พบผลลัพธ์ทั้งหมด 318 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเด็กและเยาวชน หากเกินกำหนดต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ
พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่ทันภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ผู้ต้องหาถูกจับกุม พนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องขอผัดฟ้องไว้ 3 คราว แต่พนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องและขอให้ศาลปล่อยตัวผู้ต้องหาไปก่อน ครบกำหนดผัดฟ้องครั้งที่ 3 และศาลได้ปล่อยตัวผู้ต้องหาไปแล้ว โดยมิได้ขอผัดฟ้องต่อไปอีก กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าคดีนี้พ้นกำหนดระยะเวลาการยื่นฟ้องดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 ทวิแล้ว และไม่ว่ากรณีพนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา ก็ต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 24 ทวิทั้งสิ้น จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 141 มาใช้บังคับไม่ได้ ซึ่งโจทก์จะฟ้องคดีได้จักต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการตามมาตรา 24 จัตวา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2543-2547/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: ผู้ทรงเช็คสุจริต, มูลหนี้จากการเล่นแชร์, การงดสืบพยานเมื่อข้อเท็จจริงพอวินิจฉัย
โจทก์และจำเลยกับพวกอีกหลายคนร่วมกันเล่นแชร์ เช็คพิพาทจำเลยออกให้ จ. หัวหน้าวงแชร์โดยมีมูลหนี้เนื่องในการเล่นแชร์โดยจำเลยประมูลแชร์ได้ ต่อมาโจทก์ได้เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยสุจริต จำเลยย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น แม้จำเลยจะให้การต่อสู้ว่าโจทก์ทรงเช็คโดยไม่สุจริต แต่จำเลยก็มิได้กล่าวถึงเหตุที่อ้างว่าไม่สุจริตอย่างใด จึงไม่มีรายละเอียดที่จะนำสืบตามข้อต่อสู้ได้ และแม้จำเลยจะต่อสู้ว่า จ. รับเอาเช็คพิพาทจากจำเลย แล้วสลักหลังเช็คนำไปมอบให้โจทก์และลูกวงที่ยังไม่ได้ประมูล แต่ยังมิได้ชำระค่าแชร์แก่จำเลยผู้ประมูลแชร์ได้ก็ตาม จำเลยจะยกเหตุดังกล่าวขึ้นต่อสู้ให้พ้นจากความรับผิดไม่ได้ เพราะจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทจาก จ. โดยคบคิดกันฉ้อฉล จำเลยจึงไม่อาจอาศัยความเกี่ยวพันระหว่างจำเลยกับผู้อื่นที่จำเลยออกเช็คให้มาเป็นข้อต่อสู้ให้พ้นความรับผิดได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 ดังนั้นถึงแม้จะให้สืบพยานต่อไป ก็ไม่อาจทำให้รูปคดีเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้ ศาลชั้นต้นงดสืบพยานจึงเป็นการชอบแล้ว
การให้งดสืบพยานนั้น เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจสั่งตามควรแก่กรณีเป็นเรื่องๆ ไป ถ้าข้อเท็จจริงที่คู่ความรับกันเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว ก็ไม่จำต้องนำสืบพยานหลักฐานอื่นใดอีก ศาลมีอำนาจสั่งงดสืบพยานได้ทั้งนี้ก็เพื่อให้คดีได้ดำเนินไปโดยรวดเร็วและยุติธรรม
การให้งดสืบพยานนั้น เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจสั่งตามควรแก่กรณีเป็นเรื่องๆ ไป ถ้าข้อเท็จจริงที่คู่ความรับกันเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว ก็ไม่จำต้องนำสืบพยานหลักฐานอื่นใดอีก ศาลมีอำนาจสั่งงดสืบพยานได้ทั้งนี้ก็เพื่อให้คดีได้ดำเนินไปโดยรวดเร็วและยุติธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2543-2547/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: การรับผิดของผู้สั่งจ่ายเช็คแม้มีข้อโต้แย้งเรื่องการโอนและการชำระหนี้
