คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ขจร หะวานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,047 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2392/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นการห้ามโยกย้ายลูกจ้างช่วงเจรจา: การเลื่อนตำแหน่งตามระเบียบ ไม่เข้าข่ายต้องห้ามตามกฎหมาย
ข้อห้ามตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31 ที่ห้ามมิให้นายจ้างโยกย้ายหน้าที่การงานลูกจ้าง ผู้แทนลูกจ้างหรือกรรมการ อนุกรรมการ หรือสมาชิกสหภาพแรงงานหรือกรรมการ หรืออนุกรรมการสหพันธ์แรงงานซึ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้องในระหว่างที่ข้อเรียกร้องอยู่ในระหว่างการเจรจานั้นหมายถึงการโยกย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่การงานตามปกติ มิได้หมายถึงกรณีการเลื่อนตำแหน่งหน้าที่การงานของบุคคลดังกล่าวด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2392/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโยกย้าย vs. เลื่อนตำแหน่ง: ข้อห้ามตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ มาตรา 31 ไม่ครอบคลุมการเลื่อนตำแหน่ง
ข้อห้ามตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31 ที่ห้ามมิให้นายจ้างโยกย้ายหน้าที่การงานลูกจ้าง ผู้แทนลูกจ้างหรือกรรมการ อนุกรรมการ หรือสมาชิกสหภาพแรงงานหรือกรรมการ หรืออนุกรรมการสหพันธ์แรงงานซึ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้องในระหว่างที่ข้อเรียกร้องอยู่ในระหว่างการเจรจานั้น หมายถึงการโยกย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่การงานตามปกติ มิได้หมายถึงกรณีการเลื่อนตำแหน่งหน้าที่การงานของบุคคลดังกล่าวด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2327/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างหลังถูกเลิกจ้าง: ค่าจ้างระหว่างถูกเลิกจ้าง, สวัสดิการ, และการปรับเงินเดือนตามมติคณะรัฐมนตรี
ข้อบังคับองค์การจำเลยมีใจความว่า พนักงานที่ถูกตั้งกรรมการสอบสวนอาจถูกสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อนก็ได้ แต่ถ้าการสอบสวนได้ความว่าไม่มีมลทินหรือมัวหมองก็จะสั่งให้กลับเข้าทำงานและมีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างที่ถูกสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อนนั้นได้ดังนี้ เมื่อโจทก์ถูกตั้งกรรมการสอบสวนแล้วจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานตามความเห็นของคณะกรรมการ ต่อมาจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างเดิมตามคำพิพากษาของศาล ก็หาทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างในระหว่างถูกเลิกจ้างไม่
สำหรับเงินค่าช่วยเหลือบุตร เงินค่าการศึกษาของบุตร ค่ารักษาพยาบาลและการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนนั้น ผู้ที่จะมีสิทธิรับหรือได้รับการพิจารณาจะต้องมีฐานะเป็นพนักงานของจำเลย เมื่อโจทก์พ้นจากฐานะพนักงานของจำเลยแล้ว แม้ต่อมาศาลจะพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานโดยนับอายุงานติดต่อกัน ก็หาได้หมายความว่าในระหว่างที่ถูกเลิกจ้างโจทก์ยังคงมีฐานะเป็นพนักงานของจำเลยไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวและไม่มีสิทธิรับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน
ส่วนมติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติให้รัฐวิสาหกิจปรับเงินเดือนแก่พนักงานก็มีวัตถุประสงค์จะปรับเงินเดือนเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ที่ยังมีสภาพเป็นพนักงานอยู่ในวันที่คณะรัฐมนตรีลงมติอนุมัติเมื่อโจทก์พ้นสภาพการเป็นพนักงานของจำเลยและไม่มีอัตราเงินเดือนประจำในขณะนั้น จึงไม่มีสิทธิได้รับการปรับอัตราเงินเดือนตามมติคณะรัฐมนตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2327/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างถูกเลิกจ้าง: ค่าจ้างระหว่างถูกเลิกจ้าง, สวัสดิการ, และการปรับเงินเดือนตามมติคณะรัฐมนตรี
ข้อบังคับองค์การจำเลยมีใจความว่า พนักงานที่ถูกตั้งกรรมการสอบสวนอาจถูกสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อนก็ได้ แต่ถ้าการสอบสวนได้ความว่าไม่มีมลทินหรือมัวหมองก็จะสั่งให้กลับเข้าทำงานและมีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างที่ถูกสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อนนั้นได้ดังนี้ เมื่อโจทก์ถูกตั้งกรรมการสอบสวนแล้วจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานตามความเห็นของคณะกรรมการ ต่อมาจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างเดิมตามคำพิพากษาของศาล ก็หาทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างในระหว่างถูกเลิกจ้างไม่
สำหรับเงินค่าช่วยเหลือบุตร เงินค่าการศึกษาของบุตร ค่ารักษาพยาบาลและการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนนั้น ผู้ที่จะมีสิทธิรับหรือได้รับการพิจารณาจะต้องมีฐานะเป็นพนักงานของจำเลย เมื่อโจทก์พ้นจากฐานะพนักงานของจำเลยแล้ว แม้ต่อมาศาลจะพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานโดยนับอายุงานติดต่อกัน ก็หาได้หมายความว่าในระหว่างที่ถูกเลิกจ้างโจทก์ยังคงมีฐานะเป็นพนักงานของจำเลยไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวและไม่มีสิทธิรับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน
ส่วนมติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติให้รัฐวิสาหกิจปรับเงินเดือนแก่พนักงานก็มีวัตถุประสงค์จะปรับเงินเดือนเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ที่ยังมีสภาพเป็นพนักงานอยู่ในวันที่คณะรัฐมนตรีลงมติอนุมัติ เมื่อโจทก์พ้นสภาพการเป็นพนักงานของจำเลยและไม่มีอัตราเงินเดือนประจำในขณะนั้น จึงไม่มีสิทธิได้รับการปรับอัตราเงินเดือนตามมติคณะรัฐมนตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311-2313/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและการคุ้มครองสิทธิลูกจ้างตามกฎหมาย
นายจ้างประสบปัญหาขาดทุน จำเป็นต้องยุบหน่วยงานที่ขาดทุนและเลิกจ้างลูกจ้างที่ประจำอยู่หน่วยงานนั้น การเลิกจ้างดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับฐานะทางเศรษฐกิจและความอยู่รอดของนายจ้างเป็นกรณีมีเหตุอันสมควร มิใช่การกลั่นแกล้ง จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง
แม้สัญญาจ้างแรงงานจะระบุว่า นายจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาได้ทุกขณะโดยลูกจ้างไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ ก็ตาม แต่ค่าชดเชยค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับเมื่อถูกเลิกจ้างจึงมิใช่ค่าเสียหายใด ๆ ตามสัญญาจ้าง เมื่อนายจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิดและไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะไม่ต้องจ่าย นายจ้างจะอ้างสัญญาจ้างมาเป็นข้อยกเว้นที่จะไม่จ่ายเงินดังกล่าวแก่ลูกจ้างหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311-2313/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเหตุผลทางเศรษฐกิจและการคุ้มครองสิทธิลูกจ้างตามกฎหมาย
นายจ้างประสบปัญหาขาดทุน จำเป็นต้องยุบหน่วยงานที่ขาดทุนและเลิกจ้างลูกจ้างที่ประจำอยู่หน่วยงานนั้น การเลิกจ้างดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับฐานะทางเศรษฐกิจและความอยู่รอดของนายจ้าง เป็นกรณีมีเหตุอันสมควร มิใช่การกลั่นแกล้ง จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง
แม้สัญญาจ้างแรงงานจะระบุว่า นายจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาได้ทุกขณะโดยลูกจ้างไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ ก็ตาม แต่ค่าชดเชย ค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับเมื่อถูกเลิกจ้างจึงมิใช่ค่าเสียหายใด ๆ ตามสัญญาจ้าง เมื่อนายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิดและไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะไม่ต้องจ่าย นายจ้างจะอ้างสัญญาจ้างมาเป็นข้อยกเว้นที่จะไม่จ่ายเงินดังกล่าวแก่ลูกจ้างหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาไม่แน่นอน: สิทธิในการรับค่าชดเชย
สัญญาจ้างที่มีความว่า "เริ่ม 1 เมษายน 2525 เป็นเวลา 1 ปีหรือมากกว่า ตามที่ทั้งสองฝ่ายจะได้ตกลงกันเมื่อสิ้นสุดการจ้าง งานปีแรก" นั้น มิใช่การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอน เพราะจะจ้างอย่างน้อย 1 ปีแล้วไม่จ้างต่อไปอีกก็ได้ หรือเมื่อครบ 1 ปี แล้วอาจตกลงจ้างกันต่อไปเกินกว่า 1 ปีก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาไม่แน่นอน ค่าชดเชยยังคงต้องจ่าย
สัญญาจ้างที่มีความว่า 'เริ่ม 1 เมษายน 2525 เป็นเวลา 1 ปี หรือมากกว่า ตามที่ทั้งสองฝ่ายจะได้ตกลงกันเมื่อสิ้นสุดการจ้างงานปีแรก' นั้น มิใช่การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอนเพราะจะจ้างอย่างน้อย 1 ปีแล้วไม่จ้างต่อไปอีกก็ได้ หรือเมื่อครบ 1 ปีแล้วอาจตกลงจ้างกันต่อไปเกินกว่า 1 ปีก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเพราะเกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชย แม้ฟ้องเคลือบคลุมแต่จำเลยสละประเด็น
แม้จำเลยจะให้การต่อสู้คดีไว้ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้กำหนดข้อนี้ไว้เป็นประเด็นและจำเลยก็มิได้คัดค้าน ถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อนี้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุของพนักงานรัฐวิสาหกิจ และการจ่ายค่าชดเชย
แม้จำเลยจะให้การต่อสู้คดีไว้ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมก็ตามแต่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้กำหนดข้อนี้ไว้เป็นประเด็นและจำเลยก็มิได้คัดค้าน ถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อนี้แล้ว
of 205