พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8694/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาชำระหนี้จากการขายทอดตลาด ไม่ขัดต่อกฎหมาย และเจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจดำเนินการได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดทรัพย์โดยกำหนดเงื่อนไขการเข้าสู้ราคาและข้อสัญญาว่า ผู้ซื้อทรัพย์ได้ต้องชำระเงินส่วนที่เหลือภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันซื้อเป็นต้นไปนั้น ระยะเวลา 15 วัน ที่กำหนดให้ผู้ซื้อทรัพย์นำเงินส่วนที่เหลือมาชำระตามข้อสัญญาดังกล่าวเป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้เพื่อการชำระหนี้ มิใช่อายุความตามที่กฎหมายกำหนดซึ่งคู่กรณีจะตกลงกันให้งดใช้หรือขยายออกหรือย่นเข้าไม่ได้ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/11 การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีและผู้ซื้อทรัพย์ตกลงกันขยายระยะเวลาวางเงินส่วนที่เหลือออกไปอีกจึงหาเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 510 และ 515 ไม่ จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่ศาลจะมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งและการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี กรณีเช่นว่านี้ ศาลชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยโดยไม่จำต้องไต่สวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม – การบังคับคดี – ไม่ขายทรัพย์สินรวม – ราคาต่ำเกินสมควร
อุทธรณ์ของผู้ร้องมีอยู่ 2 ประเด็น คือ เจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้บังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษารวมกันไปทั้งหมด เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 309 วรรคสอง และเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินในราคาต่ำเกินสมควร เป็นการกระทำไม่สุจริตตามมาตรา 296 วรรคสอง ประกอบมาตรา 309 ทวิวรรคสอง ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 7 รับวินิจฉัยให้เฉพาะประเด็นที่สอง โดยรับฟังไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย คำวินิจฉัยดังกล่าวจึงเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ ฉะนั้น การที่ผู้ร้องฎีกาว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการบังคับคดีฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 309 วรรคสอง จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5378/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักส่วนได้ใช้แทนในบังคับคดีและการคำนวณดอกเบี้ยที่ถูกต้อง
โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินของจำเลยได้จากการขายทอดตลาด และโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทั้งเป็นเจ้าหนี้จำนองที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่ด้วย การที่โจทก์ขอหักส่วนได้ใช้แทน หมายถึงการที่โจทก์มีหน้าที่ต้องวางเงินชำระ ราคาค่าซื้อที่ดินในฐานะผู้ซื้อ และโจทก์มีสิทธิรับเงินจากการขายทอดตลาดที่โจทก์นำมาวางชำระค่าที่ดินในฐานะ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อโจทก์ขอหักส่วนได้ใช้แทนราคาที่ต้องชำระ และศาลอนุญาต โจทก์จึงไม่ต้องนำเงินค่าที่ดินที่ต้องชำระมาวางและโจทก์ก็ไม่ต้องรับเงินจากการขายทอดตลาดไป แต่ถือว่าโจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ซื้อและได้ใช้สิทธิในฐานะเจ้าหนี้รับเงินไปแล้วนับแต่วันที่ศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์หักส่วนได้ใช้แทน แม้จำเลยจะร้องคัดค้านการขายทอดตลาด โจทก์ก็ไม่ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินดังกล่าวหลังจากวันที่โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้วไม่ได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินก็เพื่อจะได้แบ่งเงินให้เจ้าหนี้แต่ละคน ได้รับตามส่วนโดยถูกต้อง บทบัญญัติในมาตรา 318 ถึง 322 แห่ง ป.วิ.พ. เป็นแต่เพียงวิธีการที่กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการในการจ่ายเงินให้เจ้าหนี้เท่านั้น ซึ่งเมื่อจ่ายเงินไปครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าว ก็ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลง
โจทก์นำยึดที่ดินของจำเลยเพิ่ม เนื่องจากบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงิน ของเจ้าพนักงานบังคับคดีคำนวณ ไม่ถูกต้อง ส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลย เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้จ่ายให้โจทก์รับไปตามหนี้จำนองที่โจทก์มีอยู่เหนือที่ดินที่ขายทอดตลาดดังกล่าวครบถ้วนตามหนี้จำนองและเงินส่วนที่เหลือได้คืนให้จำเลย รับไปแล้ว เมื่อกรณียังไม่เป็นการแน่ชัดว่า เมื่อขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว ยังมีหนี้เหลือ ที่โจทก์จะได้รับชำระอีกหรือไม่ เพียงใด ศาลฎีกาเห็นควรให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินใหม่ทั้งหมดและคำนวณดอกเบี้ยใหม่ให้ถูกต้อง หากปรากฏว่ามีหนี้เหลือที่โจทก์จะได้รับชำระอีกก็ให้โจทก์บังคับคดีจากที่ดินของจำเลยที่ยึดไว้เท่าที่พอจะชำระหนี้ต่อไป แต่ถ้าการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยพอชำระหนี้โจทก์พร้อม ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีและค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีแล้ว ก็ให้จ่ายเงินให้โจทก์และจำเลยตามสิทธิของแต่ละฝ่าย และเพิกถอนการยึดที่ดินของจำเลยที่โจทก์นำยึดเพิ่มต่อไป
