คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชลูตม์ สวัสดิทัต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 914 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1002/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากยึดทรัพย์ชั่วคราวก่อนพิพากษา เป็นคดีต่างหากจากฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องจำเลยกล่าวหาว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายขอเงินมัดจำและเงินค่างวดที่โจทก์จ่ายไปแล้วคืนพร้อมดอกเบี้ยพร้อมกับฟ้องโจทก์ได้ยื่นคำร้องในเหตุฉุกเฉินขอให้ศาลชั้นต้นยึดหรืออายัดที่ดินของจำเลยที่1ไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาซึ่งศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วสั่งอนุญาตในวันถัดไปจำเลยให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญากับฟ้องแย้งว่าการที่โจทก์ขอให้ศาลสั่งยึดที่ดินของจำเลยที่1ก็โดยการอ้างเท็จเป็นเหตุให้ศาลหลงเชื่อขอเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ที่เกิดจากการที่ศาลชั้นต้นสั่งยึดที่ดินของจำเลยที่1ไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาตามคำขอของโจทก์ดังนี้มูลหนี้ตามฟ้องแย้งของจำเลยดังกล่าวเกิดจากกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่เรียกว่าวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาเกิดขึ้นตามบทบัญญัติของกฎหมายคือป.วิ.พ.ซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งต่างหากไปจากคำฟ้องเดิมฟ้องแย้งของจำเลยที่1จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมชอบที่จำเลยที่1จักฟ้องโจทก์เป็นคดีต่างหาก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1002/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากการยึดทรัพย์ชั่วคราวก่อนพิพากษาเป็นคดีต่างหากได้
โจทก์ฟ้องจำเลยกล่าวหาว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายขอเงินมัดจำและเงินค่างวดที่โจทก์จ่ายไปแล้วคืนพร้อมดอกเบี้ยพร้อมกับฟ้องโจทก์ได้ยื่นคำร้องในเหตุฉุกเฉินขอให้ศาลชั้นต้นยึดหรืออายัดที่ดินของจำเลยที่1ไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาซึ่งศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วสั่งอนุญาตในวันถัดไปจำเลยให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญากับฟ้องแย้งว่าการที่โจทก์ขอให้ศาลสั่งยึดที่ดินของจำเลยที่1ก็โดยการอ้างเท็จเป็นเหตุให้ศาลหลงเชื่อขอเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ที่เกิดจากการที่ศาลชั้นต้นสั่งยึดที่ดินของจำเลยที่1ไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาตามคำขอของโจทก์ดังนี้มูลหนี้ตามฟ้องแย้งของจำเลยดังกล่าวเกิดจากกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่เรียกว่าวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาเกิดขึ้นตามบทบัญญัติของกฎหมายคือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งต่างหากไปจากคำฟ้องเดิมฟ้องแย้งของจำเลยที่1จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมชอบที่จำเลยที่1จักฟ้องโจทก์เป็นคดีต่างหาก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1002/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากการยึดทรัพย์ชั่วคราวก่อนพิพากษาเป็นคดีต่างหากได้
โจทก์ฟ้องจำเลยกล่าวหาว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขาย ขอเงินมัดจำและเงินค่างวดที่โจทก์จ่ายไปแล้วคืนพร้อมดอกเบี้ย พร้อมกับฟ้องโจทก์ได้ยื่นคำร้องในเหตุฉุกเฉินขอให้ศาลชั้นต้นยึดหรืออายัดที่ดินของจำเลยที่ 1 ไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาซึ่งศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วสั่งอนุญาตในวันถัดไป จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญากับฟ้องแย้งว่า การที่โจทก์ขอให้ศาลสั่งยึดที่ดินของจำเลยที่ 1 ก็โดยการอ้างเท็จเป็นเหตุให้ศาลหลงเชื่อ ขอเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ที่เกิดจากการที่ศาลชั้นต้นสั่งยึดที่ดินของจำเลยที่ 1 ไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาตามคำขอของโจทก์ ดังนี้ มูลหนี้ตามฟ้องแย้งของจำเลยดังกล่าวเกิดจากกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่เรียกว่าวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาเกิดขึ้นตามบทบัญญัติของกฎหมาย คือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งต่างหากไปจากคำฟ้องเดิม ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ชอบที่จำเลยที่ 1 จักฟ้องโจทก์เป็นคดีต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3976/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของไปรษณีย์ต่อการสูญหายของสิ่งของลงทะเบียนที่ไม่ได้รับการประกัน
การฝากส่งสินค้าของโจทก์เป็นลักษณะไปรษณียภัณฑ์ลงทะเบียนไม่มีการประกันแต่อย่างใด เมื่อไปรษณียภัณฑ์สูญหายจำเลยที่ 1 ต้องรับผิด ตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 มาตรา 29 คือตามข้อบังคับ ที่ใช้อยู่เวลานั้นหาใช่ต้องรับผิดตามมาตรา 30 ไม่ เพราะตาม มาตราดังกล่าวต้องเป็นไปรษณียภัณฑ์ ที่ผู้ฝากได้ระบุแจ้งราคาไว้แล้วเท่านั้น
การที่พนักงานของจำเลยที่ 1 ลงชื่อและประทับตราลงในใบขนสินค้าขาออกซึ่งแจ้งราคาสินค้าไว้ด้วย โดยผ่านพิธีการศุลกากร มาแล้วและมิต้องเปิดตรวจสอบให้ตรงกันก่อนเป็นเพียงแสดงว่า ไปรษณียภัณฑ์นั้นผ่านเข้าไปรษณีย์แล้วเท่านั้นและโจทก์มิได้ส่งเอกสารใบขนสินค้าไว้แก่จำเลยที่ 1 ให้เป็นกิจจะลักษณะจึงถือว่า เป็นการแจ้งราคาไว้แก่จำเลยที่ 1 แล้วหาได้ไม่
จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับขนพิเศษที่จะต้องแยกไปปฏิบัติและบังคับ ตามกฎหมายและกฎข้อบังคับสำหรับการไปรษณีย์โดยเฉพาะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 จึงนำบทบัญญัติ เรื่องการรับขนของในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้และจะถือว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งมีนิติสัมพันธ์ กับจำเลยที่ 1 เท่านั้นเป็นผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตามมาตรา 618 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3976/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของไปรษณีย์ต่อสินค้าสูญหาย: การลงทะเบียนไม่ประกัน, การแจ้งราคา, และผู้รับขน
การฝากส่งสินค้าของโจทก์เป็นลักษณะไปรษณียภัณฑ์ลงทะเบียนไม่มีการประกันแต่อย่างใด เมื่อไปรษณียภัณฑ์สูญหายจำเลยที่ 1 ต้องรับผิด ตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 มาตรา 29 คือตามข้อบังคับ ที่ใช้อยู่เวลานั้นหาใช่ต้องรับผิดตามมาตรา 30 ไม่ เพราะตาม มาตราดังกล่าวต้องเป็นไปรษณียภัณฑ์ ที่ผู้ฝากได้ระบุแจ้งราคาไว้แล้วเท่านั้น การที่พนักงานของจำเลยที่ 1 ลงชื่อและประทับตราลงใน ใบขนสินค้าขาออกซึ่งแจ้งราคาสินค้าไว้ด้วย โดยผ่านพิธีการศุลกากร มาแล้วและมิต้องเปิดตรวจสอบให้ตรงกันก่อนเป็นเพียงแสดงว่า ไปรษณียภัณฑ์นั้นผ่านเข้าไปรษณีย์แล้วเท่านั้นและโจทก์มิได้ส่ง เอกสารใบขนสินค้าไว้แก่จำเลยที่ 1 ให้เป็นกิจจะลักษณะจึงถือว่า เป็นการแจ้งราคาไว้แก่จำเลยที่1 แล้วหาได้ไม่ จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับขนพิเศษที่จะต้องแยกไปปฏิบัติและบังคับ ตามกฎหมายและกฎข้อบังคับสำหรับการไปรษณีย์โดยเฉพาะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 จึงนำบทบัญญัติ เรื่องการรับขนของในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้และจะถือว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งมีนิติสัมพันธ์ กับจำเลยที่1 เท่านั้นเป็นผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตามมาตรา 618 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3910/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกอายุความต้องชัดแจ้งเหตุผล ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยหากไม่ระบุเหตุ
โจทก์ฟ้องจำเลยที่1 และที่ 2 ให้ร่วมรับผิดในมูลละเมิดฟ้องจำเลยที่ 3 ให้รับผิดตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนคำให้การจำเลยที่ 3 กล่าวเพียงว่า 'กรณีจะเป็นประการใดก็ตามจำเลยที่3 ขอให้การตัดฟ้องของโจทก์ว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อขาดอายุความตามกฎหมายแล้ว' ไม่ชัดแจ้งว่าคดีขาดอายุความเรื่องอะไรและเพราะเหตุใด จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ย่อมไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องอายุความ แม้ศาลล่าง จะได้วินิจฉัยให้ก็เป็นการนอกประเด็น ถือว่าเป็นข้อที่ มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่าง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3910/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกอายุความต้องชัดเจนในคำให้การ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยหากไม่ระบุรายละเอียด
โจทก์ฟ้องจำเลยที่1และที่2ให้ร่วมรับผิดในมูลละเมิดฟ้องจำเลยที่ 3 ให้รับผิดตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนคำให้การจำเลยที่ 3 กล่าวเพียงว่า 'กรณีจะเป็นประการใดก็ตามจำเลยที่3ขอให้การตัดฟ้องของโจทก์ว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อขาดอายุความตามกฎหมายแล้ว' ไม่ชัดแจ้งว่าคดีขาดอายุความเรื่องอะไรและเพราะเหตุใด. จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ย่อมไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องอายุความ แม้ศาลล่าง จะได้วินิจฉัยให้ก็เป็นการนอกประเด็น ถือว่าเป็นข้อที่ มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่าง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3896/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินหล่นหาย - ไม่มีเจตนาถือครอง - ไม่เป็นความผิดลักทรัพย์
กะหล่ำปลีที่ผู้เสียหายบรรทุกไปในรถยนต์ตกลงไปบนถนนและผู้เสียหายไม่มีเจตนาจะยึดถือกรรมสิทธิ์ในกะหล่ำปลีที่ตกไปบนถนนแล้วเพราะไม่อาจนำไปจำหน่ายได้ ดังนี้ แม้จำเลยเอากะหล่ำปลีนั้นไป ก็ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3838/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับให้จดทะเบียนหย่าหลังทำหนังสือยินยอมตามกฎหมาย
สามีภรรยาทำหนังสือยินยอมหย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยากันไว้ถูกต้องครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1514 ที่ได้ตรวจชำระใหม่แล้วเมื่อสามีไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่าให้ภรรยา ก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องขอให้บังคับสามีไปจดทะเบียนหย่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3838/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคู่สมรสจดทะเบียนหย่าหลังทำหนังสือยินยอมตามกฎหมาย
สามีภรรยาทำหนังสือยินยอมหย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยากัน ไว้ ้ถูกต้องครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1514 ที่ได้ตรวจชำระใหม่แล้วเมื่อสามีไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่าให้ ภรรยาก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องขอให้บังคับสามีไปจดทะเบียนหย่าได้
of 92