พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,047 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนพนักงาน, อายุความการทำงานต่อเนื่อง, ค่าชดเชยและบำเหน็จ: สิทธิลูกจ้างเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนายจ้าง
บริษัท ม. กับจำเลยเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกัน การที่บริษัท ม. ออกคำสั่งชี้แจงแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของบริษัท ศ. ก่อนมีการโอนพนักงานว่า เงินเดือนให้รับในอัตราและวิธีการเดิมไปพลางก่อนจนกว่าบริษัท ม. จะปรับปรุงระเบียบข้อบังคับใหม่ จึงหาผูกพันจำเลยไม่ และเมื่อพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพจำเลยบัญญัติว่า ให้ดำเนินการรับบรรจุแต่งตั้งพนักงานของบริษัทม. เป็นพนักงานของจำเลย และคณะกรรมการจำเลยมีมติว่าให้พนักงานรับเงินเดือนเช่นเดิมจนกว่าจะพิจารณาจัดแบ่งส่วนงานและจัดบุคคลลงในตำแหน่งแล้ว จึงหมายความว่าเมื่อแบ่งส่วนงานและจัดบุคคลลงในตำแหน่งเสร็จ เงินเดือนอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยให้โจทก์รับเงินเดือนตามตำแหน่งถูกต้องตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ไม่ครบถ้วน แต่เมื่อก่อนการโอนพนักงานของบริษัท ศ. รวมทั้งโจทก์มาเป็นพนักงานของบริษัท ม. นั้น บริษัท ม. ได้ออกคำชี้แจงให้ผู้ใคร่ขอรับค่าชดเชยมายื่นความจำนงขอรับแต่จะหมดสิทธิการนับอายุงานต่อเนื่อง โจทก์ไม่ประสงค์รับค่าชดเชย อายุการทำงานของโจทก์ต้องนับต่อเนื่องตั้งแต่โจทก์เข้าทำงานที่บริษัท ศ. และเมื่อจำเลยรับโอนพนักงานของบริษัท ม. มาเป็นพนักงานของจำเลย โดยให้พนักงานทุกคนอยู่ในตำแหน่งเดิมที่ปฏิบัติงานอยู่กับบริษัท ม. และให้ได้รับเงินเดือนเดิม จึงเป็นการโอนการจ้างอันต้องนับอายุการทำงานของโจทก์ต่อเนื่องจากที่มีอยู่ในขณะเป็นลูกจ้างของบริษัท ม. เช่นกันดังนั้น เมื่อข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยเงินบำเหน็จมิได้มีข้อความแสดงให้เห็นว่าประสงค์จะให้นับเวลาทำงานของพนักงานเฉพาะที่เป็นพนักงานของจำเลยแต่อย่างใด การนับอายุการทำงานของโจทก์เพื่อรับบำเหน็จจึงต้องนับต่อเนื่องตั้งแต่โจทก์เข้าทำงานกับบริษัท ศ. จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับค่าชดเชยโดยระบุว่าได้นำเงินประจำตำแหน่งมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยให้ด้วยแล้ว แม้หนังสือดังกล่าวมิได้แจ้งว่าจำนวนค่าชดเชยเป็นจำนวนเท่าใด ก็แสดงว่าจำเลยคำนวณค่าชดเชยถูกต้องแล้วการที่โจทก์ไม่ไปรับค่าชดเชย จึงเป็นผู้ผิดนัด จำเลยคงต้องใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันเลิกจ้างถึงวันที่โจทก์ ได้รับแจ้งดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจที่ขาดคุณสมบัติ การจ่ายบำเหน็จไม่ใช่ค่าชดเชย
พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯมาตรา 9, 11 เป็นเพียงบทบัญญัติกำหนดคุณสมบัติและเหตุที่จะต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติเพื่อให้รัฐวิสาหกิจถือเป็นแนวเดียวกันเท่านั้น แต่มิได้หมายความว่า เมื่อพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แล้ว การจ้างเป็นอันระงับไปในตัวทันที หากจักต้องจัดการให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งไป ซึ่งการกระทำดังกล่าวนี้ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
