คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุจริต เสถียรกาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 252 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลฎีกา: การเสียค่าขึ้นศาลตามลักษณะคำร้อง และผลของการถอนฎีกาต่อการเรียกร้องค่าขึ้นศาลคืน
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ มิได้ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดข้อแพ้ชนะในข้อหาแห่งคดี หรือขอให้พิพากษาให้โจทก์ชนะคดี จึงควรเสียค่าขึ้นศาล 50 บาท โจทก์ได้เสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้อง แต่มิได้โต้แย้งว่าศาลชั้นต้นกำหนดหรือคำนวณค่าฤชาธรรมเนียมไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และศาลอุทธรณ์มิได้สั่งให้คืนค่าขึ้นศาลที่เสียเกินมาให้แก่โจทก์ในชั้นฎีกา แม้โจทก์จะขอให้ศาลฎีกาสั่งคืนค่าขึ้นศาลที่เสียเกินไปให้แก่โจทก์ แต่โจทก์ก็ขอถอนฎีกาเสียแล้ว ปัญหาค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์จึงเป็นอันยุติ โจทก์จะกลับมาขอให้ศาลคืนค่าขึ้นศาลที่เสียเกินไปนั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1502/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายกำหนดเวลาไถ่ขายฝากขัดต่อกฎหมาย เป็นโมฆะ แม้มีข้อตกลงให้ซื้อคืน
โจทก์จดทะเบียนขายฝากที่พิพาทแก่จำเลย ก่อนครบกำหนดไถ่ถอนโจทก์จำเลยทำสัญญากันว่า โจทก์ยืมเงินจำเลยจำนวนหนึ่ง โจทก์ขอต่อสัญญาขายฝากออกไปอีก 5 เดือน จำเลยจะไม่ขายที่ดินแปลงที่ขายฝากให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใด ถ้าโจทก์นำเงินจำนวนดังกล่าวมาชำระ จำเลยจะโอนให้จะไม่คิดเกินราคาในสัญญานี้ ต่อมาโจทก์จำเลยทำสัญญากันอีกว่า โจทก์ได้นำเงินมาชำระให้จำเลยส่วนหนึ่ง ขอต่อสัญญาไปอีก ดังนี้ ข้อตกลงตามหนังสือสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวเป็นการขยายกำหนดเวลาไถ่ มิใช่เป็นคำมั่นว่าจำเลยตกลงจะขายที่พิพาทคืนให้โจทก์ จึงเป็นโมฆะเพราะขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 496

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1502/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายกำหนดเวลาไถ่ขายฝากขัดต่อกฎหมาย และสัญญานั้นเป็นโมฆะ
โจทก์จดทะเบียนขายฝากที่พิพาทแก่จำเลย ก่อนครบกำหนดไถ่ถอนโจทก์จำเลยทำสัญญากันว่า โจทก์ยืมเงินจำเลยจำนวนหนึ่ง โจทก์ขอต่อสัญญาขายฝากออกไปอีก 5 เดือน จำเลยจะไม่ขายที่ดินแปลงที่ขายฝากให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใด ถ้าโจทก์นำเงินจำนวนดังกล่าวมาชำระจำเลยจะโอนให้จะไม่คิดเกินราคาในสัญญานี้ ต่อมาโจทก์จำเลยทำสัญญากันอีกว่าโจทก์ได้นำเงินมาชำระให้จำเลยส่วนหนึ่ง ขอต่อสัญญาไปอีก ดังนี้ข้อตกลงตามหนังสือสัญญากู้ทั้งสองฉบับดังกล่าวเป็นการขายกำหนดเวลาไถ่ มิใช่เป็นคำมั่นว่าจำเลยตกลงจะขายที่พิพาทคืนให้โจทก์จึงเป็นโมฆะเพราะขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 496

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1429/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานออกเช็คโดยไม่มีวันที่ และอำนาจฟ้องของผู้เสียหายร่วม
จำเลยออกเช็คชำระหนี้ค่าเนื้อที่ซื้อไปจาก ป.ให้แก่ ส. ป.และ ส.เป็นสามีภริยากัน ดำเนินกิจการค้าเนื้อ ย่อมเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน แม้ ส.จะนำเช็คไปเข้าบัญชี ป. เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ย่อมเกิดความเสียหายแก่ทั้ง ป. และ ส. ดังนั้น ส.จึงเป็นผู้เสียหายด้วย มีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้
จำเลยออกเช็คโดยมิได้ลงวันที่สั่งจ่าย วันสั่งจ่ายในเช็คที่ใช้ตรายางประทับเกิดขึ้นภายหลังโดยจำเลยมิได้รู้เห็นด้วย การที่จำเลยออกเช็คโดยมิได้ลงวันที่สั่งจ่ายเช่นนี้ ถือได้ว่าไม่มีวันที่จำเลยผู้ออกเช็คกระทำผิด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด(อ้างฎีกาที่ 89 - 90/2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1165/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในข้อเท็จจริงและการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ครบถ้วน ศาลฎีกายกเลิกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งแปดร่วมกันตัดฟันต้นไม้ของผู้เสียหาย ขอให้ลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์ จำเลยทั้งแปดให้การต่อสู้ว่าต้นไม้ตามฟ้องเป็นของจำเลยที่ 8 จำเลยที่ 8 เป็นผู้ว่าจ้างวานจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ตัดฟัน ศาลชั้นต้นฟังว่าต้นไม้นั้นเป็นของผู้เสียหาย พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 8 แต่เห็นว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 สำคัญผิดในข้อเท็จจริง จึงให้ปล่อยตัวพ้นข้อหาไป โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้สำคัญผิดในข้อเท็จจริง จำเลยที่ 8 อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาแต่เฉพาะจำเลยที่ 8 เห็นว่า คดีฟังไม่ได้ว่าต้นไม้ที่จำเลยตัดฟันเป็นของผู้เสียหาย พิพากษาแก้ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 8 ด้วย โดยไม่พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ ดังนี้ เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาโดยไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาความ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1165/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในข้อเท็จจริงกับการกระทำความผิดทางอาญา ศาลอุทธรณ์ต้องพิจารณาอุทธรณ์ทั้งหมด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งแปดร่วมกันตัดฟันต้นไม้ของผู้เสียหายขอให้ลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์ จำเลยทั้งแปดให้การต่อสู้ว่าต้นไม้ตามฟ้องเป็นของจำเลยที่ 8 จำเลยที่ 8 เป็นผู้จ้างวานจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ตัดฟันศาลชั้นต้นฟังว่าต้นไม้นั้นเป็นของผู้เสียหาย พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 8 แต่เห็นว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 สำคัญผิดในข้อเท็จจริง จึงให้ปล่อยตัวพ้นข้อหาไป โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้สำคัญผิดในข้อเท็จจริงจำเลยที่ 8 อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาแต่เฉพาะจำเลยที่ 8 เห็นว่า คดีฟังไม่ได้ว่าต้นไม้ที่จำเลยตัดฟันเป็นของผู้เสียหาย พิพากษาแก้ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 8 ด้วย โดยไม่พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ ดังนี้เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาโดยไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาความศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารและการข่มขืนกระทำชำเราเป็นคนละกระทงกัน
จำเลยใช้กำลังฉุดลากพาผู้เสียหายเข้าไปในป่าห่างทางประมาณ 10 วาเศษแล้วข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารกระทงหนึ่งแล้ว และเป็นความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราอีกกระทงหนึ่งมิใช่เป็นความผิดฐานข่มขืนกระชำเราแต่เพียงกระทงเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารและการข่มขืน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระ
จำเลยใช้กำลังฉุดลากพาผู้เสียหายเข้าไปในป่าห่างทางประมาณ 10 วาเศษ แล้วข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารกระทงหนึ่งแล้ว และเป็นความผิดฐานข่มชืนกระทำชำเราอีกกระทงหนึ่ง มิใช่เป็นความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราแต่เพียงกระทงเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1103/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่านาสิ้นสุดก่อนบังคับใช้ พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 ไม่อยู่ในบังคับมาตรา 28(4)
การเช่านาสิ้นสุดลงก่อนพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 ใช้บังคับ กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 46 และไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 5 ที่ให้ถือว่าการเช่านามีกำหนด 6 ปี เพราะมาตรา 5 เป็นบทบัญญัติทั่วไปให้บังคับแก่การเช่านาภายหลังพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 ใช้บังคับ
ในขณะเกิดเหตุ ผู้เสียหายมิใช่ผู้เช่านาจากจำเลย จะนำมาตรา 28(4) บังคับแก่จำเลยมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีหนี้ร่วม และการฟ้องล้มละลาย: ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิเจ้าหนี้ในการบังคับคดีต่อลูกหนี้ร่วมและผู้ค้ำประกัน
คำพิพากษาในคดีแพ่งที่พิพากษาให้จำเลยทั้ง 4 ร่วมกันชำระหนี้ตามฟ้องให้โจทก์ โดยให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 รับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ค้ำประกัน หากไม่ชำระ ให้ยึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 3 ออกขายทอดตลาด ถ้าได้เงินไม่พอ ให้ยึดทรัพย์อื่นของจำเลยที่ 3 ออกขายทอดตลาดชำระจนครบ นั้น หมายถึงการบังคับคดีเกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ในกรณีที่จำเลยที่ 3 ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา หาได้หมายความว่าให้โจทก์บังคับคดีเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 โดยสิ้นเชิงก่อน ถ้าได้เงินไม่พอจึงจะบังคับเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 4 ไม่ จำเลยที่ 4 อยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยคนใดคนหนึ่งชำระหนี้โดยสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องและบังคับจำเลยที่ 4 ให้ชำระหนี้ที่ยังเหลือจากที่โจทก์ได้รับจากจำเลยที่ 3 และอาศัยหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนไม่น้อยกว่าสามหมื่นบาท เป็นมูลฟ้องให้ล้มละลายได้
จำเลยกล่าวในฎีกาแต่เพียงว่า ยังไม่มีเหตุผลสมควรที่ะให้จำเลยล้มละลายได้มิได้กล่าวข้อเท็จจริงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยไม่ใช่บุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือมีฐานะมีทรัพย์สินอาจชำระหนี้ให้ครบได้อย่างไร หรือมีเหตุอื่นใดบ้างที่ไม่ควรให้ล้มละลาย ดังนี้ ฎีกาของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 7 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
of 26