พบผลลัพธ์ทั้งหมด 252 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2569/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บัญชีเดินสะพัด: การตัดบัญชีที่ถูกต้องและการฟ้องเรียกหนี้คงเหลือ ไม่เป็นลาภมิควรได้
ธนาคารนำเช็คของผู้อื่นเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยผิดไปธนาคารเพิกถอนรายการนั้นได้ จำเลยขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคาร ธนาคารอนุมัติ ถือเป็นบัญชีเดินสะพัดตาม มาตรา 856 จำเลยนำเงินเข้าและเบิกเงินไปตลอดมา ธนาคารเรียกเงินคงเหลือจากจำเลยเมื่อตัดทอนบัญชีเดินสะพัด ไม่ใช่ลาภมิควรได้ ไม่ใช้อายุความ 1 ปีตาม มาตรา 419
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้น พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ไม่คุ้มครองราษฎรที่มีอาวุธของทางราชการ
พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ.2490 มาตรา 5(1) ที่บัญญัติว่า "พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ (1) อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนของราชการทหารและตำรวจ ฯลฯ" นั้น มีความหมายถึง อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน ฯลฯ ของทางราชการทหารหรือตำรวจ ที่เป็นไปตามระเบียบของทางราชการจึงได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ มิได้มีความหมายเลยไปถึงราษฎรเช่นจำเลยซึ่งมีอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนของทางราชการตำรวจแล้วจะไม่เป็นความผิด จำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองโดยบทบัญญัติมาตรานี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2448/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งเตือนการพนันเพื่อหลบหนี: ความผิดตามมาตรา 189 ป.อาญา
เจ้าพนักงานตำรวจได้เข้าทำการจับกุมพวกลักลอบเล่นการพนันไฮโลว์โดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยร้องบอกพวกที่เล่นการพนันดังกล่าวว่า "ตำรวจมา ตำรวจมา" พวกที่เล่นการพนันบางคนหลบหนีการจับกุมของเจ้าพนักงานไปได้ พฤติการณ์ของจำเลยที่ร้องบอกพวกที่เล่นการพนันดังกล่าวก็ด้วยมีเจตนาที่จะให้ผู้เล่นการพนันรู้ตัวเพื่อจะหลบหนีไป การกระทำของจำเลยจึงเข้าลักษณะของการช่วยด้วยประการใดๆ แก่ผู้กระทำความผิดเพื่อไม่ให้ถูกจับกุมดังบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2376-2389/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่ผู้เช่าโดยตัวแทน แม้ไม่มีหลักฐานหนังสือแต่งตั้งตัวแทน
จำเลยเช่าแผงลอยและห้องเช่าจาก ช. ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์แม้การเช่าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ขับไล่จำเลยได้ การตั้งตัวแทนไม่มีหนังสือเป็นข้อสำคัญเมื่อฟ้องให้ตัวการรับผิดตามสัญญาเช่าเท่านั้น แต่ไม่จำเป็นต้องมีหนังสือตั้งตัวแทนเมื่อตัวการฟ้องขับไล่ผู้เช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2333/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาประนีประนอมยอมความ เริ่มนับแต่วันที่จำเลยแต่งตั้งโจทก์กลับเข้าทำงาน แม้ป่วยจนไม่สามารถปฏิบัติงานได้
จำเลยกับโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ยอมชำระเงินค่าเสียหายแก่จำเลย จำเลยจะย้ายโจทก์มาเป็นผู้จัดการสาขาธนาคารจำเลยที่ชลบุรี จำเลยสั่งย้ายแล้วโจทก์ป่วยมารับทำงานไม่ได้ ไม่เป็นเหตุที่โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ไม่สามารถบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความที่โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยไม่ย้ายโจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีกำหนด 10 ปี นับแต่วันทำสัญญา จำเลยฟ้องให้โจทก์ชำระเงินตามยอม ศาลพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้ว ไม่ใช่ฐานที่ตั้งของสิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งอาศัยสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นมูลหนี้ จึงไม่นับอายุความ 10 ปีตั้งแต่วันที่ศาลพิพากษาคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2330/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันภาษีอากรต่างด้าว: ความรับผิดเมื่อไม่กลับเข้าประเทศภายใน 180 วัน