บำเหน็จเป็นเงินซึ่งมีลักษณะเป็นการตอบแทนที่พนักงานหรือลูกจ้างได้ทำงานมาด้วยดีตลอดมาจนถึงวันที่ต้องพ้นจากตำแหน่งไป ส่วนค่าชดเชยเป็นเงินซึ่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานกำหนดให้นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างประจำเมื่อเลิกจ้าง ดังนั้น แม้จำเลยจ่ายบำเหน็จโดยมีวิธีคำนวณเหมือนค่าชดเชย และกำหนดให้ถือว่าเป็นค่าชดเชย ก็หามีผลเป็นการจ่ายค่าชดเชยแล้วไม่
บำเหน็จเป็นเงินซึ่งมีลักษณะเป็นการตอบแทนที่พนักงานหรือลูกจ้างได้ทำงานมาด้วยดีตลอดมาจนถึงวันที่ต้องพ้นจากตำแหน่งไป ส่วนค่าชดเชยเป็นเงินซึ่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานกำหนดให้นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างประจำเมื่อเลิกจ้าง ดังนั้น แม้จำเลยจ่ายบำเหน็จโดยมีวิธีคำนวณเหมือนค่าชดเชย และกำหนดให้ถือว่าเป็นค่าชดเชย ก็หามีผลเป็นการจ่ายค่าชดเชยแล้วไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 287/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานประพฤติชั่วร้ายแรงจากเหตุหมิ่นประมาท และข้อยกเว้นการล้างมลทินทางวินัย
การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า การกระทำของลูกจ้างเป็นไปในลักษณะหมิ่นประมาทผู้บังคับบัญชา ถือได้ว่าเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามระเบียบอันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้น. เท่ากับเป็นการวินิจฉัยว่า การกระทำของลูกจ้างเป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หาใช่เป็นการวินิจฉัยว่าลูกจ้างกระทำผิดทางอาญาฐานหมิ่นประมาทไม่ ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ และแม้คดีก่อนลูกจ้างถูกฟ้องเป็นคดีอาญาในข้อหาหมิ่นประมาทก็ตาม แต่เมื่อคดีนี้นายจ้างร้องต่อศาลเพื่อขอเลิกจ้างอันเป็นคดีแพ่ง จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
แม้ขณะลูกจ้างกระทำผิดวินัยจะอยู่ในระหว่างที่ได้รับการล้างมลทินตามพระราชบัญญัติล้างมลทินฯก็ตาม แต่เมื่อลูกจ้างมิใช่ผู้ที่ได้ถูกลงโทษทางวินัยหรือผู้กระทำผิดวินัยที่ได้รับนิรโทษกรรมมาก่อน จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับการล้างมลทินตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
แม้ขณะลูกจ้างกระทำผิดวินัยจะอยู่ในระหว่างที่ได้รับการล้างมลทินตามพระราชบัญญัติล้างมลทินฯก็ตาม แต่เมื่อลูกจ้างมิใช่ผู้ที่ได้ถูกลงโทษทางวินัยหรือผู้กระทำผิดวินัยที่ได้รับนิรโทษกรรมมาก่อน จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับการล้างมลทินตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 287/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานประพฤติชั่วร้ายแรง แม้มีคดีอาญาหมิ่นประมาท และการล้างมลทินทางวินัย
การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า การกระทำของลูกจ้างเป็นไปในลักษณะหมิ่นประมาทผู้บังคับบัญชา ถือได้ว่าเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามระเบียบอันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้น. เท่ากับเป็นการวินิจฉัยว่า การกระทำของลูกจ้างเป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หาใช่เป็นการวินิจฉัยว่าลูกจ้างกระทำผิดทางอาญาฐานหมิ่นประมาทไม่ ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ และแม้คดีก่อนลูกจ้างถูกฟ้องเป็นคดีอาญาในข้อหาหมิ่นประมาทก็ตาม แต่เมื่อคดีนี้นายจ้างร้องต่อศาลเพื่อขอเลิกจ้างอันเป็นคดีแพ่ง จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
