คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ขจร หะวานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,047 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1139/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ น้ำท่วมไม่ใช่เหตุสมควรในการขาดงาน เลิกจ้างได้หากเตือนแล้วขาดงานซ้ำ
เหตุน้ำท่วมจะถือเป็นข้อที่ขาดงานได้โดยมีเหตุผลอันสมควรหาได้ไม่ และไม่ถือว่าเป็นเหตุฉุกเฉิน แม้ผู้คัดค้านจะหยุดงานเพราะเหตุดังกล่าว คัดค้านก็ยังต้องขอลาตามระเบียบข้อบังคับการทำงานก่อน ผู้คัดค้าน ไม่อาจหยุดได้โดยพลการ เมื่อผู้คัดค้านจำเป็นต้องขอลาดังกล่าว แล้ว เมื่อมีเหตุการณ์อย่างเดียวกันเกิดขึ้นอีก จึงไม่เป็นกรณีฉุกเฉินทำให้ผู้คัดค้าน มีสิทธิหยุดงานได้โดยมีเหตุผลอันสมควรและไม่ต้องลา
ผู้คัดค้านถูกตักเตือนเป็นหนังสือฐานหยุดงานโดยไม่มีเหตุผลมาแล้ว เมื่อผู้คัดค้านขาดงานอีก 2 ครั้ง ผู้ร้องจึงขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากละทิ้งหน้าที่โดยเจตนา และขาดงานต่อเนื่อง โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การจ้างแรงงานคือสัญญาซึ่งลูกจ้างตกลงจะทำงานให้แก่นายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้หน้าที่สำคัญ ของลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานคือต้องทำงานให้ แก่นายจ้าง การลงเวลามาทำงานไม่ใช่สาระสำคัญของการ จ้างแรงงาน เพราะเป็นเพียงพยานหลักฐานเบื้องต้นที่แสดงว่าลูกจ้างจะเข้าทำงาน ให้แก่นายจ้างในวันนั้นเท่านั้น การที่โจทก์มาเซ็นชื่อในสมุดลงเวลา มาทำงานของจำเลยแล้วกลับไปโดยมิได้ปฏิบัติงานใดๆให้แก่นายจ้าง จึงถือว่า โจทก์ขาดงานในวันนั้นโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เมื่อโจทก์ ขาดงานก่อนหน้าวันดังกล่าวมาแล้วสองวันโดยมิได้ลาตามระเบียบ และไม่ปรากฏเหตุจำเป็น ซึ่งถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา สองวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรมาแล้วจึงเป็น การละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร กรณีต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4)จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ขาดงานโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และการพิสูจน์หน้าที่ของลูกจ้าง
การจ้างแรงงานคือสัญญาซึ่งลูกจ้างตกลงจะทำงานให้แก่นายจ้างและนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้หน้าที่สำคัญของลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานคือต้องทำงานให้แก่นายจ้าง การลงเวลามาทำงานไม่ใช่สาระสำคัญของการจ้างแรงงาน เพราะเป็นเพียงพยานหลักฐานเบื้องต้นที่แสดงว่าลูกจ้างจะเข้าทำงานให้แก่นายจ้างในวันนั้นเท่านั้น การที่โจทก์มาเซ็นชื่อในสมุดลงเวลา มาทำงานของจำเลยแล้วกลับไปโดยมิได้ปฏิบัติงานใด ๆให้แก่นายจ้าง จึงถือว่าโจทก์ขาดงานในวันนั้นโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เมื่อโจทก์ขาดงานก่อนหน้าวันดังกล่าวมาแล้วสองวันโดยมิได้ลาตามระเบียบ และไม่ปรากฏเหตุจำเป็น ซึ่งถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสองวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรมาแล้ว จึงเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร กรณีต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างและการเลิกจ้างโดยอ้างเงื่อนไขใหม่ที่ลูกจ้างไม่ยินยอม