ที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 4 อัฏฐ บัญญัติให้คนต่างด้าวซึ่งมีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศเป็นปกติธุรเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพยื่นคำร้องขอรับใบผ่านภาษีอากรโดยมีหลักประกันหรือหลักทรัพย์อยู่ในประเทศไทยพอคุ้มค่าภาษีอากรที่ค้างหรือที่จะต้องชำระนั้น ก็เพียงป้องกันไม่ให้รัฐต้องขาดรายได้จากภาษีอากรที่คนต่างด้าวค้างชำระหรือที่จะต้องชำระ เพราะเหตุที่คนต่างด้าวออกจากประเทศไทยไปแล้วไม่กลับเข้ามาในประเทศไทยอีก
จำเลยทำสัญญาค้ำประกัน อ.คนต่างด้าวไว้ต่อโจทก์ เนื่องจากเหตุที่ อ.มีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศ และร้องขอรับใบผ่านภาษีอากรนั้นเป็นการค้ำประกันการเดินทางไปต่างประเทศของ อ.ว่า เมื่อ อ.ไปต่างประเทศแล้วจะต้องเดินทางกลับมาประเทศไทยภายใน 180 วันนับแต่วันออกใบผ่านภาษีอากร ดังนั้น ที่สัญญาค้ำประกันระบุว่า "หากทางราชการจะเรียกร้อง (ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร) เอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก ข้าพเจ้า (จำเลย) ยินยอมชำระแทนให้จนครบถ้วนทั้งสิ้น" นั้น หมายถึงว่าถ้า อ.ไม่เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนั้นนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรหากทางราชการจะเรียกร้องภาษีอากรเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก จำเลยยินยอมชำระแทนให้จนครบ มิใช่หมายความว่าแม้ อ.เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วัน นับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรแล้ว หากทางราชการจะเรียกร้องเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวกแล้วจำเลยยังจะต้องรับผิดชำระแทนครบถ้วน
อ.คนต่างด้าวได้รับใบผ่านภาษีอากรประเภทเดินทางหลายครั้ง (ระบบ ผ.3 ก) มีสิทธิใช้ใบผ่านภาษีอากรเดินทางไปต่างประเทศได้หลายครั้ง แต่ต้องเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรแล้ว เมื่อ อ.ได้เดินทางไปต่างประเทศแล้วกลับเข้ามาในประเทศไทย หลังจากนั้นก็ได้เดินทางไปต่างประเทศอีกภายใน 180 วันนั้นแล้วไม่ได้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยอีกเลย ดังนี้ สัญญาค้ำประกันดังกล่าวหาได้ระงับไปเพราะ อ.กลับเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกไม่ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ภาษีอากรแทน อ.ตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยขอค้ำประกัน อ.ต่อโจทก์ว่า ถ้า อ.มีหน้าที่จะต้องเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรไม่ว่าในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะแทนผู้อื่น หากทางราชการจะเรียกร้องเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก จำเลยยินยอมชำระแทนให้จนครบถ้วน ดังนั้นหนี้อากรแสตมป์และเงินเพิ่มที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. โดย อ.หุ้นส่วนผู้จัดการค้างชำระอยู่ก่อนที่จำเลยจะค้ำประกัน อ. แม้เจ้าพนักงานประเมินจะแจ้งให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.นำเงินอากรแสตมป์และเงินเพิ่มไปชำระหลังจากที่จำเลยค้ำประกัน อ.จำเลยก็จะต้องรับผิดเพราะหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ อ.ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องชำระให้โจทก์ เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.ที่ อ.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการผิดนัดไม่ชำระภาษีอากรต้องถือว่า อ.ผิดนัดด้วย โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้ฟ้องให้จำเลยผู้ค้ำประกันชำระหนี้ภาษีอากรแทน อ.ได้ โดยไม่จำต้องทวงถามจำเลยก่อน และไม่จำต้องเรียกร้องหรือทวงถามให้ อ.รับผิดเป็นส่วนตัวก่อน
จำเลยทำสัญญาค้ำประกัน อ.คนต่างด้าวไว้ต่อโจทก์ เนื่องจากเหตุที่ อ.มีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศ และร้องขอรับใบผ่านภาษีอากรนั้นเป็นการค้ำประกันการเดินทางไปต่างประเทศของ อ.ว่า เมื่อ อ.ไปต่างประเทศแล้วจะต้องเดินทางกลับมาประเทศไทยภายใน 180 วันนับแต่วันออกใบผ่านภาษีอากร ดังนั้น ที่สัญญาค้ำประกันระบุว่า "หากทางราชการจะเรียกร้อง (ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร) เอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก ข้าพเจ้า (จำเลย) ยินยอมชำระแทนให้จนครบถ้วนทั้งสิ้น" นั้น หมายถึงว่าถ้า อ.ไม่เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนั้นนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรหากทางราชการจะเรียกร้องภาษีอากรเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก จำเลยยินยอมชำระแทนให้จนครบ มิใช่หมายความว่าแม้ อ.เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วัน นับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรแล้ว หากทางราชการจะเรียกร้องเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวกแล้วจำเลยยังจะต้องรับผิดชำระแทนครบถ้วน
