พบผลลัพธ์ทั้งหมด 402 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนเครื่องหมายการค้า: ต้องมีการโต้แย้งสิทธิ หรือความสุจริตในการใช้เครื่องหมาย
กรณีที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า ฯ นั้น ถ้าเป็นกรณีตามมาตรา 16 ก็เป็นเรื่องนายทะเบียนมีหนังสือปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนเพราะเหมือนกับเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้แล้ว หรือมีการโต้แย้งคัดค้านการขอจดทะเบียนตามมาตรา 22, 23 อันเป็นการโต้แย้งสิทธิกัน ส่วนกรณีที่จะขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโดยอ้างเหตุตามมาตรา 42 คือจดทะเบียนไว้โดยมิได้ตั้งใจสุจริตที่จะใช้เป็นเครื่องหมายการค้านั้น ก็ต้องมีการโต้แย้งสิทธิและทำเป็นคำฟ้องเช่นเดียวกัน (อ้างฎ๊กาที่ 232/2504)
คำบรรยายฟ้องของโจทก์มีเพียงว่า นายทะเบียนไม่ยอมพิจารณาคำขอทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่านายทะเบียนปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนตามมาตรา 16 หรือจำเลยคัดค้านการขอจดทะเบียนของโจทก์ตามมาตรา 22 ดังนี้ย่อมไม่มีการโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามบทมาตราดังกล่าว ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่าจำเลยมิได้ตั้งใจสุจริตที่จะใช้เครื่องมหายการค้าอันได้จดทะเบียนไว้ อันเป็นการฟ้องโดยอ้างเหตุตามมาตรา 42 นั้น การฟ้องตามมาตรานี้ก็ต้องเป็นกรณีที่มีการโต้แย้งสิทธิเช่นเดียวกัน คือโจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าแบบที่จำเลยจดทะเบียนไว้ก่อน แต่โจทก์กลับบรรยายฟ้องง่าเครื่องหมายการค้าตราเสือที่ขอจดทะเบียนนั้นไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าตราเสือที่จำเลยจดทะเบียนไว้ เช่นนี้ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 42 นี้ด้วย
คำบรรยายฟ้องของโจทก์มีเพียงว่า นายทะเบียนไม่ยอมพิจารณาคำขอทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่านายทะเบียนปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนตามมาตรา 16 หรือจำเลยคัดค้านการขอจดทะเบียนของโจทก์ตามมาตรา 22 ดังนี้ย่อมไม่มีการโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามบทมาตราดังกล่าว ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่าจำเลยมิได้ตั้งใจสุจริตที่จะใช้เครื่องมหายการค้าอันได้จดทะเบียนไว้ อันเป็นการฟ้องโดยอ้างเหตุตามมาตรา 42 นั้น การฟ้องตามมาตรานี้ก็ต้องเป็นกรณีที่มีการโต้แย้งสิทธิเช่นเดียวกัน คือโจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าแบบที่จำเลยจดทะเบียนไว้ก่อน แต่โจทก์กลับบรรยายฟ้องง่าเครื่องหมายการค้าตราเสือที่ขอจดทะเบียนนั้นไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าตราเสือที่จำเลยจดทะเบียนไว้ เช่นนี้ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 42 นี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าต้องมีการโต้แย้งสิทธิ หรือความเสียหายจากการจดทะเบียนโดยไม่สุจริต
กรณีที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้านั้น ถ้าเป็นกรณีตามมาตรา 16 ก็เป็นเรื่องนายทะเบียนมีหนังสือปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนเพราะเหมือนกับเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้แล้ว หรือมีการโต้แย้งคัดค้านการขอจดทะเบียนตาม มาตรา22,23 อันเป็นการโต้แย้งสิทธิกัน ส่วนกรณีที่จะขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโดยอ้างเหตุตามมาตรา 42 คือจดทะเบียนไว้โดยมิได้ตั้งใจสุจริตที่จะใช้เป็นเครื่องหมายการค้านั้น ก็ต้องมีการโต้แย้งสิทธิและทำเป็นคำฟ้องเช่นเดียวกัน (อ้างฎีกาที่ 232/2504)
คำบรรยายฟ้องของโจทก์มีเพียงว่า นายทะเบียนไม่ยอมพิจารณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่านายทะเบียนปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนตามมาตรา 16 หรือจำเลยคัดค้านการขอจดทะเบียนของโจทก์ตามมาตรา 22 ดังนี้ย่อมไม่มีการโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามบทมาตราดังกล่าว ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่าจำเลยมิได้ตั้งใจสุจริตที่จะใช้เครื่องหมายการค้าอันได้จดทะเบียนไว้ อันเป็นการฟ้องโดยอ้างเหตุตามมาตรา 42นั้น การฟ้องตามมาตรานี้ก็ต้องเป็นกรณีที่มีการโต้แย้งสิทธิเช่นเดียวกัน คือโจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าแบบที่จำเลยจดทะเบียนไว้ก่อน แต่โจทก์กลับบรรยายฟ้องว่าเครื่องหมายการค้าตราเสือที่ขอจดทะเบียนนั้นไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าตราเสือที่จำเลยจดทะเบียนไว้เช่นนี้ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 42 นี้ด้วย
คำบรรยายฟ้องของโจทก์มีเพียงว่า นายทะเบียนไม่ยอมพิจารณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่านายทะเบียนปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนตามมาตรา 16 หรือจำเลยคัดค้านการขอจดทะเบียนของโจทก์ตามมาตรา 22 ดังนี้ย่อมไม่มีการโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามบทมาตราดังกล่าว ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่าจำเลยมิได้ตั้งใจสุจริตที่จะใช้เครื่องหมายการค้าอันได้จดทะเบียนไว้ อันเป็นการฟ้องโดยอ้างเหตุตามมาตรา 42นั้น การฟ้องตามมาตรานี้ก็ต้องเป็นกรณีที่มีการโต้แย้งสิทธิเช่นเดียวกัน คือโจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าแบบที่จำเลยจดทะเบียนไว้ก่อน แต่โจทก์กลับบรรยายฟ้องว่าเครื่องหมายการค้าตราเสือที่ขอจดทะเบียนนั้นไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าตราเสือที่จำเลยจดทะเบียนไว้เช่นนี้ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 42 นี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1013/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ค่าเช่าซื้อด้วยเช็คและการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค เมื่อเช็คไม่มีเงินรองรับ
เดิมจำเลยทั้งสองค้างชำระค่าเช่าซื้อรถแทรกเตอร์โจทก์ร่วม แล้วทำหนังสือรับสภาพหนี้และได้ออกเช็คพิพาทชำระหนี้นั้น ดังนี้ ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระนั้นจำเลยทั้งสองได้ชำระให้โจทก์ร่วมแล้วด้วยเช็คพิพาท ครั้นต่อมาจำเลยผิดนัดและโจทก์ร่วมบอกเลิกสัญญา โจทก์ร่วมจึงมีสิทธิรับเงินค่าเช่าซื้อที่ได้มาแล้วแต่ก่อนเลิกสัญญาด้วยการออกเช็คพิพาทนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 ดังนั้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คโดยจำเลยออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้นและออกเช็คโดยในขณะออกไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินตามเช็คได้ จำเลยทั้งสองย่อมมีความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1013/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คเพื่อชำระหนี้ค่าเช่าซื้อและการฟ้องร้องความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
เดิมจำเลยทั้งสองค้างชำระค่าเช่าซื้อรถแทรกเตอร์โจทก์ร่วม แล้วทำหนังสือรับสภาพหนี้และได้ออกเช็คพิพาทชำระหนี้นั้น ดังนี้ ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระนั้น จำเลยทั้งสองได้ชำระให้โจทก์ร่วมแล้วด้วยเช็คพิพาท ครั้นต่อมาจำเลยผิดนัดและโจทก์ร่วมนั้นบอกเลิกสัญญา โจทก์ร่วมจึงมีสิทธิริบเงินค่าเช่าซื้อที่ได้ใช้มาแล้วแต่ก่อนเลิกสัญญาด้วยการออกเช็คพิพาทนี้ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 ดังนั้น เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คโดยจำเลยออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น และออกเช็คโดยในขณะออกไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินตามเช็คได้ จำเลยทั้งสองย่อมมีความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1005-1006/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: ปัญหาข้อเท็จจริงเกินทุนทรัพย์ 50,000 บาท
โจทก์ 2 คนฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยมาในคดีเดียวกันรวมค่าเสียหายเกิน 50,000 บาท โดยต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวแยกกันแต่ละรายไม่เกิน 50,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงฎีกาข้อเท็จจริงไม่ได้
ฟ้องแย้งมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท ฎีกาข้อเท็จจริงตามฟ้องแย้งไม่ได้
ฟ้องแย้งมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท ฎีกาข้อเท็จจริงตามฟ้องแย้งไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงท้าสืบพยานเป็นข้อแพ้ชนะใช้บังคับได้ การอ้างพยานเบิกความไม่สุจริตหลังเบิกความแล้วฟังไม่ได้
โจทก์จำเลยตกลงท้ากันขอให้สืบ ส.เป็นพยานหากส. เบิกความเจือสมฝ่ายใด ให้ฝ่ายนั้นชนะคดี ดังนี้ คำท้าของโจทก์จำเลยจึงเป็นคำท้าที่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาท ใช้บังคับได้ เมื่อ ส. เบิกความเจือสมฝ่ายโจทก์โจทก์ก็เป็นฝ่ายชนะคดีตามคำท้า จำเลยจะกลับมายื่นคำร้องอ้างว่า ส. เบิกความโดยไม่สุจริต ขอให้ศาลไต่สวนและเพิกถอนคำท้าภายหลังที่ ส. ได้เบิกความต่อศาลไปแล้ว ย่อมไม่มีเหตุผลให้รับฟัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงท้าสืบพยานเป็นประเด็นข้อพิพาท: คำท้ามีผลผูกพันและบังคับใช้ได้ แม้ภายหลังจะอ้างว่าพยานเบิกความไม่สุจริต
โจทก์จำเลยตกลงท้ากันขอให้สืบ ส. เป็นพยาน หาก ส. เบิกความฝ่ายใด ให้ฝ่ายนั้นชนะคดี ดังนี้ คำท้าของโจทก์จำเลยจึงเป็นคำท้าที่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาท ใช้บังคับได้ เมื่อ ส. เบิกความเจือสมฝ่ายโจทก์ โจทก์ก็เป็นฝ่ายชนะคดีตามคำท้าจำเลยจะกลับมายื่นคำร้องอ้างว่า ส. เบิกความโดยไม่สุจริต ขอให้ศาลไต่สวนและเพิกถอนคำท้าภายหลังที่ ส. ได้เบิกความต่อศาลไปแล้ว ย่อมไม่มีเหตุผลให้รับฟัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 925/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเช็ค: ผู้ครอบครองเช็คมีอำนาจฟ้องได้ แม้มีคนนำเช็คไปเรียกเก็บเงิน
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินสดแก่ผู้ถือ จำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายมอบให้แก่โจทก์เป็นการชำระหนี้ค่าสินค้าโจทก์ฝากเช็คนั้นให้ ธ.นำไปเข้าบัญชีเงินฝากของ ธ. เพื่อให้เรียกเก็บเงิน เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ธ. จึงได้มอบเช็คพิพาทคืนแก่โจทก์ดังนี้ ขณะฟ้องคดีนี้โจทก์เป็นผู้ครอบครองเช็คอยู่ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดใช้เงินตามเช็คนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารสัญญากู้เพื่อฟ้องร้องเรียกเงิน และเบิกความเท็จต่อศาล
กรอกข้อความลงในเอกสารที่มีลายมือชื่อของโจทก์โดยโจทก์มิได้ยินยอมให้กรอก แล้วนำเอกสารมาฟ้องเรียกเงินกู้เป็นการปลอมเอกสารตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 วรรค 2 โจทก์ฟ้องว่าเหตุเกิดที่ตำบลมะขามหย่ง แต่โจทก์เบิกความว่าเหตุเกิดที่บ้านจำเลย ตำบลบางปลาสร้อย เมื่อจำเลยรับว่าเป็นผู้กรอกข้อความและตำบลทั้งสองอยู่อำเภอเดียวกัน ไม่ถือว่าจำเลยหลงข้อต่อสู้ ลงโทษจำเลยตามฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 858/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินและสร้างถนน: การปฏิบัติตามข้อตกลงเรื่องไหล่ถนนเป็นสาระสำคัญของสัญญา
โจทก์จำเลยตกลงกันว่า "โจทก์จะต้องทำถนนขนาดมาตรฐาน คอนกรีตเสริมเหล็กหนา 15 เซนติเมตร ส่วนหน้ากว้าง 8 เมตร ผิวจราจร 6 เมตร ไหล่ถนนข้างละ 1 เมตร ใต้ไหล่ทางมีท่อระบายน้ำ และท่อพักเปิดปิดทำความสะอาดได้ ???" ตามข้อตกลงดังกล่าว หมายความว่าโจทก์ต้องทำไหล่ถนนข้างละ 1 เมตร เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้ทำไหล่ถนนข้างละ 1 เมตร เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้ทำไหล่ถนนข้างละ 1 เมตร เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กเพียงแต่ทำท่อระบายน้ำมีบ่อพักและมีฝาปิดเปิดเท่านั้น ถือได้ว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับในสัญญาโดยครบถ้วน
คดีนี้โจทก์มีคำขอให้เรียกร้องที่ดินมาเป็นของโจทก์ ราคาที่ดินย่อมเป็นทุนทรัพย์ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์
คดีนี้โจทก์มีคำขอให้เรียกร้องที่ดินมาเป็นของโจทก์ ราคาที่ดินย่อมเป็นทุนทรัพย์ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์