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินก็เพื่อจะได้แบ่งเงินให้เจ้าหนี้แต่ละคน ได้รับตามส่วนโดยถูกต้อง บทบัญญัติในมาตรา 318 ถึง 322 แห่ง ป.วิ.พ. เป็นแต่เพียงวิธีการที่กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการในการจ่ายเงินให้เจ้าหนี้เท่านั้น ซึ่งเมื่อจ่ายเงินไปครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าว ก็ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลง
โจทก์นำยึดที่ดินของจำเลยเพิ่ม เนื่องจากบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงิน ของเจ้าพนักงานบังคับคดีคำนวณ ไม่ถูกต้อง ส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลย เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้จ่ายให้โจทก์รับไปตามหนี้จำนองที่โจทก์มีอยู่เหนือที่ดินที่ขายทอดตลาดดังกล่าวครบถ้วนตามหนี้จำนองและเงินส่วนที่เหลือได้คืนให้จำเลย รับไปแล้ว เมื่อกรณียังไม่เป็นการแน่ชัดว่า เมื่อขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว ยังมีหนี้เหลือ ที่โจทก์จะได้รับชำระอีกหรือไม่ เพียงใด ศาลฎีกาเห็นควรให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินใหม่ทั้งหมดและคำนวณดอกเบี้ยใหม่ให้ถูกต้อง หากปรากฏว่ามีหนี้เหลือที่โจทก์จะได้รับชำระอีกก็ให้โจทก์บังคับคดีจากที่ดินของจำเลยที่ยึดไว้เท่าที่พอจะชำระหนี้ต่อไป แต่ถ้าการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยพอชำระหนี้โจทก์พร้อม ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีและค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีแล้ว ก็ให้จ่ายเงินให้โจทก์และจำเลยตามสิทธิของแต่ละฝ่าย และเพิกถอนการยึดที่ดินของจำเลยที่โจทก์นำยึดเพิ่มต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9657/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 18) กรณีเพิกถอนการขายทอดตลาด
โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอน การขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาต้องกันให้เพิกถอนการขายทอดตลาด แม้ในวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟัง จะยังไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้คำพิพากษา ของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุดก็ตาม แต่ในขณะที่ผู้ซื้อทรัพย์ยื่นฎีกาต่อมาในวันที่ 1 มิถุนายน 2542 นั้น ป.วิ.พ. ได้ถูกแก้ไข เพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2542 แล้ว โดยมาตรา 296 วรรคสอง กำหนดให้ความในวรรคนี้อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง และในมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง กับวรรคสี่ ซึ่งบัญญัติขึ้นใหม่ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่า ในกรณีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี เนื่องจากราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินมีจำนวนต่ำเกินสมควรนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งแล้วให้อุทธรณ์ไปยัง ศาลอุทธรณ์ได้ และคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด ฎีกาของผู้ซื้อทรัพย์จึงเป็นอันต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9657/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542
โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาต้องกันให้เพิกถอนการขายทอดตลาดแม้ในวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟัง จะยังไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุดก็ตามแต่ในขณะที่ผู้ซื้อทรัพย์ยื่นฎีกาต่อมาในวันที่ 1 มิถุนายน 2542 นั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้ถูกแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2542 แล้วโดยมาตรา 296 วรรคสองกำหนดให้ความในวรรคนี้อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง และในมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง กับวรรคสี่ ซึ่งบัญญัติขึ้นใหม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าในกรณีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเนื่องจากราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินมีจำนวนต่ำเกินสมควรนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งแล้วให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ได้ และคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด ฎีกาของผู้ซื้อทรัพย์จึงเป็นอันต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา 309 ทวิวรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีขายทอดตลาด: การปฏิบัติตามขั้นตอนและราคาที่เหมาะสม แม้ต่ำกว่าราคาประเมิน แต่ไม่มีผู้นำสู้ราคาสูงกว่า
