พบผลลัพธ์ทั้งหมด 252 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 92/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมแปลงเงินตรา: ลงโทษกระทงเดียวตามมาตรา 248
เมื่อจำเลยทำปลอมเงินตราเป็นเหรียญกษาปณ์ราคาอันละห้าบาทซึ่งรัฐบาลไทยออกใช้ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 240 และจำเลยมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งเงินตราที่จำเลยทำปลอมขึ้นดังกล่าว เป็นความผิดตามมาตรา 244 กับจำเลยทำและมีเครื่องมือและวัตถุสำหรับทำปลอมเงินตราดังกล่าวด้วย เป็นความผิดตามมาตรา 246 จำเลยกระทำความผิดตามมาตรา 240 และได้กระทำผิดตามมาตรา 244 มาตรา 246 เกี่ยวกับเงินตราที่จำเลยทำปลอมขึ้นด้วยซึ่งความผิดตาม มาตรา 244 มาตรา 246 บัญญัติไว้ในลักษณะ 7 หมวด 1 หมวดเดียวกับมาตรา 240 ดังนั้น เมื่อจำเลยกระทำความผิดตามมาตรา 240 และศาลลงโทษตามมาตรา 240 แล้ว จะลงโทษจำเลยตามมาตรา 246 อีกกระทงหนึ่งไม่ได้ เพราะมาตรา 248 บัญญัติให้ลงโทษแต่กระทงเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 90/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาออกเช็ค - สัญญาซื้อขายระงับ - ไม่เป็นความผิดอาญา
จำเลยออกเช็คชำระค่าซื้อโรงงานและเครื่องมือให้ ต. ต่อมาต. สลักหลังเช็คดังกล่าวให้โจทก์แล้ว ต. ผิดสัญญาไม่โอนโรงงานให้จำเลย จำเลยบอกเลิกสัญญา และขอเช็คคืน ต. บอกว่าฉีกทิ้งแล้วและลงชื่อรับรองว่าฉีกทิ้งแล้วไว้ให้ โจทก์นำเช็คไปเข้าบัญชีเรียกเก็บเงินจากธนาคาร แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีของจำเลยมีไม่พอจ่าย ดังนี้ เมื่อจำเลยบอกเลิกสัญญากับ ต. แล้ว สัญญาจึงเป็นอันระงับไปและคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้แก่ ต. และจำเลยเชื่อต่อไปว่าจะไม่มีผู้ใดนำเช็คไปขึ้นเงินที่ธนาคาร จำเลยจึงไม่จำต้องนำเงินเข้าบัญชีในธนาคารให้มีจำนวนพอจ่ายตามเช็ค การกระทำของจำเลยไม่มีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คไม่เป็นความผิดทางอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 90/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คซื้อขายแล้วสัญญาเป็นโมฆะ: ไม่ถึงเจตนาทุจริต ไม่เป็นความผิด พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยออกเช็คชำระค่าซื้อโรงงานและเครื่องมือให้ ต. ต่อมา ต. สลักหลังเช็คดังกล่าวให้โจทก์ แล้ว ต.ผิดสัญญาไม่โอนโรงงานให้จำเลย จำเลยบอกเลิกสัญญา และขอเช็คคืน ต. บอกว่าฉีกทิ้งแล้วและลงชื่อรับรองว่าฉีกทิ้งแล้วไว้ให้ โจทก์นำเช็คไปเข้าบัญชีเรียกเก็บเงินจากธนาคาร แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีของจำเลยมีไม่พอจ่าย ดังนี้ เมื่อจำเลยบอกเลิกสัญญากับต. แล้ว สัญญาจึงเป็นอันระงับไป และคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้แก่ ต. และจำเลยเชื่อต่อไปว่าจะไม่มีผู้ใดนำเช็คไปขึ้นเงินที่ธนาคาร จำเลยจึงไม่จำต้องนำเงินเข้าบัญชีในธนาคารให้มีจำนวนพอจ่ายตามเช็ค การกระทำของจำเลยไม่มีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คไม่เป็นความผิดทางอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานล่าช้าและผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
นัดสืบพยานวันที่ 28 ยื่นบัญชีระบุพยานในวันที่ 25 ก่อนวันนัดสืบพยานเพียง 2 วัน จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคหนึ่ง
เมื่อโจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคหนึ่งแล้ว ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นแสดงว่าเหตุใดจึงยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดเวลาไม่ได้ เพื่อจะได้มีข้อเท็จจริงให้ศาลได้วินิจฉัยว่าข้ออ้างของโจทก์มีเหตุอันสมควรที่จะรับบัญชีระบุพยานไว้หรือไม่ การที่อ้างว่าโจทก์มิได้จงใจฝ่าฝืนระเบียบทั้งจำเลยไม่เสียเปรียบเพราะโจทก์ยังไม่ได้สืบพยาน เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งคดีเป็นไปโดยเที่ยงธรรม แล้วอนุญาตให้รับบัญชีระบุพยานของโจทก์ไว้ จึงไม่ชอบ และจะกลายเป็นข้อยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 88 และโจทก์จงใจฝ่าฝืนหรือไม่ย่อมไม่แน่นอน ส่วนข้อได้เปรียบเสียเปรียบในทางคดีก็มีอยู่อย่างชัดแจ้ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับบัญชีระบุพยานโจทก์ชอบแล้ว
เมื่อโจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคหนึ่งแล้ว ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นแสดงว่าเหตุใดจึงยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดเวลาไม่ได้ เพื่อจะได้มีข้อเท็จจริงให้ศาลได้วินิจฉัยว่าข้ออ้างของโจทก์มีเหตุอันสมควรที่จะรับบัญชีระบุพยานไว้หรือไม่ การที่อ้างว่าโจทก์มิได้จงใจฝ่าฝืนระเบียบทั้งจำเลยไม่เสียเปรียบเพราะโจทก์ยังไม่ได้สืบพยาน เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งคดีเป็นไปโดยเที่ยงธรรม แล้วอนุญาตให้รับบัญชีระบุพยานของโจทก์ไว้ จึงไม่ชอบ และจะกลายเป็นข้อยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 88 และโจทก์จงใจฝ่าฝืนหรือไม่ย่อมไม่แน่นอน ส่วนข้อได้เปรียบเสียเปรียบในทางคดีก็มีอยู่อย่างชัดแจ้ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับบัญชีระบุพยานโจทก์ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2589/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ทางน้ำในที่ดิน: ทางน้ำเกิดเองในที่ดินส่วนบุคคลไม่เป็นทางน้ำสาธารณะหากเจ้าของไม่สละสิทธิ์
ทางน้ำพิพาทในที่นาของโจทก์ซึ่งเกิดขึ้นจากน้ำในร่องน้ำกุดปลาค้าวที่อยู่ทางทิศตะวันตกนาโจทก์ไหลซัดเซาะเข้า มาในนาของโจทก์เมื่อประมาณ 16 ปีมานี้ แล้วไหลผ่านนาโจทก์ไปทางทิศตะวันออกเป็นทางน้ำคดเคี้ยวไปจดลำห้วยหนองขอนกลองซึ่งอยู่นอกที่นาของโจทก์นั้น เป็นทางน้ำที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แม้กำเนิดของทางน้ำจะอยู่นอกเขตที่นาของโจทก์ก็ต้องเป็นของโจทก์ ทางน้ำดังกล่าวจะเป็นทางน้ำสาธารณะได้ก็โดยโจทก์อุทิศให้แก่ทางการโดยตรงหรือโดยปริยาย การที่ประชาชนปล่อยสัตว์พาหนะลงกินน้ำที่ทางน้ำพิพาทยังถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทิศโดยปริยาย ทั้งไม่เข้าลักษณะเป็นทางน้ำสาธารณะโดยสภาพตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (2) เพราะไม่ปรากฏว่าเป็นทางน้ำที่ประชาชนใช้สัญจรไปมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2589/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ทางน้ำในที่ดิน: ทางน้ำธรรมชาติในที่ดินส่วนบุคคลมิใช่ทางน้ำสาธารณะหากมิได้อุทิศให้แก่สาธารณะ
ทางน้ำพิพาทในที่นาของโจทก์ซึ่งเกิดขึ้นจากน้ำในร่องน้ำกุดปลาค้าวที่อยู่ทางทิศตะวันตกนาโจทก์ไหลซัดเซาะเข้ามาในนาของโจทก์เมื่อประมาณ 16 ปีมานี้ แล้วไหลผ่านนาโจทก์ไปทางทิศตะวันออกเป็นทางน้ำคดเคี้ยวไปจดลำห้วยหนองขอนกลองซึ่งอยู่นอกที่นาของโจทก์นั้น เป็นทางน้ำที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แม้กำเนิดของทางน้ำจะอยู่นอกเขตที่นาของโจทก์ก็ต้องเป็นของโจทก์ ทางน้ำดังกล่าวจะเป็นทางน้ำสาธารณะได้ก็โดยโจทก์อุทิศให้แก่ทางการโดยตรงหรือโดยปริยาย การที่ประชาชนปล่อยสัตว์พาหนะลงกินน้ำที่ทางน้ำพิพาทยังถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทิศโดยปริยายทั้งไม่เข้าลักษณะเป็นทางน้ำสาธารณะ โดยสภาพตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) เพราะไม่ปรากฏว่าเป็นทางน้ำที่ประชาชนใช้สัญจรไปมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2497-2500/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของรถไฟต่ออุบัติเหตุทางตัดกับถนน: หน้าที่ป้องกันภัยตามกฎหมาย
