พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,047 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2811/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจรจาต่อรองโบนัส: บันทึกความเห็นของผู้แทนยังไม่ผูกพันจำเลย ต้องมีข้อตกลงที่ชัดเจน
ข้อความซึ่งบันทึกไว้ในบันทึกผลของการเจรจาข้อเรียกร้อง ล้วนแต่เป็น ความเห็นของผู้แทนของโจทก์จำเลย ไม่มีข้อความ ตอนใดที่แสดงว่าผู้แทนจำเลยตกลงหรือให้สัญญาจะจ่าย เงินโบนัสให้แก่พนักงานปีละ 2 เท่าของเงินเดือน แม้ ผู้แทนจำเลยจะเห็นด้วยกับผู้แทนโจทก์ในการจ่ายเงินโบนัส ดังกล่าว ก็เพียงเห็นด้วยในหลักการเบื้องต้นซึ่งจะต้องเสนอ จำเลยต่อไป ไม่ใช่ข้อสัญญาหรือข้อตกลงซึ่งจะใช้บังคับกันทันที โดยเฉพาะข้อความตอนท้ายของบันทึกระบุว่า'ส่วน ขั้นตอนดำเนินการในเรื่องนี้ธนาคารฯจะได้ดำเนินการต่อไป'แสดงว่าความเห็นของทั้งสองฝ่ายยังไม่ผูกพันคู่กรณี เพราะ จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนเพื่อให้ความเห็นมีผลใช้บังคับ ถือไม่ได้ว่าข้อเรียกร้องนั้นสามารถตกลงกันได้ แล้ว บันทึกดังกล่าวจึงไม่มีสภาพเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจ้างซึ่งจำเลยจะต้องปฏิบัติตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2811/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเรื่องโบนัสยังไม่ผูกพัน จำเป็นต้องมีขั้นตอนดำเนินการเพิ่มเติม
ข้อความซึ่งบันทึกไว้ในบันทึกผลของการเจรจาข้อเรียกร้อง ล้วนแต่เป็น ความเห็นของผู้แทนของโจทก์จำเลย ไม่มีข้อความ ตอนใดที่แสดงว่าผู้แทนจำเลยตกลงหรือให้สัญญาจะจ่าย เงินโบนัสให้แก่พนักงานปีละ 2 เท่าของเงินเดือน แม้ ผู้แทนจำเลยจะเห็นด้วยกับผู้แทนโจทก์ในการจ่ายเงินโบนัส ดังกล่าว ก็เพียงเห็นด้วยในหลักการเบื้องต้นซึ่งจะต้องเสนอ จำเลยต่อไป ไม่ใช่ข้อสัญญาหรือข้อตกลงซึ่งจะใช้ บังคับกัน ทันที โดยเฉพาะข้อความตอนท้ายของบันทึกระบุว่า 'ส่วน ขั้นตอนดำเนินการในเรื่องนี้ธนาคารฯจะได้ดำเนินการต่อไป'แสดงว่าความเห็นของทั้งสองฝ่ายยังไม่ผูกพันคู่กรณี เพราะ จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนเพื่อให้ความเห็นมีผล ใช้บังคับ ถือไม่ได้ว่าข้อเรียกร้องนั้นสามารถตกลงกันได้ แล้ว บันทึกดังกล่าวจึงไม่มีสภาพเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจ้างซึ่งจำเลยจะต้องปฏิบัติตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2792/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องพิจารณาความร้ายแรงของการกระทำโดยเฉพาะ และต้องมีข้อบังคับ/ระเบียบเป็นหลักฐาน
เมื่อไม่ปรากฏว่าข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน ของนายจ้างเป็นอย่างไร การจะปรับว่าการกระทำของลูกจ้าง เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายอันเป็นกรณีร้ายแรงย่อมปรับไม่ได้ ดังนั้นการที่ลูกจ้างซึ่งเป็นพนักงานขับรถให้พนักงานยกของเฝ้ารถไว้แล้วโทรศัพท์บอกนายจ้างว่าตนจะไม่นำรถกลับเพราะทางราชการห้ามมิให้รถบรรทุกวิ่งในช่วงเวลานั้น เป็นเหตุผลอันสมควรสำหรับลูกจ้างจะถือว่าการละทิ้งรถ ในลักษณะนี้ เป็นกรณีที่ร้ายแรงยังไม่ได้
การที่จะพิจารณาว่าการกระทำใดของลูกจ้างเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายอันเป็นกรณีที่ร้ายแรงหรือไม่นั้น จักต้องพิจารณาจากการกระทำนั้น โดยเฉพาะ จะนำเอาความผิดครั้งก่อนๆมาพิจารณาประกอบแล้วถือว่าการกระทำครั้งหลังเป็นกรณีที่ร้ายแรงหาชอบไม่
การที่จะพิจารณาว่าการกระทำใดของลูกจ้างเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายอันเป็นกรณีที่ร้ายแรงหรือไม่นั้น จักต้องพิจารณาจากการกระทำนั้น โดยเฉพาะ จะนำเอาความผิดครั้งก่อนๆมาพิจารณาประกอบแล้วถือว่าการกระทำครั้งหลังเป็นกรณีที่ร้ายแรงหาชอบไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2792/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องพิจารณาความร้ายแรงของความผิดตามข้อบังคับและระเบียบ หากไม่ปรากฏข้อบังคับ นายจ้างนำความผิดเก่ามาพิจารณาไม่ได้
เมื่อไม่ปรากฏว่าข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน ของนายจ้างเป็นอย่างไร การจะปรับว่าการกระทำของลูกจ้าง เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายอันเป็นกรณีร้ายแรงย่อมปรับไม่ได้ดังนั้นการที่ลูกจ้างซึ่งเป็นพนักงานขับรถให้พนักงานยกของเฝ้ารถไว้แล้วโทรศัพท์บอกนายจ้างว่าตนจะไม่นำ รถกลับเพราะทางราชการห้ามมิให้รถบรรทุกวิ่งในช่วงเวลานั้น เป็นเหตุผลอันสมควรสำหรับลูกจ้างจะถือว่าการละทิ้งรถ ในลักษณะนี้ เป็นกรณีที่ร้ายแรงยังไม่ได้ การที่จะพิจารณาว่าการกระทำใดของลูกจ้างเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายอันเป็นกรณีที่ร้ายแรงหรือไม่นั้น จักต้องพิจารณาจากการกระทำนั้น โดยเฉพาะจะนำเอาความผิดครั้งก่อนๆมาพิจารณาประกอบแล้วถือว่าการกระทำครั้งหลังเป็นกรณีที่ร้ายแรงหาชอบไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2791/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชย vs. เงินบำเหน็จ: การหักเงินบำเหน็จออกจากค่าชดเชย และการนับอายุงานที่ไม่ต่อเนื่อง
สิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับเงินบำเหน็จเป็นสิทธิที่เกิด ขึ้นโดยระเบียบเดิม เจตนาของโจทก์จำเลยในการทำข้อตกลงเปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักการในการจ่ายเงินบำเหน็จจากระเบียบเดิมโดยให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนเป็นรายปีให้แก่ลูกจ้างก็เพื่อให้โจทก์ได้รับเงินบำเหน็จไปใช้ประโยชน์ก่อนเป็นการเปลี่ยนแปลงระเบียบเดิมเฉพาะระยะเวลาการจ่ายเงินบำเหน็จเท่านั้น ส่วนสาระสำคัญอื่น ๆ เป็นไปตามเดิม การที่ระเบียบเดิมกำหนดว่า ถ้าเงินบำเหน็จมากกว่าค่าชดเชยให้ตัดเงินบำเหน็จเท่ากับจำนวนเงินชดเชย ถ้าเงินบำเหน็จน้อยกว่าค่าชดเชยก็ให้ได้รับแต่ค่าชดเชยอย่างเดียวมิได้เกี่ยวกับระยะเวลาการจ่ายเงินบำเหน็จ จำเลยมีสิทธินำระเบียบดังกล่าวมาใช้บังคับแก่โจทก์ได้ โจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัทสุรามหาคุณจำกัด ก่อนเป็นลูกจ้างจำเลยโดยมิได้นับระยะเวลาทำงานติดต่อกัน ถือได้ว่า บริษัทสุรามหาคุณ จำกัด กับจำเลยมิได้โอนการจ้างแก่กัน การนับระยะเวลาการทำงานของโจทก์เพื่อคำนวณค่าชดเชยที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยต้องนับแต่วันที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย เงินบำเหน็จที่จะถือว่าเป็นค่าชดเชยที่จำเลยจ่ายไปแล้วก็คือเงินบำเหน็จที่จำเลยจ่ายไปตั้งแต่ปีที่โจทก์เข้าเป็นลูกจ้างจำเลย ส่วนเงินบำเหน็จที่บริษัทสุรามหาคุณจำกัด จ่ายไปก่อนหน้านั้นเป็นการจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนของบริษัทสุรามหาคุณ จำกัดเองจะนำระยะเวลาที่โจทก์ทำงานกับบริษัทสุรามหาคุณ จำกัด มาคำนวณเป็นค่าชดเชยรวมกับระยะเวลาที่โจทก์ทำงานกับจำเลยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2791/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชย vs. เงินบำเหน็จ: การหักเงินบำเหน็จออกจากค่าชดเชย และการนับระยะเวลาทำงาน
สิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับเงินบำเหน็จเป็นสิทธิที่เกิด ขึ้นโดยระเบียบเดิม เจตนาของโจทก์จำเลยในการทำข้อตกลงเปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักการในการจ่ายเงินบำเหน็จจากระเบียบเดิมโดยให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนเป็นรายปีให้แก่ลูกจ้างก็เพื่อให้โจทก์ได้รับเงินบำเหน็จไปใช้ประโยชน์ก่อน เป็นการเปลี่ยนแปลงระเบียบเดิมเฉพาะระยะเวลาการจ่ายเงินบำเหน็จเท่านั้น ส่วนสาระสำคัญอื่น ๆ เป็นไปตามเดิมการที่ระเบียบเดิมกำหนดว่า ถ้าเงินบำเหน็จมากกว่าค่าชดเชยให้ตัดเงินบำเหน็จเท่ากับจำนวนเงินชดเชย ถ้าเงินบำเหน็จน้อยกว่าค่าชดเชยก็ให้ได้รับแต่ค่าชดเชยอย่างเดียวมิได้เกี่ยวกับระยะเวลาการจ่ายเงินบำเหน็จจำเลยมีสิทธินำระเบียบดังกล่าวมาใช้บังคับแก่โจทก์ได้
โจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัทสุรามหาคุณจำกัด ก่อนเป็นลูกจ้างจำเลยโดยมิได้นับระยะเวลาทำงานติดต่อกัน ถือได้ว่า บริษัทสุรามหาคุณ จำกัดกับจำเลยมิได้โอนการจ้างแก่กัน การนับระยะเวลาการทำงานของโจทก์เพื่อคำนวณค่าชดเชยที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยต้องนับแต่วันที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย เงินบำเหน็จที่จะถือว่าเป็นค่าชดเชยที่จำเลยจ่ายไปแล้วก็คือเงินบำเหน็จที่จำเลยจ่ายไปตั้งแต่ปีที่โจทก์เข้าเป็นลูกจ้างจำเลย ส่วนเงินบำเหน็จที่บริษัทสุรามหาคุณจำกัด จ่ายไปก่อนหน้านั้นเป็นการจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนของบริษัทสุรามหาคุณ จำกัดเองจะนำระยะเวลาที่โจทก์ทำงานกับบริษัทสุรามหาคุณ จำกัด มาคำนวณเป็นค่าชดเชยรวมกับระยะเวลาที่โจทก์ทำงานกับจำเลยหาได้ไม่
โจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัทสุรามหาคุณจำกัด ก่อนเป็นลูกจ้างจำเลยโดยมิได้นับระยะเวลาทำงานติดต่อกัน ถือได้ว่า บริษัทสุรามหาคุณ จำกัดกับจำเลยมิได้โอนการจ้างแก่กัน การนับระยะเวลาการทำงานของโจทก์เพื่อคำนวณค่าชดเชยที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยต้องนับแต่วันที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย เงินบำเหน็จที่จะถือว่าเป็นค่าชดเชยที่จำเลยจ่ายไปแล้วก็คือเงินบำเหน็จที่จำเลยจ่ายไปตั้งแต่ปีที่โจทก์เข้าเป็นลูกจ้างจำเลย ส่วนเงินบำเหน็จที่บริษัทสุรามหาคุณจำกัด จ่ายไปก่อนหน้านั้นเป็นการจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนของบริษัทสุรามหาคุณ จำกัดเองจะนำระยะเวลาที่โจทก์ทำงานกับบริษัทสุรามหาคุณ จำกัด มาคำนวณเป็นค่าชดเชยรวมกับระยะเวลาที่โจทก์ทำงานกับจำเลยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2790/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องเป็นไปตามกฎหมาย แม้มีเหตุเลิกจ้างก็ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือจ่ายค่าชดเชย
ความผิดครั้งก่อนเป็นเรื่องโจทก์ปล่อยนมทิ้งที่พื้น โรงงาน ส่วนความผิดครั้งหลังเป็นเรื่องโจทก์หลงลืมใส่ ไขมันมะพร้าวในการผสมนม จึงเป็นความผิดคนละเหตุ แม้ ความผิดครั้งก่อนจำเลยจะมีหนังสือเตือนโจทก์แล้วก็ตามกรณีก็ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ในความผิดครั้งหลังได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย กรณีที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องโดยหลงลืมใส่ ไขมันมะพร้าวในการผสมนมนั้น หาเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตไม่ จึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2790/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้า แม้ลูกจ้างปฏิบัติงานบกพร่อง แต่ไม่ถือเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต
ความผิดครั้งก่อนเป็นเรื่องโจทก์ปล่อยนมทิ้งที่พื้นโรงงาน ส่วนความผิดครั้งหลังเป็นเรื่องโจทก์หลงลืมใส่ ไขมันมะพร้าวในการผสมนม จึงเป็นความผิดคนละเหตุ แม้ ความผิดครั้งก่อนจำเลยจะมีหนังสือเตือนโจทก์แล้วก็ตาม กรณีก็ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ในความผิดครั้งหลังได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
กรณีที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องโดยหลงลืมใส่ ไขมันมะพร้าวในการผสมนมนั้น หาเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตไม่ จึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
กรณีที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องโดยหลงลืมใส่ ไขมันมะพร้าวในการผสมนมนั้น หาเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตไม่ จึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลูกจ้างตามระเบียบข้อบังคับ – การจ่ายค่าทำงานล่วงเวลา/วันหยุด แม้ไม่มีงานให้ทำช่วงเวลาที่อยู่เวร
เมื่อฟ้องโจทก์เป็นการขอให้จำเลยจ่ายเงินตามระเบียบ ข้อบังคับซึ่งมีอยู่เดิม มิใช่เป็นเรื่องแก้ไขเพิ่มเติม ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันจะต้องแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือถึงจำเลยก่อน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้ทันที การที่โจทก์มีหน้าที่ต้องทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด กับการมีงานให้ทำจริงๆในช่วงเวลานั้นๆเป็นคนละกรณี กัน เมื่อโจทก์ต้องทำงานในช่วงเวลาที่จำเลยกำหนดแต่ไม่มีงานให้โจทก์ทำ ไม่ทำให้ช่วงเวลาดังกล่าว ไม่เป็นการทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด ข้ออุทธรณ์ของจำเลยเป็นข้อที่จำเลยมิได้ต่อสู้ให้เป็น ประเด็นมาในคำให้การ แม้ศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยให้ก็ไม่เป็นการผูกพันที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยให้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเรียกร้องค่าทำงานล่วงเวลา/วันหยุด แม้ไม่มีงานจริง การอยู่เวรก็ถือเป็นการทำงาน
เมื่อฟ้องโจทก์เป็นการขอให้จำเลยจ่ายเงินตามระเบียบ ข้อบังคับซึ่งมีอยู่เดิม มิใช่เป็นเรื่องแก้ไขเพิ่มเติม ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันจะต้องแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือถึงจำเลยก่อน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้ทันที
การที่โจทก์มีหน้าที่ต้องทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด กับการมีงานให้ทำจริงๆในช่วงเวลานั้นๆเป็นคนละกรณี กัน เมื่อโจทก์ต้องทำงานในช่วงเวลาที่จำเลยกำหนดแต่ไม่มีงานให้โจทก์ทำ ไม่ทำให้ช่วงเวลาดังกล่าว ไม่เป็นการทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด
ข้ออุทธรณ์ของจำเลยเป็นข้อที่จำเลยมิได้ต่อสู้ให้เป็น ประเด็นมาในคำให้การ แม้ศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยให้ก็ไม่เป็นการผูกพันที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยให้ด้วย
การที่โจทก์มีหน้าที่ต้องทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด กับการมีงานให้ทำจริงๆในช่วงเวลานั้นๆเป็นคนละกรณี กัน เมื่อโจทก์ต้องทำงานในช่วงเวลาที่จำเลยกำหนดแต่ไม่มีงานให้โจทก์ทำ ไม่ทำให้ช่วงเวลาดังกล่าว ไม่เป็นการทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด
ข้ออุทธรณ์ของจำเลยเป็นข้อที่จำเลยมิได้ต่อสู้ให้เป็น ประเด็นมาในคำให้การ แม้ศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยให้ก็ไม่เป็นการผูกพันที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยให้ด้วย