พบผลลัพธ์ทั้งหมด 402 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2444/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ, หน่วงเหนี่ยวกักขัง, ทำร้ายร่างกาย: เจตนาและกรรมเดียว
จำเลยทั้งสามเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดแกล้งจับผู้เสียหายอ้างว่า กระทำผิดฐานเมาสุราอาละวาดทั้งที่ไม่เป็นความจริง อันเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และนำตัวผู้เสียหายออกจากบ้านไปไว้ที่แห่งหนึ่ง แล้วจึงปล่อยตัวผู้เสียหายไป อันเป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพตามมาตรา 310ดังนี้ แม้การกระทำของจำเลยทั้งสามจะเป็นการกระทำหลายอย่าง แต่ก็ด้วยเจตนาอันเดียวกัน คือเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด และเป็นการกระทำต่อเนื่องกันการกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นกรรมเดียวกัน แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
จำเลยที่ 1 จับมือผู้เสียหายกระชากโดยแรงจนผู้เสียหายล้มลงได้รับบาดเจ็บที่นิ้วนางซ้ายและหัวเข่าซ้าย แพทย์ลงความเห็นว่าบาดแผลต้องใช้เวลารักษาประมาณ 5 วัน ตามพฤติการณ์แสดงว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาทำร้ายผู้เสียหายเมื่อผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงต้องมีความผิดตามมาตรา 295
จำเลยที่ 1 จับมือผู้เสียหายกระชากโดยแรงจนผู้เสียหายล้มลงได้รับบาดเจ็บที่นิ้วนางซ้ายและหัวเข่าซ้าย แพทย์ลงความเห็นว่าบาดแผลต้องใช้เวลารักษาประมาณ 5 วัน ตามพฤติการณ์แสดงว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาทำร้ายผู้เสียหายเมื่อผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงต้องมีความผิดตามมาตรา 295
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2352/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาต้องระบุรายละเอียดการกระทำความผิดให้ชัดเจน เพื่อให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยครอบครองเรือยนต์ของผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายมอบหมายให้จำเลยนำไปทำการดูดแร่ในทะเล แล้วจำเลยเบียดบังเอาเรีอยนต์นั้นเป็นของจำเลยหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ดังนี้ ข้อกล่าวหาที่ว่าจำเลยเบียดบังนั้น โจทก์มิได้ระบุกระทำของจำเลยให้ชัดว่าจำเลยกระทำการอย่างไรที่พอจะถือได้ว่าจำเลยเบียดบังเอาเรือยนต์ไปเป็นของจำเลยหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต เมื่อโจทก์ไม่บรรยายข้อเท็จจริงและรายละเอียดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5)
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1057/2514)
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1057/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2352/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาข้อหาเบียดบังทรัพย์ ต้องระบุรายละเอียดการกระทำที่ชัดเจนเพื่อให้จำเลยเข้าใจข้อหา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยครอบครองเรือยนต์ของผู้เสียหายโดยผู้เสียหายมอบหมายให้จำเลยนำไปทำการดูดแร่ในทะเลแล้วจำเลยเบียดบังเอาเรือยนต์นั้นเป็นของจำเลยหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ดังนี้ ข้อกล่าวหาที่ว่าจำเลยเบียดบังนั้น โจทก์มิได้ระบุ การกระทำของจำเลยให้ชัดว่าจำเลยกระทำการอย่างไรที่พอจะถือได้ว่าจำเลยเบียดบังเอาเรือยนต์ไปเป็นของจำเลยหรือบุคคลที่สาม โดยทุจริต เมื่อโจทก์ไม่บรรยายข้อเท็จจริงและรายละเอียดพอสมควร เท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1057/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2331/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้จัดการแทนผู้เสียหาย การสิ้นสุดสิทธิเรียกร้องเมื่อผู้จัดการแทนตาย
เรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
ในกรณีที่บิดาผู้เสียหายได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้เสียหายถึงแก่ความตายโดยเจตนา ในฐานะผู้จัดการแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) นั้น เมื่อบิดาผู้เสียหายตายลงระหว่างพิจารณา ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรของบิดาผู้เสียหาย (พี่ชายผู้เสียหาย) หามีสิทธิดำเนินคดีต่างบิดาผู้เสียหายต่อไปตามความหมายของบทบัญญัติมาตรา 29 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ เพราะบิดาผู้เสียหายเป็นผู้จัดการแทนผู้เสียหาย ซึ่งถูกทำร้ายถึงตายเท่านั้น
ในกรณีที่บิดาผู้เสียหายได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้เสียหายถึงแก่ความตายโดยเจตนา ในฐานะผู้จัดการแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) นั้น เมื่อบิดาผู้เสียหายตายลงระหว่างพิจารณา ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรของบิดาผู้เสียหาย (พี่ชายผู้เสียหาย) หามีสิทธิดำเนินคดีต่างบิดาผู้เสียหายต่อไปตามความหมายของบทบัญญัติมาตรา 29 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ เพราะบิดาผู้เสียหายเป็นผู้จัดการแทนผู้เสียหาย ซึ่งถูกทำร้ายถึงตายเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2280/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีอาวุธปืนติดตัวโดยไม่ได้รับอนุญาตและการริบของกลาง: ศาลฎีกาตัดสินว่าการริบอาวุธปืนที่มีใบอนุญาตไม่ชอบ
จำเลยพาอาวุธปืนของจำเลยซึ่งได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้มีได้โดยชอบเข้าไปในเมืองโดยไม่มีเหตุอันสมควร และไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว เป็นความผิดกรรมเดียวต่อกฎหมายหลายบท คือ ผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคแรก, 72 ทวิ วรรคสอง และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 37 เมื่อลงโทษตามพระราชบัญญัติ อาวุธปืนฯ ซึ่งเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ไม่ทำให้ อาวุธปืนที่มีใบอนุญาตตกเป็นปืนที่ผิดกฎหมายและบทลงโทษตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ไม่ได้ให้อำนาจศาลสั่งริบ จึงริบอาวุธปืนและ กระสุนปืนของกลางไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2246/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การและพิจารณาคดี การพิจารณาคดีใหม่เมื่อจำเลยพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้จงใจขาดนัด
จำเลยเดินทางออกจากประเทศไทยไปประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อศึกษาเล่าเรียนตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2512 และกลับประเทศไทยเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2515 โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าจ้างว่าความจากจำเลย เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2514 จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัด รายงานของเจ้าพนักงานเดินหมายระบุว่าได้ส่งคำบังคับให้จำเลยรับ ในวันที่ 3 สิงหาคม 2519 เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ในวันที่ 16 สิงหาคม 2519 จึงไม่เกินกำหนดตามกฎหมาย จำเลยมีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2246/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการขอพิจารณาใหม่ เมื่อจำเลยอยู่ต่างประเทศขณะฟ้องคดี
จำเลยเดินทางออกจากประเทศไทยไปประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อศึกษาเล่าเรียนตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2512 และกลับประเทศไทยเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2515 โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าจ้างว่าความจากจำเลย เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2514 จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัด รายงานของเจ้าพนักงานเดินหมายระบุว่าได้ส่งคำบังคับให้จำเลยรับ ในวันที่ 3 สิงหาคม 2519 เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ในวันที่ 16 สิงหาคม 2519 จึงไม่เกินกำหนดตามกฎหมาย จำเลยมีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2243/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีเรื่องเอกสารปลอมต้องระบุเหตุแห่งการปลอมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ จำเลยให้การต่อสู้ว่าสัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารปลอม โดยไม่อ้างเหตุตั้งประเด็นไว้ว่าปลอมอย่างไร ย่อมไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 จำเลยไม่มีสิทธิสืบพยานบุคคลตามข้อต่อสู้นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2241/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าเป็นมรดก ทายาทมีสิทธิร่วมกับผู้เช่าเดิม การแบ่งสิทธิการเช่าต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของทรัพย์
จ.และจำเลยมีสิทธิการเช่าห้องพิพาทร่วมกัน เมื่อ จ.ตาย สัญญาเช่าของ จ.ย่อมเป็นมรดกตกได้แก่ทายาท (คือโจทก์) ที่จะมีสิทธิการเช่าร่วมกับจำเลย แต่ที่โจทก์จะให้นำสิทธิการเช่าดังกล่าวไปโอนให้บุคคลอื่นหรือขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินมาแบ่งกันระหว่างจำเลย กับทายาทของ จ. นั้น ผู้ให้เช่าเป็นบุคคลนอกคดีต้องยินยอมด้วย กรณีไม่อาจบังคับตามคำขอได้
เมื่อสิทธิการเช่ามีราคา 95,000 บาท โจทก์ขอแบ่งสิทธิการเช่าที่เหลืออยู่ 12 ปี สิทธิการเช่าจึงมีราคา 76,000 บาท โจทก์มีสิทธิกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 38,000 บาท ศาลพิพากษาให้จำเลยใช้เงิน 38,000 บาทแก่โจทก์
เมื่อสิทธิการเช่ามีราคา 95,000 บาท โจทก์ขอแบ่งสิทธิการเช่าที่เหลืออยู่ 12 ปี สิทธิการเช่าจึงมีราคา 76,000 บาท โจทก์มีสิทธิกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 38,000 บาท ศาลพิพากษาให้จำเลยใช้เงิน 38,000 บาทแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2241/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าเป็นมรดก แต่การโอนหรือขายต้องมีผู้ให้เช่ายินยอม ส่วนแบ่งสิทธิการเช่าเป็นไปตามสัดส่วน
จ.และจำเลยมีสิทธิการเช่าห้องพิพาทร่วมกัน เมื่อ จ.ตายสัญญาเช่าของ จ.ย่อมเป็นมรดกตกได้แก่ทายาท (คือโจทก์) ที่จะมีสิทธิการเช่าร่วมกับจำเลย แต่ที่โจทก์จะให้นำสิทธิการเช่าดังกล่าวไปโอนให้บุคคลอื่นหรือขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินมาแบ่งกันระหว่างจำเลยกับทายาทของจ.นั้น ผู้ให้เช่าเป็นบุคคลนอกคดีต้องยินยอมด้วย กรณีไม่อาจบังคับตามคำขอได้
เมื่อสิทธิการเช่ามีราคา 95,000 บาท โจทก์ขอแบ่งสิทธิการเช่าที่เหลืออยู่ 12 ปี สิทธิการเช่าจึงมีราคา 76,000 บาท โจทก์มีสิทธิกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 38,000 บาท ศาลพิพากษาให้จำเลยใช้เงิน 38,000 บาท แก่โจทก์
เมื่อสิทธิการเช่ามีราคา 95,000 บาท โจทก์ขอแบ่งสิทธิการเช่าที่เหลืออยู่ 12 ปี สิทธิการเช่าจึงมีราคา 76,000 บาท โจทก์มีสิทธิกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 38,000 บาท ศาลพิพากษาให้จำเลยใช้เงิน 38,000 บาท แก่โจทก์