พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,047 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2897/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหลังพักงานและอนุมัติใบลาออกย้อนหลัง ศาลสั่งชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยตั้งกรรมการสอบสวนโจทก์ ระหว่างสอบสวนโจทก์ยื่นใบลาออกจำเลยยังไม่อนุญาตเพราะการสอบสวนยังไม่เสร็จ หลังจากโจทก์ยื่นใบลาออก 5 เดือน จำเลยสั่งพักงานโจทก์และระงับการจ่ายเงินเดือนกับเงินอื่นใดของโจทก์ ต่อมาอีก 6 เดือน ก็ย้ายโจทก์ไปสำนักงานใหญ่ พฤติการณ์ดังนี้แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์จะให้โจทก์ลาออก หากแต่จะเอาตัวโจทก์ไว้สอบสวนหาความผิด ถ้าผิดก็จะลงโทษทางวินัย ใบลาออกของโจทก์จึงสิ้นผลโดยโจทก์ไม่จำต้องถอนใบลานั้น และเมื่อจำเลยมีคำสั่งลงโทษโจทก์ทางวินัยโดยตัดเงินเดือน 10% ของอัตราที่รอการพิจารณาไว้มีกำหนด 6 เดือน และในคำสั่งฉบับเดียวกันยังอนุญาตให้โจทก์ลาออกนับแต่วันที่จำเลยเริ่มตัดเงินเดือนโจทก์ คำสั่งนี้จึงขัดแย้งกันอยู่ในตัวเพราะหากโจทก์พ้นจากการเป็นลูกจ้างไปแล้วจำเลยจะลงโทษโจทก์ได้อย่างไร ดังนี้ การที่จำเลยมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ลาออกย้อนไปถึงวันพักงานจึงเป็นการเลิกจ้างโจทก์ในวันที่จำเลยมีคำสั่งนั่นเอง เมื่อความผิดของโจทก์มีเพียงถูกตัดเงินเดือน 10% จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลมีอำนาจสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ได้ และจำเลยต้องจ่ายเงินประเภทต่าง ๆ ระหว่างที่โจทก์ถูกพักงานจนถึงเลิกจ้างด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2897/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหลังพักงานและอนุมัติใบลาออกย้อนหลัง ศาลมีอำนาจสั่งชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยตั้งกรรมการสอบสวนโจทก์ ระหว่างสอบสวนโจทก์ยื่นใบลาออกจำเลยยังไม่อนุญาตเพราะการสอบสวนยังไม่เสร็จ หลังจากโจทก์ยื่นใบลาออก 5 เดือนจำเลยสั่งพักงานโจทก์และระงับการจ่ายเงินเดือนกับเงินอื่นใดของโจทก์ ต่อมาอีก 6 เดือนก็ย้ายโจทก์ไปสำนักงานใหญ่ พฤติการณ์ดังนี้แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์จะให้โจทก์ลาออก หากแต่จะเอาตัวโจทก์ไว้สอบสวนหาความผิด ถ้าผิดก็จะลงโทษทางวินัย ใบลาออกของโจทก์จึงสิ้นผลโดยโจทก์ไม่จำต้องถอนใบลานั้น และเมื่อจำเลยมีคำสั่งลงโทษโจทก์ทางวินัยโดยตัดเงินเดือน 10% ของอัตราที่รอการพิจารณาไว้มีกำหนด 6 เดือน และในคำสั่งฉบับเดียวกันยังอนุญาตให้โจทก์ลาออกนับแต่วันที่จำเลยเริ่มตัดเงินเดือนโจทก์ คำสั่งนี้จึงขัดแย้งกันอยู่ในตัวเพราะหากโจทก์พ้นจากการเป็นลูกจ้างไปแล้วจำเลยจะลงโทษโจทก์ได้อย่างไร ดังนี้ การที่จำเลยมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ลาออกย้อนไปถึงวันพักงานจึงเป็นการเลิกจ้างโจทก์ในวันที่จำเลยมีคำสั่งนั่นเอง เมื่อความผิดของโจทก์มีเพียงถูกตัดเงินเดือน 10% จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลมีอำนาจสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ได้ และจำเลยต้องจ่ายเงินประเภทต่างๆ ระหว่างที่โจทก์ถูกพักงานจนถึงเลิกจ้างด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2859/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายจ้างโยกย้ายลูกจ้างภายในบริษัท และการเลิกจ้างอันชอบธรรมจากการฝ่าฝืนคำสั่ง
การที่ลูกจ้างแจ้งความชำนาญหรือความถนัดของตนในการสมัครงานและนายจ้างมีคำสั่งรับเข้าทำงานในแผนกใดแล้ว ไม่เป็นการผูกพันนายจ้างที่จะต้องให้ลูกจ้างทำงานในแผนกนั้นตลอดไปหากต่อมามีความจำเป็น มีความเหมาะสม นายจ้างมีอำนาจย้ายลูกจ้างไปทำงานในแผนกอื่นในบริษัทเดียวกันโดยลูกจ้างคงได้รับค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิมได้
โจทก์ไม่สามารถเข้ากันได้กับผู้บังคับบัญชา จำเลยผู้เป็นนายจ้างมีอำนาจย้ายโจทก์ไปทำงานในแผนกใหม่เพื่อความเหมาะสมได้ และโจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเพราะเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย การที่โจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งโดยไม่ยอมลงชื่อทราบคำสั่ง ไม่ไปรายงานตัวเพื่อทำงานในแผนกใหม่ และจำเลยได้ออกคำเตือนเป็นหนังสือมากกว่า 3 ครั้งแล้วจำเลยจึงมีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย การเลิกจ้างดังกล่าวไม่ใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและจำเลยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์ไม่สามารถเข้ากันได้กับผู้บังคับบัญชา จำเลยผู้เป็นนายจ้างมีอำนาจย้ายโจทก์ไปทำงานในแผนกใหม่เพื่อความเหมาะสมได้ และโจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเพราะเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย การที่โจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งโดยไม่ยอมลงชื่อทราบคำสั่ง ไม่ไปรายงานตัวเพื่อทำงานในแผนกใหม่ และจำเลยได้ออกคำเตือนเป็นหนังสือมากกว่า 3 ครั้งแล้วจำเลยจึงมีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย การเลิกจ้างดังกล่าวไม่ใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและจำเลยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2859/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายจ้างในการย้ายลูกจ้างและการเลิกจ้างโดยชอบธรรมเมื่อลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
การที่ลูกจ้างแจ้งความชำนาญหรือความถนัดของตนในการสมัครงานและนายจ้างมีคำสั่งรับเข้าทำงานในแผนกใดแล้ว ไม่เป็นการผูกพันนายจ้างที่จะต้องให้ลูกจ้างทำงานในแผนกนั้นตลอดไป หากต่อมามีความจำเป็น มีความเหมาะสม นายจ้างมีอำนาจย้ายลูกจ้างไปทำงานในแผนกอื่นในบริษัทเดียวกันโดยลูกจ้างคงได้รับค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิมได้
โจทก์ไม่สามารถเข้ากันได้กับผู้บังคับบัญชา จำเลยผู้เป็นนายจ้างมีอำนาจย้ายโจทก์ไปทำงานในแผนกใหม่เพื่อความเหมาะสมได้ และโจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเพราะเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย การที่โจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งโดยไม่ยอมลงชื่อทราบคำสั่ง ไม่ไปรายงานตัวเพื่อทำงานในแผนกใหม่ และจำเลยได้ออกคำเตือนเป็นหนังสือมากกว่า 3 ครั้งแล้ว จำเลยจึงมีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย การเลิกจ้างดังกล่าวไม่ใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและจำเลยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์ไม่สามารถเข้ากันได้กับผู้บังคับบัญชา จำเลยผู้เป็นนายจ้างมีอำนาจย้ายโจทก์ไปทำงานในแผนกใหม่เพื่อความเหมาะสมได้ และโจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเพราะเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย การที่โจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งโดยไม่ยอมลงชื่อทราบคำสั่ง ไม่ไปรายงานตัวเพื่อทำงานในแผนกใหม่ และจำเลยได้ออกคำเตือนเป็นหนังสือมากกว่า 3 ครั้งแล้ว จำเลยจึงมีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย การเลิกจ้างดังกล่าวไม่ใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและจำเลยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2837/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาดข้อพิพาทค่าครองชีพและสวัสดิการ, การประชุมใหญ่วิสามัญสหภาพแรงงาน
การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีคำสั่งให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดำเนินการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามมาตรา34 (4) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ นั้น คณะกรรมการฯ มีอำนาจดำเนินการชี้ขาดกำหนดอัตราค่าครองชีพหรือกำหนดเงินช่วยเหลือครอบครัวกรณีที่พนักงานเสียชีวิต อันเป็นข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้างได้
เมื่อข้อบังคับสหภาพแรงงานกำหนดว่า การประชุมใหญ่วิสามัญหมายถึงการประชุมที่สมาชิกไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมด หรือไม่น้อยกว่า 50 คน ลงลายมือชื่อทำหนังสือร้องขอให้คณะกรรมการเรียกประชุมใหญ่ ดังนี้ แม้จะปรากฏว่ามีการปลอมลายมือชื่อของสมาชิกบางคนในหนังสือเรียกร้องให้สหภาพแรงงานเปิดการประชุมใหญ่วิสามัญ แต่จำนวนสมาชิกที่ลงชื่อในหนังสือดังกล่าวที่เหลือนอกจากนั้นก็มีจำนวนเกิน 50 คน และไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสมาชิกทั้งหมด สหภาพแรงงานจึงชอบที่จะเปิดประชุมใหญ่วิสามัญได้
เมื่อข้อบังคับสหภาพแรงงานกำหนดว่า การประชุมใหญ่วิสามัญหมายถึงการประชุมที่สมาชิกไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมด หรือไม่น้อยกว่า 50 คน ลงลายมือชื่อทำหนังสือร้องขอให้คณะกรรมการเรียกประชุมใหญ่ ดังนี้ แม้จะปรากฏว่ามีการปลอมลายมือชื่อของสมาชิกบางคนในหนังสือเรียกร้องให้สหภาพแรงงานเปิดการประชุมใหญ่วิสามัญ แต่จำนวนสมาชิกที่ลงชื่อในหนังสือดังกล่าวที่เหลือนอกจากนั้นก็มีจำนวนเกิน 50 คน และไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสมาชิกทั้งหมด สหภาพแรงงานจึงชอบที่จะเปิดประชุมใหญ่วิสามัญได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2837/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาดข้อพิพาทค่าครองชีพและเงินช่วยเหลือครอบครัว รวมถึงการประชุมใหญ่วิสามัญที่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีคำสั่งให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดำเนินการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามมาตรา34(4) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯนั้น คณะกรรมการฯ มีอำนาจดำเนินการชี้ขาดกำหนดอัตราค่าครองชีพหรือกำหนดเงินช่วยเหลือครอบครัวกรณีที่พนักงานเสียชีวิต อันเป็นข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้างได้
เมื่อข้อบังคับสหภาพแรงงานกำหนดว่า การประชุมใหญ่วิสามัญหมายถึงการประชุมที่สมาชิกไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมด หรือไม่น้อยกว่า 50 คน ลงลายมือชื่อทำหนังสือร้องขอให้คณะกรรมการเรียกประชุมใหญ่ ดังนี้ แม้จะปรากฏว่ามีการปลอมลายมือชื่อของสมาชิกบางคนในหนังสือเรียกร้องให้สหภาพแรงงานเปิดการประชุมใหญ่วิสามัญ แต่จำนวนสมาชิกที่ลงชื่อในหนังสือดังกล่าวที่เหลือนอกจากนั้นก็มีจำนวนเกิน 50 คน และไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสมาชิกทั้งหมด สหภาพแรงงานจึงชอบที่จะเปิดประชุมใหญ่วิสามัญได้
เมื่อข้อบังคับสหภาพแรงงานกำหนดว่า การประชุมใหญ่วิสามัญหมายถึงการประชุมที่สมาชิกไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมด หรือไม่น้อยกว่า 50 คน ลงลายมือชื่อทำหนังสือร้องขอให้คณะกรรมการเรียกประชุมใหญ่ ดังนี้ แม้จะปรากฏว่ามีการปลอมลายมือชื่อของสมาชิกบางคนในหนังสือเรียกร้องให้สหภาพแรงงานเปิดการประชุมใหญ่วิสามัญ แต่จำนวนสมาชิกที่ลงชื่อในหนังสือดังกล่าวที่เหลือนอกจากนั้นก็มีจำนวนเกิน 50 คน และไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสมาชิกทั้งหมด สหภาพแรงงานจึงชอบที่จะเปิดประชุมใหญ่วิสามัญได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทน: เจตนาผูกพัน 10 ปี จากการยกอาคารและสิ่งปลูกสร้าง
การที่จำเลยจะต้องยกอาคารและสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาเช่าอีกโสดหนึ่งต่างหากจากค่าเช่าซึ่งมีเพียงเล็กน้อย ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์จำเลยว่ามุ่งจะผูกพันกันเป็นเวลาถึงสิบปี โดยจำเลยต้องการเวลานาน ส่วนโจทก์ต้องการอาคารและสิ่งปลูกสร้าง สัญญาเช่าจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาโจทก์จำเลยต้องผูกพันตามนั้น จะบอกเลิกสัญญาและขับไล่จำเลยก่อนครบกำหนดสิบปีหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าต่างตอบแทน: เจตนาผูกพันระยะยาวจากการยกสิ่งปลูกสร้าง
การที่จำเลยจะต้องยกอาคารและสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาเช่าอีกโสดหนึ่งต่างหากจากค่าเช่าซึ่งมีเพียงเล็กน้อย ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์จำเลยว่ามุ่งจะผูกพันกันเป็นเวลาถึงสิบปี โดยจำเลยต้องการเวลานาน ส่วนโจทก์ต้องการอาคารและสิ่งปลูกสร้างสัญญาเช่าจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาโจทก์จำเลยต้องผูกพันตามนั้น จะบอกเลิกสัญญาและขับไล่จำเลยก่อนครบกำหนดสิบปีหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2799/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างหลังละทิ้งหน้าที่เนื่องจากถูกดูหมิ่น การกระทำของผู้จัดการฝ่ายขายไม่ผูกพันบริษัท
การที่ศ.ผู้จัดการฝ่ายขายของบริษัทจำเลยดูหมิ่นว่าโจทก์ได้เสียมีสัมพันธ์กับชายอื่นซึ่งมีภริยาแล้ว ทำให้โจทก์อับอายไม่มาทำงานเกินสามวันทำงานติดต่อกันจนเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์นั้น เป็นเรื่องส่วนตัว ดังนั้น ศ.จะมีฐานะเป็นนายจ้างหรือไม่จึงไม่ใช่ข้อสำคัญที่จำเป็นต้องวินิจฉัยและการพูดเช่นนั้นก็มิใช่เรื่องกีดกันมิให้ลูกจ้างทำงานติดต่อกันเกินเจ็ดวันทำงาน จึงถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2799/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีละทิ้งหน้าที่หลังถูกดูหมิ่น: นายจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชย
การที่ ศ.ผู้จัดการฝ่ายขายของบริษัทจำเลยดูหมิ่นว่าโจทก์ได้เสียมีสัมพันธ์กับชายอื่นซึ่งมีภริยาแล้ว ทำให้โจทก์อับอายไม่มาทำงานเกินสามวันทำงานติดต่อกันจนเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์นั้น เป็นเรื่องส่วนตัว ดังนั้น ศ. จะมีฐานะเป็นนายจ้างหรือไม่จึงไม่ใช่ข้อสำคัญที่จำเป็นต้องวินิจฉัย และการพูดเช่นนั้นก็มิใช่เรื่องกีดกันมิให้ลูกจ้างทำงานติดต่อกันเกินเจ็ดวันทำงาน จึงถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า