แม้ขณะลูกจ้างกระทำผิดวินัยจะอยู่ในระหว่างที่ได้รับการล้างมลทินตามพระราชบัญญัติล้างมลทินฯก็ตาม แต่เมื่อลูกจ้างมิใช่ผู้ที่ได้ถูกลงโทษทางวินัยหรือผู้กระทำผิดวินัยที่ได้รับนิรโทษกรรมมาก่อน จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับการล้างมลทินตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
แม้ขณะลูกจ้างกระทำผิดวินัยจะอยู่ในระหว่างที่ได้รับการล้างมลทินตามพระราชบัญญัติล้างมลทินฯก็ตาม แต่เมื่อลูกจ้างมิใช่ผู้ที่ได้ถูกลงโทษทางวินัยหรือผู้กระทำผิดวินัยที่ได้รับนิรโทษกรรมมาก่อน จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับการล้างมลทินตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากละทิ้งการงานจากการหยุดพักผ่อนโดยไม่ได้รับอนุมัติ
การที่โจทก์ยื่นใบลาหยุดพักผ่อนวันที่ 21 ถึง 25กุมภาพันธ์ 2526 แต่ผู้จัดการให้โจทก์เลื่อนการลาหยุดพักผ่อนไปก่อนเพราะบริษัทมีงานค้างมาก โจทก์จึงได้แก้วันที่ขอลาหยุดเป็นวันที่ 1 ถึง 7 มีนาคม 2526ผู้จัดการเซ็นคำสั่งไม่อนุมัติเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์2526 ภายหลังจากวันโจทก์ยื่นใบลา แล้วโจทก์หยุดงานไปโดยเข้าใจว่าได้รับอนุมัติให้ลาได้ นั้น เมื่อข้อบังคับของจำเลยระบุว่า การขอลาหยุดพักผ่อนประจำปี ลูกจ้างจะหยุดได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากผู้จัดการแล้ว ฉะนั้น การที่โจทก์หยุดงานไปดังกล่าวจึงเป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อบังคับ ถือได้ว่าเป็นการละทิ้งการงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์หยุดพักผ่อนโดยไม่ได้รับอนุมัติจากผู้จัดการ อันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลย และอาจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายได้ จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุผลที่สมควร ถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม อุทธรณ์ที่ว่า ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงขัดแย้งกับเอกสารนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่หยุดงานโดยไม่ได้รับอนุมัติถือเป็นการละทิ้งงานตามกฎหมาย
การที่โจทก์ยื่นใบลาหยุดพักผ่อนวันที่ 21 ถึง 25 กุมภาพันธ์ 2526 แต่ผู้จัดการให้โจทก์เลื่อนการลาหยุดพักผ่อนไปก่อนเพราะบริษัทมีงานค้างมาก โจทก์จึงได้แก้วันที่ขอลาหยุดเป็นวันที่ 1 ถึง 7 มีนาคม 2526 ผู้จัดการเซ็นคำสั่งไม่อนุมัติเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2526 ภายหลังจากวันโจทก์ยื่นใบลา แล้วโจทก์หยุดงานไปโดยเข้าใจว่าได้รับอนุมัติให้ลาได้ นั้น เมื่อข้อบังคับของจำเลยระบุว่า การขอลาหยุดพักผ่อนประจำปี ลูกจ้างจะหยุดได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากผู้จัดการแล้ว ฉะนั้น การที่โจทก์หยุดงานไปดังกล่าวจึงเป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อบังคับ ถือได้ว่าเป็นการละทิ้งการงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583 จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์หยุดพักผ่อนโดยไม่ได้รับอนุมัติจากผู้จัดการ อันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลย และอาจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายได้ จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุผลที่สมควรถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
