พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,047 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2671/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทำงานนานและมีสุขภาพไม่สมบูรณ์ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยมา 30 ปีแล้ว ผลการ ตรวจสุขภาพประจำปีแพทย์ลงความเห็นว่า โจทก์สุขภาพพอใช้ ซึ่งเท่ากับเป็นการชี้ว่าโจทก์มีอนามัยหรือสุขภาพไม่สมบูรณ์ สาเหตุหนึ่ง และจำเลยยังตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อพิจารณาถึงสมรรถภาพการทำงานของโจทก์ คณะทำงานมีความเห็นว่า โจทก์ผลงานไม่ดีขึ้น ไม่เอาใจใส่ต่องาน และไม่ติดตามตรวจสอบผลงาน สามารถหาคนแทนได้ อีกสาเหตุหนึ่งด้วย อันเข้าหลักเกณฑ์ตามข้อบังคับจำเลยที่จะให้โจทก์ออกจากงานฐานทำงานนานทั้งสองสาเหตุดังนี้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ฐานทำงานนาน จึงไม่ใช่เป็นการ เลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2671/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทำงานนานตามข้อบังคับบริษัท การพิจารณาอนามัยและผลงาน
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยมา 30 ปีแล้ว ผลการ ตรวจสุขภาพประจำปีแพทย์ลงความเห็นว่า โจทก์สุขภาพพอใช้ ซึ่งเท่ากับเป็นการชี้ว่าโจทก์มีอนามัยหรือสุขภาพไม่ สมบูรณ์ สาเหตุหนึ่ง และจำเลยยังตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อ พิจารณาถึงสมรรถภาพการทำงานของโจทก์ คณะทำงานมีความเห็น ว่าโจทก์ผลงานไม่ดีขึ้น ไม่เอาใจใส่ต่องาน และไม่ ติดตามตรวจสอบผลงานสามารถหาคนแทนได้ อีกสาเหตุหนึ่ง ด้วย อันเข้าหลักเกณฑ์ตามข้อบังคับจำเลยที่จะให้โจทก์ออกจากงานฐานทำงานนานทั้งสองสาเหตุดังนี้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ฐานทำงานนาน จึงไม่ใช่เป็นการ เลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2641/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรู้คำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทนของนายจ้าง: อำนาจการรับรู้อยู่ที่ผู้อำนวยการองค์การ ไม่ใช่หน่วยงานสาขา
ผู้แทนของโจทก์ได้แก่ผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้การที่จะถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทน ก็คือผู้อำนวยการของโจทก์ทราบนั่นเอง แม้โจทก์จะมีหน่วยงานอื่นซึ่งได้แก่ส่วนทำไม้ตากและฝ่ายทำไม้ภาคเหนือ แต่ทั้งสองหน่วยงานดังกล่าวก็มิได้มีอำนาจพิจารณาเกี่ยวกับการจ่ายเงินทดแทน หรือได้รับมอบอำนาจจากโจทก์เกี่ยวกับเรื่องราวดังกล่าว หรือมิได้มีอำนาจที่จะนำคดีมาสู่ศาลได้ในกรณีที่ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทนทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอันจะถือได้ว่าส่วนทำไม้ตากเป็นนายจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานการที่แรงงานจังหวัดกำแพงเพชรแจ้งคำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทนให้ส่วนทำไม้ตากรับทราบในวันที่ 21 ธันวาคม 2526 จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างทราบคำสั่งในวันดังกล่าวถือว่าโจทก์เพิ่งทราบคำสั่งดังกล่าวจากบันทึกรายงานของฝ่ายทำไม้ภาคเหนือเมื่อวันที่ 19 มกราคม2527 การที่โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าวและนำคดีมาสู่ศาลในวันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2527 จึงไม่เกิน 30 วันโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2641/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดวันรู้แจ้งคำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทนสำหรับนายจ้างที่เป็นนิติบุคคล: อำนาจของผู้รับมอบ และการนับระยะเวลาฟ้องคดี
ผู้แทนของโจทก์ได้แก่ผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้การที่จะถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทน ก็คือผู้อำนวยการของโจทก์ทราบนั่นเองแม้โจทก์จะมีหน่วยงานอื่นซึ่งได้แก่ส่วนทำไม้ตากและฝ่ายทำไม้ภาคเหนือแต่ทั้งสองหน่วยงานดังกล่าวก็มิได้มีอำนาจพิจารณาเกี่ยวกับการจ่ายเงินทดแทน หรือได้รับมอบอำนาจจากโจทก์เกี่ยวกับเรื่องราวดังกล่าว หรือมิได้มีอำนาจที่จะนำคดีมาสู่ศาลได้ในกรณีที่ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทนทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอันจะถือได้ว่าส่วนทำไม้ตากเป็นนายจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานการที่แรงงานจังหวัดกำแพงเพชรแจ้งคำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทนให้ส่วนทำไม้ตากรับทราบในวันที่ 21 ธันวาคม 2526 จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างทราบคำสั่งในวันดังกล่าวถือว่าโจทก์เพิ่งทราบคำสั่งดังกล่าวจากบันทึกรายงานของฝ่ายทำไม้ภาคเหนือเมื่อวันที่ 19 มกราคม2527 การที่โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าวและนำคดีมาสู่ศาลในวันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2527 จึงไม่เกิน 30 วันโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2638/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างมีสิทธิออกแผนบำเหน็จเพิ่มเติมจากข้อบังคับเดิมได้ หากไม่ขัดแย้งและไม่เป็นผลเสียต่อลูกจ้าง
ข้อบังคับเดิมโอกาสที่ลูกจ้างจะได้รับผลประโยชน์หรือบำเหน็จมีครั้งเดียวเมื่อออกจากงานแต่ประกาศแผนบำเหน็จก่อนออกจากงานของนายจ้างซึ่งประกาศใช้ภายหลังมีข้อความเพิ่มเติมให้ลูกจ้างมีโอกาสเลือกจะขอรับผลประโยชน์หรือบำเหน็จก่อนออกจากงานหรือเลือกรับผลประโยชน์ครั้งเดียวตามข้อบังคับเดิมก็ได้ ไม่เป็นการบังคับทั้งไม่มีข้อพิสูจน์ว่า เงินบำเหน็จก่อนออกจากงานซึ่งลูกจ้างรับจากนายจ้างจะให้ผลประโยชน์น้อยกว่าหรือเป็นข้อเสียเปรียบเมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่รอรับเมื่อออกจากงาน ข้อบังคับหรือแผนบำเหน็จดังกล่าวไม่มีข้อความขัดหรือแย้งกับข้อบังคับเดิมจึงใช้บังคับได้ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2638/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงแผนบำเหน็จก่อนออกจากงาน ไม่ขัดแย้งกับข้อบังคับเดิม และใช้บังคับได้
ข้อบังคับเดิมโอกาสที่ลูกจ้างจะได้รับผลประโยชน์หรือบำเหน็จมีครั้งเดียวเมื่อออกจากงาน แต่ประกาศแผนบำเหน็จก่อนออกจากงานของนายจ้างซึ่งประกาศใช้ภายหลังมีข้อความเพิ่มเติมให้ลูกจ้างมีโอกาสเลือกจะขอรับผลประโยชน์หรือบำเหน็จก่อนออกจากงานหรือเลือกรับผลประโยชน์ครั้งเดียวตามข้อบังคับเดิมก็ได้ ไม่เป็นการบังคับทั้งไม่มีข้อพิสูจน์ว่าเงินบำเหน็จก่อนออกจากงานซึ่งลูกจ้างรับจากนายจ้างจะให้ผลประโยชน์น้อยกว่าหรือเป็นข้อเสียเปรียบเมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่รอรับเมื่อออกจากงาน ข้อบังคับหรือแผนบำเหน็จดังกล่าวไม่มีข้อความขัดหรือแย้งกับข้อบังคับเดิมจึงใช้บังคับได้ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 20
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2629/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างลาออกเองมีผลผูกพันตามกฎหมาย แต่ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
จำเลยประกาศสัญญาว่าจะจ่ายค่าชดเชยตามอายุการทำงานแก่ลูกจ้างซึ่งลาออกโดยสมัครใจถ้อยคำว่า 'ค่าชดเชย' ที่จำเลยใช้ในประกาศ ตรงกับถ้อยคำที่ใช้ในกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงาน ย่อมมีความหมายอย่างเดียวกันดังนี้จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างที่สมัครใจลาออกให้ครบถ้วนตามอัตราที่กฎหมายกำหนด จำเลยมิได้ประกาศสัญญาจะจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้างที่สมัครใจลาออกเมื่อลูกจ้างลาออกโดยจำเลยมิได้เลิกจ้างจำเลยไม่ต้องจ่ายเงินประเภทนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2629/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ่ายค่าชดเชยของนายจ้างผูกพันตามกฎหมาย แม้ลูกจ้างลาออกเอง แต่ไม่รวมถึงสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
จำเลยประกาศสัญญาว่าจะจ่ายค่าชดเชยตามอายุการทำงานแก่ลูกจ้างซึ่งลาออกโดยสมัครใจ ถ้อยคำว่า 'ค่าชดเชย' ที่จำเลยใช้ในประกาศ ตรงกับถ้อยคำที่ใช้ในกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงาน ย่อมมีความหมายอย่างเดียวกันดังนี้ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างที่สมัครใจลาออกให้ครบถ้วนตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
จำเลยมิได้ประกาศสัญญาจะจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้างที่สมัครใจลาออก เมื่อลูกจ้างลาออกโดยจำเลยมิได้เลิกจ้างจำเลยไม่ต้องจ่ายเงินประเภทนี้
จำเลยมิได้ประกาศสัญญาจะจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้างที่สมัครใจลาออก เมื่อลูกจ้างลาออกโดยจำเลยมิได้เลิกจ้างจำเลยไม่ต้องจ่ายเงินประเภทนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2628/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างช่วงและลักษณะสัญญาจ้างที่ต้องจ่ายค่าชดเชย
จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ทำสัญญาจ้างกันว่าจำเลยที่ 1 จะต้องเป็นผู้จัดหาลูกจ้างเพื่อปฏิบัติงานตามที่จำเลยที่ 2 จะสั่งให้ปฏิบัติจำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นผู้รับเหมาชั้นต้นตามความในข้อ 7 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 ในอันที่จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่จำเลยที่ 1จ้าง มาแต่ประการใด
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพียงมีข้อความว่า ถ้าจำเลยที่ 2 เลิกจ้างจำเลยที่ 1 เมื่อใด โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เลิกจ้างได้ เงื่อนไขของสัญญานี้อาศัยเหตุการณ์ตามสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรณีไม่แน่นอนจึงจะถือว่าสัญญาจ้างโจทก์เป็นการจ้างมีกำหนดระยะเวลาแน่นอนจำเลยที่ 1 ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์เมื่อเลิกจ้างหาได้ไม่
การที่จำเลยที่ 1 ประกาศให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าว่าบริษัทผู้รับจ้างรายใหม่ได้เข้ามาดำเนินการแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จะได้โอนพนักงานและกิจการให้บริษัทใหม่ดังนี้ เป็นการโอนการจ้าง มิใช่การเลิกจ้างจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพียงมีข้อความว่า ถ้าจำเลยที่ 2 เลิกจ้างจำเลยที่ 1 เมื่อใด โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เลิกจ้างได้ เงื่อนไขของสัญญานี้อาศัยเหตุการณ์ตามสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรณีไม่แน่นอนจึงจะถือว่าสัญญาจ้างโจทก์เป็นการจ้างมีกำหนดระยะเวลาแน่นอนจำเลยที่ 1 ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์เมื่อเลิกจ้างหาได้ไม่
การที่จำเลยที่ 1 ประกาศให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าว่าบริษัทผู้รับจ้างรายใหม่ได้เข้ามาดำเนินการแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จะได้โอนพนักงานและกิจการให้บริษัทใหม่ดังนี้ เป็นการโอนการจ้าง มิใช่การเลิกจ้างจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2628/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างช่วงและผู้รับจ้างในการจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อเลิกจ้าง
จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ทำสัญญาจ้างกันว่าจำเลยที่ 1 จะต้องเป็นผู้จัดหาลูกจ้างเพื่อปฏิบัติงานตามที่จำเลยที่ 2 จะสั่งให้ปฏิบัติจำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นผู้รับเหมาชั้นต้นตามความ ในข้อ 7 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 ในอันที่จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่จำเลยที่ 1 จ้าง มาแต่ประการใด สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพียงมีข้อความว่า ถ้าจำเลยที่ 2 เลิกจ้างจำเลยที่ 1 เมื่อใดโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เลิกจ้างได้เงื่อนไขของสัญญานี้อาศัยเหตุการณ์ตามสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรณีไม่แน่นอนจึงจะถือว่าสัญญาจ้างโจทก์เป็นการจ้างมีกำหนดระยะเวลาแน่นอนจำเลยที่ 1 ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์เมื่อเลิกจ้างหาได้ไม่ การที่จำเลยที่ 1 ประกาศให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าว่าบริษัทผู้รับจ้างรายใหม่ได้เข้ามาดำเนินการแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จะได้โอนพนักงานและกิจการให้บริษัทใหม่ดังนี้ เป็นการโอนการจ้าง มิใช่การเลิกจ้างจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582