โจทก์และจำเลยกับพวกอีกหลายคนร่วมกันเล่นแชร์ เช็คพิพาทจำเลยออกให้ จ.หัวหน้าวงแชร์โดยมีมูลหนี้เนื่องในการเล่นแชร์โดยจำเลยประมูลแชร์ได้ ต่อมาโจทก์ได้เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยสุจริต จำเลยย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น แม้จำเลยจะให้การต่อสู้ว่าโจทก์ทรงเช็คโดยไม่สุจริต แต่จำเลยก็มิได้กล่าวถึงเหตุที่อ้างว่าไม่สุจริตอย่างใด จึงไม่มีรายละเอียดที่จะนำสืบตามข้อต่อสู้ได้ และแม้จำเลยจะต่อสู้ว่า จ.รับเอาเช็คพิพาทจากจำเลย แล้วสลักหลังเช็คนำไปมอบให้โจทก์และลูกวงที่ยังไม่ได้ประมูล แต่มิได้ชำระค่าแชร์แก่จำเลยผู้ประมูลแชร์ได้ก็ตาม จำเลยจะยกเหตุดังกล่าวขึ้นต่อสู้ให้พ้นจากความรับผิดไม่ได้ เพราะจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทจาก จ.โดยคบคิดกันฉ้อฉล จำเลยจึงไม่อาจอาศัยความเกี่ยวพันระหว่างจำเลยกับผู้อื่นที่จำเลยออกเช็คให้มาเป็นข้อต่อสู้ให้พ้นความรับผิดได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 976 ดังนั้น ถึงแม้จะให้สืบพยานต่อไป ก็ไม่อาจทำให้รูปคดีเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้ ศาลชั้นต้นงดสืบพยานจึงเป็นการชอบแล้ว
การให้งดสืบพยานนั้น เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจสั่งตามควรแก่กรณีเป็นเรื่อง ๆ ไป ถ้าข้อเท็จจริงที่คู่ความรับกันเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว ก็ไม่จำต้องนำสืบพยานหลักฐานอื่นใดอีก ศาลมีอำนาจสั่งงดสืบพยานได้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้คดีได้ดำเนินไปโดยรวดเร็วและยุติธรรม
การให้งดสืบพยานนั้น เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจสั่งตามควรแก่กรณีเป็นเรื่อง ๆ ไป ถ้าข้อเท็จจริงที่คู่ความรับกันเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว ก็ไม่จำต้องนำสืบพยานหลักฐานอื่นใดอีก ศาลมีอำนาจสั่งงดสืบพยานได้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้คดีได้ดำเนินไปโดยรวดเร็วและยุติธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2497/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเด็กและเยาวชน, การผัดฟ้อง, และการขออนุญาตฟ้องหลังพ้นกำหนด
พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีเด็กหรือเยาวชนไม่ทันภายในกำหนด30 วันนับแต่วันที่ผู้ต้องหาถูกจับกุม พนักงานสอบสวนจึงยื่นคำร้องต่อศาลขอผัดฟ้องไว้ถึง 3 คราวโดยเฉพาะคราวที่ 3 ศาลอนุญาตให้ผัดฟ้องได้จนถึงวันที่ 18 มีนาคม 2521 แต่พนักงานสอบสวนขอให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาไปเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2521 อ้างว่าพนักงานสอบสวนสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา ต่อจากนั้นพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่ได้ขอผัดฟ้องคดีอีกต่อไปจนวันที่ 3 เมษายน 2521 พนักงานอัยการจึงยื่นฟ้องผู้ต้องหาเช่นนี้ ถือว่าพ้นระยะเวลายื่นฟ้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24ทวิ แล้ว โจทก์ยื่นฟ้องโดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24จัตวา ไม่ได้
ไม่ว่ากรณีพนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาหรือมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา ต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 24ทวิ ทั้งสิ้น จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 141 มาใช้บังคับไม่ได้
ไม่ว่ากรณีพนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาหรือมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา ต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 24ทวิ ทั้งสิ้น จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 141 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2497/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเด็กและเยาวชน พ้นกำหนดต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ
พนักงานอัยการยืนฟ้องคดีเด็กหรือเยาวชนไม่ทันภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ผู้ต้องหาถูกจับกุม พนักงานสอบสวนจึงยืนคำร้องต่อศาลขอผัดฟ้องไว้ถึง 3 คราว โดยเฉพาะคราวที่ 3 ศาลอนุญาตให้ผิดฟ้องได้จนถึงวันที่ 18 มีนาคม 2521 แต่พนักงานสอบสวนขอให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาไปเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2521 อ้างว่าพนักงานสอบสวนสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา ต่อจากนั้นพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่ได้ขอผัดฟ้องคดีอีกต่อไป จนวันที่ 3 เมษายน 2521 พนักงานอัยการจึงยื่นฟ้องผู้ต้องหาเช่นนี้ ถือว่าพ้นระยะเวลายื่นฟ้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 ทวิ แล้ว โจทก์ยื่นฟ้องโดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 จัตวาไม่ได้
