลยมาทุกบท ศาลฎีกาก็พิพากษาแก้ลงบทที่มีโทษหนักที่สุดให้ถูกต้องได้
หากบทกฎหมายที่จำเลยกระทำผิดกรรมเดียวมีอัตราโทษหนักที่สุดเท่ากันอยู่ 2 บท ศาลก็ลงโทษจำเลยตามบทหนึ่งบทใดในสองบทนั้นได้
of 4