คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
โสพิทย์ คังคะเกตุ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 401 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับความผิด หากไม่ปรากฏความเชื่อมโยง ศาลไม่ริบได้
จำเลยขายน้ำปลา 1 ขวด ที่มีป้ายแสดงราคาไว้ 9 บาท 50 สตางค์ ให้แก่ผู้เสียหายในราคา 10 บาท ตำรวจไปตรวจค้นยึดน้ำปลาของกลาง 31 ขวด ภายหลังจากการกระทำผิดเกิดขึ้นแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าของกลางเกี่ยวเนื่องกับน้ำปลา 1 ขวด ที่ขายเกินราคาควบคุม หรือได้ยึดมาเป็นของกลางรวมกับของกลาง 31 ขวด นี้ด้วยจึงยังฟังไม่ได้ว่าน้ำปลาของกลาง เป็นโภคภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับความผิดของจำเลยอันจะต้องริบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่โต้แย้งคำสั่งศาลระหว่างพิจารณาคดี ทำให้สิทธิในการอุทธรณ์สละสิ้น
ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลย นัดฟังคำพิพากษา 10 วันต่อมา จำเลยไม่โต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณานี้ จึงอุทธรณ์ขอสืบพยานต่อไปไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2935/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาและการนำสืบพยานหลักฐาน: การคัดค้านการสอบสวนในชั้นอุทธรณ์และฎีกา
ข้อที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะมิได้มีการสอบสวนในความผิดที่ฟ้องจำเลยนั้นเป็นข้อที่จำเลยเพิ่งมาคัดค้านขึ้นในชั้นอุทธรณ์และฎีกาทั้งโจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องแล้วว่ามีการสอบสวน และตามสำนวนก็ไม่มีข้อเท็จจริงใด ที่แสดงว่าการสอบสวนนั้นไม่ชอบย่อมไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2721/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ประเด็นสิทธิในทรัพย์มรดกที่ดิน แม้เป็นแปลงต่างกัน หากเคยพิพาทแล้ว
เจ้ามรดกมีที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกอยู่ 3 แปลง โจทก์จำเลยต่างเป็นทายาทของเจ้ามรดก คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้กำจัดมิให้จำเลยได้รับมรดกที่ดิน 2 แปลงศาลพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขอแบ่งที่ดินมรดกแปลงที่ 3 ครึ่งหนึ่ง แม้ที่ดินที่โจทก์ฟ้องเรียกในคดีนี้จะเป็นที่ดินคนละแปลงกับที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อน ก็ตาม แต่คดีก็มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกันว่าโจทก์มีสิทธิได้รับที่ดินมรดกหรือไม่ ทั้งโจทก์ทราบว่าที่ดินแปลงนี้มีอยู่แล้วก่อนที่โจทก์จะฟ้องในคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2721/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การเรียกร้องที่ดินมรดกเดิม แม้เป็นแปลงอื่น ประเด็นสิทธิในการได้รับมรดกต้องวินิจฉัยเดียวกัน
เจ้ามรดกมีที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกอยู่ 3 แปลง โจทก์จำเลยต่างเป็นทายาทของเจ้ามรดก คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้กำจัดมิให้จำเลยได้รับมรดกที่ดิน 2 แปลง ศาลพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขอแบ่งที่ดินมรดกแปลงที่ 3 ครึ่งหนึ่ง แม้ที่ดินที่โจทก์ฟ้องเรียกในคดีนี้จะเป็นที่ดินคนละแปลงกับที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อนก็ตาม แต่คดีก็มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกันว่าโจทก์มีสิทธิได้รับที่ดินมรดกหรือไม่ ทั้งโจทก์ทราบว่าที่ดินแปลงนี้มีอยู่แล้วก่อนที่โจทก์จะฟ้องในคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2615/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: อายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และการถือตามข้อเท็จจริงที่พิพากษาในคดีอาญา
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ เบิกความเท็จ นำสืบและแสดงหลักฐานเท็จในคดีแพ่งซึ่งศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามฟ้องแล้วโจทก์ได้อาศัยมูลคดีอาญาดังกล่าวฟ้องจำเลยทั้งสองให้ร่วมกันรับผิดฐานละเมิดฟ้องโจทก์คดีหลังนี้จึงเป็นฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาข้อเท็จจริงในคดีแพ่งที่ว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่จำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่พิพากษาไว้ในคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 และอายุความฟ้องร้องต้องถือตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 ซึ่งให้ถือตามอายุความ 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2604/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเดิมสิ้นสุด แต่จำเลยยังชำระค่าเช่าให้โจทก์ต่อเนื่อง โจทก์ยังมีสิทธิฟ้องขับไล่ได้
เดิมจำเลยเข้าอยู่ในตึกแถวพิพาทก็โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่ากับโจทก์ต่อมาเมื่อสัญญานั้นสิ้นกำหนดเวลาแล้วและก่อนที่จำเลยจะทำสัญญาเช่าจากบริษัท ฮ. จำเลยยังคงอยู่ในตึกแถวพิพาทและชำระค่าเช่าให้โจทก์ตลอดมา แม้บริษัท ฮ. เป็นผู้เช่าตึกแถวพิพาทจากสำนักพระราชวัง (สำนักงานพระคลังข้างที่)เมื่อ พ.ศ.2516แต่ขณะนั้นจำเลยก็ยังเป็นผู้เช่าจากโจทก์และชำระค่าเช่าให้โจทก์ตลอดมาเช่นกันจำเลยจึงอยู่ในตึกแถวพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าจากโจทก์ต่อมาแม้การเช่าของโจทก์ซึ่งได้รับโอนสิทธิจากผู้ให้เช่าคนก่อน ๆ จะสิ้นกำหนดเวลาลงแล้วโจทก์ย่อมฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2558/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเฮโรอีนเพื่อจำหน่าย: พยานหลักฐานสนับสนุนคำวินิจฉัยของศาล
เฮโรอีนของกลางมีถึง 21 กรัมเศษ แบ่งใส่หลอดถึง 25 หลอดแยกไว้เป็น 5 ห่อ ห่อละ 5 หลอด เห็นได้ว่าทำไว้เพื่อความสะดวกแก่การจำหน่าย ไม่ปรากฏว่าจำเลยเสพเฮโรอีนเหล่านั้นเองจำเลยจึงมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2533/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ และหน้าที่ในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในเขตโฉนดที่ดินของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์ใช้ยันโจทก์ซึ่งได้ที่ดินมาโดยเจ้าของเดิมยกให้แต่จำเลยจะฟ้องขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจัดการโอนใส่ชื่อจำเลยและจัดการแบ่งแยกให้จำเลยไม่ได้ และศาลจะพิพากษาให้โจทก์จัดการแบ่งแยกให้แก่จำเลยไม่ได้ เพราะโจทก์ไม่มีหน้าที่อย่างใดในทางนิติกรรมที่จะต้องโอนให้จำเลย เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ จะต้องดำเนินการให้มีชื่อของตนในโฉนดต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2485/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นผู้ทรงเช็คหลังการซื้อขายลดเช็คและสลักหลัง การเปลี่ยนมือของเช็ค
เช็คพิพาทเป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไป สั่งจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 หรือผู้ถือ ย่อมเปลี่ยนมือได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้ทำสัญญาขายลดเช็คทั้งสองฉบับดังกล่าวให้โจทก์ โดยได้สลักหลังเช็คทั้งสองฉบับดังกล่าวให้โจทก์ โดยได้สลักหลังเช็คทั้งสองฉบับโอนให้โจทก์และโจทก์ได้ชำระเงินค่าขายลดเช็คให้จำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 904
of 41