ก่อนเริ่มขายทอดตลาด เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ปักธงสัญลักษณ์การขายทอดตลาด อ่านประกาศโฆษณาการขายทอดตลาด เงื่อนไข ข้อสัญญา และคำเตือนโดยเปิดเผยแล้วโดยจำเลยที่ 2 มิได้คัดค้านว่าการขายทอดตลาดดังกล่าวผิดระเบียบ จึงต้องถือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินกระบวนวิธีการบังคับคดีไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการนำทรัพย์สิน ของจำเลยที่ 2 ออกประกาศขายมาแล้ว 10 ครั้ง ครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 11 ใช้เวลาขายรวม 5 ปีเศษ ผู้เข้าประมูลทุกครั้ง มีเพียงโจทก์และนายสาวอ. โดยไม่มีผู้อื่นสนใจร่วมเข้าประมูลราคาที่ประมูลแต่ละครั้งไม่แตกต่างกัน แม้จำเลยที่ 2 รับว่าจะหาผู้มาสู้ราคา แต่ไม่เคยจัดหามา การที่จะให้ทำการประกาศขายทอดตลาดใหม่อีกก็ไม่แน่ว่าจะขายทรัพย์ได้ราคาดีขึ้นจึงไม่มีเหตุที่ศาลจะเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำร้อง ของ จำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6134/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาทรัพย์สินในการบังคับคดีและการร้องขอแยกขายทรัพย์ ศาลไม่อาจสั่งให้ประเมินราคาใหม่หรือแยกขายทรัพย์ได้หากมิได้ร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อน
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้วทำบัญชีรายละเอียดแสดงทรัพย์สินที่ยึดไว้พร้อมทั้งประเมินราคาทรัพย์สินด้วยนั้น การประเมินราคาทรัพย์สินนี้เป็นเพียงการประมาณราคาตามความเห็นของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงอาจไม่ตรงกับราคาที่แท้จริง และไม่มีหลักเกณฑ์ ใดผูกมัดผู้ที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี ว่าเมื่อขายทอดตลาดแล้วจะต้องให้เป็นไปตามราคาที่ประเมินไว้จึงยังไม่เกิดข้อโต้แย้งสิทธิของจำเลยที่จะร้องขอต่อศาลให้ประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดมานั้นใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง จำเลยจึงไม่อาจยื่นคำร้อง ต่อศาลเพื่อคัดค้านการประเมินราคาของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้โดยจะใช้วิธีแยกขายทีละสิ่ง แยกขายเป็นตอน ๆ หรือวิธีขายตามลำดับของทรัพย์สินเป็นวิธีการของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะทำการขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 เมื่อจำเลยประสงค์จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินโดยวิธีแยกขายทีละสิ่ง จำเลยอาจร้องขอต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อน หากเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยอมปฏิบัติตามคำร้องขอจำเลยจึงจะเกิดสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลได้ตามนัยแห่งมาตรา 309 วรรค 2 เมื่อจำเลยมิได้ร้องขอหรือคัดค้านต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อขอแยกทรัพย์ขาย จึงยังไม่เกิดสิทธิที่จำเลยจะร้องขอต่อศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6134/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาทรัพย์สินบังคับคดีและการร้องขอแยกขายทรัพย์สิน เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิร้องขอให้เป็นไปตามราคาประเมิน
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้วทำบัญชีรายละเอียดแสดงทรัพย์สินที่ยึดไว้พร้อมทั้งประเมินราคาทรัพย์สินด้วยนั้นการประเมินราคาทรัพย์สินนี้เป็นเพียงการประมาณราคาตามความเห็นของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงอาจไม่ตรงกับราคาที่แท้จริง และไม่มีหลักเกณฑ์ใดผูกมัดผู้ที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีว่าเมื่อขายทอดตลาดแล้วจะต้องให้เป็นไปตามราคาที่ประเมินไว้จึงยังไม่เกิดข้อโต้แย้งสิทธิของจำเลยที่จะร้องขอต่อศาลให้ประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดมานั้นใหม่ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสอง จำเลยจึงไม่อาจยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อคัดค้านการประเมินราคาของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้โดยจะใช้วิธีแยกขายทีละสิ่ง แยกขายเป็นตอน ๆ หรือวิธีขายตามลำดับของทรัพย์สินเป็นวิธีการของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะทำการขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ.มาตรา309 เมื่อจำเลยประสงค์จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินโดยวิธีแยกขายทีละสิ่ง จำเลยอาจร้องขอต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อน หากเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยอมปฏิบัติตามคำร้องขอ จำเลยจึงจะเกิดสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลได้ตามนัยแห่งมาตรา 309 วรรค 2 เมื่อจำเลยมิได้ร้องขอหรือคัดค้านต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อขอแยกทรัพย์ขาย จึงยังไม่เกิดสิทธิที่จำเลยจะร้องขอต่อศาล