อุทธรณ์ที่ว่า ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงขัดแย้งกับเอกสารนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์หยุดพักผ่อนโดยไม่ได้รับอนุมัติจากผู้จัดการ อันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลย และอาจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายได้ จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุผลที่สมควรถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
อุทธรณ์ที่ว่า ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงขัดแย้งกับเอกสารนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายจ้างตัดค่าจ้างลูกจ้างต้องเป็นไปตามข้อตกลงสภาพการจ้าง หากไม่มีข้อตกลงรองรับ การตัดค่าจ้างเป็นโมฆะ
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างไม่มีข้อตกลงเรื่องตัดค่าจ้างของลูกจ้างในกรณีลูกจ้างขาดงาน มีแต่กำหนดว่า ถ้าลูกจ้างละทิ้งงานติดต่อกัน 3 วัน ให้พ้นจากการเป็นลูกจ้าง การที่นายจ้างกำหนดมาตรการการลงโทษลูกจ้างที่ละทิ้งการงานติดต่อกัน 3 วันเป็นว่าให้ตัดค่าจ้าง จึงเป็นการกำหนดมาตรการลงโทษขึ้นใหม่แม้ไม่เป็นการขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 20 แต่การเพิ่มเติมสภาพการจ้าง เช่นนี้ ไม่มีกำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างว่านายจ้างมีอำนาจทำได้ตามมาตรา 11(7) ดังนั้นการที่นายจ้างใช้อำนาจตัดค่าจ้างลูกจ้างจึงเป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายจ้างตัดค่าจ้างลูกจ้างต้องเป็นไปตามข้อบังคับหรือกฎหมาย หากไม่มีข้อความกำหนดไว้ชัดเจน การกระทำนั้นเป็นการฝ่าฝืนข้อตกลง
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างไม่มีข้อตกลงเรื่องตัดค่าจ้างของลูกจ้างในกรณีลูกจ้างขาดงาน มีแต่กำหนดว่า ถ้าลูกจ้างละทิ้งงานติดต่อกัน 3 วัน ให้พ้นจากการเป็นลูกจ้างการที่นายจ้างกำหนดมาตรการการลงโทษลูกจ้างที่ละทิ้งการงานติดต่อกัน 3 วัน เป็นว่าให้ตัดค่าจ้าง จึงเป็นการกำหนดมาตรการลงโทษขึ้นใหม่ แม้ไม่เป็นการขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯมาตรา 20 แต่การเพิ่มเติมสภาพการจ้าง เช่นนี้ ไม่มีกำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างว่านายจ้างมีอำนาจทำได้ตามมาตรา 11(7) ดังนั้นการที่นายจ้างใช้อำนาจตัดค่าจ้างลูกจ้างจึงเป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 26/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าล่วงเวลา: ระเบียบวิธีปฏิบัติภายในบริษัทมิใช่เงื่อนไขตัดสิทธิ, สัญญาให้เสนอข้อพิพาทต่อเจ้าหน้าที่บรูไนมิได้ตัดสิทธิฟ้องร้องต่อศาลไทย
แม้โจทก์จะไม่ได้ตอกบัตรลงเวลาทำงานและไม่มีลายเซ็นรับรองของวิศวกรและโฟร์แมนในการทำงานล่วงเวลาตามข้อบังคับของจำเลยเกี่ยวกับการคำนวณค่าล่วงเวลาก็ตาม แต่ระเบียบตามข้อบังคับนี้เป็นเพียงวิธีปฏิบัติในการทำงานล่วงเวลาเพื่อเป็นหลักฐานและประโยชน์เกี่ยวกับการคำนวณค่าล่วงเวลาเท่านั้นทั้งมิได้กำหนดยกเว้นว่าลูกจ้างคนใดไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวแล้วจะไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาอีกด้วยดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยให้โจทก์ทำงานล่วงเวลา จำเลยก็จะอ้างข้อบังคับดังกล่าวเพื่อปฏิเสธไม่จ่ายค่าล่วงเวลาแก่โจทก์หาได้ไม่
สัญญาจ้างแรงงานที่มีข้อความว่า "ข้อพิพาทใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการตีความหรือการใช้บังคับของความในสัญญานี้ใดๆให้นำไปเสนอเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลบรูไน คำตัดสินของทางการดังกล่าวให้ถือว่าเด็ดขาดและผูกพันระหว่างบริษัทและลูกจ้างฯลฯ"นั้น มิได้บังคับไว้โดยเด็ดขาดว่า หากคู่กรณีไม่นำข้อพิพาทเสนอต่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลบรูไนตัดสินก่อนแล้วจะฟ้องร้องต่อศาลมิได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ค่าล่วงเวลาให้โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางซึ่งโจทก์และจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจได้