อ.คนต่างด้าวได้รับใบผ่านภาษีอากรประเภทเดินทางหลายครั้ง (ระบบ ผ.3 ก) มีสิทธิใช้ใบผ่านภาษีอากรเดินทางไปต่างประเทศได้หลายครั้ง แต่ต้องเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรแล้ว เมื่อ อ.ได้เดินทางไปต่างประเทศแล้วกลับเข้ามาในประเทศไทย หลังจากนั้นก็ได้เดินทางไปต่างประเทศอีกภายใน 180 วันนั้นแล้วไม่ได้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยอีกเลย ดังนี้ สัญญาค้ำประกันดังกล่าวหาได้ระงับไปเพราะ อ.กลับเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกไม่ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ภาษีอากรแทน อ.ตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยขอค้ำประกัน อ.ต่อโจทก์ว่า ถ้า อ.มีหน้าที่จะต้องเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรไม่ว่าในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะแทนผู้อื่น หากทางราชการจะเรียกร้องเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก จำเลยยินยอมชำระแทนให้จนครบถ้วน ดังนั้นหนี้อากรแสตมป์และเงินเพิ่มที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. โดย อ.หุ้นส่วนผู้จัดการค้างชำระอยู่ก่อนที่จำเลยจะค้ำประกัน อ. แม้เจ้าพนักงานประเมินจะแจ้งให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.นำเงินอากรแสตมป์และเงินเพิ่มไปชำระหลังจากที่จำเลยค้ำประกัน อ.จำเลยก็จะต้องรับผิดเพราะหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ อ.ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องชำระให้โจทก์ เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.ที่ อ.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการผิดนัดไม่ชำระภาษีอากรต้องถือว่า อ.ผิดนัดด้วย โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้ฟ้องให้จำเลยผู้ค้ำประกันชำระหนี้ภาษีอากรแทน อ.ได้ โดยไม่จำต้องทวงถามจำเลยก่อน และไม่จำต้องเรียกร้องหรือทวงถามให้ อ.รับผิดเป็นส่วนตัวก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2330/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันภาษีอากรของคนต่างด้าวมีผลผูกพันเมื่อผู้ค้ำประกันต้องชำระแทนเนื่องจากผู้ถูกค้ำประกันไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
ที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 4อัฏฐ บัญญัติให้คนต่างด้าวซึ่งมีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศเป็นปกติธุระ เกี่ยวกับการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพยื่นคำร้องขอรับใบผ่านภาษีอากรโดยมีหลักประกันหรือหลักทรัพย์อยู่ในประเทศไทยพอคุ้มค่าภาษีอากรที่ค้างหรือที่จะต้องชำระนั้น ก็เพียงป้องกันไม่ให้รัฐต้องขาดรายได้จากภาษีอากรที่คนต่างด้าวค้างชำระหรือที่จะต้องชำระ เพราะเหตุที่คนต่างด้าวออกจากประเทศไทยไปแล้วไม่กลับเข้ามาในประเทศไทยอีก
จำเลยทำสัญญาค้ำประกัน อ.คนต่างด้าวไว้ต่อโจทก์ เนื่องจากเหตุที่ อ.มีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศ และร้องขอรับใบผ่านภาษีอากรนั้นเป็นการค้ำประกันการเดินทางไปต่างประเทศของ อ.ว่าเมื่ออ.ไปต่างประเทศแล้วจะต้องเดินทางกลับมาประเทศไทยภายใน 180 วันนับแต่วันออกใบผ่านภาษีอากร ดังนั้น ที่สัญญาค้ำประกันระบุว่า"หากทางราชการจะเรียกร้อง (ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร)เอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก ข้าพเจ้า (จำเลย) ยินยอมชำระแทนให้จนครบถ้วนทั้งสิ้น" นั้น หมายถึงว่าถ้าอ.ไม่เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนั้นนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรหากทางราชการจะเรียกร้องภาษีอากรเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก จำเลยยินยอมชำระแทนให้จนครบ มิใช่หมายความว่าแม้ อ.เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรแล้ว หากทางราชการจะเรียกร้องเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวกแล้วจำเลยยังจะต้องรับผิดชำระแทนจนครบถ้วน
