คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ขจร หะวานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,047 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2511/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตบุริมสิทธิในค่าจ้างและค่าชดเชยแรงงาน: แยกแยะมูลหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ
หนี้ค่าชดเชยของโจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ไม่เป็นบุริมสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253 ส่วนหนี้ค่าจ้างคนงานที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์เป็นบุริมสิทธิตาม มาตรา 253(4) และมาตรา 257 วรรคสอง ซึ่งโจทก์มีบุริมสิทธิในมูลค่าจ้างนับถอยหลังไปสองเดือนแต่ไม่เกิน 150 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2511/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตบุริมสิทธิในค่าจ้างและค่าชดเชยแรงงาน: การจำกัดวงเงินบุริมสิทธิในค่าจ้างนับถอยหลัง
หนี้ค่าชดเชยของโจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ไม่เป็นบุริมสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253 ส่วนหนี้ค่าจ้างคนงานที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์เป็นบุริมสิทธิตามมาตรา 253(4) และมาตรา 257 วรรคสอง ซึ่งโจทก์มีบุริมสิทธิในมูลค่าจ้างนับถอยหลังไปสองเดือนแต่ไม่เกิน 150 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดหุ้นส่วน: หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดไม่ต้องรับผิดในหนี้จากการจ้างงาน แม้จะเกี่ยวข้องกับการจัดการ
คำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางที่วินิจฉัยว่า คดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ย่อมถึงที่สุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 9 วรรคสอง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223
หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด แม้จะสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ก็ไม่ต้องรับผิดในหนี้เกี่ยวกับการจ้างแรงงานของลูกจ้างห้างหุ้นส่วนเพราะหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่นายจ้างต้องรับผิดต่อลูกจ้าง หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดไม่มีความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้าง จึงไม่ต้องรับผิด
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088 เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดทำผิดหน้าที่ ซึ่งต้องรับผิดในหนี้อันเกี่ยวกับกิจการที่สอดเข้าไปเกี่ยวข้องต่อบุคคลภายนอก มิใช่ต้องรับผิดในหนี้อันเกิดจากความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดไม่ต้องรับผิดในหนี้ค่าจ้างจากความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง แม้จะเกี่ยวข้องจัดการงาน
คำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางที่วินิจฉัยว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ย่อมถึงที่สุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 9 วรรคสอง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด แม้จะสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ก็ไม่ต้องรับผิดในหนี้เกี่ยวกับการจ้างแรงงานของลูกจ้างห้างหุ้นส่วนเพราะหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่นายจ้างต้องรับผิดต่อลูกจ้าง หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดไม่มีความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้างจึงไม่ต้องรับผิด
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088 เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดทำผิดหน้าที่ ซึ่งต้องรับผิดในหนี้อันเกี่ยวกับกิจการที่สอดเข้าไปเกี่ยวข้องต่อบุคคลภายนอก มิใช่ต้องรับผิดในหนี้อันเกิดจากความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2502/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอในคดีแรงงาน: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องค่าชดเชยนอกประเด็นฟ้อง
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างจากจำเลยโดยอ้างว่าโจทก์ยังมีสิทธิได้รับค่าจ้างนับตั้งแต่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงาน เพราะคำสั่งเลิกจ้างมิได้มีกรรมการอื่นของจำเลยที่ 1 ลงชื่อด้วย และมิได้ประทับตราของจำเลยที่ 1 จึงเป็นโมฆะไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 และโจทก์คดีไม่มีประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากจำเลยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่มีความผิดและพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ นอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2502/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาเกินคำขอ: คดีแรงงานเรียกค่าจ้าง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องค่าชดเชยนอกประเด็นฟ้อง
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างจากจำเลยโดยอ้างว่าโจทก์ยังมีสิทธิได้รับค่าจ้างนับตั้งแต่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงาน เพราะคำสั่งเลิกจ้างมิได้มีกรรมการอื่นของจำเลยที่ 1 ลงชื่อด้วย และมิได้ประทับตราของจำเลยที่ 1 จึงเป็นโมฆะไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 และโจทก์ คดีไม่มีประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากจำเลยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่มีความผิดและพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอนอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2490/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้อง: คุ้มครองลูกจ้างแม้มีเหตุเลิกจ้างตามข้อตกลง
โจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่ยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลย ขณะที่ข้อเรียกร้องยังอยู่ในระหว่างการเจรจา ถ้าการปฏิบัติงานของโจทก์ไม่ใช่การกระทำตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 31(1) ถึง (4) แล้ว จำเลยยังไม่มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ระหว่างนั้นแม้ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจำเลยจะมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2490/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้อง: สิทธิของลูกจ้างและข้อยกเว้นตามกฎหมาย
โจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่ยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลย ขณะที่ข้อเรียกร้องยังอยู่ในระหว่างการเจรจา ถ้าการปฏิบัติงานของโจทก์ไม่ใช่การกระทำตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 31(1) ถึง (4) แล้ว จำเลยยังไม่มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ระหว่างนั้น แม้ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจำเลยจะมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานประกอบกิจการเดียว การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างจังหวัดไม่ชอบด้วยกฎหมาย นายจ้างมีอำนาจลงโทษวินัยได้
การรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยมีผู้ว่าการเป็นผู้บริหารงานและเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานทุกคน ดำเนินการโดยสั่งการจากส่วนกลางไปยังส่วนภูมิภาคมิได้มีการแบ่งหน่วยงานที่ดำเนินกิจการโดยลำพังเป็นหน่วย ๆ จึงเป็นสถานประกอบกิจการเพียงหน่วยเดียวและมีคณะกรรมการลูกจ้างได้เพียงคณะเดียว พนักงานของจำเลยจึงจะแยกเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้างในแต่ละเขตการเดินรถหรือแต่ละจังหวัดไม่ได้
เมื่อคำสั่งของสหภาพแรงงานจำเลยที่แต่งตั้งโจทก์กับพวกเป็นกรรมการลูกจ้างประจำจังหวัดเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจำเลยจึงมีอำนาจลงโทษทางวินัยแก่โจทก์โดยไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานประกอบกิจการเดียว: การรถไฟฯ มีคณะกรรมการลูกจ้างได้เพียงคณะเดียว การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างประจำจังหวัดไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยมีผู้ว่าการเป็นผู้บริหารงานและเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานทุกคน ดำเนินการโดยสั่งการจากส่วนกลางไปยังส่วนภูมิภาคมิได้มีการแบ่งหน่วยงานที่ดำเนินกิจการโดยลำพังเป็นหน่วย ๆ จึงเป็นสถานประกอบกิจการเพียงหน่วยเดียวและมีคณะกรรมการลูกจ้างได้เพียงคณะเดียว พนักงานของจำเลยจึงจะแยกเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้างในแต่ละเขตการเดินรถหรือแต่ละจังหวัดไม่ได้
เมื่อคำสั่งของสหภาพแรงงานจำเลยที่แต่งตั้งโจทก์กับพวกเป็นกรรมการลูกจ้างประจำจังหวัดเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงมีอำนาจลงโทษทางวินัยแก่โจทก์โดยไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน
of 205