คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
โสพิทย์ คังคะเกตุ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 401 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1618/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีสินค้าสำเร็จรูปและวัตถุดิบ: การตีความตามประมวลรัษฎากรและการวินิจฉัยสินค้าประเภทต่างๆ
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่18) พ.ศ.2504 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ขณะที่โจทก์นำหัวน้ำเชื้อสะระแหน่ หัวน้ำเชื้อมะนาว หัวน้ำเชื้อส้ม และขี้ผึ้งที่ได้จากพืชเข้ามาในราชอาณาจักร ได้บัญญัติจำกัดความคำว่า "สินค้าสำเร็จรูป" ไว้ในมาตรา 77 และในบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภท 1 ชนิด 9 ก็ได้บัญญัติถึงสินค้าที่มิใช่สินค้าสำเร็จรูป อันเป็นการแสดงว่าเจตนารมณ์ของประมวลรัษฎากรในขณะนั้นต้องการเก็บภาษีการค้าสำหรับสินค้าสำเร็จรูป และสินค้าที่มิใช่สินค้าสำเร็จรูปแตกต่างกัน กล่าวคือถ้าสินค้าที่นำเข้ามาเป็นสินค้าที่มิใช่สินค้าสำเร็จรูปและกรณีต้องด้วยบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภท 1 ชนิด 9 ก็ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้านั้น แต่ถ้านำสินค้าที่มิใช่สินค้าสำเร็จรูปเข้ามาเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อขายแล้ว ก็ไม่ต้องเสียภาษีการค้าส่วนสินค้าสำเร็จรูปนั้นถ้ามีการนำเข้ามาก็จะต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าในทุกกรณีไม่ว่าจะนำเข้ามาเพื่อการใด (อ้างฎีกาที่ 1176/2521)
มาตรา 77 แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวให้คำจำกัดความคำว่า "สินค้าสำเร็จรูป" ไว้ว่าหมายความว่าสินค้าซึ่งตามสภาพการอุปโภคบริโภคได้โดยไม่จำต้องเปลี่ยนหรือดัดแปลงหรือนำไปผสมกับสิ่งอื่น ฉะนั้น ในการพิจารณาว่าสินค้าใดเป็นสินค้าสำเร็จรูปหรือไม่ จึงจำต้องพิเคราะห์ถึงสภาพแห่งการใช้ของสินค้านั้น ๆ เป็นแต่ละชนิด ๆ ไปว่าสามารถนำไปอุปโภคหรือบริโภคได้ทันทีหรือไม่ เมื่อได้ความว่าหัวน้ำเชื้อสะระแหน่ หัวน้ำเชื้อมะนาว หัวน้ำเชื้อส้ม จะนำไปอุปโภคหรือบริโภคโดยไม่ผสมกับสิ่งอื่นไม่ได้ เพราะแรงไป หากนำไปบริโภคโดยไม่เจือปนจะกัดลิ้น ฉุนและจาม เป็นอันตรายแก่ร่างกายดังนี้ ต้องถือว่าหัวน้ำเชื้อทั้งสามชนิดไม่เป็นสินค้าสำเร็จรูป ส่วนขี้ผึ้งที่ได้จากพืชนั้นนำไปใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องเปลี่ยนหรือดัดแปลงหรือผสมกับสิ่งใดอีก จึงถือได้ว่าเป็นสินค้าสำเร็จรูป
โจทก์สั่งขี้ผึ้งที่ได้จากพืชซึ่งเป็นสินค้าสำเร็จรูปเข้ามาผลิตสินค้าของโจทก์เองแม้จะมิได้สั่งเข้ามาเพื่อขายหรือยังมิได้ขาย โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า 1 การขายของชนิด 1 ก.(อ้างฎีกาที่ 1176/2521) ส่วนหัวน้ำเชื้อทั้ง 3 ชนิดซึ่งเป็นสินค้าสำเร็จรูปนั้น เมื่อโจทก์สั่งเข้ามาเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อขายโจทก์ก็ไม่ต้องเสียภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1618/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีสินค้าสำเร็จรูปและวัตถุดิบนำเข้า การพิจารณาตามสภาพการใช้งานและเจตนารมณ์ของกฎหมาย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2504 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ที่โจทก์นำหัวน้ำเชื้อสะระแหน่ หัวน้ำเชื้อมะนาว หัวน้ำเชื้อส้ม และขี่ผึ้งที่ได้จากพืชเข้ามาในราชอาณาจักร ได้บัญญัติ จำกัดความคำว่า "สินค้าสำเร็จรูป" ไว้ในมาตรา 77 และในบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภท 1 ชนิด 9 ก็ได้บัญญัติถึงสินค้าที่มิใช่สินค้าสำเร็จรูป อันเป็นการแสดงว่าเจตนารมณ์ของประมวลรัษฎากรในขณะนั้นต้องการเก็บภาษีการค้าสำหรับสินค้าสำเร็จรูป และสินค้าที่มิใช่สินค้าสำเร็จรูปแตกต่างกัน กล่าวคือถ้าสินค้าที่นำเข้ามาเป็นสินค้าที่มิใช่สินค้าสำเร็จรูปและกรณีต้องด้วยบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภท 1 ชนิด 9 ก็ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้านั้น แต่ถ้านำสินค้าที่มิใช่สินค้าสำเร็จรูปเข้ามาเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อขายแล้ว ก็ไม่ต้องเสียภาษีการค้า ส่วนสินค้าสำเร็จรูปนั้นถ้ามีการนำเข้ามาก็จะต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าในทุกกรณีไม่ว่าจะนำเข้ามาเพื่อการใด (อ้างฎีกาที่ 1176/2521)
มาตรา 77 แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว ให้คำจำกัดความคำว่า "สินค้าสำเร็จรูป" ไว้ว่า หมายความว่าสินค้าซึ่งตามสภาพการอุปโภคบริโภคได้โดยไม่จำต้องเปลี่ยนหรือดัดแปลงหรือนำไปผสมกับสิ่งอื่น ฉะนั้น ในการพิจารณาว่าสินค้าใดเป็นสินค้าสำเร็จรูปหรือไม่ จึงจำต้องพิเคราะห์ถึงสภาพแห่งการใช้ของสินค้านั้น ๆ เป็นแต่ละชนิดไปว่าสามารถนำไปอุปโภคหรือบริโภคได้ทันทีหรือไม่ เมื่อได้ความว่าหัวน้ำเชื้อสระแหน่หัวน้ำเชื้อมะนาว หัวน้ำเชื้อส้ม จะนำไปอุปโภคหรือบริโภคโดยไม่ผสมกับสิ่งอื่นไม่ได้ เพราะแรงไป หากนำไปบริโภคโดยไม่เจือปนจะกัดลิ้น ฉุนและจาม เป็นอันตรายแก่ร่างกาย ดังนี้ ต้องถือว่าหัวน้ำเชื้อทั้งสามชนิดไม่เป็นสินค้าสำเร็จรูป ส่วนขี้ผึ้งที่ได้จากพืชนั้นทำไปใช้ได้ทันทีโดยไม่ได้งเปลี่ยนหรือดัดแปลงหรือผสมกับสิ่งใดอีก จึงถือได้ว่าเป็นสินค้าสำเร็จรูป
โจทก์สั่งขี้ผึ้งที่ได้จากพืชซึ่งเป็นสินค้าสำเร็จรูปเข้ามาผลิตสินค้าของโจทก์เองแม้จะมิได้สั่งเข้ามาเพื่อขายหรือยังมิได้ขาย โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า 1 การขายของชนิด 1 ก. (อ้างฎีกาที่ 1176/2521) ส่วนหัวน้ำเชื้อทั้ง 3 ชนิดซึ่งเป็นสินค้าสำเร็จรูปนั้น เมื่อโจทก์สั่งเข้ามาเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อขายโจทก์ก็ไม่ต้องเสียภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1616/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนด: สิทธิขับไล่จากการเช่าโดยไม่มีหลักฐาน
โฉนดมีชื่อโจทก์ สันนิษฐานว่าโจทก์เป็นเจ้าของโจทก์อ้างว่าให้จำเลยเช่า จำเลยอ้างว่าครอบครองเป็นเจ้าของ โจทก์ออกโฉนดโดยไม่สุจริต จำเลยมีหน้าที่นำสืบจำเลยนำสืบไม่สม ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยได้ การเช่าไม่มีเอกสารเป็นหลักฐาน ไม่ห้ามฟ้องขับไล่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1551/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนภาษีอากรขาเข้าและเงินวางประกันกรณีส่งออกสินค้าคืน และการประเมินราคาภาษีอากรเพิ่มเติม
