คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประภาศน์ อวยชัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 318 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3278/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อธิบดีกรมอัยการมีอำนาจสั่งฟ้องคดีตามความเห็นแย้งของอธิบดีตำรวจ คำสั่งถึงที่สุดแล้ว ผู้รักษาการอธิบดีไม่มีอำนาจเปลี่ยนแปลง
กรณีจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ต้องเป็นการปฎิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติเฉพาะแต่ตามหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรง ตามที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่นั้น ๆ เท่านั้น
การที่จะมีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องผู้ต้องหาตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจนั้น เป็นอำนาจของอธิบดีกรมอัยการตาม ป.วิ.อ.มาตรา 145 เมื่อได้ความว่าจำเลยได้ลอบทำบันทึกสั่งไม่ฟ้อง จ. กับพวก และมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องไปยังอธิบดีกรมตำรวจภายหลังจากวันที่จำเลยพ้นจากการเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแล้ว การกระทำดังกล่าวจึงไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
จำเลยเป็นพนักงานอัยการตำแหน่งรองอธิบดีกรมอัยการ แม้จะพ้นจากการเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแล้ว แต่รู้อยู่แล้วว่าอธิบดีกรมอัยการคนก่อนได้มีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้อง จ. กับพวก ตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจ ระหว่างที่จำเลยยังไม่ได้มอบงานให้ ก. รองอธิบดีกรมอัยการซึ่งจะเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแทนจำเลย จำเลยย่อมมีหน้าที่ดูแลปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการคนก่อน ซึ่งได้สั่งเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการคนก่อน ซึ่งได้สั่งเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย แต่จำเลยกลับลอบทำบันทึกสั่งไม่ฟ้อง จ. กับพวก แล้วลอบแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องนั้นไปยังอธิบดีกรมตำรวจ ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีเจตนาป้องกันหรือขัดขวางมิให้การเป็นไปตามคำสั่งของอธิบดีกรมอัยการคนก่อน เพื่อจะช่วย จ. กับพวกมิให้ต้องโทษ จนอธิบดีกรมตำรวจได้แจ้งคำสั่งของจำเลยดังกล่าวให้ผู้ร้องทุกข์และผู้ต้องหาทราบทุกคนแล้วเช่นนี้จำเลยจึงต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา 165,200
เมื่ออธิบดีกรมอัยการชี้ขาดให้ฟ้องคดีตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจแล้ว คำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการเป็นอันถึงที่สุด ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 145 พนักงานอัยการต้องฟ้องคดีไปตามนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจอธิบดีกรมอัยการรื้อฟื้นคดีไปตามนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจอธิบดีกรมอัยการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาชี้ขาดใหม่ได้ อธิบดีกรมอัยการจึงไม่มีอำนาจที่จะชี้ขาดกลับคำสั่งของตนได้อีก
ฟ. เป็นพนักงานอัยการ กรมอัยการ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษประจำกรม กองคดี กรมอัยการ และอธิบดีกรมอัยการสั่งให้ปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้ช่วยอัยการพิเศษฝ่ายคดี (อาญา) รับผิดชอบงานอุทธรณ์ส่วน ย. เป็นพนักงานอัยการได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษประจำกรม กองคดี กรมอัยการ และอธิบดีกรมอัยการได้สั่งให้ปฏิบัติราชการในหน้าที่หัวหน้าพนักงานอัยการกอง7 กับมีระเบียบว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาชั้นอุทธรณ์และฎีกาในส่วนราชการใดของกรมอัยการให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมอัยการมีคำสั่ง การที่อธิบดีกรมอัยการสั่งในคำชี้ขาดให้ฎีกาว่าให้ พ. และ ย. ร่วมกันทำฎีกาส่งมารับรองเพื่อส่งศาลฎีกาต่อไป ถือได้ว่าอธิบดีกรมอัยการทำคำสั่งเรื่องตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 15 ให้ พ.และย. มีอำนาจดำเนินคดีในชั้นฎีกา ตามนัยดังกล่าว พ.จึงมีอำนาจลงชื่อเป็นผู้ฎีกา และพ.กับย. มีอำนาจลงชื่อเป็นผู้เรียงได้ในคำฟ้องฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3278/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อธิบดีกรมอัยการไม่มีอำนาจรื้อฟื้นคำสั่งชี้ขาดเดิม และการกระทำของรองอธิบดีขัดขวางการบังคับใช้กฎหมาย