สัญญาจ้างเดิมไม่มีข้อตกลงที่นายจ้างจะปรับลูกจ้างผู้ลาออกระหว่างปีการศึกษา และไม่มีข้อกำหนดให้ลูกจ้างต้องมีผู้ค้ำประกัน การที่นายจ้างเพิ่มเงื่อนไขดังกล่าวขึ้นใหม่และเป็นประโยชน์แก่นายจ้าง ฝ่ายเดียว อันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงานโดยแท้ จึงเป็น การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง
นายจ้างทำบันทึกถึงลูกจ้างสอบถามว่าจะทำงานต่อไปหรือ จะลาออก พร้อมทั้งกำหนดเวลาให้ลูกจ้างตอบ หากไม่ตอบให้ถือว่า ลูกจ้างลาออกเช่นนี้ หากลูกจ้างไม่ตอบบันทึกนายจ้างจะถือเอาเองว่า ลูกจ้างลาออกหาได้ไม่ การที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไป ย่อมเป็นการเลิกจ้าง
ลูกจ้างทำเครื่องหมายลงในหัวข้อขอลาออกและมีหนังสือชี้แจงเหตุผล ว่าไม่สามารถจัดหาผู้ค้ำประกันได้ ถือได้ว่าลูกจ้างลาออกโดยสมัครใจ ไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากนายจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง และการลาออกโดยสมัครใจที่ไม่เข้าข่ายการเลิกจ้าง
สัญญาจ้างเดิมไม่มีข้อตกลงที่นายจ้างจะปรับลูกจ้างผู้ลาออกระหว่างปีการศึกษาและไม่มีข้อกำหนดให้ลูกจ้างต้องมีผู้ค้ำประกัน การที่นายจ้างเพิ่มเงื่อนไขดังกล่าวขึ้นใหม่และเป็นประโยชน์แก่นายจ้าง ฝ่ายเดียว อันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงานโดยแท้ จึงเป็น การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง นายจ้างทำบันทึกถึงลูกจ้างสอบถามว่าจะทำงานต่อไปหรือ จะลาออก พร้อมทั้งกำหนดเวลาให้ลูกจ้างตอบ หากไม่ตอบให้ถือว่า ลูกจ้างลาออกเช่นนี้ หากลูกจ้างไม่ตอบบันทึกนายจ้างจะถือเอาเองว่า ลูกจ้างลาออกหาได้ไม่ การที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไป ย่อมเป็นการเลิกจ้าง ลูกจ้างทำเครื่องหมายลงในหัวข้อขอลาออกและมีหนังสือชี้แจงเหตุผล ว่าไม่สามารถจัดหาผู้ค้ำประกันได้ ถือได้ว่าลูกจ้างลาออกโดยสมัครใจ ไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากนายจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1092/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงาน: ต้องวินิจฉัยสถานะลูกจ้างก่อนพิจารณาข้อพิพาทสัญญาจ้าง
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เป็นพนักงานขายของบริษัทซึ่งประกอบกิจการค้าเครื่องถ่ายเอกสารยี่ห้อหนึ่งและโจทก์อาจไปขาย เครื่องถ่ายเอกสารอีกยี่ห้อหนึ่งให้แก่จำเลยได้เป็นครั้งคราวโดยได้รับ ค่าคอมมิชชั่นจากจำเลยแล้ววินิจฉัยไปเลยว่า ฟังไม่ได้ว่าจำเลย ตกลงให้โจทก์ทำงานครั้งที่โจทก์ฟ้องนี้โดยจะจ่ายค่าคอมมิชชั่น ให้โจทก์โดยมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยหรือไม่ ซึ่งประเด็นข้อนี้เป็นประเด็นสำคัญแห่งคดีเพราะถ้าโจทก์ ไม่เป็นลูกจ้างจำเลยคดีนี้ย่อมไม่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ ตามสัญญาจ้างแรงงาน หรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ.2522 มาตรา8(1) อันศาลแรงงานกลางจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้สมควรให้ ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวให้เป็นยุติก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1092/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้างจำเลยเป็นประเด็นสำคัญก่อนพิจารณาคดีพิพาทแรงงาน ศาลต้องวินิจฉัยก่อน