โจทก์ได้เสียภาษีอากรสำหรับสินค้าปลากระป๋องเที่ยวที่ 8 ตามใบขนสินค้าขาเข้า คืออากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล รวม 227,046.41 บาท ให้กรมศุลกากรจำเลยไว้แล้ว สินค้าปลากระป๋องเที่ยวนี้โจทก์ได้ส่งกลับออกไปจำหน่ายยังประเทศสิงคโปร์ทั้งหมดและได้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรดังกล่าวจากจำเลยแล้วซึ่งในกรณีเช่นนี้จำเลยจะต้องคืนเงินอากรขาเข้าให้แก่โจทก์เก้าในสิบส่วน หรือส่วนที่เกินหนึ่งพันบาทของจำนวนที่ได้เรียกเก็บไว้แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่าตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พุทธศักราช 2482 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 18 และคืนภาษีการค้าภาษีบำรุงเทศบาล ตามเงื่อนไขหลักเกณฑ์วิธีการและอัตราส่วนเช่นเดียวกับการคืนอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรดังที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา 78 น.ว. แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 20) พ.ศ.2513 มาตรา 11 ฉะนั้น จำเลยจึงต้องคืนเงินภาษีการให้โจทก์ 224,670.94 บาท จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ต้องชำระภาษีการที่จำเลยเรียกเก็บเพิ่มจากโจทก์สำหรับสินค้าปลากระป๋องทั้ง 8 เที่ยวให้จำเลยเสียก่อนจึงจะคืนเงินภาษีอากรให้โจทก์ตามมาตรา 112 เบญจ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 15 หาได้ไม่ เพราะมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องให้อำนาจอธิบดีกักของไว้จนกว่าจะได้รับชำระเงินอากรที่ค้างครบถ้วนและเป็นคนละเรื่องกัน และจำเลยต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อไปนับแต่วันที่โจทก์ขอคืนและจำเลยไม่คืนให้ซึ่งถือว่าเป็นวันที่โจทก์ผิดนัด
โจทก์วางเงินประกันค่าอากรเพิ่มสำหรับสินค้าเที่ยวที่ 8 ไว้คุ้มค่าอากรที่จำเลยประเมินเพิ่ม จำเลยจึงเรียกเก็บเงินประกันค่าอากรเพิ่มเป็นค่าอากรตามที่ประเมินไว้ได้ทันทีตามพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 112 ทวิ ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 329 แต่เมื่อเงินประกันค่าอากรเพิ่มที่จำเลยเรียกไว้เกินจำนวนที่โจทก์ต้องเสียเพิ่ม จำเลยก็ต้องคืนเงินส่วนที่เกินดังกล่าวให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 0.625 บาทต่อเดือน ตามมาตรา 112 จัตวา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1551/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินภาษีอากรขาเข้าและเงินวางประกันค่าอากรเพิ่ม กรณีส่งสินค้าออกไปจำหน่ายต่างประเทศ และการประเมินราคาภาษี
โจทก์ได้เสียภาษีอากรสำหรับสินค้าปลากระป๋องเที่ยวที่ 8 ตามใบขนสินค้าขาเข้า คืออากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล รวม 227,046.41 บาท ให้กรมศุลกากรจำเลยไว้แล้วสินค้าปลากระป๋องเที่ยวนี้โจทก์ได้ส่งกลับออกไปจำหน่ายยังประเทศสิงคโปร์ทั้งหมดและได้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรดังกล่าวจากจำเลยแล้วซึ่งในกรณีเช่นนี้จำเลยจะต้องคืนเงินอากรขาเข้าให้แก่โจทก์เก้าในสิบส่วนหรือส่วนที่เกินหนึ่งพันบาทของจำนวนที่ได้เรียกเก็บไว้แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่าตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พุทธศักราช 2482 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 18 และคืนภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาลตามเงื่อนไขหลักเกณฑ์วิธีการและอัตราส่วนเช่นเดียวกับการคืนอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรดังที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 78 นว แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2513 