กรณีที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ต้องเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติเฉพาะแต่ตามหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรง ตามที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่นั้นๆ เท่านั้น ถ้าไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของพนักงานผู้นั้นโดยตรงแล้วย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตราดังกล่าว
การที่จะมีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องหรือไม่ฟ้องผู้ต้องหาตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจนั้น เป็นอำนาจของอธิบดีกรมอัยการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 เมื่อได้ความว่าจำเลยได้ลอบทำบันทึกส่งไม่ฟ้อง จ.กับพวก และมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องไปยังอธิบดีกรมตำรวจภายหลังจากวันที่จำเลยพ้นจากการเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแล้ว การกระทำดังกล่าวจึงไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
จำเลยเป็นพนักงานอัยการตำแหน่งรองอธิบดีกรมอัยการ แม้จะพ้นจากการเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแล้ว แต่รู้อยู่แล้วว่า อธิบดีกรมอัยการคนก่อนได้มีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้อง จ.กับพวก ตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจ ระหว่างที่จำเลยยังไม่ได้มอบงานให้ ก.รองอธิบดีกรมอัยการซึ่งจะเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิยดีกรมอัยการแทนจำเลย จำเลยย่อมมีหน้าที่ดูแลปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการคนก่อนซึ่งได้สั่งเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย แต่จำเลยกลับลอบทำบันทึกสั่งไม่ฟ้อง จ.กับพวก แล้วสอบแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องนั้นไปยังอธิบดีกรมตำรวจซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีเจตนาป้องกันหรือขัดขวางมิให้การเป็นไปตามคำสั่งของอธิบดีกรมอัยการคนก่อน เพื่อจะช่วย จ.กับพวก มิให้ต้องโทษ จนอธิบดีกรมตำรวจได้แจ้งคำสั่งของจำเลยดังกล่าวให้ผู้ร้องทุกข์และผู้ต้องหาทราบทุกคนแล้ว เช่นนี้ จำเลยจึงต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 165,200
เมื่ออธิบดีกรมอัยการชี้ขาดให้ฟ้องคดีตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจแล้ว คำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของกรมอธิบดีกรมอัยการเป็นอันถึงที่สุด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 พนักงานอัยการต้องฟ้องคดีไปตามนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจอธิบดีกรมอัยการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาชี้ขาดใหม่ได้ อธิบดีกรมอัยการจึงไม่มีอำนาจที่จะชี้ขาดกลับคำสั่งของตนได้อีก
ฟ.เป็นพนักงานอัยการ กรมอัยการ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษประจำกรม กองคดี กรมอัยการ และอธิบดีกรมอัยการสั่งให้ปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้ช่วยอัยการพิเศษฝ่ายคดี (อาญา) รับผิดชอบฐานอุทธรณ์ ส่วน ย. เป็นพนักงานอัยการได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษประจำกรม กองคดี กรมอัยการ และอธิบดีกรมอัยการได้สั่งให้ปฏิบัติราชการในหน้าที่หัวหน้าพนักงานอัยการ พนักงานอัยการกอง 7 กับมีระเบียบว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาชั้นอุทธรณ์และฎีกาในส่วนราชการใดของกรมอัยการ ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมอัยการมีคำสั่ง การที่อธิบดีกรมอัยการสั่งในคำชี้ขาดในฎีกาว่า ให้ ฟ. และ ย. ร่วมกันทำฎีกาส่งมาให้รับรองเพื่อส่งศาลฎีกาต่อไป ถือได้ว่าอธิบดีกรมอัยการทำคำสั่งเฉพาะเรื่องตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 15 ให้ ฟ. และ ย. มีอำนาจดำเนินคดีนี้ในชั้นฎีกา ตามนัยดังกล่าว ฟ.จึงมีอำนาจลงชื่อเป็นผู้ฎีกา และ ฟ.กับย.มีอำนาจลงชื่อเป็นผู้เรียงได้ในคำฟ้องฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1422-1423/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอาศัย-การซื้อขายที่ดิน: ผลของการไม่จดทะเบียนสิทธิอาศัย และการเพิกถอนการซื้อขาย