สัญญาจ้างแรงงานที่มีข้อความว่า "ข้อพิพาทใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการตีความหรือการใช้บังคับของความในสัญญานี้ใดๆให้นำไปเสนอเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลบรูไน คำตัดสินของทางการดังกล่าวให้ถือว่าเด็ดขาดและผูกพันระหว่างบริษัทและลูกจ้างฯลฯ"นั้น มิได้บังคับไว้โดยเด็ดขาดว่า หากคู่กรณีไม่นำข้อพิพาทเสนอต่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลบรูไนตัดสินก่อนแล้วจะฟ้องร้องต่อศาลมิได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ค่าล่วงเวลาให้โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางซึ่งโจทก์และจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 26/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าล่วงเวลา แม้ไม่ปฏิบัติตามระเบียบวิธีปฏิบัติของนายจ้าง นายจ้างก็ต้องจ่าย หากมีข้อตกลงเรื่องการระงับข้อพิพาท ไม่ตัดสิทธิฟ้องร้องต่อศาล
แม้โจทก์จะไม่ได้ตอกบัตรลงเวลาทำงานและไม่มีลายเซ็นรับรองของวิศวกรและโฟร์แมนในการทำงานล่วงเวลาตามข้อบังคับของจำเลยเกี่ยวกับการคำนวณค่าล่วงเวลาก็ตาม แต่ระเบียบตามข้อบังคับนี้เป็นเพียงวิธีปฏิบัติในการทำงานล่วงเวลาเพื่อเป็นหลักฐานและประโยชน์เกี่ยวกับการคำนวณค่าล่วงเวลาเท่านั้น ทั้งมิได้กำหนดยกเว้นว่าลูกจ้างคนใดไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวแล้วจะไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาอีกด้วย ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยให้โจทก์ทำงานล่วงเวลา จำเลยก็จะอ้างข้อบังคับดังกล่าวเพื่อปฏิเสธไม่จ่ายค่าล่วงเวลาแก่โจทก์หาได้ไม่
สัญญาจ้างแรงงานที่มีข้อความว่า "ข้อพิพาทใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการตีความหรือการใช้บังคับของความในสัญญานี้ใด ๆ ให้นำไปเสนอเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลบรูไน คำตัดสินของทางการดังกล่าวให้ถือว่าเด็ดขาดและผูกพันระหว่างบริษัทและลูกจ้างฯลฯ" นั้น มิได้บังคับไว้โดยเด็ดขาดว่า หากคู่กรณีไม่นำข้อพิพาทเสนอต่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลบรูไนตัดสินก่อนแล้วจะฟ้องร้องต่อศาลมิได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ค่าล่วงเวลาให้โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงากลางซึ่งโจทก์และจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจได้
สัญญาจ้างแรงงานที่มีข้อความว่า "ข้อพิพาทใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการตีความหรือการใช้บังคับของความในสัญญานี้ใด ๆ ให้นำไปเสนอเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลบรูไน คำตัดสินของทางการดังกล่าวให้ถือว่าเด็ดขาดและผูกพันระหว่างบริษัทและลูกจ้างฯลฯ" นั้น มิได้บังคับไว้โดยเด็ดขาดว่า หากคู่กรณีไม่นำข้อพิพาทเสนอต่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลบรูไนตัดสินก่อนแล้วจะฟ้องร้องต่อศาลมิได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ค่าล่วงเวลาให้โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงากลางซึ่งโจทก์และจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจได้