คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ขจร หะวานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,047 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2957-2966/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่สอบถามคำให้การจำเลยในสำนวนที่ถูกรวมพิจารณาเข้าด้วยกัน ขัดต่อหลักวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
จำเลยทั้งสิบสำนวนเป็นนิติบุคคลรายเดียวกัน ศาลสั่งรวมพิจารณาสำนวนที่ 1 ถึงสำนวนที่ 9 ซึ่งจำเลยได้ยื่นใบแต่งทนาย และคำให้การเป็นหนังสือไว้แล้ว ต่อมาศาลสั่งรวมพิจารณาสำนวนที่ 10 เข้ากับสำนวนทั้งเก้า แต่ไม่ปรากฏว่ามีใบแต่งทนายและคำให้การในสำนวนที่ 10 ซึ่งน่าจะเป็นเพราะหลงลืมหรือพลั้งเผลอ ดังนี้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 39 กำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสอบถามคำให้การด้วยวาจาของจำเลยสำนวนที่ 10 และบันทึกไว้หากจำเลยไม่ยอมให้การ ศาลไม่ปฏิบัติเกี่ยวกับจำเลยสำนวนที่ 10 ตามที่กฎหมายกำหนดหน้าที่ และสั่งสืบพยานโจทก์สำนวนที่ 10 ไปโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยสำนวนที่ 10ประสงค์จะให้การหรือไม่ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2957-2966/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมสำนวนคดีแรงงานและการสอบถามคำให้การจำเลยตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสิบสำนวนเป็นนิติบุคคลรายเดียวกัน ศาลสั่งรวมพิจารณาสำนวนที่ 1 ถึงสำนวนที่ 9 ซึ่งจำเลยได้ยื่นใบแต่งทนาย และคำให้การเป็นหนังสือไว้แล้ว ต่อมาศาลสั่งรวมพิจารณาสำนวนที่ 10 เข้ากับสำนวนทั้งเก้า แต่ไม่ปรากฏว่ามีใบแต่งทนายและคำให้การในสำนวนที่ 10 ซึ่งน่าจะเป็นเพราะหลงลืมหรือพลั้งเผลอ ดังนี้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 39 กำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสอบถามคำให้การด้วยวาจาของจำเลยสำนวนที่ 10 และบันทึกไว้หากจำเลยไม่ยอมให้การ ศาลไม่ปฏิบัติเกี่ยวกับจำเลยสำนวนที่ 10 ตามที่กฎหมายกำหนดหน้าที่ และสั่งสืบพยานโจทก์สำนวนที่ 10 ไปโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยสำนวนที่ 10ประสงค์จะให้การหรือไม่ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2929/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้าง: อำนาจการอนุมัติลาของนายจ้างเป็นดุลยพินิจ ไม่ผูกมัดต้องอนุมัติทุกครั้ง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีข้อความว่า "บริษัทฯยินดีพิจารณาให้กรรมการและอนุกรรมการบริหารสหภาพฯลาเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ โดยประธานสหภาพ ฯ ทำหนังสือยื่นต่อฝ่ายจัดการเพื่ออนุมัติเป็นคราวๆไป โดยบริษัท ฯ จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่" นั้นแสดงว่า กรณีที่กรรมการขอลาไปประกอบกิจกรรมของสหภาพ ฯ บริษัทนายจ้างมีอำนาจที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตก็ได้ตามที่เห็นสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2929/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้าง: อำนาจการอนุมัติลาของนายจ้างมีขอบเขตแค่ไหน
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีข้อความว่า "บริษัทฯยินดีพิจารณาให้กรรมการและอนุกรรมการบริหารสหภาพฯลาเพื่อทำกิจกรรมต่างๆได้ โดยประธานสหภาพฯทำหนังสือยื่นต่อฝ่ายจัดการเพื่ออนุมัติเป็นคราวๆไป โดยบริษัทฯจะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่" นั้นแสดงว่า กรณีที่กรรมการขอลาไปประกอบกิจกรรมของสหภาพฯบริษัทนายจ้างมีอำนาจที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตก็ได้ตามที่เห็นสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2907-2908/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม & การไม่โต้แย้งกระบวนการพิจารณาในชั้นศาลทำให้ไม่สามารถยกขึ้นเป็นเหตุในชั้นอุทธรณ์ได้
อุทธรณ์โจทก์ที่ว่ามิได้จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายนั้น เป็นอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริง
การที่โจทก์อ้างว่าผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยซึ่งมิใช่ทนายความซักถามพยานโดยขออนุญาตจากศาล เป็นการมิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคแรกนั้น โจทก์ชอบที่จะยกขึ้นคัดค้านเสียก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาตามมาตรา 27 วรรคสอง เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้าน โจทก์จะยกปัญหานี้ขึ้นมาโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2907-2908/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ประเด็นข้อเท็จจริงและข้อผิดพลาดในกระบวนการพิจารณาที่ไม่ได้รับการคัดค้าน