ที่พิพาทเป็นที่ดินมี น.ส.3. เดิมเมื่อ พ.ศ. 2511 บ. เคยฟ้อง ม. แล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดย บ. ยอมรับว่าที่พิพาทเป็นของ ม. และ ม. ยินยอมให้ บ. อาศัยในเรือนของ บ. ที่ปลูกในที่พิพาท และให้ใช้คอกกระบือเดิมในที่พิพาทที่เคยใช้มาแล้วต่อไป ศาลพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแต่ บ. ไม่ได้จดทะเบียนสิทธิอาศัยตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ต่อมา พ.ศ. 2516 ม. ขายที่พิพาทให้ ช. โดยทำหนังสือสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนแล้วมีคดีพิพาทกันต่อมา 2 คดี คือ คดีแรก ช. เป็นโจทก์ฟ้อง บ. เป็นจำเลยว่า โจทก์ซื้อที่พิพาทจาก ม. เมื่อ พ.ศ. 2516 จำเลยได้มาปลูกคอกกระบือในที่พิพาทของโจทก์ ขอให้ขับไล่ คดีหลัง บ. เป็นโจทก์ฟ้อง ม. และ ช. ว่า ม. จดทะเบียนขายที่พิพาทให้ ช. โดยไม่มีค่าตอบแทนและไม่สุจริต ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนและให้ ม. จดทะเบียนสิทธิอาศัยให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความคดีทั้งสองขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแยกกัน ศาลฎีกามีคำสั่งให้พิจารณาพิพากษารวมกันตามที่คู่ความขอ
ดังนี้ สำหรับคดีแรก การที่จำเลยให้การว่าคอกกระบือนั้นเป็นคอกกระบือเดิมที่ ม. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยใช้ต่อไปเท่ากับจำเลยปฏิเสธว่าจำเลยมิได้เข้าปลูกคอกกระบือในที่ดินของโจทก์เมื่อ พ.ศ. 2517 เป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องนำสืบให้ได้ความตามฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลยเสียแล้ววินิจฉัยว่า สิทธิของจำเลยได้มาตามสัญญาประนีประนอมยอมความยังมิได้จดทะเบียนไม่บริบูรณ์พิพากษาให้จำเลยรื้อคอกกระบือออกไป เป็นการงดสืบพยานไม่ชอบ แต่เมื่อคดีหลังได้มีการสืบพยานทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นกระแสความแล้วศาลฎีกาชอบที่จะ ไม่ยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองแล้วให้สืบพยานต่อไป แต่ย่อมนำ พยานหลักฐานในคดีหลังมาวินิจฉัยได้ และเมื่อวินิจฉัยแล้วฟังไม่ได้ว่า จำเลยได้เข้าปลูกคอกกระบือในที่ดินของโจทก์เมื่อ พ.ศ. 2517 ศาลย่อม พิพากษายกฟ้องโจทก์คดีแรกเสีย
สำหรับคดีหลัง เมื่อที่พิพาทยังเป็นของ ม. อยู่ ม. จึงมีสิทธิขายให้ ช. ได้ บ. โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอนขายที่พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง ทั้งเมื่อ ม. ขายที่พิพาท และมอบการครอบครองให้ ช. ไปแล้วโจทก์ย่อมฟ้องขอให้บังคับ ม. ไปจดทะเบียนสิทธิตามคำพิพากษาตามยอมอีกมิได้ เพราะที่พิพาทไม่ได้เป็นของ ม. แล้วศาลย่อมพิพากษายกฟ้อง คดีหลังด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความร่วมมือในการลักทรัพย์: การแบ่งหน้าที่และเจตนาโดยรวม
คนยามรถไฟร่วมคิดในการลักทรัพย์ที่บรรทุกมาในตู้รถ ได้ดูต้นทางในระหว่างขนสินค้าไปจากป่าข้างทางรถไฟและสับเปลี่ยนตู้รถไปเข้าทางเปลี่ยว ถือเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำในการลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 538/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างลดวันทำงานลูกจ้างหลังยื่นข้อเรียกร้องถือเป็นการกลั่นแกล้งขัดต่อกฎหมายแรงงานสัมพันธ์
นายจ้างลดวันทำงานของลูกจ้าง 9 คน จาก 6 วันเหลือ 2 วันต่อสัปดาห์ เพราะยื่นข้อเรียกร้องต่อเจ้าหน้าที่ต้องห้ามตาม พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา121(1) คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้นายจ้างใช้ค่าเสียหายแก่ลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 282/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตออกเช็ค – การระงับการจ่ายเงินเพื่อชำระหนี้แทนผู้อื่นถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