มาตรา 11 ฉะนั้น จำเลยจึงต้องคืนเงินภาษีการค้าให้โจทก์ 224,670.94 บาท จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ต้องชำระภาษีการที่จำเลยเรียกเก็บเพิ่มจากโจทก์สำหรับสินค้าปลากระป๋องทั้ง 8 เที่ยวให้จำเลยเสียก่อนจึงจะคืนเงินภาษีอากรให้โจทก์ตามมาตรา 112 เบญจ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 15 หาได้ไม่ เพราะมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องให้อำนาจอธิบดีกักของไว้จนกว่าจะได้รับชำระเงินอากรที่ค้างครบถ้วนเป็นคนละเรื่องกัน และจำเลยต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่โจทก์ขอคืนและจำเลยไม่คืนให้ซึ่งถือว่าเป็นวันที่โจทก์ผิดนัด
โจทก์วางเงินประกันค่าอากรเพิ่มสำหรับสินค้าเที่ยวที่ 8 ไว้คุ้มค่าอากรที่จำเลยประเมินเพิ่ม จำเลยจึงเรียกเก็บเงินประกันค่าอากรเพิ่มเป็นค่าอากรตามที่ประเมินไว้ได้ทันทีตามพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 112 ทวิ ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 329 แต่เมื่อเงินประกันค่าอากรเพิ่มที่จำเลยเรียกไว้เกินจำนวนที่โจทก์ต้องเสียเพิ่ม จำเลยก็ต้องคืนเงินส่วนที่เกินดังกล่าวให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 0.625 บาทต่อเดือน ตามมาตรา 112จัตวา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1530/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขภาพถ่ายเพื่อแสดงตนเป็นผู้รับปริญญา ไม่ถือเป็นเอกสารปลอม เนื่องจากขาดความหมายอันเป็นสาระสำคัญ
จำเลยนำภาพถ่ายของผู้มีชื่อซึ่งถ่ายขณะรับพระราชทานปริญญาแพทย์ศาสตร์บัณฑิต รวม 2 ภาพกับภาพถ่ายของผู้มีชื่อซึ่งถ่ายขณะสวมครุยวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ 1ภาพ ซึ่งเป็นภาพอันแท้จริงมา นำเอาภาพเฉพาะใบหน้าของจำเลยปิดทับลงไปในตำแหน่งใบหน้าของผู้มีชื่อ และแก้เลข พ.ศ.2508 ในภาพผู้มีชื่อถ่ายขณะรับพระราชทานปริญญาภาพหนึ่ง เป็น พ.ศ.2504 แล้วถ่ายภาพอัดขยายใหม่ กลายเป็นภาพถ่ายซึ่งดูแล้วเป็นภาพจำเลยถ่ายขณะรับพระราชทานปริญญาแพทย์ศาสตร์บัณฑิตรวม 2 ภาพ และเป็นภาพจำเลยสวมครุยปริญญาแพทย์ศาสตร์บัณฑิต 1 ภาพ แล้วนำภาพถ่ายทั้ง 3 ภาพใส่กรอบติดไว้ในร้านขายยาของจำเลย
ดังนี้ การที่จำเลยเอาภาพเฉพาะใบหน้าของจำเลยปิดทับลงในตำแหน่งใบหน้าของภาพถ่ายผู้มีชื่อ แล้วถ่ายภาพอัดขยายใหม่กลายเป็นภาพถ่ายซึ่งดูแล้วเป็นภาพจำเลยถ่ายขณะรับพระราชทานปริญญาแพทย์ศาสตร์บัณฑิต 2 ภาพ กับภาพถ่ายจำเลยถ่ายขณะสวมครุยวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ 1 ภาพเป็นภาพถ่ายที่ไม่ได้ทำให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษรตัวเลข ผัง หรือแผนแบบอย่างอื่น ตามความหมายของคำว่าเอกสารดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(7)ภาพถ่ายทั้ง 3 ภาพของจำเลยจึงไม่เป็นเอกสารส่วนที่ภาพถ่ายภาพหนึ่งซึ่งดูแล้วเป็นภาพจำเลยถ่ายขณะรับพระราชทานปริญญาแพทย์ศาสตร์บัณฑิตมีตัวอักษรและตัวเลขอยู่เหนือและนอกภาพถ่ายว่า 'มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ 2504' ซึ่งตัวเลข 2504จำเลยแก้จากตัวเลข 2508 นั้น โจทก์มิได้นำสืบว่าตัวอักษรและตัวเลขนั้นมีความหมายถึงอะไร จึงไม่ปรากฏความหมายอันจะทำให้เป็นเอกสารในตัวเอง หรือทำให้ภาพถ่ายที่ไม่เป็นเอกสารนั้นเกิดเป็นเอกสารขึ้นได้การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมดังโจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1526/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องหลังศาลประทับรับฟ้องและนัดสืบพยาน: อำนาจและข้อจำกัด