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เป็นพนักงานขายของบริษัท ซึ่งประกอบกิจการค้าเครื่องถ่ายเอกสารยี่ห้อหนึ่ง และโจทก์อาจไปขายเครื่องถ่ายเอกสารอีกยี่ห้อหนึ่งให้แก่จำเลยได้เป็นครั้งคราวโดยได้รับค่าคอมมิชชั่นจากจำเลยแล้ววินิจฉัยไปเลยว่า ฟังไม่ได้ว่าจำเลย ตกลงให้โจทก์ทำงานครั้งที่โจทก์ฟ้องนี้โดยจะจ่ายค่าคอมมิชชั่น ให้โจทก์ โดยมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยหรือไม่ ซึ่งประเด็นข้อนี้เป็นประเด็นสำคัญแห่งคดี เพราะถ้าโจทก์ไม่เป็นลูกจ้างจำเลย คดีนี้ย่อมไม่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ ตามสัญญาจ้างแรงงาน หรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ.2522 มาตรา8(1) อันศาลแรงงานกลางจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ สมควรให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวให้เป็นยุติก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากพฤติการณ์ขาดงานและการเล่นการพนอกสถานที่ มิใช่ละทิ้งหน้าที่
กำหนดเวลาทำงานของโจทก์ซึ่งเป็นยามรักษาการณ์นั้น หัวหน้างานได้จัดทำตารางการเข้าทำงานล่วงหน้าไว้เป็นรายวันประจำเดือนเพื่อให้บรรดายามรักษาการณ์ได้รู้กำหนดเวลาที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ และเพื่อความสะดวกของผู้บังคับบัญชาเองที่ไม่ต้องกำหนดเวลาอย่างกะทันหันโดยที่โจทก์และยามรักษาการณ์ไม่อาจทราบได้ทันกำหนดเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการที่สั่งให้โจทก์กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด และเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามเป็นการขัดคำสั่งหรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาพฤติการณ์ของโจทก์ที่ไม่ไปเข้าเวรยามตามกำหนดเวลาเป็นเพียงการขาดงานเท่านั้น ทั้งจำเลยเองได้แทงในบัญชีพนักงานลงชื่อและเวลาทำงานว่าโจทก์ขาดงาน จึงมิใช่เป็นเรื่องโจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปเล่นการพนันในเวลาปฏิบัติหน้าที่อันเป็นการผิดระเบียบการทำงานของจำเลย ส่วนการที่โจทก์เล่นการพนันนอกสถานที่ทำการของจำเลย มิใช่เป็นการเล่นในเวลาปฏิบัติหน้าที่ ไม่ทำให้จำเลยเสียหาย ลักษณะการกระทำของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง การกระทำของโจทก์ยังไม่เป็นความผิดตามข้อบังคับหรือคำสั่งของจำเลย อันจะเป็นเหตุให้จำเลยไล่โจทก์ออกจากงานได้
ข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางพิจารณาคำเบิกความของพยานรวบรัดเกินไป เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้
การวินิจฉัยและพิพากษาคดีแรงงานนั้น มิได้มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลจำต้องอ้างกฎหมายที่ยกขึ้นเป็นหลักในการวินิจฉัยและพิพากษาคดีอย่างชัดแจ้ง เมื่อศาลเห็นว่าฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายและมีสิทธิตามที่เรียกร้องและขอให้ศาลบังคับเอาแก่จำเลยได้ไม่ว่าด้วยเหตุถูกละเมิด มีสิทธิตามสัญญา หรือกฎหมาย ศาลย่อมวินิจฉัยและพิพากษาให้จำเลยปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของโจทก์ได้ โดยเพียงแต่กล่าวว่าโจทก์มีสิทธิอย่างไรอันมีผลเป็นการผูกพันให้จำเลยต้องปฏิบัติตามที่โจทก์เรียกร้องเท่านั้น หาจำเป็นต้องอ้างตัวบทกฎหมายที่เป็นกำเนิดแห่งสิทธิของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การเล่นการพนอกสถานที่ทำงาน ไม่ถือเป็นละทิ้งหน้าที่ร้ายแรง