ไม่ว่ากรณีพนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาหรือมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา ต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 24 ทวิทั้งสิ้น จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 141 มาใช้บังคับไม่ได้
ไม่ว่ากรณีพนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาหรือมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา ต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 24 ทวิทั้งสิ้น จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 141 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2343/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาแท้จริงในสัญญาสัญญาประนีประนอมและการตีความตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 132
จำเลยถูกโจทก์ฟ้องคดีอาญาในข้อหาว่ายักยอกเงินโจทก์ไป214,878 บาท 8 สตางค์ ระหว่างพิจารณาคดีอาญาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ตามสัญญาข้อ 1 จำเลยยอมรับผิดใช้เงินจำนวน 50,000 บาท เพื่อเป็นการชดเชยยอดเงินที่ขาดบัญชี จ่ายซ้ำสองครั้ง ส่วนตามสัญญาข้อ 2 ยอดเงินที่ใช้จ่ายไปโดยไม่มีใบสำคัญจำนวน 130,045 บาท 75 สตางค์ โจทก์ยอมให้จำเลยไปจัดหาใบสำคัญมาหักล้าง หรือหลักฐานอื่นอันแสดงว่าได้ใช้จ่ายไปมาแสดงให้เป็นที่พอใจคณะกรรมการบริษัทโจทก์ภายใน 120 วัน และข้อ 3 ฝ่ายโจทก์ไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีกับจำเลยต่อไปอีก ดังนี้เมื่อจำเลยไม่จัดหาใบสำคัญมาหักล้างหรือหลักฐานอื่นอันแสดงว่าได้ใช้จ่ายไปมาแสดงภายใน 120 วัน ปัญหาว่าจำเลยต้องรับผิดชำระเงินที่ใช้จ่ายไปจำนวน 130,045 บาท 75 สตางค์ ให้แก่โจทก์ตามสัญญาข้อ 2 หรือไม่ เป็นเรื่องการตีความแสดงเจตนาซึ่งต้องเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 132 และความประสงค์หรือเจตนาของคู่สัญญาต้องแปลจากสัญญาทั้งฉบับไม่ใช่ยกเอาเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งหรือสัญญาข้อใดข้อหนึ่งขึ้นมาแปล สัญญาประนีประนอมดังกล่าวแม้จะไม่มีข้อความว่าถ้าจำเลยหามาไม่ได้ภายในกำหนดจำเลยจะต้องชดใช้เงินให้โจทก์ แต่ก็เห็นเจตนาของโจทก์จำเลยได้ว่าต้องการระงับคดีอาญาโดยจำเลยต้องใช้เงินในสัญญาข้อ 1 ให้โจทก์ ส่วนตามข้อ 2 นั้น ยังมีปัญหาว่าจำเลยได้ใช้จ่ายไปจริงหรือไม่ โจทก์จึงให้โอกาสจำเลยไปหาใบสำคัญมาแสดงอันเป็นการแสดงเจตนาแก่จำเลยว่า ถ้าจำเลยหาใบสำคัญหรือหลักฐานการใช้เงินมาแสดงได้ โจทก์ยอมหักเงินให้จำเลย ถ้าจำเลยหามาไม่ได้ก็ต้องรับผิดในเงินยอดนั้นเมื่อจำเลยหามาไม่ได้ภายใน 120 วัน ตามสัญญาข้อ 2 ก็ต้องถือว่าจำเลยยอมรับผิด และไม่เข้ากรณีที่มีข้อสงสัยอันให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะต้องเป็นผู้เสียในมูลหนี้นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11(ประชุมใหญ่ครั้งที่19/2521)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2325/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันยังคงมีผล แม้มีการลดหนี้และทำสัญญาประนีประนอม เพราะหนี้เดิมยังไม่ระงับ
แม้สัญญาค้ำประกันมิได้ปิดอากรแสตมป์ ซึ่งตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118 ห้ามมิให้ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งแต่จำเลยได้ให้การและนำสืบรับเข้ามาว่าได้ลงชื่อในสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจริง ศาลจึงไม่จำเป็นต้องใช้สัญญาค้ำประกันเป็นพยานหลักฐานประกอบการพิจารณาคดี
