พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,047 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2004/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าครองชีพตามข้อตกลงสภาพการจ้าง: เงื่อนไขการจ่ายและขอบเขตการบังคับใช้
แม้เงินค่าครองชีพซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายแก่ลูกจ้างเป็น รายเดือนจะถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างก็ตาม แต่เมื่อการที่นายจ้างตกลงจะจ่ายเงินค่าครองชีพแก่ลูกจ้างเกิดจาก ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ไม่ใช่จ่ายตามข้อผูกพัน หรือ สัญญาจ้างแรงงานที่มีอยู่เดิม ดังนั้น การจ่ายเงินค่าครองชีพ จำต้องอยู่ภายใต้บังคับของหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้าง
เมื่อคดีไม่มีประเด็นว่า ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขัดต่อกฎหมายหรือมีผลใช้บังคับหรือไม่ การที่คู่ความ อุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์นอกประเด็น แม้จะเป็นปัญหา อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลฎีกาเห็น ไม่สมควรจะยกขึ้นวินิจฉัย ก็ไม่วินิจฉัยให้
เมื่อคดีไม่มีประเด็นว่า ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขัดต่อกฎหมายหรือมีผลใช้บังคับหรือไม่ การที่คู่ความ อุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์นอกประเด็น แม้จะเป็นปัญหา อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลฎีกาเห็น ไม่สมควรจะยกขึ้นวินิจฉัย ก็ไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินบำเหน็จและค่าชดเชยเมื่อมีข้อบังคับขององค์กรใช้บังคับแล้ว ถือเป็นสิทธิแยกจากระเบียบเดิม
ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้างฯเป็น ระเบียบของคณะรัฐมนตรีให้ใช้แก่ลูกจ้างทั่วไปแต่ก็ มิได้หมายความว่ารัฐวิสาหกิจจะมีระเบียบเรื่องนี้ของตนเองโดยเฉพาะไม่ได้แม้เดิมจำเลยจะใช้ระเบียบดังกล่าวซึ่งการจ่ายเงินบำเหน็จตามระเบียบนี้มีค่าชดเชยรวมอยู่ ด้วยก็ตามแต่เมื่อขณะโจทก์ออกจากงานจำเลยได้ออก ข้อบังคับองค์การจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จมาใช้บังคับถือได้ว่าจำเลยมิได้นำระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จฯมาใช้ บังคับอีกต่อไปทั้งข้อบังคับของจำเลยก็มิได้มีข้อความดังระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จฯและหลักเกณฑ์การ จ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลยก็แตกต่างกับหลักเกณฑ์ การจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานจึงถือไม่ได้ว่าบำเหน็จที่จำเลย จ่ายให้โจทก์มีค่าชดเชยรวมอยู่ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินบำเหน็จและค่าชดเชย การเปลี่ยนแปลงระเบียบ และหลักเกณฑ์การจ่ายที่แตกต่างกัน
ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้างฯเป็น ระเบียบของคณะรัฐมนตรีให้ใช้แก่ลูกจ้างทั่วไปแต่ก็ มิได้หมายความว่ารัฐวิสาหกิจจะมีระเบียบเรื่องนี้ของตนเองโดยเฉพาะไม่ได้แม้เดิมจำเลยจะใช้ระเบียบดังกล่าวซึ่งการจ่ายเงินบำเหน็จตามระเบียบนี้มีค่าชดเชยรวมอยู่ ด้วยก็ตามแต่เมื่อขณะโจทก์ออกจากงานจำเลยได้ออก ข้อบังคับองค์การจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จมาใช้บังคับถือได้ว่าจำเลยมิได้นำระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จฯมาใช้ บังคับอีกต่อไปทั้งข้อบังคับของจำเลยก็มิได้มีข้อความดังระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จฯและหลักเกณฑ์การ จ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลยก็แตกต่างกับหลักเกณฑ์ การจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานจึงถือไม่ได้ว่าบำเหน็จที่จำเลย จ่ายให้โจทก์มีค่าชดเชยรวมอยู่ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1918-1919/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในคดีแรงงาน: การฟ้องเรียกค่าเสียหายหลังศาลตัดสินเรื่องค่าชดเชยแล้ว ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
หลังจากถูกจำเลยเลิกจ้าง โจทก์ได้ฟ้องเรียกค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าที่จ่ายไม่ถูกต้องจากจำเลยศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยเพิ่มและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ คดีถึงที่สุดแล้วโจทก์มาฟ้องคดีนี้เรียกค่าเสียหายอ้างเหตุว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 31 เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมดังนี้ เป็นการฟ้องโดยอาศัยเหตุจากการเลิกจ้างของจำเลยเป็นมูล ซึ่งเหตุนี้โจทก์อาจยกขึ้นได้เมื่อฟ้องจำเลยในคดีก่อนแต่มิได้ ฟ้องรวมไปในคราวเดียวกันกลับยกขึ้นฟ้องในภายหลังจึงเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1916/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือภาคทัณฑ์ถือเป็นการตักเตือน หากลูกจ้างกระทำผิดซ้ำ นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และต้องคืนเงินประกันหากไม่มีความเสียหาย
หนังสือภาคทัณฑ์มีข้อความว่า "....ท่านได้ละทิ้งหน้าที่ดังนั้น จึงออกหนังสือนี้เพื่อเป็นการภาคทัณฑ์ท่านในความผิดดังกล่าว หากปรากฏว่าท่านฝ่าฝืนระเบียบอีก.....บริษัทจะเลิกจ้างท่านทันที" หนังสือนี้มีลักษณะเป็นการตักเตือนลูกจ้างในความผิดนั้นแล้ว เมื่อลูกจ้างกระทำผิดระเบียบข้อบังคับโดยละทิ้งหน้าที่ซ้ำอีก นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
เงินประกันที่นายจ้างหักค่าจ้างของลูกจ้างไว้ ตามสัญญาจ้างนายจ้างจะริบได้ต่อเมื่อลูกจ้างผิดสัญญาและทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เมื่อไม่ได้ความว่าการที่ลูกจ้างกระทำผิดระเบียบข้อบังคับเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างใดนายจ้างจึงไม่มีสิทธิริบเงินประกันตามสัญญา
เงินประกันที่นายจ้างหักค่าจ้างของลูกจ้างไว้ ตามสัญญาจ้างนายจ้างจะริบได้ต่อเมื่อลูกจ้างผิดสัญญาและทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เมื่อไม่ได้ความว่าการที่ลูกจ้างกระทำผิดระเบียบข้อบังคับเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างใดนายจ้างจึงไม่มีสิทธิริบเงินประกันตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1903/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษซ้ำซ้อนทางวินัย การเตือนด้วยวาจาไม่ใช่คำเตือนเป็นหนังสือ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
เอกสารที่เป็นแต่เพียงคำรับสารภาพของลูกจ้างว่าได้กระทำผิดอย่างใดมาแล้วโดยมีบันทึกแสดงเป็นหลักฐานว่าได้มีการตักเตือนด้วยวาจาจากผู้บังคับบัญชาด้วยเท่านั้นไม่ใช่คำเตือนเป็นหนังสือตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47(3) เมื่อการตักเตือนด้วยวาจาเป็นโทษทางวินัยอย่างหนึ่งตามระเบียบของนายจ้างดังนั้นการที่ลูกจ้างกระทำผิดและนายจ้างลงโทษโดยการเตือนด้วยวาจาไปแล้วนายจ้างก็จะยกเอาการกระทำเดียวกันนี้มาลงโทษเลิกจ้างลูกจ้างอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินทดแทนกรณีลูกจ้างเสียชีวิตจากการถูกยิงขณะละทิ้งหน้าที่ ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่เข้าข่ายประสบอันตรายจากการทำงาน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ซึ่งวินิจฉัยว่าลูกจ้างได้รับอันตรายถึงแก่ความตายมิใช่เนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาจึงอยู่ที่ว่าคณะกรรมการได้ปฏิเสธการจ่ายเงินทดแทนหรือไม่ คำวินิจฉัยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนี้ เมื่อโจทก์ระบุว่าคณะกรรมการวินิจฉัยอย่างไร ลูกจ้างถูกยิงตายที่ใดและเมื่อใดซึ่ง จำเลยก็ให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ส่วนโจทก์จะเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนหรือไม่ ลูกจ้างถูกยิงตายเนื่องจากมูลกรณีใดและได้รับค่าจ้างเดือนละเท่าใด เป็นรายละเอียด หากจำเลยให้การโต้เถียงก็อาจนำสืบในชั้นพิจารณาได้ แม้ลูกจ้างจะถูกยิงตายในช่วงเวลาที่มีหน้าที่เป็นยามและสถานที่เกิดเหตุอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของลูกจ้างแต่การที่ลูกจ้างหลีกเลี่ยงหน้าที่ไปนั่งเสพสุราร่วมกับพวกและ จ. มิได้ปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ เป็นการละทิ้งหน้าที่ จะถือว่าระหว่างที่ลูกจ้างเสพสุราร่วม กับพวกเป็นการปฏิบัติหน้าที่เป็นยามควบคู่ไปด้วยหาได้ไม่ จึงไม่ใช่เป็น กรณีที่ถึงแก่ความตายในขณะปฏิบัติหน้าที่ อีกประการหนึ่ง คนร้ายที่ เข้ามาทำร้าย จ. มิใช่เข้ามาทำร้ายลูกจ้างหรือประสงค์ต่อทรัพย์สิน ของนายจ้าง มูลกรณีที่ลูกจ้างถูกยิงตายมิได้เกิดจากเหตุที่ทำงานให้ แก่นายจ้างหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง ถือไม่ได้ว่าลูกจ้าง ประสบอันตรายตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานประพฤติชั่วร้ายแรง กรณีข่มขู่ต่อรองให้ละเลยระเบียบองค์กร มิใช่สิทธิลูกจ้าง
ลูกจ้างขออนุญาตผู้บังคับบัญชาออกนอกสถานที่ตั้งแต่เวลา 9 น.ถึง 11 น. แต่กลับมาถึงที่ทำงานเวลา 14 น. ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ลูกจ้างยื่นใบลาครึ่งวัน เพราะการขออนุญาตออกนอกสถานที่ได้จะต้องไม่เกิน 2 ชั่วโมงครึ่งลูกจ้างไม่พอใจจึงเขียนใบลาและเขียนข้อความในเอกสารใส่ ซองวางไว้ที่โต๊ะผู้บังคับบัญชาโดยเจตนาให้ผู้บังคับบัญชายอมตกลงกับตนเรื่องไม่ต้องยื่นใบลา ในเอกสารดังกล่าว มีข้อความว่าลูกจ้างอาจเปิดเผยความไม่ดีของผู้บังคับบัญชาในทำนองทุจริตเกี่ยวกับอาคารพาณิชย์ การกระทำของลูกจ้าง ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการข่มขู่ให้ผู้บังคับบัญชาเกิดความกลัวยอมตกลงกระทำในสิ่งที่ผิดระเบียบ มิใช่เป็นการใช้สิทธิตามปกตินิยม เพราะลูกจ้างเจตนาที่จะใช้เหตุดังกล่าวเป็น ข้อต่อรองกับผู้บังคับบัญชาให้กระทำในสิ่งที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้างเพื่อประโยชน์ของลูกจ้างแต่เพียง อย่างเดียว ไม่เป็นการสมควรที่ผู้ใต้บังคับบัญชาจะพึงกระทำ ต่อผู้บังคับบัญชาเช่นนั้น ทั้งการข่มขู่ให้ผู้บังคับบัญชากระทำในสิ่งผิดระเบียบข้อบังคับของนายจ้างอาจเป็นเหตุก่อ ให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ผู้เป็นนายจ้างได้ การกระทำของลูกจ้างจึงได้ชื่อว่าเป็นการประพฤติชั่ว อย่างร้ายแรงซึ่งตามข้อบังคับของนายจ้างมีโทษถึงขั้นไล่ออก เป็นการ กระทำที่ฝ่าฝืน ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างกรณีร้ายแรงตาม พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123(3) นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การข่มขู่ผู้บังคับบัญชาเพื่อหลีกเลี่ยงการลงโทษทางวินัยถือเป็นการประพฤติชั่วร้ายแรง และการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ลูกจ้างขออนุญาตผู้บังคับบัญชาออกนอกสถานที่ตั้งแต่เวลา 9 น.ถึง 11 น. แต่กลับมาถึงที่ทำงานเวลา 14 น. ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ลูกจ้างยื่นใบลาครึ่งวัน เพราะการขออนุญาตออกนอกสถานที่ได้จะต้องไม่เกิน2 ชั่วโมงครึ่ง ลูกจ้างไม่พอใจจึงเขียนใบลาและเขียนข้อความในเอกสารใส่ซองวางไว้ที่โต๊ะผู้บังคับบัญชาโดยเจตนาให้ผู้บังคับบัญชายอมตกลงกับตนเรื่องไม่ต้องยื่นใบลา ในเอกสารดังกล่าวมีข้อความว่าลูกจ้างอาจเปิดเผยความไม่ดีของผู้บังคับบัญชาในทำนองทุจริตเกี่ยวกับอาคารพาณิชย์ การกระทำของลูกจ้างดังกล่าวมีลักษณะเป็นการข่มขู่ให้ผู้บังคับบัญชาเกิดความกลัวยอมตกลงกระทำในสิ่งที่ผิดระเบียบ มิใช่เป็นการใช้สิทธิตามปกตินิยม เพราะลูกจ้างเจตนาที่จะใช้เหตุดังกล่าวเป็น ข้อต่อรองกับผู้บังคับบัญชาให้กระทำในสิ่งที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้างเพื่อประโยชน์ของลูกจ้างแต่เพียง อย่างเดียว ไม่เป็นการสมควรที่ผู้ใต้บังคับบัญชาจะพึงกระทำ ต่อผู้บังคับบัญชาเช่นนั้น ทั้งการข่มขู่ให้ผู้บังคับบัญชากระทำในสิ่งผิดระเบียบข้อบังคับของนายจ้างอาจเป็นเหตุก่อ ให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ผู้เป็นนายจ้างได้ การกระทำของลูกจ้างจึงได้ชื่อว่าเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ซึ่งตามข้อบังคับของนายจ้างมีโทษถึงขั้นไล่ออก เป็นการ กระทำที่ฝ่าฝืน ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างกรณีร้ายแรงตาม พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123(3)นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1785/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเนื่องจากมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการเงินและเศรษฐกิจของรัฐ ไม่แสวงหากำไร
ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นธนาคารกลางในการปฏิบัติหน้าที่แทนรัฐดำเนินกิจการควบคุมการเงินและการคลังของรัฐให้ถูกต้อง เหมาะสมและมีเสถียรภาพ ธุรกิจที่ธนาคารนี้ประกอบก็กระทำไปในฐานะธนาคารกลาง มิได้เป็นการแข่งขันกับ ธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่น หากจะมีกำไรบ้างก็ เป็นเพียงผลพลอยได้เท่านั้นถือไม่ได้ว่ามีวัตถุประสงค์ เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจจึงได้รับยกเว้นมิต้อง อยู่ภายใต้บังคับประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน