พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,047 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1785/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเนื่องจากมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการเงินและเศรษฐกิจของรัฐ ไม่แสวงหากำไร
ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นธนาคารกลางในการปฏิบัติหน้าที่แทนรัฐดำเนินกิจการควบคุมการเงินและการคลังของรัฐให้ถูกต้อง เหมาะสมและมีเสถียรภาพ ธุรกิจที่ธนาคารนี้ประกอบก็กระทำไปในฐานะธนาคารกลาง มิได้เป็นการแข่งขันกับ ธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่น หากจะมีกำไรบ้างก็ เป็นเพียงผลพลอยได้เท่านั้นถือไม่ได้ว่ามีวัตถุประสงค์ เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจจึงได้รับยกเว้นมิต้อง อยู่ภายใต้บังคับประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1713/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องหยุดพักผ่อน: จำเลยต้องโต้แย้งสิทธิลูกจ้างก่อน จึงจะถือว่าลูกจ้างมีอำนาจฟ้องบังคับให้หยุดพักผ่อนได้
ลูกจ้างไม่เคยยื่นความจำนงขอหยุดพักผ่อนประจำปีตามสิทธิของตนมาก่อน และไม่ปรากฏว่านายจ้างปฏิเสธมิให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปีดังนี้ นายจ้างยังมิได้โต้แย้งสิทธิของลูกจ้าง ลูกจ้างจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ส่วนที่นายจ้างให้การว่าลูกจ้างไม่มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีเพราะมีวันลาเกินกำหนด เป็นเพียงข้อต่อสู้ที่ยกขึ้นภายหลังลูกจ้างฟ้องคดีแล้ว จะถือเป็นข้ออ้างว่านายจ้างโต้แย้งสิทธิของลูกจ้างหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1713/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีหยุดพักผ่อนประจำปี ต้องมีการโต้แย้งสิทธิก่อน การให้การต่อสู้ภายหลังไม่ถือเป็นการโต้แย้ง
ลูกจ้างไม่เคยยื่นความจำนงขอหยุดพักผ่อนประจำปีตามสิทธิของตนมาก่อน และไม่ปรากฏว่านายจ้างปฏิเสธมิให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปี ดังนี้ นายจ้างยังมิได้โต้แย้งสิทธิของลูกจ้าง ลูกจ้างจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ส่วนที่นายจ้างให้การว่าลูกจ้างไม่มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีเพราะมีวันลา เกินกำหนดเป็นเพียงข้อต่อสู้ที่ยกขึ้นภายหลังลูกจ้างฟ้องคดีแล้ว จะถือเป็นข้ออ้างว่านายจ้างโต้แย้งสิทธิของลูกจ้างหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1707/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้างคุ้มครองลูกจ้างใหม่ได้ สัญญาจ้างขัดแย้งข้อตกลงเดิมเป็นโมฆะ
การที่บทบัญญัติในมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯกำหนดห้ามมิให้นายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เว้นแต่ สัญญาจ้างแรงงานจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่านั้น ก็มุ่งหมายที่จะป้องกันมิให้นายจ้างหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำไว้และลูกจ้างที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรานี้รวมถึงลูกจ้างที่เข้าทำงานภายหลังข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับแล้วด้วย ส่วนที่มาตรา 19 วรรคแรกบัญญัติว่า ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลผูกพันเฉพาะผู้ที่ลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องหรือมีส่วนในการเลือกตั้งผู้แทนเข้าร่วมเจรจาด้วยนั้น เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับผู้ที่เป็นลูกจ้างอยู่แล้ว หารวมถึงผู้เข้าเป็น ลูกจ้างในภายหลังซึ่งไม่มีโอกาสลงชื่อด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1621/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดระยะเวลายื่นบัญชีระบุพยานของศาลแรงงานต้องชัดเจนและแน่นอน
แม้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ จะให้อำนาจศาลแรงงานที่จะกำหนดให้คู่ความยื่นบัญชีระบุพยานภายในระยะเวลาเท่าใดก็ได้ตามที่เห็นสมควรแต่ระยะเวลาที่กำหนดจำต้องให้ชัดแจ้งและแน่นอน ดังนั้น เมื่อศาลแรงงานกำหนดนัดสืบพยานโจทก์แล้วได้สั่งให้คู่ความยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดโดยมิได้กำหนดให้ยื่นก่อนวันนัดแรก จึงเป็นที่เข้าใจว่า ศาลแรงงานสั่งให้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดสืบพยานซึ่งจะมีการสืบพยานกันจริง ๆ เมื่อในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกศาลแรงงานมิได้สืบพยานแต่ได้อนุญาตให้เลื่อนไปสืบนัดต่อไป จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์นัดต่อไป โดยไม่จำต้องยื่นคำร้องขออนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1621/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาการยื่นบัญชีระบุพยานต้องชัดเจน หากศาลเลื่อนนัดสืบพยาน จำเลยมีสิทธิยื่นภายหลังได้
แม้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ จะให้อำนาจศาลแรงงานที่จะกำหนดให้คู่ความยื่นบัญชีระบุพยานภายในระยะเวลาเท่าใดก็ได้ตามที่เห็นสมควรแต่ระยะเวลาที่กำหนดจำต้องให้ชัดแจ้งและแน่นอนดังนั้น เมื่อศาลแรงงานกำหนดนัดสืบพยานโจทก์แล้วได้สั่งให้คู่ความยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดโดยมิได้กำหนดให้ยื่นก่อนวันนัดแรกจึงเป็นที่เข้าใจว่า ศาลแรงงานสั่งให้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดสืบพยานซึ่งจะมีการสืบพยานกันจริง ๆ เมื่อในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกศาลแรงงานมิได้สืบพยานแต่ได้อนุญาตให้เลื่อนไปสืบนัดต่อไป จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์นัดต่อไป โดยไม่จำต้องยื่นคำร้องขออนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขการจ่ายบำเหน็จ: เริ่มนับระยะเวลาทำงานเมื่อบรรจุเป็นพนักงานประจำ และเป็นดุลพินิจนายจ้าง
ข้อบังคับของธนาคารนายจ้างกำหนดเงื่อนไขในการจ่ายบำเหน็จว่าลูกจ้างต้องมีระยะเวลาทำงานตั้งแต่ห้าปีขึ้นไประยะเวลาทำงานนับตั้งแต่วันบรรจุลูกจ้างเข้าทำงานประจำในธนาคาร ดังนี้ ลูกจ้างจะมีสิทธิรับบำเหน็จต้องนับ ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ลูกจ้างได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็น พนักงานธนาคารของนายจ้าง ไม่ใช่นับแต่วันที่ลูกจ้างได้รับการบรรจุเป็นลูกจ้างชั่วคราว และเงินบำเหน็จนี้เป็นเงินที่ นายจ้างสมัครใจจ่ายแก่ลูกจ้าง ไม่ใช่เงินที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจ่าย นายจ้างจะวางเงื่อนไขและวิธีการอย่างไร ย่อมสุดแล้วแต่ดุลพินิจของนายจ้าง ข้อบังคับของจำเลย จึงหาขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขการจ่ายบำเหน็จ: เริ่มนับระยะเวลาทำงานเมื่อเป็นพนักงานประจำ ธนาคารมีสิทธิกำหนดเงื่อนไขได้
ข้อบังคับของธนาคารนายจ้างกำหนดเงื่อนไขในการจ่ายบำเหน็จว่าลูกจ้างต้องมีระยะเวลาทำงานตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป ระยะเวลาทำงานนับตั้งแต่วันบรรจุลูกจ้างเข้าทำงานประจำใน ธนาคาร ดังนี้ ลูกจ้างจะมีสิทธิรับบำเหน็จต้องนับ ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ลูกจ้างได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็น พนักงานธนาคารของนายจ้าง ไม่ใช่นับแต่วันที่ลูกจ้างได้รับการบรรจุเป็นลูกจ้างชั่วคราว และเงินบำเหน็จนี้เป็นเงินที่ นายจ้างสมัครใจจ่ายแก่ลูกจ้าง ไม่ใช่เงินที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจ่าย นายจ้างจะวางเงื่อนไขและวิธีการอย่างไร ย่อมสุดแล้วแต่ดุลพินิจของนายจ้าง ข้อบังคับของจำเลย จึงหาขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1614/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลาเพื่อร่วมประชุมของกรรมการสหภาพแรงงานต้องเกี่ยวข้องกับกิจการสหภาพฯ ไม่ครอบคลุมการสัมมนาทั่วไป
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 102 อยู่ในหมวด 7 ว่าด้วย'สหภาพแรงงาน'มีความตอนต้นให้สิทธิลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานลาเพื่อไปดำเนินกิจการสหภาพแรงงาน ฉะนั้น ข้อความในตอนต่อมาที่ว่า มีสิทธิไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดได้จึงต้องหมายถึงการไปร่วมประชุมใน เรื่องที่เกี่ยวกับสหภาพแรงงานที่ทางราชการกำหนดขึ้นเท่านั้นย่อมไม่หมายถึงการประชุมในเรื่องใด ๆ โดยไม่มีขอบเขต จำกัด มิฉะนั้นลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานก็จะอ้างสิทธิไปร่วมประชุมในเรื่องที่ทางราชการกำหนดได้ทุกเรื่อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1614/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลาของกรรมการสหภาพแรงงานต้องเกี่ยวกับการดำเนินกิจการสหภาพฯ เท่านั้น การเข้าร่วมสัมมนาทั่วไปไม่ถือเป็นสิทธิลา
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 102 อยู่ในหมวด 7 ว่าด้วย 'สหภาพแรงงาน' มีความตอนต้นให้สิทธิลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานลาเพื่อไปดำเนินกิจการสหภาพแรงงาน ฉะนั้น ข้อความในตอนต่อมาที่ว่ามีสิทธิไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดได้จึงต้องหมายถึงการไปร่วมประชุมในเรื่องที่เกี่ยวกับสหภาพแรงงานที่ทางราชการกำหนดขึ้นเท่านั้น ย่อมไม่หมายถึงการประชุมในเรื่องใด ๆ โดยไม่มีขอบเขตจำกัด มิฉะนั้นลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานก็จะอ้างสิทธิไปร่วมประชุมในเรื่องที่ทางราชการกำหนดได้ทุกเรื่อง