คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 ม. 87

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6043/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปลัดอำเภอทำการแทนนายอำเภอในการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม และประเด็นการนอกฟ้อง
ปัญหาตามฎีกาโจทก์ที่ว่า ว. ได้ลงลายมือชื่อไว้ในเอกสารจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมหรือไม่ เป็นข้อที่ โจทก์ไม่เคยกล่าวไว้ในฟ้องเลย ฉะนั้น ฎีกาโจทก์ ในข้อนี้จึงเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็นแม้ศาลชั้นต้น จะได้สั่งรับฎีกาโจทก์เรื่องนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย ด้วยผลของพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 67 มาตรา 79 และมาตรา 80 ช. ปลัดอำเภอตรี ซึ่งเป็นกรมการอำเภอ หากมียศสูงกว่าผู้อื่นในขณะที่นายอำเภอทำการไม่ได้ในหน้าที่ชั่วคราวช. ก็ต้องเป็นผู้แทนของนายอำเภอมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในตำแหน่งของนายอำเภอที่ตนเป็นผู้แทนหรือต้องกระทำการแทนนั้นทุกอย่าง รวมทั้งการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมรายนี้ด้วย ส่วนข้อที่ว่าให้มีดวงตราประจำตำแหน่งนายอำเภอนั้น ตามมาตรา 78 บัญญัติไว้ในทำนองว่าในเวลาผู้ใดทำการแทนหรือรั้งตำแหน่งนั้นก็ให้ใช้ได้ ซึ่งไม่เป็นข้อกำหนดตายตัวว่าจะต้องใช้ตราดังกล่าวประทับทุกครั้งเสมอไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพัน, อำนาจอำเภอ, การระงับข้อพิพาท
(1) สัญญาใดที่ทั้งสองฝ่ายมีความประสงค์จะระงับข้อพิพาทโดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน คือ โจทก์ยอมถอนฟ้องคดีซึ่งอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล กับทั้งจะไม่เรียกร้องเกี่ยวข้องด้วยทรัพย์สินใดๆ ของจำเลยต่อไป และฝ่ายจำเลยก็ยอมให้เงินแก่โจทก์จำนวนหนึ่งเป็นการตอบแทนสัญญานั้นย่อมเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 (2) คดีที่ฟ้องร้องอยู่ในศาลแล้ว ไม่จำเป็นที่คู่กรณีจะต้องทำสัญญาดังกล่าวในข้อ (1) นั้น แต่เฉพาะในศาลเท่านั้น อาจจะทำกันนอกศาลก็ได้ ขอแต่ให้ถูกต้องตามแบบในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 (3) สัญญาประนีประนอมยอมความตามที่กล่าวในข้อ (1)(2)นั้น แม้จะเกี่ยวด้วยทรัพย์ราคามากกว่า 200 บาท ซึ่งเกินจำนวนราคาที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 108 ก็ตาม แต่อำเภอย่อมมีอำนาจทำให้ได้ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว มาตรา 87 ถ้าเป็นเรื่องที่โจทก์จำเลยตกลงกันให้อำเภอทำ ส่วนตามมาตรา108 นั้น เป็นเรื่องที่กฎหมายให้อำนาจกรมการอำเภอหมายเรียกคู่กรณีมาเปรียบเทียบ (4) ผลของสัญญาดังกล่าวในข้อ (1) ถึง (3) ย่อมทำให้การเรียกร้องที่โจทก์ได้ยอมสละไว้สิ้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 และสิทธิดำเนินคดีต่อไปย่อมระงับหมดสิ้นลง แม้จำเลยไม่ฟ้องแย้งให้ถอนฟ้องศาลก็พิพากษายกฟ้องได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพันทางกฎหมายและการระงับข้อพิพาทนอกศาล
(1) สัญญาใดที่ทั้งสองฝ่ายมีความประสงค์จะระงับข้อพิพาทโดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน คือ โจทก์ยอมถอนฟ้องคดีซึ่งอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล กับทั้งจะไม่เรียกร้องเกี่ยวข้องด้วยทรัพย์สินใด ๆ ของจำเลยต่อไป และฝ่ายจำเลยก็ยอมให้เงินแก่โจทก์จำนวนหนึ่งเป็นการตอบแทน สัญญานั้นย่อมเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850
(2) คดีที่ฟ้องร้องอยู่ศาลแล้ว ไม่จำเป็นที่คู่กรณีจะต้องทำสัญญาดังกล่าวในข้อ (1) นั้น แต่เฉพาะในศาลเท่านั้น อาจจะทำกันนอกศาลก็ได้ ขอแต่ให้ถูกต้องตามแบบในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 850
(3) สัญญาประนีประนอมยอมความตามที่กล่าวในข้อ (1) (2) นั้น แม้จะเกี่ยวด้วยทรัพย์ราคามากกว่า 200 บาท ซึ่งเกินจำนวนราคาที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 108 ก็ตาม แต่อำเภอย่อมมีอำนาจทำให้ได้ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว มาตรา 87 ถ้าเป็นเรื่องที่โจทก์จำเลยตกลงกันให้อำเเภอทำ ส่วนตามมาตรา 108 นั้น เป็นเรื่องที่กฎหมายให้อำนาจกรมการอำเภอหมายเรียกคู่กรณีมาเปรียบเทียบ
(4) ผลของสัญญาดังกล่าวในข้อ (1) ถึง (3) ย่อมทำให้การเรียกร้องที่โจทก์ได้ยอมสละไว้สิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 852 และสิทธิดำเนินคดีต่อไปย่อมระงับหมดสิ้นลง แม้จำเลยไม่ฟ้องแย้งให้ถอนฟ้อง ศาลก็พิพากษายกฟ้องได้.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2506)