พบผลลัพธ์ทั้งหมด 402 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2711/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ออกบัตรประชาชนและเกณฑ์ทหาร: การฟ้องจำเลยที่ไม่มีอำนาจและพ้นตำแหน่ง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้มีสัญชาติไทยได้ยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 1 ที่ 2ซึ่งดำรงตำแหน่งนายอำเภอ น. และสัสดีอำเภอ น. ตามลำดับ เพื่อขอบัตรประจำตัวประชาชนและขอลงชื่อโจทก์ในบัญชีทหารกองเกิน จำเลยทั้งสองอ้างว่าโจทก์มิใช่ผู้มีสัญชาติไทยและไม่จัดการให้ ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสัญชาติไทย ให้จำเลยออกบัตรประจำตัวประชาชนให้โจทก์ ลงชื่อโจทก์ในบัญชีทหารกองเกินและออกใบสำคัญทหารกองเกินให้โจทก์ ดังนี้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และเจ้าพนักงานตรวจบัตร ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2519 ออกตามความในพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนและกฎกระทรวง ฉบับที่ 40 ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร กำหนดให้อำนาจหน้าที่ในการออกบัตรประจำตัวประชาชน อำนาจในการลงชื่อในบัญชีทหารกองเกินกับออกใบสำคัญทหารกองเกินเป็นของนายอำเภอท้องที่ หาใช่สัสดีอำเภอไม่จำเลยที่ 2 จึงไม่มีอำนาจหน้าที่กระทำการตามที่โจทก์ขอในฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 1 ได้ความว่าโจทก์ฟ้องภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 พ้นตำแหน่งนายอำเภอ น. แล้ว และโจทก์มิได้ฟ้องนายอำเภอ น. แต่ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นส่วนตัว เมื่อขณะฟ้องจำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ ศาลจึงมิอาจพิพากษาบังคับจำเลยทั้งสองหรือนายอำเภอ น. ซึ่งมิได้ถูกฟ้องคำขอที่ขอให้ศาลพิพากษาว่า โจทก์เป็นผู้มีสัญชาติไทยเพื่อที่จะบังคับให้จำเลยทั้งสองออกบัตรประจำตัวประชาชนและออกใบสำคัญทหารกองเกินให้ จึงตกไปอยู่ในตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายหลังกระทำผิด และผลกระทบต่อการลงโทษคดีค้ากำไรเกินควร
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควรพ.ศ. 2490 มาตรา 16 ที่แก้ไขเพิ่มเติม ต่อมาพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควรได้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ. 2522 โดยพระราชบัญญัติกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด มีบทบัญญัติมาตรา 30กำหนดหลักการไว้ใกล้เคียงกับมาตรา 16 ของพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร ดังนี้ เมื่อกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิด โดยกฎหมายที่ใช้ภายหลังได้เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบแห่งความผิด และเปิดโอกาสให้จำเลย อ้างเหตุผลอันสมควรมาเป็นข้อแก้ตัวได้ จึงต้องถือว่ากฎหมายที่ใช้ภายหลัง เป็นคุณแก่จำเลย และต้องนำมาบังคับใช้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายหลังกระทำผิดและการบังคับใช้กฎหมายที่ให้คุณแก่จำเลย กรณีค้ากำไรเกินควร
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ. 2490 มาตรา 16 ที่แก้ไขเพิ่มเติม ต่อมาพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควรได้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ. 2522 โดยพระราชบัญญัติกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด มีบทบัญญัติมาตรา 30กำหนดหลักการไว้ใกล้เคียงกับมาตรา 16 ของพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร ดังนี้ เมื่อกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิด โดยกฎหมายที่ใช้ภายหลังได้เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบแห่งความผิด และเปิดโอกาสให้จำเลย อ้างเหตุผลอันสมควรมาเป็นข้อแก้ตัวได้ จึงต้องถือว่ากฎหมายที่ใช้ภายหลังเป็นคุณแก่จำเลย และต้องนำมาบังคับใช้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 858/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินค่าทดแทนก่อนฟ้องคดีเป็นเงื่อนไขอำนาจฟ้องคดีค่าทดแทนตามประกาศกระทรวงแรงงาน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของอธิบดีกรมแรงงานและคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนที่ให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างจ่ายค่าทดแทนให้บิดามารดาของผู้ตายรวมเป็นเงิน 20,280 บาทโจทก์ต้องวางเงินจำนวนดังกล่าวต่อศาลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน จึงจะฟ้องคดีได้ เมื่อโจทก์วางเงินต่อศาลไม่ครบจำนวนโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1980/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตควบคุมการแปรรูปไม้และการครอบครองไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต การพิสูจน์การประกาศใช้กฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีไม้สักแปรรูปอันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานเหตุเกิดที่ตำบลต้นเปาอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ อันเป็นเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตามสำเนาประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรเรื่องกำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ท้ายฟ้อง ดังนี้ โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่าที่เกิดเหตุอยู่ในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตามสำเนาประกาศที่แนบมาท้ายฟ้อง เป็นข้อเท็จจริงครบองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ.2484 แล้ว แม้ไม่ได้กล่าวว่าได้คัดสำเนาประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอและที่ทำการกำนันท้องที่เกิดเหตุ ก็ไม่ทำให้ฟ้องนั้นไม่สมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1980/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตควบคุมการแปรรูปไม้และการครอบครองไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีไม้สักแปรรูปอันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน เหตุเกิดที่ตำบลต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ อันเป็นเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตามสำเนาประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร เรื่องกำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ท้ายฟ้อง ดังนี้ โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้ว ว่าที่เกิดเหตุอยู่ในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตามสำเนาประกาศที่แนบมาท้ายฟ้อง เป็นข้อเท็จจริงครบองค์ประกอบของความผิดตาม มาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 แล้ว แม้ไม่ได้กล่าวว่าได้คัดสำเนาประกาศของรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษตรไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอและที่ทำการกำนันท้องที่เกิดเหตุ ก็ไม่ทำให้ฟ้องนั้นไม่สมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1758/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จ, การปฏิบัติหน้าที่, และการสิ้นสุดคดีเนื่องจากการเสียชีวิตของจำเลย การพิพากษาจำเลยที่ 1 ยกฟ้อง
แม้จำเลยที่ 1 จะได้กล่าวเท็จในหนังสือถึงอธิบดีกรมศุลกากรว่าตนเป็นผู้สั่งการให้จับกุมผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับภาษีศุลกากรที่มีการขอรับสินบนนำจับนั้นแต่เมื่อจำเลยไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งข้อความดังกล่าวต่ออธิบดีกรมศุลกากรการกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการกระทำในการปฏิบัติการตามหน้าที่จำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 162
เมื่อศาลอุทธรณ์ได้สั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 2 แล้วเพราะเหตุถึงแก่กรรมสิทธิของโจทก์ในการฟ้องจำเลยที่ 2 ย่อมเป็นอันระงับไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(1) คำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 กระทำความผิดย่อมระงับไปในตัวและไม่มีผลบังคับต่อไปศาลฎีกาจึงไม่พิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ด้วย
พยานที่เกิดจากขู่เข็ญจูงใจว่าจะให้พยานออกจากงานโดยรับบำนาญและไม่จับกุมมาดำเนินคดีรับฟังไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 226
เมื่อศาลอุทธรณ์ได้สั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 2 แล้วเพราะเหตุถึงแก่กรรมสิทธิของโจทก์ในการฟ้องจำเลยที่ 2 ย่อมเป็นอันระงับไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(1) คำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 กระทำความผิดย่อมระงับไปในตัวและไม่มีผลบังคับต่อไปศาลฎีกาจึงไม่พิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ด้วย
พยานที่เกิดจากขู่เข็ญจูงใจว่าจะให้พยานออกจากงานโดยรับบำนาญและไม่จับกุมมาดำเนินคดีรับฟังไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1680/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฎีกาคำสั่งศาล: โจทก์ร่วมแต่ละคนมีสิทธิฎีกาเฉพาะส่วน หากประโยชน์จากภารจำยอมแตกต่างกัน
แม้โจทก์ที่ 5 และโจทก์ที่ 1 จะเป็นโจทก์ร่วมในคดีเดียวกัน แต่มูลความแห่งคดีมิใช่เป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ เพราะโจทก์แต่ละคนอาจได้รับประโยชน์แตกต่างกัน การที่โจทก์ที่ 5 ยื่นคำร้องต่อศาลจึงถือมิได้ว่าโจทก์ที่ 5 กระทำแทนโจทก์ที่ 1ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 เมื่อโจทก์ที่ 1 มิใช่เป็นผู้ยื่นคำร้อง โจทก์ที่ 1 ก็ไม่มีอำนาจฎีกาคำสั่งคำร้องนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1679/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอม: เจ้าของที่ดินภารยทรัพย์มีสิทธิใช้ประโยชน์ที่ดินได้ หากไม่ขัดต่อประโยชน์ภารจำยอม
แม้ที่ดินของจำเลยเป็นภารยทรัพย์ตกอยู่ในภารจำยอมเป็นทางสัญจรเพื่อประโยชน์ของที่ดินโจทก์อันเป็นสามยทรัพย์ก็ตาม จำเลยก็ยังมีอำนาจใช้สิทธิในที่ดินอันเป็นภารยทรัพย์ได้ เมื่อไม่เป็นการขัดต่อประโยชน์แห่งภารจำยอม
คานพิพาทที่จำเลยสร้างขึ้นอยู่สูงกว่าสิ่งของที่บรรทุกอยู่บนรถยนต์บรรทุก จึงไม่เป็นการขัดขวางหรือทำให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมในการใช้ทางลดไปหรือเสื่อมความสะดวกจำเลยจึงมีอำนาจสร้างคานดังกล่าวได้และไม่จำต้องรื้อคานนั้นออก
คานพิพาทที่จำเลยสร้างขึ้นอยู่สูงกว่าสิ่งของที่บรรทุกอยู่บนรถยนต์บรรทุก จึงไม่เป็นการขัดขวางหรือทำให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมในการใช้ทางลดไปหรือเสื่อมความสะดวกจำเลยจึงมีอำนาจสร้างคานดังกล่าวได้และไม่จำต้องรื้อคานนั้นออก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1679/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม: เจ้าของภารยทรัพย์มีสิทธิใช้ประโยชน์ที่ดินได้ หากไม่ขัดต่อประโยชน์สามายทรัพย์
แม้ที่ดินของจำเลยเป็นภารยทรัพย์ตกอยู่ในภารจำยอมเป็นทางสัญจร เพื่อประโยชน์ของที่ดินโจทก์อันเป็นสามายทรัพย์ก็ตาม จำเลยก็ยัง มีอำนาจใช้สิทธิในที่ดินอันเป็นภารยทรัพย์ได้ เมื่อไม่เป็นการขัดต่อประโยชน์แห่งภาระจำยอม
คานพิพาทมี่จำเลยสร้างขึ้นอยู่สูงกว่า สิ่งของที่บรรทุกอยู่บนรถยนต์บรรทุกจึงไม่เป็นการขัดขวางหรือทำให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมในการใช้ทางลดไปหรือเสื่อมความสะดวก จำเลยจึงมีอำนาจสร้างคานดังกล่าวได้ และไม่จำต้องรื้อคานนั้นออก
คานพิพาทมี่จำเลยสร้างขึ้นอยู่สูงกว่า สิ่งของที่บรรทุกอยู่บนรถยนต์บรรทุกจึงไม่เป็นการขัดขวางหรือทำให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมในการใช้ทางลดไปหรือเสื่อมความสะดวก จำเลยจึงมีอำนาจสร้างคานดังกล่าวได้ และไม่จำต้องรื้อคานนั้นออก