พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,047 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา การเลิกจ้างตามกำหนด ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
จำเลยจ้างโจทก์โดยมีกำหนดระยะเวลาเป็นช่วงๆ ช่วงละ 6 เดือนครั้งสุดท้ายมีกำหนดระยะเวลา 4 เดือน สัญญาจ้างระบุวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดแห่งสัญญาไว้ทุกช่วงจึงถือว่าเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามกำหนดระยะเวลานั้น จึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ทั้งถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2114/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่ชอบธรรมเนื่องจากความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสาเหตุของเครื่องจักรเสีย และการตีความความผิดร้ายแรงตามระเบียบบริษัท
การที่โจทก์มิได้ซ่อมแมคปั๊มตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาและกลับบ้านไปเพราะโจทก์เชื่อว่ามอเตอร์เสีย มิใช่แผงอีเล็กทรอนิกซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์เสีย และเวลาที่กลับก็ล่วงเลยเวลาทำงานตามปกติแล้ว รุ่งขึ้นเมื่อโจทก์ทราบว่าแมคปั๊มไม่ทำงานเพราะแผงอีเล็กทรอนิกเสียก็จัดการเปลี่ยนแผงใหม่จนแมคปั๊มทำงานเป็นปกติ ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์จงใจฝ่าฝืนคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นการฝ่าฝืนระเบียบการทำงานของจำเลยอย่างร้ายแรง จำเลยระบุเหตุเลิกจ้างโจทก์ในคำสั่งเลิกจ้างว่า โจทก์กระทำความผิดฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยอย่างร้ายแรง และตามระเบียบของจำเลยเพียงแต่ระบุว่า การละเลยเพิกเฉยต่อคำสั่งของผู้บังคับบัญชาอันชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปเป็นความผิดร้ายแรงเท่านั้น หาได้กำหนดว่าการกระทำผิดที่เคยถูกตักเตือนมาแล้วเป็นความผิดร้ายแรงไม่ คดีจึงไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าจำเลยเคยเตือนโจทก์เป็นหนังสือหรือไม่เพราะเป็นเพียงข้อที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การมิใช่เป็นเหตุที่จำเลยยกขึ้นเป็นข้ออ้างเลิกจ้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2114/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องพิจารณาเหตุร้ายแรงตามระเบียบ หากพฤติการณ์ไม่ถึงขั้นร้ายแรง การเลิกจ้างไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่โจทก์มิได้ซ่อมแมคปั๊มตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาและกลับบ้านไปเพราะโจทก์เชื่อว่ามอเตอร์เสีย มิใช่แผงอีเล็กทรอนิกซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์เสีย และเวลาที่กลับก็ล่วงเลยเวลาทำงานตามปกติแล้ว รุ่งขึ้นเมื่อโจทก์ทราบว่าแมคปั๊มไม่ทำงานเพราะแผงอีเล็กทรอนิกเสียก็จัดการเปลี่ยนแผงใหม่จนแมคปั๊มทำงานเป็นปกติ ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์จงใจฝ่าฝืนคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นการฝ่าฝืนระเบียบการทำงานของจำเลยอย่างร้ายแรง
จำเลยระบุเหตุเลิกจ้างโจทก์ในคำสั่งเลิกจ้างว่า โจทก์กระทำความผิดฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยอย่างร้ายแรง และตามระเบียบของจำเลยเพียงแต่ระบุว่า การละเลยเพิกเฉยต่อคำสั่งของผู้บังคับบัญชาอันชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป เป็นความผิดร้ายแรงเท่านั้น หาได้กำหนดว่าการกระทำผิดที่เคยถูกตักเตือนมาแล้วเป็นความผิดร้ายแรงไม่ คดีจึงไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าจำเลยเคยเตือนโจทก์เป็นหนังสือหรือไม่ เพราะเป็นเพียงข้อที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ มิใช่เป็นเหตุที่จำเลยยกขึ้นเป็นข้ออ้างเลิกจ้างโจทก์
