คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
โสพิทย์ คังคะเกตุ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 401 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อกำหนดพินัยกรรมมอบเงินให้สถาบันการกุศล ไม่เป็นโมฆะ แม้มิได้ระบุเจาะจง
ข้อกำหนดในพินัยกรรมกำหนดให้ผู้จัดการมรดกรวบรวมทรัพย์สินจำหน่ายเป็นเงินสด และให้ใช้จ่ายเป็นค่าทำศพเจ้ามรดกก่อน หากยังมีเงินเหลืออีกเท่าใด ให้ผู้จัดการมรดกจัดสรรทำบุญ หรือมอบให้สถาบัน หรือสถานที่ หรือกิจการสาธารณกุศลใด ตามแต่ผู้จัดการมรดกเห็นสมควร การมอบเงินให้สถาบันหรือสถานที่ หรือกิจการสาธารณกุศลนั้น ถือได้ว่าเป็นการทำบุญ ซึ่งเจ้ามรดกได้ระบุข้อความดังกล่าวให้อยู่ในวงจำกัดแน่นอนว่า จะต้องมอบให้เฉพาะเพื่อสาธารณกุศาลเท่านั้น จะมอบให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งทั่ว ๆ ไป หรือมิใช่เพื่อการกุศลตามแต่ใจของผู้จัดการมรดกไม่ได้ ไม่จำเป็นจะต้องระบุเจาะจงลงไปว่าเป็นสถาบันหรือสถานที่ หรือกิจการสาธารณกุศลใดโดนเฉพาะ ฉะนั้นข้อกำหนดในพินัยกรรมดังกล่าวถือได้ว่า เป็นการกำหนดบุคคลซึ่งอาจทราบตัวแน่นอนได้ จึงไม่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706 (2)
ข้อกำหนดในพินัยกรรมได้ระบุว่า ให้ผู้จัดการมรดกนำเงินสดที่เหลือจากการทำศพ มอบให้แก่สถาบัน หรือสถานที่ หรือกิจการสาธารณกุศล เพื่อการกุศลตามแต่ผู้จัดการมรดกเห็นสมควร ไม่ใช่ให้ผู้จัดการมรดกเป็นผู้กำหนดให้มากน้อยเท่าใดตามแต่ใจ จึงไม่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อกำหนดพินัยกรรมมอบเงินให้การกุศล ไม่เป็นโมฆะ แม้มิได้ระบุสถาบันชัดเจน
ข้อกำหนดในพินัยกรรมกำหนดให้ผู้จัดการมรดกรวบรวมทรัพย์สินจำหน่ายเป็นเงินสด และให้ใช้จ่ายเป็นค่าทำศพเจ้ามรดกก่อน หากยังมีเงินเหลืออีกเท่าใด ให้ผู้จัดการมรดกจัดสรรทำบุญ หรือมอบให้สถาบัน หรือสถานที่ หรือกิจการสาธารณกุศลใดตามแต่ผู้จัดการมรดกเห็นสมควรการมอบเงินให้สถาบันหรือสถานที่ หรือกิจการสาธารณกุศลนั้น ถือได้ว่าเป็นการทำบุญซึ่งเจ้ามรดกได้ระบุข้อความดังกล่าวให้อยู่ในวงจำกัดแน่นอนว่าจะต้องมอบให้เฉพาะเพื่อสาธารณกุศลเท่านั้น จะมอบให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งทั่วๆ ไป หรือมิใช่เพื่อการกุศลตามแต่ใจของผู้จัดการมรดกไม่ได้ไม่จำเป็นจะต้องระบุเจาะจงลงไปว่าเป็นสถาบัน สถานที่ หรือกิจการสาธารณกุศลใดโดยเฉพาะ ฉะนั้นข้อกำหนดในพินัยกรรมดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการกำหนดบุคคลซึ่งอาจทราบตัวแน่นอนได้ จึงไม่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706(2)
ข้อกำหนดในพินัยกรรมได้ระบุว่า ให้ผู้จัดการมรดกนำเงินสดที่เหลือจากการทำศพ มอบให้แก่สถาบัน หรือสถานที่ หรือกิจการเพื่อการกุศลตามแต่ผู้จัดการมรดกเห็นสมควร ไม่ใช่ให้ผู้จัดการมรดกเป็นผู้กำหนดให้มากน้อยเท่าใดตามแต่ใจ จึงไม่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนก่อนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด: ห้างหุ้นส่วนสามัญ
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ในนามของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 โจทก์ส่งไปให้ตั้งแต่ห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 ยังมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการตั้งห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 ได้เกิดขึ้นก่อนที่จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1079 ต้องถือว่าห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญอยู่จนกว่าจะได้จดทะเบียน ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วน ดังนั้นจำเลยที่ 2 ผู้เป็นหุ้นส่วนจึงต้องรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 อันมีอยู่ต่อโจทก์ก่อนที่ได้จดทะเบียน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัดก่อนจดทะเบียน: ห้างหุ้นส่วนสามัญ
