คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ขจร หะวานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,047 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3496/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องเงินสงเคราะห์รายเดือนและเงินสะสม แม้มีคดีเรียกค่าเสียหายอยู่ระหว่างพิจารณา นายจ้างไม่มีสิทธิยึดหน่วง
จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างไม่ยอมจ่ายเงินสงเคราะห์รายเดือนและเงินสะสมให้โจทก์ โดยอ้างว่าจำเลยมีสิทธิยึดหน่วงเพราะโจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องเป็นเหตุให้จำเลยเสียหายและจำเลยได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์แล้วนั้น เมื่อปรากฏว่าคดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างพิจารณา จึงยังเป็นหนี้ที่ไม่แน่นอนและยังไม่ถึงกำหนดชำระ ถือไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ตนเกี่ยวด้วยทรัพย์สินซึ่งยึดครองนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241 จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงเงินดังกล่าว เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระเงินดังกล่าวก็ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3496/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับเงินสงเคราะห์และเงินสะสมหลังลาออก กรณีจำเลยอ้างหนี้จากการฟ้องเรียกค่าเสียหายและยึดหน่วงเงิน
จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างไม่ยอมจ่ายเงินสงเคราะห์รายเดือนและเงินสะสมให้โจทก์ โดยอ้างว่าจำเลยมีสิทธิยึดหน่วงเพราะโจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องเป็นเหตุให้จำเลยเสียหายและจำเลยได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์แล้วนั้น เมื่อปรากฏว่าคดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างพิจารณา จึงยังเป็นหนี้ที่ไม่แน่นอนและยังไม่ถึงกำหนดชำระ ถือไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ตนเกี่ยวด้วยทรัพย์สินซึ่งยึดครองนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงเงินดังกล่าว เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระเงินดังกล่าวก็ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3495/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้างอย่างร้ายแรง กรณีสูบบุหรี่ในพื้นที่ห้ามสูบซึ่งอาจก่อให้เกิดอัคคีภัย
โรงงานผลิตกล่องกระดาษของจำเลยเคยถูกไฟไหม้เสียหายนับล้านบาทจำเลยจึงมีคำสั่งห้ามสูบบุหรี่ในบริเวณโรงงาน และได้วางมาตรการป้องกันเพลิงไหม้อย่างเข้มแข็ง จัดให้มีเครื่องดับเพลิงและป้ายห้ามสูบบุหรี่ทั่วบริเวณโรงงาน โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างยืนสูบบุหรี่ข้าง ๆ กองกล่องกระดาษซึ่งมีกล่องกระดาษเป็นจำนวนมาก จึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3495/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้างอย่างร้ายแรง กรณีสูบบุหรี่ในพื้นที่ห้ามเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย
โรงงานผลิตกล่องกระดาษของจำเลยเคยถูกไฟไหม้เสียหายนับล้านบาทจำเลยจึงมีคำสั่งห้ามสูบบุหรี่ในบริเวณโรงงาน และได้วางมาตรการป้องกันเพลิงไหม้อย่างเข้มแข็ง จัดให้มีเครื่องดับเพลิงและป้ายห้ามสูบบุหรี่ทั่วบริเวณโรงงาน โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างยืนสูบบุหรี่ข้าง ๆ กองกล่องกระดาษซึ่งมีกล่องกระดาษเป็นจำนวนมาก จึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3460/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีตามกฎหมาย แม้มีการลากิจ/ลาป่วยเกินเกณฑ์ ระเบียบของนายจ้างไม่ตัดสิทธิ
การที่ระเบียบของจำเลยกำหนดว่า ลูกจ้างซึ่งไม่มีวันลาเกิน36 วัน มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ 10 วันนั้น ใช้บังคับเฉพาะพนักงานที่มิได้ลาเกินกำหนดให้มีวันหยุดพักผ่อนประจำปีได้ถึง 10 วันเท่านั้น หามีผลเป็นการตัดสิทธิในการหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้างที่ลาเกินกำหนดซึ่งมีอยู่ 6 วันทำงานตามกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3460/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี: ระเบียบลูกจ้างที่ลาป่วยเกิน 36 วัน ไม่ตัดสิทธิพักผ่อนตามกฎหมาย
การที่ระเบียบของจำเลยกำหนดว่า ลูกจ้างซึ่งไม่มีวันลาเกิน36 วัน มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ 10 วันนั้น ใช้บังคับเฉพาะพนักงานที่มิได้ลาเกินกำหนดให้มีวันหยุดพักผ่อนประจำปีได้ถึง 10 วันเท่านั้น หามีผลเป็นการตัดสิทธิในการหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้างที่ลาเกินกำหนดซึ่งมีอยู่ 6 วันทำงานตามกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บทบัญญัติมาตรา 13 พ.ร.บ.การรถไฟฯ ไม่ใช่ข้ออ้างปฏิเสธหนี้ แต่ใช้บังคับคดีเมื่อจำเป็น สิทธิฟ้องร้องกับบังคับคดีเป็นคนละส่วน
มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย ๆ ไม่ใช่บทบัญญัติที่มีไว้เพื่อประโยชน์ในการปฏิเสธหนี้ในทุกกรณี แต่เป็นบทบัญญัติที่มีไว้ใช้ในชั้นบังคับคดีในกรณีที่มีความจำเป็นต้องบังคับคดีเท่านั้น ที่จำเลยยกมาตรา 13 ขึ้นต่อสู้เพื่อปฏิเสธความรับผิดไม่จ่ายค่าชดเชยตามฟ้องโดยอ้างว่าเป็นการพ้นวิสัยที่ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีจึงไม่ถูกต้อง เพราะสิทธิในการฟ้องร้องกับปัญหาในการบังคับคดีเป็นคนละเรื่องกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3346-3348/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้าง: เงินบำเหน็จพิเศษจากกองทุนสวัสดิการ ห้ามนำไปหักเป็นค่าชดเชย
ระเบียบของจำเลยกำหนดให้หักเงินรายได้จากค่าขนส่งสินค้าส่วนที่เป็นของกรรมกรไว้เป็นเงินบำรุงความสุข เพื่อจ่ายเป็นบำเหน็จพิเศษให้แก่กรรมกรเมื่อถึงแก่กรรมลาออกหรือถูกให้ออก จำเลยจะจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในระเบียบของจำเลยได้ในกรณีที่มีการหักรายจ่ายจากกองเงินบำรุงความสุขเท่านั้นเงินบำรุงความสุขเป็นเงินของกรรมกร ไม่ใช่เงินของจำเลย และเป็นเงินคนละประเภทกับค่าชดเชย เมื่อค่าชดเชยที่จำเลยจะต้องจ่ายมิใช่รายจ่ายที่จำเลยจะพึงใช้สิทธิหักได้จากเงินบำเหน็จพิเศษจำเลยก็จะลดจำนวนบำเหน็จพิเศษตามสิทธิที่กรรมกรจะได้รับลงเพราะเหตุที่จำเลยจะต้องนำไปจ่ายเป็นค่าชดเชยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3346-3348/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จพิเศษกรรมกร ห้ามนำไปหักจ่ายค่าชดเชยนายจ้าง
ระเบียบของจำเลยกำหนดให้หักเงินรายได้จากค่าขนส่งสินค้าส่วนที่เป็นของกรรมกรไว้เป็นเงินบำรุงความสุข เพื่อจ่ายเป็นบำเหน็จพิเศษให้แก่กรรมกรเมื่อถึงแก่กรรม ลาออกหรือถูกให้ออก จำเลยจะจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในระเบียบของจำเลยได้ในกรณีที่มีการหักรายจ่ายจากกองเงินบำรุงความสุขเท่านั้น เงินบำรุงความสุขเป็นเงินของกรรมกร ไม่ใช่เงินของจำเลย และเป็นเงินคนละประเภทกับค่าชดเชย เมื่อค่าชดเชยที่จำเลยจะต้องจ่ายมิใช่รายจ่ายที่จำเลยจะพึงใช้สิทธิหักได้จากเงินบำเหน็จพิเศษจำเลยก็จะลดจำนวนบำเหน็จพิเศษตามสิทธิที่กรรมกรจะได้รับลงเพราะเหตุที่จำเลยจะต้องนำไปจ่ายเป็นค่าชดเชยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3193/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ศาลใช้เกณฑ์โบนัส/ส่วนแบ่งกำไรคำนวณค่าเสียหายได้ แม้ลูกจ้างไม่มีสิทธิโดยตรง
แม้ศาลจะวินิจฉัยว่าลูกจ้างไม่มีสิทธิเรียกร้องโบนัสและส่วนแบ่งกำไรเมื่อถูกเลิกจ้างก็ตาม แต่เมื่อการเลิกจ้างนั้นเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลย่อมมีอำนาจที่จะนำโบนัสและส่วนแบ่งกำไรมาเป็นเกณฑ์คำนวณค่าเสียหายตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 49 ได้
of 205