กำหนดเวลาทำงานของโจทก์ซึ่งเป็นยามรักษาการณ์นั้นหัวหน้างานได้จัดทำตารางการเข้าทำงานล่วงหน้าไว้เป็นรายวันประจำเดือนเพื่อให้บรรดายามรักษาการณ์ได้รู้กำหนดเวลาที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่และเพื่อความสะดวกของผู้บังคับบัญชาเองที่ไม่ต้องกำหนดเวลาอย่างกะทันหันโดยที่โจทก์และยามรักษาการณ์ไม่อาจทราบได้ทันกำหนดเท่านั้นยังถือไม่ได้ว่าเป็นการที่สั่งให้โจทก์กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดและเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามเป็นการขัดคำสั่งหรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาพฤติการณ์ของโจทก์ที่ไม่ไปเข้าเวรยามตามกำหนดเวลาเป็นเพียงการขาดงานเท่านั้นทั้งจำเลยเองได้แทงในบัญชีพนักงานลงชื่อและเวลาทำงานว่าโจทก์ขาดงานจึงมิใช่เป็นเรื่องโจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปเล่นการพนันในเวลาปฏิบัติหน้าที่อันเป็นการผิดระเบียบการทำงานของจำเลยส่วนการที่โจทก์เล่นการพนันนอกสถานที่ทำการของจำเลยมิใช่เป็นการเล่นในเวลาปฏิบัติหน้าที่ ไม่ทำให้จำเลยเสียหายลักษณะการกระทำของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงการกระทำของโจทก์ยังไม่เป็นความผิดตามข้อบังคับหรือคำสั่งของจำเลยอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไล่โจทก์ออกจากงานได้ ข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางพิจารณาคำเบิกความของพยานรวบรัดเกินไปเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้ การวินิจฉัยและพิพากษาคดีแรงงานนั้นมิได้มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลจำต้องอ้างกฎหมายที่ยกขึ้นเป็นหลักในการวินิจฉัยและพิพากษาคดีอย่างชัดแจ้งเมื่อศาลเห็นว่าฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายและมีสิทธิตามที่เรียกร้องและขอให้ศาลบังคับเอาแก่จำเลยได้ไม่ว่าด้วยเหตุถูกละเมิดมีสิทธิตามสัญญาหรือกฎหมายศาลย่อมวินิจฉัยและพิพากษาให้จำเลยปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของโจทก์ได้โดยเพียงแต่กล่าวว่าโจทก์มีสิทธิอย่างไรอันมีผลเป็นการผูกพันให้จำเลยต้องปฏิบัติตามที่โจทก์เรียกร้องเท่านั้นหาจำเป็นต้องอ้างตัวบทกฎหมายที่เป็นกำเนิดแห่งสิทธิของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1027/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อลูกจ้างเล่นการพนันนอกเวลางาน ศาลสั่งจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าว
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ห้ามพนักงานเล่นการพนันเฉพาะในระหว่างเวลาทำงาน ส่วนคำสั่งที่ออกมาก็เป็นเพียงเสริมข้อบังคับเกี่ยวกับการเล่นการพนันว่าจะมีโทษสถานเดียวคือไล่ออกเท่านั้นโดยไม่มีการสั่งพักงานอีก การที่โจทก์เล่นการพนันบนหอพักของจำเลยนอกเวลาทำงาน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย เมื่อเลิกจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
of 205