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้โดยจะใช้วิธีแยกขายทีละสิ่ง แยกขายเป็นตอน ๆ หรือวิธีขายตามลำดับของทรัพย์สินเป็นวิธีการของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะทำการขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ.มาตรา309 เมื่อจำเลยประสงค์จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินโดยวิธีแยกขายทีละสิ่ง จำเลยอาจร้องขอต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อน หากเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยอมปฏิบัติตามคำร้องขอ จำเลยจึงจะเกิดสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลได้ตามนัยแห่งมาตรา 309 วรรค 2 เมื่อจำเลยมิได้ร้องขอหรือคัดค้านต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อขอแยกทรัพย์ขาย จึงยังไม่เกิดสิทธิที่จำเลยจะร้องขอต่อศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5150/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดรวมรายการและราคาเหมาะสม แม้มีผู้สู้ราคาน้อยราย ไม่ถือเป็นเหตุให้การขายไม่ชอบ
ฎีกาจำเลยที่ว่าจำเลยได้ขอเลื่อนการขายทอดตลาดต่อศาลและได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบแต่ผู้คัดค้านไม่ได้รอฟังคำสั่งศาลก่อนเป็นการไม่ชอบนั้นเมื่อผลที่สุดปรากฏว่าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนการขายทอดตลาดตามที่จำเลยร้องขอการที่ผู้คัดค้านไม่ได้รอฟังคำสั่งศาลและขายทอดตลาดไปจึงหาทำให้เป็นการไม่ชอบไม่ การขายทอดตลาดไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าต้องมีผู้เข้าสู้ราคาเกินกว่าหนึ่งรายหรือกี่รายจึงจะทำการขายทอดตลาดได้แม้ทรัพย์บางอันดับจะมีผู้เข้าสู้ราคา2คนและทรัพย์บางอันดับมีผู้สู้ราคาเพียงคนเดียวก็ไม่ทำให้การขายทอดตลาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในการขายทอดตลาดผู้คัดค้านมีอำนาจขายตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุดตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา123ซึ่งอาจจะแยกขายทีละสิ่งหรือรวมขายก็ได้สุดแต่ว่าวิธีใดจะเป็นวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุดและเมื่อมีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483โดยเฉพาะแล้วจึงไม่อาจปรับด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา309
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5150/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย: การเลื่อนการขาย, จำนวนผู้สู้ราคา, และอำนาจของผู้คัดค้าน
ฎีกาจำเลยที่ว่า จำเลยได้ขอเลื่อนการขายทอดตลาดต่อศาลและได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบ แต่ผู้คัดค้านไม่ได้รอฟังคำสั่งศาลก่อนเป็นการไม่ชอบนั้น เมื่อผลที่สุดปรากฏว่าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนการขายทอดตลาดตามที่จำเลยร้องขอ การที่ผู้คัดค้านไม่ได้รอฟังคำสั่งศาลและขายทอดตลาดไป จึงหาทำให้เป็นการไม่ชอบไม่
การขายทอดตลาดไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่า ต้องมีผู้เข้าสู้ราคาเกินกว่าหนึ่งรายหรือกี่รายจึงจะทำการขายทอดตลาดได้ แม้ทรัพย์บางอันดับจะมีผู้เข้าสู้ราคา 2 คน และทรัพย์บางอันดับมีผู้สู้ราคาเพียงคนเดียว ก็ไม่ทำให้การขายทอดตลาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในการขายทอดตลาด ผู้คัดค้านมีอำนาจขายตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุดตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 123 ซึ่งอาจจะแยกขายทีละสิ่งหรือรวมขายก็ได้ สุดแต่ว่าวิธีใดจะเป็นวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุด และเมื่อมีบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจปรับด้วยป.วิ.พ. มาตรา 309
การขายทอดตลาดไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่า ต้องมีผู้เข้าสู้ราคาเกินกว่าหนึ่งรายหรือกี่รายจึงจะทำการขายทอดตลาดได้ แม้ทรัพย์บางอันดับจะมีผู้เข้าสู้ราคา 2 คน และทรัพย์บางอันดับมีผู้สู้ราคาเพียงคนเดียว ก็ไม่ทำให้การขายทอดตลาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในการขายทอดตลาด ผู้คัดค้านมีอำนาจขายตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุดตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 123 ซึ่งอาจจะแยกขายทีละสิ่งหรือรวมขายก็ได้ สุดแต่ว่าวิธีใดจะเป็นวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุด และเมื่อมีบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจปรับด้วยป.วิ.พ. มาตรา 309