ในคดีที่โจทก์และจำเลยต่างฟ้องซึ่งกันและกันโดยกล่าวอ้างว่าอีกฝ่ายหนึ่งประมาทและให้รับผิดฐานละเมิดซึ่งจำเลยเรียกค่าเสียหายเพียง 800 บาทเศษนั้นเมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยประมาทฝ่ายเดียวและให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์จำเลยอุทธรณ์ว่าเป็นความประมาทของโจทก์ฝ่ายเดียวหรือเป็นความประมาทร่วมกันของจำเลยและโจทก์ เป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 3 ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในข้อนี้
พระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟและทางหลวง พ.ศ.2464 ส่วนที่ 5ว่าด้วยความปราศจากภัยแห่งประชาชน มาตรา 72, 88 บัญญัติว่า เมื่อทางรถไฟผ่านข้ามถนนสำคัญ ให้ทำประตูหรือขึงโซ่หรือทำรางกั้นขวางถนนหรือทางนั้น ๆ ตามควรแก่การพนักงานรถไฟคนใดละเลยไม่กระทำตามหน้าที่โดยประมาทท่านว่ามีความผิด ดังนี้การรถไฟ ฯ จำเลยผู้ดำเนินกิจการรถไฟมีหน้าที่ต้องป้องกันภัยในการที่จะเดินรถไฟผ่านถนนสายนั้นๆ
ตรงที่เกิดเหตุเป็นที่ซึ่งถนนตัดกับทางรถไฟ จำเลยได้ทำเครื่องกั้นถนนไว้โดยใช้คนหมุนขึ้นลงปิดกั้นถนนขณะรถไฟแล่นผ่าน แต่ขณะเกิดเหตุพนักงานของจำเลยละเว้นไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ โดยไม่ปิดเครื่องกั้นถนน อันเป็นการฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมายที่ประสงค์จะปกป้องอันตรายประชาชน เป็นเหตุให้รถยนต์ของโจทก์แล่นผ่านเข้าไปถูกรถไฟของจำเลยชนเกิดความเสียหายขึ้น ถือได้ว่าพนักงานของจำเลยประมาทเลินเล่อ เพราะฝ่าฝืนกฎหมาย จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดด้วย
พระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟและทางหลวง พ.ศ.2464 ส่วนที่ 5ว่าด้วยความปราศจากภัยแห่งประชาชน มาตรา 72, 88 บัญญัติว่า เมื่อทางรถไฟผ่านข้ามถนนสำคัญ ให้ทำประตูหรือขึงโซ่หรือทำรางกั้นขวางถนนหรือทางนั้น ๆ ตามควรแก่การพนักงานรถไฟคนใดละเลยไม่กระทำตามหน้าที่โดยประมาทท่านว่ามีความผิด ดังนี้การรถไฟ ฯ จำเลยผู้ดำเนินกิจการรถไฟมีหน้าที่ต้องป้องกันภัยในการที่จะเดินรถไฟผ่านถนนสายนั้นๆ
ตรงที่เกิดเหตุเป็นที่ซึ่งถนนตัดกับทางรถไฟ จำเลยได้ทำเครื่องกั้นถนนไว้โดยใช้คนหมุนขึ้นลงปิดกั้นถนนขณะรถไฟแล่นผ่าน แต่ขณะเกิดเหตุพนักงานของจำเลยละเว้นไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ โดยไม่ปิดเครื่องกั้นถนน อันเป็นการฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมายที่ประสงค์จะปกป้องอันตรายประชาชน เป็นเหตุให้รถยนต์ของโจทก์แล่นผ่านเข้าไปถูกรถไฟของจำเลยชนเกิดความเสียหายขึ้น ถือได้ว่าพนักงานของจำเลยประมาทเลินเล่อ เพราะฝ่าฝืนกฎหมาย จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2462/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, หนังสือรับสภาพหนี้, อายุความ 2 ปี สำหรับค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ
โจทก์วางระเบียบให้พูดวิทยุโทรศัพท์ไปต่างประเทศจากบ้านของผู้ติดตั้งโทรศัพท์ได้ โดยให้ผู้เช่าโทรศัพท์นำเงินค่าธรรมเนียมการใช้วิทยุโทรศัพท์มาชำระภายหลังองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยติดตั้งเครื่องโทรศัพท์ที่บ้านจำเลยตามคำขอของจำเลย จำเลยให้องค์การยูซ่อมเช่าบ้านพร้อมโทรศัพท์ แสดงว่าจำเลยยินยอมให้พนักงานองค์การยูซ่อมใช้เครื่องโทรศัพท์พูดวิทยุโทรศัพท์ไปต่างประเทศได้ด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยใช้เงินค่าธรรมเนียมที่พนักงานองค์การยูซ่อมใช้เครื่องโทรศัพท์ดังกล่าวพูดวิทยุทางไกลไปต่างประเทศ
จำเลยมีหนังสือถึงผู้ช่วยผู้อำนวยการกองบัญชีของโจทก์ว่าจำเลยเข้าใจว่าเป็นการใช้โทรศัพท์ทางไกลข้ามทวีปของผู้เคยอาศัยอยู่ในบ้านจำเลยซึ่งย้ายออกไปแล้ว จำเลยได้มอบเรื่องราวให้องค์การยูซ่อมเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมมามอบให้แก่ส่วนการบัญชีและการเงินของโจทก์แล้ว ได้ผลประการใดจะแจ้งให้ทราบอีกที หนังสือดังกล่าวไม่มีข้อความแสดงให้เห็นว่า จำเลยรับว่าเป็นหนี้โจทก์และมีเจตนาจะใช้หนี้ โดยไม่มีข้อโต้แย้ง จึงไม่เป็นหนังสือรับสภาพหนี้อันจะทำให้อายุความสดุดหยุดลง
แม้โจทก์จะเป็นกรมในรัฐบาลมีหน้าที่จัดการสื่อสาร การไปรษณีย์โทรเลขวิทยุเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนก็ดีแต่ผู้ใช้เครื่องโทรศัพท์พูดทางไกลไปต่างประเทศ โดยผ่านเครื่องวิทยุโทรศัพท์ของโจทก์จะต้องเสียเงินค่าธรรมเนียมในการใช้ทุกครั้งเงินค่าธรรมเนียมคือสินจ้าง ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ค้ารับทำการงานเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7) จึงมีอายุความ 2 ปี
จำเลยมีหนังสือถึงผู้ช่วยผู้อำนวยการกองบัญชีของโจทก์ว่าจำเลยเข้าใจว่าเป็นการใช้โทรศัพท์ทางไกลข้ามทวีปของผู้เคยอาศัยอยู่ในบ้านจำเลยซึ่งย้ายออกไปแล้ว จำเลยได้มอบเรื่องราวให้องค์การยูซ่อมเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมมามอบให้แก่ส่วนการบัญชีและการเงินของโจทก์แล้ว ได้ผลประการใดจะแจ้งให้ทราบอีกที หนังสือดังกล่าวไม่มีข้อความแสดงให้เห็นว่า จำเลยรับว่าเป็นหนี้โจทก์และมีเจตนาจะใช้หนี้ โดยไม่มีข้อโต้แย้ง จึงไม่เป็นหนังสือรับสภาพหนี้อันจะทำให้อายุความสดุดหยุดลง
แม้โจทก์จะเป็นกรมในรัฐบาลมีหน้าที่จัดการสื่อสาร การไปรษณีย์โทรเลขวิทยุเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนก็ดีแต่ผู้ใช้เครื่องโทรศัพท์พูดทางไกลไปต่างประเทศ โดยผ่านเครื่องวิทยุโทรศัพท์ของโจทก์จะต้องเสียเงินค่าธรรมเนียมในการใช้ทุกครั้งเงินค่าธรรมเนียมคือสินจ้าง ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ค้ารับทำการงานเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7) จึงมีอายุความ 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2462/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของโจทก์, หนังสือรับสภาพหนี้, อายุความ 2 ปีสำหรับค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ
โจทก์วางระเบียบให้พูดวิทยุโทรศัพท์ไปต่างประเทศจากบ้านของผู้ติดตั้งโทรศัพท์ได้ โดยให้ผู้เช่าโทรศัพท์นำเงินค่าธรรมเนียมการใช้วิทยุโทรศัพท์มาชำระภายหลังองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยติดตั้งเครื่องโทรศัพท์ที่บ้านจำเลยตามคำขอของจำเลย จำเลยให้องค์การยูซ่อมเช่าบ้านพร้อมโทรศัพท์ แสดงว่าจำเลยยินยอมให้พนักงานองค์การยูซ่อมใช้เครื่องโทรศัพท์พูดวิทยุโทรศัพท์ไปต่างประเทศได้ด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยใช้เงินค่าธรรมเนียมที่พนักงานองค์การยูซ่อมใช้เครื่องโทรศัพท์ดังกล่าวพูดวิทยุทางไกลไปต่างประเทศ
จำเลยมีหนังสือถึงผู้ช่วยผู้อำนวยการกองบัญชีของโจทกว่า จำเลยเข้าใจว่าเป็นการใช้โทรศัพท์ทางไกลข้ามทวีปของผู้เคยอาศัยอยู่ในบ้านจำเลยซึ่งย้ายออกไปแล้ว จำเลยได้มอบเรื่องราวให้องค์การยูซ่อมเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมมามอบให้แก่ส่วนการบัญชีและการเงินของโจทก์แล้ว ได้ผลประการใดจะแจ้งให้ทราบอีกทีหนังสือดังกล่าวไม่มีข้อความแสดงให้เห็นว่าจำเลยรับว่าเป็นหนี้โจทก์และมีเจตนาจะใช้หนี้โดยไม่มีข้อโต้แย้ง จึงไม่เป็นหนังสือรับสภาพหนี้อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง
แม้โจทก์จะเป็นกรมในรัฐบาลมีหน้าที่จัดการสื่อสาร การไปรษณีย์โทรเลขวิทยุเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนก็ดี แต่ผู้ใช้เครื่องโทรศัพท์พูดทางไกลไปต่างประเทศโดยผ่านเครื่องวิทยุโทรศัพท์ของโจทก์จะต้องเสียเงินค่าธรรมเนียมในการใช้ทุกครั้งเงินค่าธรรมเนียมคือสินจ้าง ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ค้ารับทำการงานเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7) จึงมีอายุความ 2 ปี
จำเลยมีหนังสือถึงผู้ช่วยผู้อำนวยการกองบัญชีของโจทกว่า จำเลยเข้าใจว่าเป็นการใช้โทรศัพท์ทางไกลข้ามทวีปของผู้เคยอาศัยอยู่ในบ้านจำเลยซึ่งย้ายออกไปแล้ว จำเลยได้มอบเรื่องราวให้องค์การยูซ่อมเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมมามอบให้แก่ส่วนการบัญชีและการเงินของโจทก์แล้ว ได้ผลประการใดจะแจ้งให้ทราบอีกทีหนังสือดังกล่าวไม่มีข้อความแสดงให้เห็นว่าจำเลยรับว่าเป็นหนี้โจทก์และมีเจตนาจะใช้หนี้โดยไม่มีข้อโต้แย้ง จึงไม่เป็นหนังสือรับสภาพหนี้อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง
แม้โจทก์จะเป็นกรมในรัฐบาลมีหน้าที่จัดการสื่อสาร การไปรษณีย์โทรเลขวิทยุเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนก็ดี แต่ผู้ใช้เครื่องโทรศัพท์พูดทางไกลไปต่างประเทศโดยผ่านเครื่องวิทยุโทรศัพท์ของโจทก์จะต้องเสียเงินค่าธรรมเนียมในการใช้ทุกครั้งเงินค่าธรรมเนียมคือสินจ้าง ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ค้ารับทำการงานเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7) จึงมีอายุความ 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460-2461/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: แม้จดทะเบียนแล้ว ผู้มีสิทธิดีกว่ายังขอเพิกถอนได้
ในกรณีที่มีผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอันเดียวกันหรือเกือบเหมือนกันหลายราย และนายทะเบียนได้มีหนังสือแจ้งให้ทำความตกลงกันเองหรือนำคดีไปสู่ศาลแล้วไม่ได้รับแจ้งภายในกำหนดว่าผู้ขอได้ตกลงกันหรือได้นำคดีไปสู่ศาล มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 บัญญัติให้นายทะเบียนจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแก่ผู้ที่ขอซื้อมาก่อนผู้อื่น บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าสิทธิที่จะนำคดีไปสู่ศาลเป็นอันระงับสิ้นไป เจตนารมย์ของกฎหมายเพียงเพื่อให้การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินไปโดยรวดเร็วเท่านั้น แม้นายทะเบียนจะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้แล้ว ซึ่งทำให้บุคคลผู้ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าแต่ผู้เดียวตามมาตรา 27 ก็ตาม หากมีผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้ดีกว่าผู้มีสิทธิดีกว่าก็อาจขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้ได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 41(1)