อุทธรณ์โจทก์ที่ว่ามิได้จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายนั้น เป็นอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริง การที่โจทก์อ้างว่าผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยซึ่งมิใช่ทนายความซักถามพยานโดยขออนุญาตจากศาล เป็นการมิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคแรกนั้นโจทก์ชอบที่จะยกขึ้นคัดค้านเสียก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาตามมาตรา 27 วรรคสอง เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้าน โจทก์จะยกปัญหานี้ขึ้นมาโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2840/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของลูกจ้างและตัวการต่อการฝ่าฝืนข้อบังคับบริษัทฯ โดยผ่านตัวแทน
ผู้คัดค้านเป็นลูกจ้างผู้ร้องและเป็นกรรมการลูกจ้างนำประกาศและแถลงการณ์แจกให้ ม. และ ช. คนงานของผู้ร้องตรงประตูนอกบริเวณโรงงานของผู้ร้องและบอกให้นำไปแจกแก่คนงานอื่น เมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุห้ามพนักงานแจกจ่ายถ้อยคำบทความต่างๆภายในบริเวณบริษัทฯคำว่า "ภายในบริเวณบริษัท" จะมีความหมายถึงในหรือนอกประตูรั้วโรงงานหรือไม่ก็ตาม ผู้คัดค้านก็ได้บอกให้ ม. กับ ช. เอาไปแจกแก่พรรคพวกในโรงงานด้วย และ ม. กับ ช. ได้แจกให้คนงานในโรงงานถือได้ว่าเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนกระทำการแทนตัวการคือผู้คัดค้าน เมื่อการกระทำเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตัวการคือผู้คัดค้านผู้ใช้จ้างวานบุคคลให้กระทำผิดดังกล่าวก็ต้องรับผิดในฐานะตัวการในการกระทำผิดตามที่กำหนดไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2840/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวการต่อการกระทำผิดของตัวแทนในกรณีฝ่าฝืนข้อบังคับบริษัท
ผู้คัดค้านเป็นลูกจ้างผู้ร้องและเป็นกรรมการลูกจ้างนำประกาศและแถลงการณ์แจกให้ ม. และ ช. คนงานของผู้ร้องตรงประตูนอกบริเวณโรงงานของผู้ร้องและบอกให้นำไปแจกแก่คนงานอื่นเมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุห้ามพนักงานแจกจ่ายถ้อยคำบทความต่างๆภายในบริเวณบริษัทฯคำว่า "ภายในบริเวณบริษัท" จะมีความหมายถึงในหรือนอกประตูรั้วโรงงานหรือไม่ก็ตาม ผู้คัดค้านก็ได้บอกให้ ม. กับ ช. เอาไปแจกแก่พรรคพวกในโรงงานด้วย และ ม. กับ ช. ได้แจกให้คนงานในโรงงานถือได้ว่าเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนกระทำการแทนตัวการคือผู้คัดค้าน เมื่อการกระทำเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ตัวการคือผู้คัดค้านผู้ใช้จ้างวานบุคคลให้กระทำผิดดังกล่าวก็ต้องรับผิดในฐานะตัวการในการกระทำผิดตามที่กำหนดไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างระหว่างทดลองงาน, การแจ้งล่วงหน้า, ค่าเสียหาย, และดอกเบี้ยค่าล่วงเวลา
ปัญหาว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากเหตุใดเป็นข้อเท็จจริงเมื่อศาลแรงงานฟังว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากผลการทดลองปฏิบัติงานของโจทก์ไม่ดี ข้อเท็จจริงย่อมยุติ โจทก์จะอุทธรณ์เพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่หาได้ไม่
ข้ออุทธรณ์ที่โต้เถียงฝืนข้อเท็จจริงนั้น ไม่มีข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย
ตามสัญญาจ้างจำเลยให้โจทก์ทดลองปฏิบัติงาน 180 วัน และภายในระยะเวลานี้คู่สัญญามีสิทธิเลิกสัญญาได้โดยแจ้งล่วงหน้ามาเป็นเหตุที่จะปฏิเสธไม่ต้องปฏิบัติตามสัญญาหาได้ไม่ไม่น้อยกว่า 30 วัน ข้อตกลงนี้ไม่มีกฎหมายห้ามไว้จึงมีผลใช้บังคับจำเลยจะอ้างว่าระยะเวลาที่จะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าไม่เพียงพอ เมื่อศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยแก่โจทก์ก่อนวันที่โจทก์เรียก เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างระหว่างทดลองงาน การแจ้งล่วงหน้า และค่าเสียหาย
ปัญหาว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากเหตุใดเป็นข้อเท็จจริงเมื่อศาลแรงงานฟังว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากผลการทดลองปฏิบัติงานของโจทก์ไม่ดี ข้อเท็จจริงย่อมยุติ โจทก์จะอุทธรณ์เพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่หาได้ไม่
ข้ออุทธรณ์ที่โต้เถียงฝืนข้อเท็จจริงนั้น ไม่มีข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย
ตามสัญญาจ้างจำเลยให้โจทก์ทดลองปฏิบัติงาน 180 วัน และภายในระยะเวลานี้คู่สัญญามีสิทธิเลิกสัญญาได้โดยแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่า 30 วัน ข้อตกลงนี้ไม่มีกฎหมายห้ามไว้ จึงมีผลใช้บังคับจำเลยจะอ้างว่าระยะเวลาที่จะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าไม่เพียงพอมาเป็นเหตุที่จะปฏิเสธไม่ต้องปฏิบัติตามสัญญาหาได้ไม่
เมื่อศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยแก่โจทก์ก่อนวันที่โจทก์เรียก เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
of 205