จำเลยระบุเหตุเลิกจ้างโจทก์ในคำสั่งเลิกจ้างว่า โจทก์กระทำความผิดฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยอย่างร้ายแรง และตามระเบียบของจำเลยเพียงแต่ระบุว่า การละเลยเพิกเฉยต่อคำสั่งของผู้บังคับบัญชาอันชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป เป็นความผิดร้ายแรงเท่านั้น หาได้กำหนดว่าการกระทำผิดที่เคยถูกตักเตือนมาแล้วเป็นความผิดร้ายแรงไม่ คดีจึงไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าจำเลยเคยเตือนโจทก์เป็นหนังสือหรือไม่ เพราะเป็นเพียงข้อที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ มิใช่เป็นเหตุที่จำเลยยกขึ้นเป็นข้ออ้างเลิกจ้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2090/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างกรณีขยายเวลาทำงาน: แม้ไม่มีค่าล่วงเวลา นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับเวลาที่ขยายออกไป
งานที่โจทก์ทำมีลักษณะเป็นงานขนส่ง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 3(2) ซึ่งกำหนดเวลาทำงานปกติของลูกจ้างไว้ 8 ชั่วโมง แต่จำเลยได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมแรงงานให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาตามปกติ ถือได้ว่าเป็นการขยายกำหนดเวลาทำงานตามปกติออกไป แม้โจทก์จะไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 36 แต่จำเลยก็มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์สำหรับเวลาทำงานที่ขยายออกไป 2 ชั่วโมงนั้น หาใช่ลูกจ้างไม่มีสิทธิรับค่าล่วงเวลา แล้วจะถูกตัดสิทธิมิให้รับค่าจ้างธรรมดาไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2090/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งานขนส่งขยายเวลาทำงาน: แม้ไม่มีค่าล่วงเวลา นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับเวลาที่ขยายออกไป
งานที่โจทก์ทำมีลักษณะเป็นงานขนส่ง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 3(2) ซึ่งกำหนดเวลาทำงานปกติของลูกจ้างไว้ 8 ชั่วโมง แต่จำเลยได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมแรงงานให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาตามปกติ ถือได้ว่าเป็นการขยายกำหนดเวลาทำงานตามปกติออกไป แม้โจทก์จะไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 36 แต่จำเลยก็มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์สำหรับเวลาทำงานที่ขยายออกไป 2 ชั่วโมงนั้น หาใช่ลูกจ้างไม่มีสิทธิรับค่าล่วงเวลา แล้วจะถูกตัดสิทธิมิให้รับค่าจ้างธรรมดาไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2085/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาเพื่อเข้าร่วมสัมมนาของสมาชิกสหภาพแรงงาน นายจ้างต้องพิจารณาเหตุผลสมควร แม้จะไม่ได้ลาตามระเบียบ
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระบุว่าผู้ร้องอนุญาตให้สมาชิกสหภาพแรงงานไปประชุมหรือสัมมนาได้ เพียงแต่ต้องขอลาต่อผู้ร้องล่วงหน้า ดังนั้นเมื่อผู้คัดค้านซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานจะเริ่มลางานในวันที่ 29 สิงหาคม 2526 เพื่อไปร่วมสัมมนา คำว่าล่วงหน้าย่อมแปลได้ว่าล่วงหน้าก่อนวันที่ 29 สิงหาคม 2526 มิใช่แจ้งในวันดังกล่าวอันเป็นวันเริ่มลางาน ที่ผู้ร้องไม่อนุญาตให้ลาและถือว่าผู้คัดค้านละทิ้งหน้าที่เป็นการชอบแล้ว
การที่ผู้คัดค้านละทิ้งหน้าที่ไปร่วมสัมมนานั้น เมื่อมีหนังสือกรมแรงงานชี้แจงผู้ร้องว่าการสัมมนาอาจเป็นประโยชน์ทั้งฝ่ายลูกจ้างและนายจ้างประกอบทั้งสหภาพแรงงานได้คัดเลือกผู้คัดค้านให้เป็นผู้เข้าสัมมนา นับเป็นเหตุสมควรที่ผู้คัดค้านจะหาทางเข้าร่วมสัมมนา ถือไม่ได้ว่าการละทิ้งหน้าที่ของผู้คัดค้านทำไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร เพียงแต่ผู้คัดค้านมิได้ปฏิบัติครบถ้วนตามระเบียบการลาเท่านั้น จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้เลิกจ้างผู้คัดค้าน
การที่ผู้คัดค้านละทิ้งหน้าที่ไปร่วมสัมมนานั้น เมื่อมีหนังสือกรมแรงงานชี้แจงผู้ร้องว่าการสัมมนาอาจเป็นประโยชน์ทั้งฝ่ายลูกจ้างและนายจ้างประกอบทั้งสหภาพแรงงานได้คัดเลือกผู้คัดค้านให้เป็นผู้เข้าสัมมนา นับเป็นเหตุสมควรที่ผู้คัดค้านจะหาทางเข้าร่วมสัมมนา ถือไม่ได้ว่าการละทิ้งหน้าที่ของผู้คัดค้านทำไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร เพียงแต่ผู้คัดค้านมิได้ปฏิบัติครบถ้วนตามระเบียบการลาเท่านั้น จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้เลิกจ้างผู้คัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2085/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาเพื่ออบรม/สัมมนาของลูกจ้างสมาชิกสหภาพแรงงาน นายจ้างต้องพิจารณาสิทธิการลาตามข้อตกลงร่วมกัน
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระบุว่าผู้ร้องอนุญาตให้สมาชิกสหภาพแรงงานไปประชุมหรือสัมมนาได้ เพียงแต่ต้องขอลาต่อผู้ร้องล่วงหน้า ดังนั้นเมื่อผู้คัดค้านซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานจะเริ่มลางานในวันที่ 29 สิงหาคม 2526 เพื่อไปร่วมสัมมนา คำว่าล่วงหน้าย่อมแปลได้ว่าล่วงหน้าก่อนวันที่ 29 สิงหาคม 2526 มิใช่แจ้งในวันดังกล่าวอันเป็นวันเริ่มลางาน ที่ผู้ร้องไม่อนุญาตให้ลาและถือว่าผู้คัดค้านละทิ้งหน้าที่เป็นการชอบแล้ว การที่ผู้คัดค้านละทิ้งหน้าที่ไปร่วมสัมมนานั้น เมื่อมีหนังสือกรมแรงงานชี้แจงผู้ร้องว่าการสัมมนาอาจเป็นประโยชน์ทั้งฝ่ายลูกจ้างและนายจ้าง ประกอบทั้งสหภาพแรงงานได้คัดเลือกผู้คัดค้านให้เป็นผู้เข้าสัมมนา นับเป็นเหตุสมควรที่ผู้คัดค้านจะหาทางเข้าร่วมสัมมนา ถือไม่ได้ว่าการละทิ้งหน้าที่ของผู้คัดค้านทำไปโดยไม่มีเหตุอันสมควรเพียงแต่ผู้คัดค้านมิได้ปฏิบัติครบถ้วนตามระเบียบการลาเท่านั้น จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้เลิกจ้างผู้คัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2078/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอยู่เวรป้องกันอัคคีภัยไม่ใช่การทำงานปกติ จึงไม่เข้าข่ายค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุด
'การทำงาน' ตามคำนิยามของค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน หมายถึงการทำงานตามปกติที่นายจ้างมอบหมายให้ลูกจ้างทำในกิจการของนายจ้าง เมื่อนายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจมีคำสั่งให้ลูกจ้างอยู่เวรเพื่อป้องกันอัคคีภัยตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ อันเป็นหน้าที่พิเศษนอกเหนือจากกิจการตามปกติของนายจ้าง ลูกจ้างที่ต้องอยู่เวรเพื่อป้องกันอัคคีภัยจึงไม่มีสิทธิได้ค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2078/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าล่วงเวลา/ทำงานในวันหยุด: งานเฝ้าระวังความปลอดภัยนอกเหนือจากงานปกติ ไม่เข้าข่ายต้องจ่ายค่าล่วงเวลา
'การทำงาน' ตามคำนิยามของค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน หมายถึงการทำงานตามปกติที่นายจ้างมอบหมายให้ลูกจ้างทำในกิจการของนายจ้าง เมื่อนายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจมีคำสั่งให้ลูกจ้างอยู่เวรเพื่อป้องกันอัคคีภัยตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ อันเป็นหน้าที่พิเศษนอกเหนือจากกิจการตามปกติของนายจ้าง ลูกจ้างที่ต้องอยู่เวรเพื่อป้องกันอัคคีภัยจึงไม่มีสิทธิได้ค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2004/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าครองชีพตามข้อตกลงสภาพการจ้าง: เงื่อนไขการจ่ายและขอบเขตของข้อตกลง
แม้เงินค่าครองชีพซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายแก่ลูกจ้างเป็น รายเดือนจะถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างก็ตาม แต่เมื่อการที่นายจ้างตกลงจะจ่ายเงินค่าครองชีพแก่ลูกจ้างเกิดจากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ไม่ใช่จ่ายตามข้อผูกพัน หรือ สัญญาจ้างแรงงานที่มีอยู่เดิม ดังนั้น การจ่ายเงินค่าครองชีพจำต้องอยู่ภายใต้บังคับของหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้าง
เมื่อคดีไม่มีประเด็นว่า ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขัดต่อกฎหมายหรือมีผลใช้บังคับหรือไม่ การที่คู่ความอุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์นอกประเด็น แม้จะเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลฎีกาเห็นไม่สมควรจะยกขึ้นวินิจฉัย ก็ไม่วินิจฉัยให้
เมื่อคดีไม่มีประเด็นว่า ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขัดต่อกฎหมายหรือมีผลใช้บังคับหรือไม่ การที่คู่ความอุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์นอกประเด็น แม้จะเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลฎีกาเห็นไม่สมควรจะยกขึ้นวินิจฉัย ก็ไม่วินิจฉัยให้