อ.คนต่างด้าวได้รับใบผ่านภาษีอากรประเภทเดินทางหลายครั้ง(ระบบ ผ.3ก) มีสิทธิใช้ใบผ่านภาษีอากรเดินทางไปต่างประเทศได้หลายครั้ง แต่ต้องเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรแล้ว เมื่อ อ.ได้เดินทางไปต่างประเทศแล้วกลับเข้ามาในประเทศไทย หลังจากนั้นก็ได้เดินทางไปต่างประเทศอีกภายใน 180 วันนั้นแล้วไม่ได้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยอีกเลย ดังนี้ สัญญาค้ำประกันดังกล่าวหาได้ระงับไปเพราะ อ.กลับเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกไม่ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ภาษีอากรแทน อ.ตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยขอค้ำประกัน อ.ต่อโจทก์ว่าถ้าอ.มีหน้าที่จะต้องเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรไม่ว่าในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะแทนผู้อื่น หากทางราชการจะเรียกร้องเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก จำเลยยินยอมชำระแทนให้จนครบถ้วนดังนั้นหนี้อากรแสตมป์และเงินเพิ่มที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดบ. โดย อ.หุ้นส่วนผู้จัดการค้างชำระอยู่ก่อนที่จำเลยจะค้ำประกันอ. แม้เจ้าพนักงานประเมินจะแจ้งให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. นำเงินอากรแสตมป์และเงินเพิ่มไปชำระหลังจากที่จำเลยค้ำประกัน อ. จำเลยก็จะต้องรับผิดเพราะหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ อ. ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องชำระให้โจทก์ เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. ที่อ. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการผิดนัดไม่ชำระภาษีอากรต้องถือว่า อ. ผิดนัดด้วย โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้ฟ้องให้จำเลยผู้ค้ำประกันชำระหนี้ภาษีอากรแทน อ.ได้ โดยไม่จำต้องทวงถามจำเลยก่อน และไม่จำต้องเรียกร้องหรือทวงถามให้อ. รับผิดเป็นส่วนตัวก่อน
จำเลยทำสัญญาค้ำประกัน อ.คนต่างด้าวไว้ต่อโจทก์ เนื่องจากเหตุที่ อ.มีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศ และร้องขอรับใบผ่านภาษีอากรนั้นเป็นการค้ำประกันการเดินทางไปต่างประเทศของ อ.ว่าเมื่ออ.ไปต่างประเทศแล้วจะต้องเดินทางกลับมาประเทศไทยภายใน 180 วันนับแต่วันออกใบผ่านภาษีอากร ดังนั้น ที่สัญญาค้ำประกันระบุว่า"หากทางราชการจะเรียกร้อง (ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร)เอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก ข้าพเจ้า (จำเลย) ยินยอมชำระแทนให้จนครบถ้วนทั้งสิ้น" นั้น หมายถึงว่าถ้าอ.ไม่เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนั้นนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรหากทางราชการจะเรียกร้องภาษีอากรเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก จำเลยยินยอมชำระแทนให้จนครบ มิใช่หมายความว่าแม้ อ.เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรแล้ว หากทางราชการจะเรียกร้องเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวกแล้วจำเลยยังจะต้องรับผิดชำระแทนจนครบถ้วน
อ.คนต่างด้าวได้รับใบผ่านภาษีอากรประเภทเดินทางหลายครั้ง(ระบบ ผ.3ก) มีสิทธิใช้ใบผ่านภาษีอากรเดินทางไปต่างประเทศได้หลายครั้ง แต่ต้องเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรแล้ว เมื่อ อ.ได้เดินทางไปต่างประเทศแล้วกลับเข้ามาในประเทศไทย หลังจากนั้นก็ได้เดินทางไปต่างประเทศอีกภายใน 180 วันนั้นแล้วไม่ได้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยอีกเลย ดังนี้ สัญญาค้ำประกันดังกล่าวหาได้ระงับไปเพราะ อ.กลับเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกไม่ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ภาษีอากรแทน อ.ตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยขอค้ำประกัน อ.ต่อโจทก์ว่าถ้าอ.มีหน้าที่จะต้องเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรไม่ว่าในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะแทนผู้อื่น หากทางราชการจะเรียกร้องเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก จำเลยยินยอมชำระแทนให้จนครบถ้วนดังนั้นหนี้อากรแสตมป์และเงินเพิ่มที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดบ. โดย อ.