ช. ค้างชำระค่าที่ดินโจทก์อยู่ 30,000 บาท ช.ตกลงยืมเงินจำเลยตามจำนวนดังกล่าว โดยให้จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงิน 30,000 บาท ให้โจทก์ไปเมื่อเช็คถึงกำหนด จำเลยสั่งธนาคารระงับการจ่ายเงินตามเช็คนั้น ดังนี้ ถือได้ว่า จำเลยมีเจตนาทุจริตในการที่ห้ามมิให้ธนาคารใช้เงินตามเช็ค เพราะจำเลยออกเช็คไปก็เพื่อเป็นการชำระหนี้แทน ช.นั่นเอง จะอ้างว่าเหตุที่สั่งธนาคารระงับการจ่ายเงินเพราะช. ไม่นำเงินมาชำระแก่จำเลยก่อนเช็คถึงกำหนดตามที่ ช. ตกลงไว้กับจำเลยมิได้ เพราะเป็นเรื่องส่วนตัวระหว่างจำเลยกับ ช. เท่านั้น ไม่ผูกพันโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 282/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตออกเช็คชำระหนี้แล้วระงับการจ่ายเงิน ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
ช.ค้างชำระค่าที่ดินโจทก์อยู่30,000บาทช.ตกลงยืมเงินจำเลยตามจำนวนดังกล่าวโดยให้จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงิน 30,000 บาทให้โจทก์ไปเมื่อเช็คถึงกำหนดจำเลยสั่งธนาคารระงับการจ่ายเงินตามเช็คนั้นดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตในการที่ห้ามมิให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คเพราะจำเลยออกเช็คไปก็เพื่อเป็นการชำระหนี้แทน ช.นั่นเองจะอ้างว่าเหตุที่สั่งธนาคารระงับการจ่ายเงินเพราะ ช.ไม่นำเงินมาชำระแก่จำเลยก่อนเช็คถึงกำหนดตามที่ ช.ตกลงไว้กับจำเลยมิได้เพราะเป็นเรื่องส่วนตัวระหว่างจำเลยกับ ช.เท่านั้นไม่ผูกพันโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารในสำนวนคดีล้มละลายเป็นเอกสารในสำนวนคดีอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90(1) ไม่ต้องส่งสำเนาให้คู่ความ
สำนวนการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายถือได้ว่าเป็นเอกสารในสำนวนคดีเรื่องอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา90(1)
การที่ผู้ร้องอ้างเอกสารซึ่งเป็นคำให้การของผู้คัดค้านในสำนวนการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90(1) ซึ่งผู้ร้องไม่ต้องส่งสำเนาให้ผู้คัดค้านก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าสามวัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารในสำนวนคดีล้มละลายเป็นเอกสารในสำนวนคดีอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90(1) ไม่ต้องส่งสำเนา
สำนวนการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายถือได้ว่าเป็นเอกสารในสำนวนคดีเรื่องอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 (1)
การที่ผู้ร้องอ้างเอกสารซึ่งเป็นคำให้การของผู้คัดค้านในสำนวนการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้นเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 90 (1) ซึ่งผู้ร้องไม่ต้องส่งสำเนาให้ผู้คัดค้านก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าสามวัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเด็กและเยาวชน หากพ้นกำหนดต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ
พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่ทันภายในกำหนด 30 วันนับแต่วันที่ผู้ต้องหาถูกจับกุม พนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องขอผัดฟ้องไว้ 3 คราว แต่พนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องและขอให้ศาลปล่อยตัวผู้ต้องหาไปก่อนครบกำหนดผัดฟ้องครั้งที่ 3 และศาลได้ปล่อยตัวผู้ต้องหาไปแล้ว โดยมิได้ขอผัดฟ้องต่อไปอีกกรณีเช่นนี้ต้องถือว่าคดีนี้พ้นกำหนดระยะเวลาการยื่นฟ้องดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 ทวิ แล้ว และไม่ว่ากรณีพนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา ก็ต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 24 ทวิ ทั้งสิ้น จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 141 มาใช้บังคับไม่ได้ ซึ่งโจทก์จะฟ้องคดีได้จักต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการตามมาตรา 24 จัตวา
of 32