คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ขจร หะวานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,047 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2758/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลสั่งจ่ายค่าเสียหายระหว่างถูกเลิกจ้าง แม้มาตรา 49 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มิได้กล่าวถึง
แม้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 จะมิได้กล่าวถึงค่าจ้างหรือค่าเสียหายในระหว่างที่ถูกเลิกจ้างของลูกจ้างที่ศาลสั่งให้นายจ้างรับกลับเข้าทำงานก็ตามแต่ก็มิได้มีกฎหมายห้ามไว้ ดังนั้นเมื่อศาลสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน ศาลมีอำนาจที่จะให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายในระหว่างที่ถูกเลิกจ้างให้แก่ลูกจ้างผู้ต้องเสียหายได้
คำฟ้องที่เสนอศาลโจทก์ได้ขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยด้วย แต่มิได้ทำสำเนาคำฟ้องให้ตรงกับต้นฉบับ คำขอเรื่องดอกเบี้ยจึงขาดไปในสำเนาคำฟ้อง กรณีนี้พึงถือได้ว่าโจทก์มีคำขอเรื่องดอกเบี้ยแล้ว การทำสำเนาคำฟ้องขาดตกบกพร่องไม่ทำให้ต้นฉบับคำฟ้องเสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2752/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างไม่มีสิทธิยึดหน่วงค่าจ้างและเงินสงเคราะห์ค้างจ่ายของลูกจ้าง แม้มีคดีความอื่น
ค่าจ้างและเงินสงเคราะห์รายเดือนที่นายจ้างค้างจ่ายแก่ลูกจ้าง เป็นเพียงหนี้ที่นายจ้างจะต้องชำระแก่ลูกจ้าง หาใช่เป็นทรัพย์สินของลูกจ้างที่นายจ้างครองอยู่และมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่นายจ้างเกี่ยวด้วยทรัพย์สินนั้นแต่อย่างใดไม่ นายจ้างจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2752/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างไม่มีสิทธิยึดหน่วงค่าจ้างและเงินสงเคราะห์รายเดือนค้างจ่ายของลูกจ้าง แม้มีคดีความอื่น
ค่าจ้างและเงินสงเคราะห์รายเดือนที่นายจ้างค้างจ่ายแก่ลูกจ้าง เป็นเพียงหนี้ที่นายจ้างจะต้องชำระแก่ลูกจ้าง หาใช่เป็นทรัพย์สินของลูกจ้างที่นายจ้างครองอยู่และมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่นายจ้างเกี่ยวด้วยทรัพย์สินนั้นแต่อย่างใดไม่ นายจ้างจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2673/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประสบอันตรายจากการเดินทางกลับหลังแข่งขันกีฬา ถือเป็นการปฏิบัติงานให้แก่นายจ้าง มีสิทธิได้รับเงินทดแทน
งานประจำของโจทก์คือกิจการของธนาคารในหน่วยงานอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี เมื่อธนาคารผู้เป็นนายจ้างมีคำสั่งให้โจทก์ไปแข่งขันกีฬาที่จังหวัดระยองระหว่างพนักงานธนาคารด้วยกัน ย่อมเป็นงานพิเศษตามครั้งคราวที่ธนาคารผู้เป็นนายจ้างจะมีคำสั่ง และเมื่อถึงวันปิดการแข่งขันโจทก์ก็ได้เดินทางกลับหน่วยงานประจำเช่นนี้ ตราบใดที่โจทก์ยังกลับไม่ถึงที่พักประจำในหน่วยงานอำเภอพัฒนานิคม ก็ยังได้ชื่อว่าโจทก์ปฏิบัติงานพิเศษกลับจากการ แข่งขันกีฬา เป็นการปฏิบัติงานให้แก่นายจ้าง การที่โจทก์ได้รับอันตรายระหว่างเดินทางกลับจึงเป็นการประสบอันตรายขณะปฏิบัติงานให้แก่นายจ้างและมีสิทธิได้รับเงินทดแทนตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2673/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประสบอันตรายจากการเดินทางกลับหลังแข่งขันกีฬา ถือเป็นการปฏิบัติงานและมีสิทธิได้รับเงินทดแทน
งานประจำของโจทก์คือกิจการของธนาคารในหน่วยงานอำเภอพัฒนานิคมจังหวัดลพบุรี เมื่อธนาคารผู้เป็นนายจ้างมีคำสั่งให้โจทก์ไปแข่งขันกีฬาที่จังหวัดระยองระหว่างพนักงานธนาคารด้วยกัน ย่อมเป็นงานพิเศษตามครั้งคราวที่ธนาคารผู้เป็นนายจ้างจะมีคำสั่งและเมื่อถึงวันปิดการแข่งขันโจทก์ก็ได้เดินทางกลับหน่วยงานประจำเช่นนี้ ตราบใดที่โจทก์ยังกลับไม่ถึงที่พักประจำในหน่วยงานอำเภอพัฒนานิคม ก็ยังได้ชื่อว่าโจทก์ปฏิบัติงานพิเศษกลับจากการแข่งขันกีฬา เป็นการปฏิบัติงานให้แก่นายจ้าง การที่โจทก์ได้รับอันตรายระหว่างเดินทางกลับจึงเป็นการประสบอันตรายขณะปฏิบัติงานให้แก่นายจ้างและมีสิทธิได้รับเงินทดแทนตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2659/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทดลองปฏิบัติงานเกิน 180 วัน และสิทธิการเลิกจ้างของนายจ้าง โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 วรรคสุดท้ายเป็นเพียงข้อยกเว้นว่า ถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำที่นายจ้างแจ้งให้ทราบเป็นหนังสือแต่แรกว่าให้ทดลองปฏิบัติงานในระยะเวลาไม่เกิน 180 วันแล้วนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยมิใช่เป็นเรื่องห้ามมิให้ทดลองปฏิบัติงานเกิน 180 วัน ดังนั้นการที่นายจ้างให้ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงาน 120 วัน เมื่อครบกำหนดแล้วนายจ้างจึงมีสิทธิที่จะมีคำสั่งให้ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงานอีก 60 วันได้ และการที่นายจ้างให้ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงานต่อไปอีกนั้นแม้ลูกจ้างจะมีบันทึกข้องใจในคำสั่งนี้ แต่ลูกจ้างก็ยังคงทำงานต่อไปกับนายจ้างอีก จึงถือได้ว่าลูกจ้างยินยอมตามคำสั่งดังกล่าวแล้ว ลูกจ้างจึงยังคงมีฐานะเป็นลูกจ้างประจำที่ทดลองปฏิบัติงานอยู่ และเมื่อปรากฏว่าในระหว่างที่ทดลองปฏิบัติงาน ผลงานของลูกจ้างไม่เป็นที่พอใจของ นายจ้างนายจ้างย่อมมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแต่เนื่องจากนายจ้างไม่ได้เลิกจ้างลูกจ้างภายในกำหนดระยะเวลาที่แจ้งไว้แต่แรกจึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2659/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทดลองงานเกิน 180 วัน การยินยอมของลูกจ้าง และสิทธิในการเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 วรรคสุดท้ายเป็นเพียงข้อยกเว้นว่า ถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำที่นายจ้างแจ้งให้ทราบเป็นหนังสือแต่แรกว่าให้ทดลองปฏิบัติงานในระยะเวลาไม่เกิน 180 วันแล้วนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยมิใช่เป็นเรื่องห้ามมิให้ทดลองปฏิบัติงานเกิน 180 วัน ดังนั้นการที่นายจ้างให้ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงาน 120 วัน เมื่อครบกำหนดแล้วนายจ้างจึงมีสิทธิที่จะมีคำสั่งให้ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงานอีก 60 วันได้ และการที่นายจ้างให้ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงานต่อไปอีกนั้นแม้ลูกจ้างจะมีบันทึกข้องใจในคำสั่งนี้ แต่ลูกจ้างก็ยังคงทำงานต่อไปกับนายจ้างอีก จึงถือได้ว่าลูกจ้างยินยอมตามคำสั่งดังกล่าวแล้ว ลูกจ้างจึงยังคงมีฐานะเป็นลูกจ้างประจำที่ทดลองปฏิบัติงานอยู่ และเมื่อปรากฏว่าในระหว่างที่ทดลองปฏิบัติงาน ผลงานของลูกจ้างไม่เป็นที่พอใจของนายจ้างนายจ้างย่อมมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแต่เนื่องจากนายจ้างไม่ได้เลิกจ้างลูกจ้างภายในกำหนดระยะเวลาที่แจ้งไว้แต่แรก จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2649/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานคำนวณอัตราเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ต้องใช้ 'อัตรากลาง' ตามตารางที่ 1 ไม่ใช่อัตราลด/เพิ่ม
การที่นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนกฎหมายได้คำนึงถึงลักษณะและประเภทกิจการของนายจ้างว่าลูกจ้างมีการเสี่ยงภัยที่จะได้รับอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างมากน้อยเพียงใด จึงได้กำหนดรหัสประเภทของกิจการนั้นไว้ว่าจะต้องจ่ายเงินสมทบในอัตราร้อยละเท่าใดของค่าจ้างไว้ อันเป็นการกำหนดอัตราเงินสมทบกลางไว้เป็นหลักตามสมควรแก่กิจการนั้น ๆไว้เป็นการทั่วไปเสียก่อน ถ้าอัตราการสูญเสียลดลงกฎหมายจะลดอัตราเงินสมทบให้ และอัตราเงินสมทบจะเพิ่มขึ้นเมื่ออัตราส่วนการสูญเสียสูงขึ้น ดังนั้นการลดหรือเพิ่มจึงต้องคำนวณโดยถืออัตราเงินสมทบกลางหรืออัตราเงินสมทบหลักตามที่ตารางที่ 1กำหนดไว้เป็นฐานคำนวณ มิใช่ถือเอาอัตราลด/เพิ่ม ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเป็นฐานคำนวณ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2649/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณอัตราเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ต้องใช้ฐานจากอัตรากลาง (ตารางที่ 1) ไม่ใช่อัตราลด/เพิ่ม
การที่นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนกฎหมายได้คำนึงถึงลักษณะและประเภทกิจการของนายจ้างว่าลูกจ้างมีการเสี่ยงภัยที่จะได้รับอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างมากน้อยเพียงใด จึงได้กำหนดรหัสประเภทของกิจการนั้นไว้ว่าจะต้องจ่ายเงินสมทบในอัตราร้อยละเท่าใดของค่าจ้างไว้ อันเป็นการกำหนดอัตราเงินสมทบกลางไว้เป็นหลักตามสมควรแก่กิจการนั้น ๆไว้เป็นการทั่วไปเสียก่อน ถ้าอัตราการสูญเสียลดลงกฎหมายจะลดอัตราเงินสมทบให้ และอัตราเงินสมทบจะเพิ่มขึ้นเมื่ออัตราส่วนการสูญเสียสูงขึ้น ดังนั้นการลดหรือเพิ่มจึงต้องคำนวณโดยถืออัตราเงินสมทบกลางหรืออัตราเงินสมทบหลักตามที่ตารางที่ 1กำหนดไว้เป็นฐานคำนวณ มิใช่ถือเอาอัตราลด/เพิ่ม ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเป็นฐานคำนวณ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2627/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง หากยังทำงานต่อเนื่องและได้รับค่าจ้าง
เมื่อคณะรัฐมนตรีมติให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยก็ได้แต่งตั้งให้โจทก์ไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาการรถไฟแห่งประเทศไทยโดยได้รับเงินเดือนเท่าเดิม มิได้ปลดโจทก์ออกจากงาน แต่เป็นการสั่งให้โจทก์พ้นตำแหน่งเดิมแล้วให้ไปทำงานตำแหน่งหน้าที่ใหม่ในฐานะเป็นลูกจ้างประจำของจำเลย การทำงานของโจทก์ต่อเนื่องกัน ไม่มีระยะเวลาอันเป็นช่องว่างที่แสดงว่าโจทก์ต้องออกจากงานไปชั่วคราวแล้วกลับแต่งตั้งเข้ามาใหม่จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 วรรคสอง
of 205