จำเลยค้ำประกัน ธ.ที่ทำงานกับโจทก์100,000บาทธ. ยักยอกทรัพย์ของโจทก์ โจทก์จำเลยยอมความกัน โจทก์ลดจำนวนเงินลงเหลือ 380,000 บาท ธ.ยอมใช้เงินโดยชำระในวันนั้นส่วนหนึ่งที่เหลือมีน.น้องธ. และภริยาธ. ออกเช็คลงวันล่วงหน้าให้กับทำสัญญาค้ำประกันให้ด้วย โจทก์ถอนคำร้องทุกข์ ศาลจำหน่ายคดีที่ ธ.ถูกฟ้องเรื่องยักยอกเช็คของน.และธ. รับเงินไม่ได้ โจทก์ฟ้องจำเลยตามสัญญาค้ำประกันได้ การที่โจทก์ลดหนี้ให้ธ.และธ.ยังไม่ได้ใช้หนี้หนี้เดิมยังไม่ระงับและธ.ไม่ได้สละสิทธิหรือได้สิทธิอะไรจากโจทก์ ไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ หนี้เดิมยังอยู่ โจทก์ฟ้องจำเลยตามสัญญาค้ำประกันเดิมให้จำเลยรับผิด 100,000 บาทได้
จำเลยค้ำประกัน ธ.ที่ทำงานกับโจทก์100,000บาทธ. ยักยอกทรัพย์ของโจทก์ โจทก์จำเลยยอมความกัน โจทก์ลดจำนวนเงินลงเหลือ 380,000 บาท ธ.ยอมใช้เงินโดยชำระในวันนั้นส่วนหนึ่งที่เหลือมีน.น้องธ. และภริยาธ. ออกเช็คลงวันล่วงหน้าให้กับทำสัญญาค้ำประกันให้ด้วย โจทก์ถอนคำร้องทุกข์ ศาลจำหน่ายคดีที่ ธ.ถูกฟ้องเรื่องยักยอกเช็คของน.และธ. รับเงินไม่ได้ โจทก์ฟ้องจำเลยตามสัญญาค้ำประกันได้ การที่โจทก์ลดหนี้ให้ธ.และธ.ยังไม่ได้ใช้หนี้หนี้เดิมยังไม่ระงับและธ.ไม่ได้สละสิทธิหรือได้สิทธิอะไรจากโจทก์ ไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ หนี้เดิมยังอยู่ โจทก์ฟ้องจำเลยตามสัญญาค้ำประกันเดิมให้จำเลยรับผิด 100,000 บาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2276/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นบิดามารดาและการรับบุตรตามกฎหมาย: ผลกระทบของบทบัญญัติใหม่ต่อคดีที่ฟ้องร้องก่อนวันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้
โจทก์ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรไว้ก่อนพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับคดีโจทก์จึงตกอยู่ในบังคับตามมาตรา 1529 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับเดิม เพราะการเป็นบิดามารดากับบุตรในคดีโจทก์ได้มีอยู่แล้วในวันที่ 16 ตุลาคม 2519 ซึ่งเป็นวันที่บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งที่ได้ตรวจชำระใหม่ใช้บังคับ จะนำ บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1555 มาปรับแก่คดีหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2089/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 1 ปี และศาลอุทธรณ์ให้รอการลงโทษ
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืน 1 ปี และฐานพกพาอาวุธปืน 6 เดือนรวม 1 ปี 6 เดือน ศาลอุทธรณ์แก้เป็นว่าให้จำคุกจำเลยฐานมีอาวุธปืน 6 เดือนฐานพกพาอาวุธปืน 3 เดือน รวม 9 เดือน และให้รอการลงโทษจำเลยไว้ 2 ปี ซึ่งโทษแต่ละกระทงศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จำคุกไม่เกิน 1 ปี ดังนี้ ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2088/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาในเรื่องดุลพินิจศาลเกี่ยวกับโทษจำคุกที่ไม่เกิน 1 ปี และข้อจำกัดในการฎีกา
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยฐานมีอาวุธปืนฯ 1 ปี และฐานพกอาวุธปืนฯ 6 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้รอการลงโทษ การที่โจทก์ฎีกา ขอมิให้รอการลงโทษจำเลยนั้น เป็นฎีกาในเรื่องดุลพินิจของศาล จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
การที่จะปรับว่าคดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาในฐานความผิดเป็นกระทงๆ ไป คดีนี้เป็นความผิด 2 กระทง แต่ละกระทงศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จำคุกจำเลยไม่เกิน 1 ปี แม้ศาลอุทธรณ์จะให้รอการลงโทษจำคุกจำเลย โจทก์ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การที่จะปรับว่าคดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาในฐานความผิดเป็นกระทงๆ ไป คดีนี้เป็นความผิด 2 กระทง แต่ละกระทงศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จำคุกจำเลยไม่เกิน 1 ปี แม้ศาลอุทธรณ์จะให้รอการลงโทษจำคุกจำเลย โจทก์ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง