คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประเสริฐ วราภรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 402 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2546/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายสินบนนำจับในคดีป่าไม้: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้จ่ายสินบนตามที่กฎหมายบัญญัติ แม้คำขอท้ายฟ้องจะใช้ถ้อยคำคลาดเคลื่อน
พนักงานอัยการได้ร้องขอต่อศาลแล้วว่ามีผู้นำจับจำเลยประสงค์ขอรับเงินสินบนนำจับ โดยอ้างบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องและมีคำขอให้จ่ายสินบนนำจับมาท้ายฟ้องแล้ว ตามที่ถ้อยคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ใช้ถ้อยคำว่า ให้จำเลยจ่ายสินบนนำจับตามกฎหมาย ซึ่งตามกฎหมายมิได้บัญญัติให้จำเลยจ่ายเงินสินบนนำจับ ก็ไม่ทำให้คำขอของโจทก์เกี่ยวกับการจ่ายเงินสินบนนำจับเสียไป เพราะโจทก์ได้อ้างบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาในคำฟ้องแล้ว ทั้งเป็นเพียงการใช้ถ้อยคำผิดเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อยเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีนอกเหนือคำฟ้อง: สัญญาเช่าผิดนัด vs. สัญญาเช่าหมดอายุ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยโดยอ้างเหตุว่า สัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยเลิกกันแล้วเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาเช่า มิได้อ้างเหตุว่า สัญญาเช่าครบกำหนดแล้ว การที่ศาลล่างพิพากษาขับไล่จำเลยโดยอาศัยเหตุที่ว่าขณะศาลตัดสิน สัญญาเช่าครบกำหนดแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิอยู่นั้นเป็นการพิพากษานอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษานอกฟ้องในคดีขับไล่: ศาลต้องพิจารณาเฉพาะเหตุที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยโดยอ้างเหตุว่า สัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยเลิกกันแล้วเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาเช่า มิได้อ้างเหตุว่า สัญญาว่าครบกำหนดแล้ว การที่ศาลล่างพิพากษาขับไล่จำเลยโดยอาศัยเหตุที่ว่าขณะศาลตัดสิน สัญญาเช่าครบกำหนดแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิอยู่นั้น เป็นการพิพากษานอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยกฎหมายพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2438/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวระงับเมื่อเจ้าของหลักทรัพย์เสียชีวิตก่อนผิดสัญญา ทายาทไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาคดีอาญาไว้กับโจทก์โดยได้รับมอบอำนาจจาก จ.ให้นำที่ดินมาเป็นหลักประกัน จ.ถึงแก่กรรมก่อนที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาประกัน สัญญาประกันเฉพาะที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของ จ.ที่มอบให้จำเลยที่ 1 นำมาเป็นหลักทรัพย์ประกันรายนี้ก็ย่อมเป็นอันระงับลงไม่ตกทอดไปยังทายาท ทายาทผู้รับมรดกของ จ.จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าปรับโจทก์ตามสัญญาประกันดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2438/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับสัญญาประกันภัยเมื่อเจ้าของทรัพย์สินหลักประกันถึงแก่กรรมก่อนผิดสัญญา
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาคดีอาญาไว้กับโจทก์โดยได้รับมอบอำนาจจาก จ. ให้นำที่ดินมาเป็นหลักประกัน จ. ถึงแก่กรรมก่อนที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาประกันสัญญาประกันเฉพาะที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของ จ. ที่มอบให้จำเลยที่ 1 นำมาเป็นหลักทรัพย์ประกันรายนี้ก็ย่อมเป็นอันระงับลงไม่ตกทอดไปยังทายาททายาทผู้รับมรดกของ จ. จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าปรับ ให้ โจทก์ตามสัญญาประกันดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2322/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวิวาทและการป้องกันตน: แม้มีอาวุธ การสมัครใจวิวาททำให้การอ้างป้องกันตนไม่สำเร็จ
จำเลยโต้เถียงกับผู้ตายแล้วสมัครใจเข้าวิวาทต่อสู้กันผู้ตายและผู้เสียหายมีอาวุธในมือจะเข้าทำร้ายจำเลย จำเลยยิงผู้ตายและผู้เสียหาย จำเลยอ้างว่าป้องกันไม่ได้
จำเลยโดดขึ้นรถสามล้อเครื่องที่ขับผ่านมาบังคับให้ขับเร็ว ๆ คนขับขับเร็วขึ้นกว่าปกติไม่ได้ เพราะสภาพการจราจรในขณะนั้น เป็นความผิดฐานพยายามซึ่งไม่บรรลุผลตาม มาตรา 309,80

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานประเมิน การตรวจสอบไต่สวนภาษี และข้อยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่มตามแถลงการณ์กระทรวงการคลัง
ประมวลรัษฎากรมาตรา 16 ซึ่งอยู่ในหมวด 2 ของลักษณะ 2 ภาษีอากรฝ่ายสรรพากรบัญญัติว่า "เจ้าพนักงานประเมินหมายความว่าบุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง" และมีมาตรา 15 ให้ใช้บทบัญญัติในหมวด 2 บังคับแก่การภาษีอากรประเมินทุกประเภทกับมาตรา 77 ทวิ บัญญัติว่า ภาษีการค้าเป็นภาษีอากรประเมิน จึงหมายความว่าบุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจเกี่ยวกับภาษีอากรประเมินทุกประเภท รวมทั้งภาษีการค้าด้วย และตามประกาศกระทรวงการคลังลงวันที่ 25 ตุลาคม 2513 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งให้ข้าราชการตั้งแต่ชั้นโทขึ้นไปสังกัดราชการบริหารส่วนกลาง กรมสรรพากร เป็นเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 16 แห่งประมวลรัษฎากรสำหรับท้องที่ทั่วราชอาณาจักรดังนั้น เมื่อ อ. ผู้อำนวยการกองภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นข้าราชการเทียบเท่าตำแหน่งชั้นพิเศษซึ่งสูงกว่าข้าราชการชั้นโทตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงการคลังฉบับดังกล่าว อ. จึงเป็นเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 16 แห่งประมวลรัษฎากร และมีอำนาจเกี่ยวกับภาษีอากรประเมินทุกประเภทรวมทั้งภาษีการค้า หาได้มีอำนาจจำกัดเฉพาะที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่านั้นไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ถูกต้อง โจทก์จึงขอนำคดีมาฟ้องศาลเป็นการอุทธรณ์คำวินิจฉัยประเมินตามความในมาตรา 30 ดังนี้ แม้โจทก์จะมิได้ระบุในคำขอท้ายฟ้องว่า ขอให้ศาลเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ด้วย ผลก็คงเป็นอย่างเดียวกัน เพราะหากศาลเห็นว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ถูกต้องและให้เพิกถอน จำเลยก็ไม่อาจบังคับตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้อีกต่อไป ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นการเลยหรือพ้นขั้นตอนแต่อย่างใด
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การตรวจสอบไต่สวนภาษีการค้ารายของโจทก์ยังไม่เสร็จสิ้นในวันที่โจทก์ขอชำระภาษีการค้า โจทก์จึงไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีการค้าตามเงื่อนไขในคำแถลงการณ์กระทรวงการคลังฉบับลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2518 และคำสั่งของกรมสรรพากรที่ 198/2518 ลงวันที่ 7 กรกฎาคม 2518 เรื่องแนวทางปฏิบัติในการรับชำระภาษีอากรตามแถลงการณ์ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีการค้า: การตรวจสอบไต่สวนยังไม่เสร็จสิ้น ผู้เสียภาษีไม่ต้องชำระ
ประมวลรัษฎากรมาตรา 16 ซึ่งอยู่ในหมวด 2 ของลักษณะ 2 ภาษีอากรฝ่ายสรรพากรบัญญัติว่า "เจ้าพนักงานประเมินหมายความว่าบุคคล หรือคณะบุคคลซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง" และมีมาตรา 15 ให้ใช้บทบัญญัติในหมวด 2 บังคับแก่การภาษีอากรประเมินทุกประเภทกับมาตรา 77 ทวิ บัญญัติว่าภาษีการค้าเป็นภาษีอากรประเมิน จึงหมายความว่าบุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานประเมิน ย่อมมีอำนาจเกี่ยวกับภาษีอากรประเมินทุกประเภท รวมทั้งภาษีการค้าด้วย และตามประกาศกระทรวงการคลังลงวันที่ 25 ตุลาคม 2513 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งให้ข้าราชการตั้งแต่ชั้นโทขึ้นไปสังกัดราชการบริหารส่วนกลาง กรมสรรพากร เป็นเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 16 แห่งประมวลรัษฎากรสำหรับท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ดังนั้น เมื่อ อ.ผู้อำนวยการกองภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นข้าราชการเทียบเท่าตำแหน่งชั้นพิเศษซึ่งสูงกว่าข้าราชการชั้นโทตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงการคลังฉบับดังกล่าว อ.จึงเป็นเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 16 แห่งประมวลรัษฎากร และมีอำนาจเกี่ยวกับภาษีอากรประเมินทุกประเภทรวมทั้งภาษีการค้า หาได้มีอำนาจจำกัดเฉพาะที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่านั้นไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การประเมืนของเจ้าพนกังานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ถูกต้อง โจทก์จึงของนำคดีมาฟ้องศาลเป็นการอุทธรณ์คำวินิจฉัยประเมินตามความในมาตรา 30 ดังนี้ แม้โจทก์จะมิได้ระบุในคำขอท้ายฟ้องว่า ขอให้ศาลเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ด้วย ผลก็คงเป็นอย่างเดียวกัน เพราะหากศาลเห็นว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ถูกต้องและให้เพิกถอน จำเลยก็ไม่อาจบังคับตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้อีกต่อไป ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นการเลยหรือพ้นขั้นตอนแต่อย่างใด
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การตรวจสอบไต่สวนภาษีการค้ารายของโจทก์ยังไม่เสร็จสิ้นในวันที่โจทก์ขอชำระภาษีการค้า โจทก์จึงไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีการค้าตามเงื่อนไขในคำแถลงการณ์กระทรวงการคลังฉบับลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2518 และคำสั่งของกรมสรรพากรที่ 198/2518 ลงวันที่ 7 กรกฎาคม 2518 เรื่องแนวทางปฏิบัติในการรับชำระภาษี-อากรตามแถลงการณ์ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุหย่า: การไม่นำพาอยู่ร่วมกัน และการปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา ศาลไม่อาณัติหย่า
ฟ้องบรรยายว่าจำเลยซึ่งเป็นภริยาไม่นำพาที่จะอยู่ร่วมกับโจทก์ ไม่อ้างว่าจำเลยละทิ้งโจทก์ ไม่เป็นเหตุหย่าตาม มาตรา 1516(4) จำเลยไม่ไปอยู่กับโจทก์ต่างอำเภอโจทก์ก็มาหาจำเลยเดือนละ 2 ครั้ง ซึ่งจำเลยยอมให้โจทก์อยู่กินหลับนอนด้วย ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาอย่างร้ายแรง ไม่เป็นเหตุหย่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2215-2216/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญา, การบอกเลิกสัญญา, ค่าจ้างงานก่อสร้าง: การคำนวณเบี้ยปรับและการชำระค่าจ้างเมื่องานไม่เรียบร้อย
เมื่อข้อความตามสัญญาระบุว่า หากผู้รับจ้างไม่อาจก่อสร้างอาคารให้แล้วเสร็จภายในกำหนดดังกล่าว ผู้รับจ้างยินยอมให้ผู้จ้างปรับเป็นรายวัน วันละ 1,000 บาท จนกว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จนั้นเป็นเบี้ยปรับที่โจทก์ผู้รับจ้างสัญญาไว้ว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรฉะนั้น นอกจากเรียกให้ชำระหนี้แล้ว จำเลยผู้จ้างจะเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบนั้นอีกด้วยก็ได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381
การที่จำเลยบอกเลิกสัญญากับโจทก์ภายหลังวันครบกำหนดที่โจทก์ต้องทำการก่อสร้างให้แล้วเสร็จ 3-4 วัน และต่อจากนั้นก็ไม่ได้ว่าจ้างบุคคลใดซ่อมแซมก่อสร้างงานที่ขาดตกบกพร่องให้แล้วเสร็จไปโดยพลันจึงมีส่วนผิดที่ปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปจนถึงวันฟ้องเป็นเวลาถึง 360 วันศาลเห็นสมควรกำหนดเบี้ยปรับที่โจทก์ไม่ชำระหนี้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ให้เพียง 60 วัน คิดเป็นเงิน 60,000 บาท
เมื่อคดีได้ความว่าโจทก์ทำงานงวดสุดท้ายตามสัญญาไปแล้ว หากแต่ทำงานไปโดยยังไม่เรียบร้อยมีข้อบกพร่องอยู่และไม่ส่งมอบงานให้จำเลย จำเลยจึงบอกเลิกสัญญา จำเลยคงมีสิทธิหักค่าจ้างเท่าที่ต้องเสียไป แต่ไม่มีสิทธิจะงดจ่ายค่าจ้างงวดสุดท้ายเสียทั้งหมดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391
of 41