ฟ้องไม่ระบุที่เกิดเหตุ ศาลประทับฟ้องและถามคำให้การจำเลยนัดสืบพยานโจทก์แล้ว เลยเวลาที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161 โจทก์มีอำนาจขอแก้ฟ้องตามมาตรา 163 แต่โจทก์มิได้ขอแก้อ้างว่าพลั้งเผลอศาลยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำในคดีอาญา: สถานที่เกิดเหตุสำคัญในการฟ้อง หากขาดรายละเอียด ถือเป็นฟ้องไม่ถูกต้อง
สถานที่เกิดเหตุเป็นสารสำคัญที่โจทก์จะต้องกล่าวบรรยายมาในฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นยกฟ้อง เพราะฟ้องโจทก์ขาดรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่เกิดการกระทำผิด ย่อมเห็นได้อยู่ในตัวแล้วว่า การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องไม่ปรากฏแน่ชัดว่าจำเลยได้กระทำผิด ณ สถานที่ใด จึงถือว่าได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิด ซึ่งได้ฟ้อง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไป แม้โจทก์จะยื่นฟ้องใหม่ก่อนอุทธรณ์คดีนั้น ก็ไม่ทำให้เกิดสิทธิที่จะฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำในคดีอาญา: สถานที่เกิดเหตุเป็นสาระสำคัญของฟ้อง หากฟ้องขาดรายละเอียด ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องถือเป็นเด็ดขาด
สถานที่เกิดเหตุเป็นสารสำคัญที่โจทก์จะต้องกล่าวบรรยายมาในฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องเพราะฟ้องโจทก์ขาดรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่เกิดการกระทำผิด ย่อมเห็นได้อยู่ในตัวแล้วว่า การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องไม่ปรากฏแน่ชัดว่าจำเลยได้กระทำผิด ณ สถานที่ใดจึงถือว่าได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไป แม้โจทก์จะยื่นฟ้องใหม่ก่อนอุทธรณ์คดีนั้น ก็ไม่ทำให้เกิดสิทธิที่จะฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1452/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลสั่งงดบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292 และ 293
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292 บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการบังคับคดีในกรณีต่าง ๆ หลายกรณีด้วยกัน และโดยเฉพาะใน (2) ได้บัญญัติไว้ว่า "ถ้าศาลได้มีคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้" แสดงว่า มาตรานี้มิใช่บทบัญญัติกำหนดหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีอย่างเดียว แต่ได้บัญญัติให้อำนาจศาลในอันที่จะมีคำสั่งงดการบังคับคดีได้เมื่อเห็นสมควรไว้ด้วย ส่วนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 นั้น เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลสั่งงดการบังคับคดีได้ ในเมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ยื่นฟ้องเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเป็นอีกคดีเรื่องหนึ่ง ซึ่งลูกหนี้ตามคำพิพากษาอาจจะชนะคดี และนำหนี้นั้นมาหักกลบลบกันกับหนี้ตามคำพิพากษาที่กำลังบังคับคดีกันอยู่ แต่มิใช่ว่าศาลจะมีอำนาจสั่งงดการบังคับคดีได้เฉพาะกรณีตามมาตรา 293 เพียงกรณีเดียว หากมีกรณีอื่นที่กฎหมายบัญญัติให้ศาลสั่งงดการบังคับคดีได้ดังเช่นที่มาตรา 292(2) บัญญัติไว้ ศาลก็ย่อมมีอำนาจสั่งงดการบังคับคดีได้
of 41