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ในนามของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 โจทก์ส่งไปให้ตั้งแต่ห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 ยังมิได้ จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การตั้งห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 ได้เกิดขึ้นก่อนที่จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1079 ต้องถือว่าห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญอยู่จนกว่าจะได้จดทะเบียน ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วน ดังนั้น จำเลยที่ 2 ผู้เป็นหุ้นส่วนจึงต้องรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 อันมีอยู่ต่อโจทก์ก่อนที่ได้จดทะเบียน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 990/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ได้รับแจ้งคดีและการแต่งตั้งทนายความโดยชอบ จำเป็นต้องมีการไต่สวนข้อเท็จจริงก่อน
แม้กระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นดำเนินการมามิใช่เป็นการพิจารณาโดยขาดนัดก็ตาม แต่ปรากฏตามคำร้องของจำเลยว่าการดำเนินคดีของโจทก์ตั้งแต่ฟ้องจนกระทั่งมีการบังคับคดีนั้นจำเลยไม่ทราบ เพราะจำเลยไม่เคยรับหมายเรียกของศาล ไม่เคยแต่งตั้งให้ ว. เป็นทนายความแก้ต่าง ไม่เคยให้การต่อสู้คดี ไม่เคยมอบอำนาจให้ทนายความมีอำนาจประนีประนอมยอมความแทนจำเลยจำเลยเพียงทราบว่าถูกฟ้องเมื่อจ่าศาลไปยึดทรัพย์จำเลย ซึ่งถ้าเป็นความจริงดังจำเลยอ้าง การดำเนินกระบวนพิจารณาของ ว. ทนายความก็เป็นไปโดยมิชอบ ข้อเท็จจริงจะเป็นประการใดนั้น สมควรที่ศาลชั้นต้นจะต้องไต่สวนคำร้องของจำเลยก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 917/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนหนี้ในคดีล้มละลาย แม้เป็นหนี้ตามคำพิพากษาอื่น คำพิพากษาเดิมไม่ผูกพัน
เมื่อมีผู้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แม้ผู้ขอจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่น หรือเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ในคดีล้มละลายนั้นเองก็ตาม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจสอบสวนในเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระนั้นว่าเป็นหนี้ที่จะขอรับชำระได้หรือไม่ แล้วทำความเห็นเสนอศาลและศาลมีอำนาจสั่งตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 106,107,108
เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งให้จำเลย (ลูกหนี้) เสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ (เจ้าหนี้) โดยวิธีคิดดอกเบี้ยทบต้นตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคาร ตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ดังนี้ คำพิพากษาดังกล่าวไม่ผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาล (ในคดีล้มละลาย)เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำความเห็นเสนอศาลและศาลมีคำสั่งตามความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าจะคิดดอกเบี้ยทบต้นหลังจากวันฟ้องไม่ได้ ก็ย่อมมีอำนาจที่จะทำความเห็นและมีคำสั่งเช่นนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 915/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของที่ดินพิพาท: ผู้ร้องต้องดำเนินคดีกล่าวอ้างสิทธิกับโจทก์และโจทก์ร่วม ไม่ใช่เรื่องที่ต้องของดการบังคับคดี
ศาลพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกจากที่พิพาทผู้ร้องอ้างว่าที่ดินบางส่วนเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลย ดังนี้ ไม่ใช่เรื่องที่ผู้ร้องจะของดการบังคับคดี แต่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องต้องดำเนินคดีกับโจทก์และโจทก์ร่วมว่าผู้ร้องมีสิทธิดีกว่า ศาลไม่อนุญาตให้งดการบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 895/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, ฟ้องไม่เคลือบคลุม, กำหนดเวลาชำระหนี้, ผิดนัดชำระหนี้, การโต้แย้งคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินค้าที่จำเลยค้างชำระ โดยบรรยายฟ้องเกี่ยวกับชนิดและจำนวนสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อพร้อมทั้งราคาและในเงื่อนไขการชำระเงิน ตลอดจนสถานที่ที่ให้โจทก์จัดส่งมอบสินค้าให้จำเลยโดยละเอียด พอที่จำเลยเข้าใจได้เป็นอย่างเดียวแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์จำเลยตกลงกันว่า การชำระเงินค่าสินค้านั้นจำเลยจะต้องชำระภายในกำหนด 45 วันนับตั้งแต่วันสั่งของเสร็จ ถือได้ว่าการชำระหนี้รายนี้มีกำหนดเวลาชำระที่แน่นอนแล้วเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนด ถือได้ว่าจำเลยผิดนัด โจทก์ไม่ต้องทวงถามอีก
จำเลยอุทธรณ์ว่า คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในส่วนจำนวนสินค้าและราคายังคลาดเคลื่อนเป็นอันมากโดยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทรณ์ที่ไม่ได้รับวินิจฉัยให้นั้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไรจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 249 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6 ) พ.ศ. 2518 มาตรา 7 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 895/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและฟ้องเคลือบคลุมในคดีซื้อขายเสาเข็ม: การบรรยายฟ้องที่ชัดเจนและการกำหนดเวลาชำระหนี้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินค้าที่จำเลยค้างชำระ โดยบรรยายฟ้องเกี่ยวกับชนิดและจำนวนสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อพร้อมทั้งราคาและเงื่อนไขในการชำระตลอดจนสถานที่ที่ให้โจทก์จัดส่งมอบสินค้าให้จำเลยโดยละเอียดพอที่จำเลยเข้าใจได้เป็นอย่างดีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์จำเลยตกลงกันว่า การชำระเงินค่าสินค้านั้นจำเลยจะต้องชำระภายในกำหนด 45 วัน นับแต่วันส่งของเสร็จถือได้ว่าการชำระหนี้รายนี้มีกำหนดเวลาชำระที่แน่นอนแล้วเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนดถือได้ว่าจำเลยผิดนัดโจทก์ไม่ต้องทวงถามอีก
จำเลยอุทธรณ์ว่า คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในส่วนสินค้าและราคายังคลาดเคลื่อนเป็นอันมาก ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยเพราะจำเลยไม่ได้บรรยายให้แจ้งชัดว่า คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ถูกต้องอย่างไร จำเลยฎีกาต่อมาลอยๆ ว่าจำนวนสินค้าและราคายังคลาดเคลื่อนเป็นอันมากโดยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ไม่รับวินิจฉัยให้นั้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไรจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 249 แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 7 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาจองเช่า: สิทธิเรียกร้องนอกเหนือจากมาตรา 165(1) มีอายุความ 10 ปี
โจทก์ลงทุนปลูกตึกแถวในที่ดินของ ส. แล้วจำเลยจองเช่า2 คูหาโดยยอมจะให้เงินค่าก่อสร้างแก่โจทก์ ไม่ใช่ลักษณะสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา165(1)แต่มีอายุความเรียกเงินค่าก่อสร้างที่ค้างใน 10 ปี ตาม มาตรา164
of 41