คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
โสพิทย์ คังคะเกตุ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 401 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2277/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินที่ยังไม่สมบูรณ์ การพิสูจน์การรับเงินเป็นสาระสำคัญ
จำเลยให้การว่าไม่ได้กู้และรับเงินตามเอกสารซึ่งโจทก์ให้จำเลยลงพิมพ์ลายนิ้วมือไว้ แล้วโจทก์กรอกข้อความเอาในภายหลัง จำเลยไม่ได้รับเงินจากโจทก์ จำเลยเชื่อกลฉ้อฉลของโจทก์ ดังนี้ เรื่องจำเลยไม่ได้รับเงินที่กู้ การกู้จึงไม่สมบูรณ์ตาม มาตรา 650 ไม่ใช่นอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีอาญา: คำสั่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นยกฟ้องคดีฉ้อโกง ศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงโจทก์อุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์ตามศาลชั้นต้น คำสั่งนี้เป็นที่สุด โจทก์ฎีกาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2196/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็นและค่าทดแทน: แม้ไม่ฟ้องแย้งในคดีก่อน ก็ฟ้องเรียกค่าทดแทนได้ในคดีหลังได้ หากประเด็นต่างกัน
คดีก่อนซึ่งจำเลยฟ้องโจทก์นั้นศาลพิพากษาถึงที่สุดว่า ที่ดินของจำเลยตกอยู่ในที่ล้อม จำเลยมีสิทธิผ่านที่ดินของโจทก์ซึ่งล้อมอยู่ไปสู่คลองและทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 แต่เนื่องจากโจทก์มิได้ฟ้องแย้งในคดีนั้นเรียกค่าทดแทนความเสียหายจากการที่จำเลยจะใช้ที่ดินของโจทก์ ศาลจึงไม่พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าทดแทนความเสียหายให้แก่โจทก์ และว่าหากโจทก์ประสงค์จะได้ค่าทดแทนความเสียหายก็ชอบที่จะว่ากล่าวแก่จำเลยเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก โจทก์จึงมาฟ้องคดีนี้ ขอให้จำเลยใช้ค่าทดแทนที่โจทก์เปิดทางเดินให้ดังนี้ ในคดีก่อนมีประเด็นเพียงว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ ส่วนคดีหลังมีประเด็นว่าจำเลยจะต้องให้ค่าทดแทนเพื่อการใช้ทางผ่านนั้นแก่โจทก์หรือไม่ ประเด็นคนละอย่างกัน ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2196/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการผ่านทางจำเป็นและค่าทดแทนความเสียหาย การฟ้องร้องเรียกค่าทดแทนไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำหากประเด็นต่างกัน
คดีก่อนซึ่งจำเลยฟ้องโจทก์นั้นศาลพิพากษาถึงที่สุดว่าที่ดินของจำเลยตกอยู่ในที่ล้อม จำเลยมีสิทธิผ่านที่ดินของโจทก์ซึ่งล้อมอยู่ไปสู่คลองและทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 แต่เนื่องจากโจทก์มิได้ฟ้องแย้งในคดีนั้นเรียกค่าทดแทนความเสียหายจากการที่จำเลยจะใช้ที่ดินของโจทก์ ศาลจึงไม่พิพากษา ให้จำเลยใช้ค่าทดแทนความเสียหายให้แก่โจทก์และว่าหากโจทก์ประสงค์จะได้ค่าทดแทนความเสียหายก็ชอบที่จะว่ากล่าวแก่จำเลยเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก โจทก์จึงมาฟ้องคดีนี้ ขอให้จำเลยใช้ค่าทดแทนที่โจทก์เปิดทางเดินให้ดังนี้ ในคดีก่อนมีประเด็นเพียงว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ส่วนคดีหลังมีประเด็นว่าจำเลยจะต้องให้ค่าทดแทนเพื่อการใช้ ทางผ่านนั้นแก่โจทก์หรือไม่ ประเด็นคนละอย่างกัน ฟ้องของโจทก์จึงไม่ เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2059/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ไม้แปรรูปในที่ดินเอกชน: จำเลยต้องพิสูจน์สิทธิเพื่ออ้างข้อยกเว้นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีไม้ประดู่และไม้มะค่าโมงแปรรูปเป็นไม้หวงห้ามเกินกว่า 0.20 ลูกบาศก์เมตร โดยไม่เสียค่าภาคหลวงและโดยไม่รับอนุญาต จำเลยต่อสู้ว่าไม้แปรรูปของกลางเกิดในที่ดินของผู้มีชื่อจึงเป็นไม้ที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ มาตรา 48,50(4) แต่จำเลยนำสืบไม่ได้ความตามข้อต่อสู้ จำเลยจึงไม่พันผิด
ข้อเท็จจริงที่ว่าไม้ของกลางเกิดในที่ดินของผู้มีชื่อตามข้อต่อสู้ของจำเลยหรือไม่นั้น เมื่อคู่ความนำสืบไว้แล้วแต่ศาลล่างมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยเองได้
โจทก์ได้บรรยายฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยมาแต่อ้างบทมาตราผิดศาลมีอำนาจปรับบทกฎหมายที่ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2001/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา และการพิจารณาคำร้องที่มีลักษณะเป็นคำอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นยกคำร้องอุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลย จำเลยยื่นคำร้องให้ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์อย่างคนอนาถา คำร้องนี้ต้องให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่ง ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องนี้เสียเอง จำเลยอุทธรณ์และโจทก์ฎีกาได้ตามวิธีธรรมดา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2000/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอม: ขอบเขตความรับผิดชอบจำเลยในการรักษาสภาพทางและจัดการสิ่งกีดขวาง
ทางภาระจำยอมกว้าง 3 เมตร บางจุดกว้าง 2.95 เมตรเพราะรั้วสังกะสีของบ้านข้างเคียงเอียงเข้ามา จำเลยไม่ต้องรับผิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1390 และไม่ต้องเทปูนให้ตลอด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเวลาโฆษณาทางวิทยุ สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาเมื่อมีเหตุสุดวิสัยหรือคำสั่งทางราชการ
จำเลยได้อนุมัติและมอบหมายให้กรมการทหารสื่อสารจัดตั้งสถานีวิทยุ วปถ. ตามจังหวัดต่าง ๆ ขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ราชการของจำเลย โดยเป็นที่เข้าใจกันว่ากรมการทหารสื่อสารจะต้องหาทางดำเนินการในเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เอาเอง และเมื่อกรมการทหารสื่อสารได้จัดตั้งสถานีวิทยุ วปถ. ขึ้นตามที่จำเลยอนุมัติและมอบหมายแล้ว จำเลยก็ยอมรับรู้และได้เข้าควบคุมสถานีวิทยุเหล่านั้นทั้งหมด โดยทางคณะกรรมการที่จำเลยแต่งตั้งและโดยการควบคุมตามสายงานปกติ คือผ่านทางสำนักงานปลัดบัญชีทหารบก ตลอดจนได้เข้าถือประโยชน์จากทรัพย์สินและวัสดุต่าง ๆ ทั้งขอแบ่งผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินงานสถานีวิทยุเหล่านั้นไปเป็นของจำเลยถึงร้อยละ 40 เช่นนี้ การที่กรมการทหารสื่อสารได้ปฏิบัติไปเกี่ยวกับการจัดตั้งและการดำเนินงานของสถานีวิทยุ วปถ. จึงผูกพันกองทัพบกจำเลย รวมทั้งหนี้ซึ่งผู้อำนวยการ กรมการทหารสื่อสารได้กู้ยืมเงินโจทก์เพื่อนำไปพัฒนากิจการวิทยุดังกล่าวกับหนี้เงินที่โจทก์ได้ออกทดรองจ่ายให้ไปตามสัญญาที่มีกับกรมการทหารสื่อสารเพื่อนำไปปรับปรุงสถานีวิทยุกระจายเสียง วปถ.ด้วย จำเลยต้องรับผิดชำระเงินดังกล่าวให้โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2509 คณะกรรมการของกรมการทหารสื่อสารได้มีการประชุมกับผู้จัดการทั่วไปของโจทก์ตกลงหลักการให้โจทก์เช่าเวลาโฆษณาของสถานีวิทยุ วปถ.ทุกแห่ง โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 กับได้มอบหมายให้ที่ปรึกษากฎหมายเป็นผู้ร่างสัญญา ซึ่งผู้อำนวยการกิจการวิทยุกระจายเสียง กรมการทหารสื่อสาร ได้มีหนังสือถึงโจทก์ ตามเอกสารหมาย จ.26 ขอให้ยืนยันข้อตกลงดังกล่าว และโจทก์ได้มีหนังสือตอบยืนยันไป แต่ยังไม่ทันถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2509 และยังมิได้มีการลงชื่อในสัญญาซึ่งตกลงว่าจะทำกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งลงวันที่ 21 กันยายน 2509 ห้ามสถานีวิทยุของส่วนราชการต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงกลาโหมออกอากาศรายการโฆษณาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 เป็นต้นไป กรมการทหารสื่อสารจึงได้จัดให้มีการประชุม รองผู้อำนายการกิจการวิทยุกระจายเสียง กรมการทหารสื่อสารได้แถลงว่า ข้อผูกพันระหว่างกิจการวิทยุกระจายเสียง กรมการทหารสื่อสารกับผู้เช่าเวลาโฆษณาถือว่าเป็นสิ้นสุดต่อกัน ซึ่งผู้แทนของโจทก์ก็ได้เข้าร่วมประชุมและรับทราบคำแถลงดังกล่าวด้วยโดยมิได้โต้แย้งคัดค้านแต่ประการใด เมื่อสัญญาตามที่ได้ตกลงกันไว้ว่าจะทำยังมิได้ทำขึ้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กับกรมการทหารสื่อสารทหารบกหรือจำเลยมีสัญญาต่อกัน ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรค 2 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 164/2519)
เดิมกรมการทหารสื่อสารตกลงให้โจทก์ทำการรับเหมาเช่าเวลาออกอากาศของสถานีวิทยุ วปถ. จำนวน 12 แห่ง ตั้งแต่ปี 2507 โดยกรมการทหารสื่อสารขอสงวนสิทธิว่า เมื่อมีคำสั่งของทางราชการกองทัพบกหรือของรัฐบาล สั่งให้ปฏิบัติการใด ๆ ด้วยวิธีการใด ๆ เกี่ยวกับการโฆษณา โจทก์จะต้องถือปฏิบัติตามโดยไม่มีข้อโต้แย้งหรือเงื่อนไขใด ๆ และเมื่อมีเหตุนอกอำนาจใด ๆ บังเกิดขึ้นอันทำให้การกระจายเสียงของ วปถ.ไม่เป็นไปตามปกติแล้ว ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันให้ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน และโจทก์จะเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากกรมการทหารสื่อสารไม่ได้ ต่อมาการที่โจทก์ไม่อาจเข้าทำการโฆษณาในสถานีวิทยุ วปถ.ได้ตามปกติ เนื่องจากมีคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ห้ามการโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงก็ดี หรือการที่กรมการทหารสื่อสารไม่ได้จัดให้โจทก์เข้าเช่าเวลาโฆษณาในตอนหลังเนื่องจากผู้บัญชาการทหารบกได้มีคำสั่งให้กรมการทหารสื่อสารดำเนินการโฆษณาเองก็ดี ต้องถือเป็นเหตุนอกเหนืออำนาจของกรมการทหารสื่อสาร ซึ่งกรมการทหารสื่อสารไม่อาจจะจัดการให้เป็นอย่างอื่นได้ โจทก์จึงไม่อาจโต้แย้งและไม่มีสิทธิจะเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากกรมการทหารสื่อสารตามนัยแห่งข้อตกลงเดิมที่โจทก์มีอยู่กับกรมการทหารสื่อสารดังกล่าวข้างต้นได้ และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากกรมการทหารสื่อสาร โจทก์ก็ไม่มีสิทธิจะฟ้องเรียกจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเวลาโฆษณาทางวิทยุ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายถูกจำกัดด้วยข้อตกลงและเหตุสุดวิสัย
จำเลยได้อนุมัติและมอบหมายให้กรมการทหารสื่อสารจัดตั้งสถานีวิทยุ วปถ. ตามจังหวัดต่าง ๆ ขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ราชการของจำเลย โดยเป็นที่เข้าใจกันว่ากรมการทหารสื่อสารจะต้องหาทางดำเนินการในเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เอาเอง และเมื่อกรมการทหารสื่อสารได้จัดตั้งสถานีวิทยุ วปถ. ขึ้นตามที่จำเลยอนุมัติและมอบหมายแล้วจำเลยก็ย่อมรับรู้และได้เข้าควบคุมสถานีวิทยุเหล่านั้นทั้งหมด โดยทางคณะกรรมการที่จำเลยแต่งตั้งและโดยการควบคุมตามสายงานปกติ คือผ่านทางสำนักงานปลัดบัญชีทหารบก ตลอดจนได้เข้าถือประโยชน์จากทรัพย์สินและวัสดุต่าง ๆ ทั้งขอแบ่งผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินงานสถานีวิทยุเหล่านั้นไปเป็นของจำเลยถึงร้อยละ 40 เช่นนี้ การที่กรมการทหารสื่อสารได้ปฏิบัติไปเกี่ยวกับการจัดตั้งและการดำเนินงานของสถานีวิทยุ วปถ. จึงผูกพันกองทัพบกจำเลย รวมทั้งหนี้ซึ่งผู้อำนวยการกรมการทหารสื่อสารได้กู้ยืมเงินโจทก์เพื่อนำไปพัฒนากิจการวิทยุดังกล่าวกับหนี้เงินที่โจทก์ได้ออกทดรองจ่ายให้ไปตามสัญญาที่มีกับกรมการทหารสื่อสารเพื่อนำไปปรับปรุงสถานีวิทยุกระจายเสียง วปถ. ด้วย จำเลยต้องรับผิดชำระเงินดังกล่าวให้โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2509 คณะกรรมการของกรมการทหารสื่อสารได้มีการประชุมกับผู้จัดการทั่วไปของโจทก์ตกลงหลักการให้โจทก์เช่าเวลาโฆษณาของสถานีวิทยุ วปถ. ทุกแห่ง โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 กับได้มอบหมายให้ที่ปรึกษากฎหมายเป็นผู้ร่างสัญญา ซึ่งผู้อำนวยการกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสาร ได้มีหนังสือถึงโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.26 ขอให้ยืนยันข้อตกลงดังกล่าวและโจทก์ได้มีหนังสือตอบยืนยันไปแต่ยังไม่ทันถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2509 และยังมิได้มีการลงชื่อในสัญญาซึ่งตกลงว่าจะทำกันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งลงวันที่ 21 กันยายน 2509 ห้ามสถานีวิทยุของส่วนราชการต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงกลาโหมออกอากาศรายการโฆษณาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 เป็นต้นไป กรมการทหารสื่อสารจึงได้จัดให้มีการประชุม รองผู้อำนวยการกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสารได้แถลงว่า ข้อผูกพันระหว่างกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสารกับผู้เช่าเวลาโฆษณาถือว่าเป็นสิ้นสุดต่อกัน ซึ่งผู้แทนของโจทก์ก็ได้เข้าร่วมประชุมและรับทราบคำแถลงดังกล่าวด้วยโดยมิได้โต้แย้งคัดค้านแต่ประการใด เมื่อสัญญาตามที่ได้ตกลงกันไว้ว่าจะทำยังมิได้ทำขึ้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กับกรมการทหารสื่อสารทหารบกหรือจำเลยมีสัญญาต่อกัน ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรค 2(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 164/2519)
เดิมกรมการทหารสื่อสารตกลงให้โจทก์ทำการรับเหมาเช่าเวลาออกอากาศของสถานีวิทยุ วปถ. จำนวน 12 แห่ง ตั้งแต่ ปี 2507 โดยกรมการทหารสื่อสารขอสงวนสิทธิว่า เมื่อมีคำสั่งของทางราชการกองทัพบกหรือของรัฐบาล สั่งให้ปฏิบัติการใด ๆ ด้วยวิธีการใด ๆ เกี่ยวกับการโฆษณา โจทก์จะต้องถือปฏิบัติตามโดยไม่มีข้อโต้แย้งหรือเงื่อนไขใด ๆ และเมื่อมีเหตุนอกอำนาจใด ๆ บังเกิดขึ้นอันทำให้การกระจายเสียงของ วปถ. ไม่เป็นไปตามปกติแล้วทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันให้ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน และโจทก์จะเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากกรมการทหารสื่อสารไม่ได้ต่อมาการที่โจทก์ไม่อาจเข้าทำการโฆษณาในสถานีวิทยุ วปถ. ได้ตามปกติ เนื่องจากมีคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ห้ามการโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงก็ดีหรือ การที่กรมการทหารสื่อสารไม่ได้จัดให้โจทก์เข้าเช่าเวลาโฆษณาในตอนหลังเนื่องจากผู้บัญชาการทหารบกได้มีคำสั่งให้กรมการทหารสื่อสารดำเนินการโฆษณาเองก็ดีต้องถือเป็นเหตุนอกเหนืออำนาจของกรมการทหารสื่อสาร ซึ่งกรมการทหารสื่อสารไม่อาจจะจัดการให้เป็นอย่างอื่นได้โจทก์จึงไม่อาจโต้แย้งและไม่มีสิทธิจะเรียกค่าเสียหายใด ๆจากกรมการทหารสื่อสารตามนัยแห่งข้อตกลงเดิมที่โจทก์มีอยู่กับกรมการทหารสื่อสารดังกล่าวข้างต้นได้และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากกรมการทหารสื่อสาร โจทก์ก็ไม่มีสิทธิจะฟ้องเรียกจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1907/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฆ่าเพื่อหวังเงินประกัน: ไตร่ตรองไว้ก่อนชัดเจน
จำเลยไปติดต่อกับบริษัทประกันภัย เพื่อเอาประกันชีวิตผู้ตายในแบบอุบัติเหตุส่วนบุคคล ระบุจำเลยเป็นผู้รับประโยชน์ แล้วจำเลยมิได้ให้ผู้ตายลงชื่อในคำขอเอาประกันภัย แต่ใช้วิธีปลอมลายมือชื่อผู้ตายลงในคำขอ และเมื่อจำเลยได้ฆ่าผู้ตายแล้วก็ได้พยายามสร้างเหตุการณ์ขึ้นเพื่อทำให้ดูประหนึ่งว่าผู้ตายตายโดยอุบัติเหตุไฟฟ้าลัดวงจรเพื่อจำเลยจะสามารถรับเงินประกันชีวิตได้แล้วจำเลยได้ไปแจ้งต่อบริษัทรับประกันภัยในวันรุ่งขึ้นจากที่ผู้ตายถูกจำเลยฆ่าตาย ดังนี้ พฤติการณ์แสดงว่าจำเลยมีแผนมาตั้งแต่แรกที่จะฆ่าผู้ตายเพื่อหวังประโยชน์จากเงินประกันชีวิตผู้ตาย ถือได้ว่าจำเลยฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
of 41