หุ้นส่วนผู้จัดการค้างชำระอยู่ก่อนที่จำเลยจะค้ำประกันอ. แม้เจ้าพนักงานประเมินจะแจ้งให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. นำเงินอากรแสตมป์และเงินเพิ่มไปชำระหลังจากที่จำเลยค้ำประกัน อ. จำเลยก็จะต้องรับผิดเพราะหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ อ. ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องชำระให้โจทก์ เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. ที่อ. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการผิดนัดไม่ชำระภาษีอากรต้องถือว่า อ. ผิดนัดด้วย โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้ฟ้องให้จำเลยผู้ค้ำประกันชำระหนี้ภาษีอากรแทน อ.ได้ โดยไม่จำต้องทวงถามจำเลยก่อน และไม่จำต้องเรียกร้องหรือทวงถามให้อ. รับผิดเป็นส่วนตัวก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2269/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผิดแบบสัญญา แม้ผู้ควบคุมงานสั่ง แต่จำเลยไม่ยินยอม ถือเป็นฝ่ายผิดสัญญา
โจทก์เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างอาคารให้จำเลย โจทก์สร้างฐานรากอาคารบางกว่าแบบแปลนที่กำหนดไว้ แม้ได้กระทำไปตามที่ผู้ควบคุมงานของจำเลยเป็นผู้สั่ง แต่เมื่อผู้ควบคุมงานมีหน้าที่ควบคุมให้การก่อสร้างเป็นไปตามแบบแปลน ไม่มีอำนาจสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขแบบแปลนโดยมิได้รับความยินยอมจากจำเลยหรือคณะกรรมการดูแลการก่อสร้างของจำเลยการที่โจทก์ก่อสร้างฐานรากอาคารบางกว่าแบบแปลนจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา และเมื่อโจทก์ไม่ยอมแก้ไขฐานรากให้ถูกต้อง จำเลยจึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญา
ฐานรากที่โจทก์ก่อสร้างบางกว่าแบบแปลนจะแก้ไขให้ถูกต้องไม่ได้ นอกจากรื้อทิ้งแล้วก่อสร้างใหม่ ฐานรากที่โจทก์ก่อสร้างไว้จึงไม่เป็นประโยชน์แก่จำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดกำไร และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างจากจำเลย
ฐานรากที่โจทก์ก่อสร้างบางกว่าแบบแปลนจะแก้ไขให้ถูกต้องไม่ได้ นอกจากรื้อทิ้งแล้วก่อสร้างใหม่ ฐานรากที่โจทก์ก่อสร้างไว้จึงไม่เป็นประโยชน์แก่จำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดกำไร และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2269/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างฐานรากไม่ตรงแบบ แม้ผู้ควบคุมงานสั่ง แต่ผู้รับเหมาผิดสัญญา หากไม่แก้ไข จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญา
โจทก์เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างอาคารให้จำเลย โจทก์สร้างฐานรากอาคารบางกว่าแบบแปลนที่กำหนดไว้ แม้ได้กระทำไปตามที่ผู้ควบคุมงานของจำเลยเป็นผู้สั่ง แต่เมื่อผู้ควบคุมงานมีหน้าที่ควบคุมให้การก่อสร้างเป็นไปตามแบบแปลน ไม่มีอำนาจสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขแบบแปลน โดยมิได้รับความยินยอมจากจำเลยหรือคณะกรรมการดูแลการก่อสร้างของจำเลย การที่โจทก์ก่อสร้างฐานรากอาคารบางกว่าแบบแปลนจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา และเมื่อโจทก์ไม่ยอมแก้ไขฐานรากให้ถูกต้อง จำเลยจึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญา
ฐานรากที่โจทก์ก่อสร้างบางกว่าแบบแปลนจะแก้ไขให้ถูกต้องไม่ได้ นอกจากรื้อทิ้งแล้วก่อสร้างใหม่ ฐานรากที่โจทก์ก่อสร้างไว้จึงไม่เป็นประโยชน์แก่จำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดกำไร และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างจากจำเลย
ฐานรากที่โจทก์ก่อสร้างบางกว่าแบบแปลนจะแก้ไขให้ถูกต้องไม่ได้ นอกจากรื้อทิ้งแล้วก่อสร้างใหม่ ฐานรากที่โจทก์ก่อสร้างไว้จึงไม่เป็นประโยชน์แก่จำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดกำไร และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนกับการจดทะเบียนเช่า: การผูกพันตามข้อตกลง
จำเลยถมดินในที่ดินของ ส. ที่เป็นที่หนองและที่บ่อแล้วปลูกเรือนอยู่อาศัย เสียค่าใช้จ่ายทั้งหมดเป็นเงิน 237,000 บาท เฉพาะค่าถมดินเป็นเงิน 20,000 บาทเศษ โดยมี ข้อตกลงด้วยวาจากับ ส. ว่าจะให้จำเลยเช่าอยู่จนตลอดชีวิต ตามข้อตกลงและพฤติการณ์ดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อจำเลยได้ปฏิบัติตามข้อตกลงแล้ว ย่อมผูกพันโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ให้ต้องไปจดทะเบียนการเช่าให้แก่จำเลย