คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชลูตม์ สวัสดิทัต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 914 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3719/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบำเหน็จตกทอดของภรรยาเมื่อมีการสมรสซ้อน: การพิจารณาตามกฎหมายและการพิสูจน์สถานะทางกฎหมาย
แม้พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 มาตรา 51 จะบัญญัติหน้าที่ของกระทรวงเจ้าสังกัดจำเลยที่ 1 เพียงรับตรวจสอบเรื่องขอรับบำเหน็จตกทอด นำส่งให้ถึงกระทรวงการคลังและให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาสั่งก็ตามเมื่อกองทัพอากาศจำเลยที่ 1 ได้เสนอความเห็นส่งต่อไปถึงกระทรวงการคลัง ขอให้กันบำเหน็จตกทอดส่วนของภรรยาไว้ เพราะภรรยาคนแรกของผู้ตายยังมิได้ดำเนินการให้ศาลสั่งว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ตายเป็นโมฆะ จนเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้รับเงินบำเหน็จตกทอดส่วนของโจทก์นั้น ถือได้แล้วว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ผู้ตายอยู่กินฉันสามีภรรยากับ ส.ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และยังไม่ขาดจากการสมรส ต่อมาผู้ตายจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ ตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาศาลแสดงว่าการสมรสของโจทก์เป็นโมฆะ จะถือว่าโจทก์ไม่เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายหาได้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิรับบำเหน็จตกทอดส่วนของภรรยา
ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะวินิจฉัยคดีโดยเพียงแต่พิจารณาฟ้องอุทธรณ์คำแก้อุทธรณ์ เอกสารและหลักฐานทั้งปวงในสำนวนความได้ ฉะนั้น แม้ศาลอุทธรณ์จะมีอำนาจพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น แล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ได้แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรที่จะวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่แล้วในสำนวนก็ชอบจะทำได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3719/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับบำเหน็จตกทอดของภรรยาตามกฎหมาย แม้มีการสมรสซ้อน และอำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัย
แม้พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 มาตรา 51 จะบัญญัติหน้าที่ของกระทรวงเจ้าสังกัดจำเลยที่ 1 เพียงรับตรวจสอบเรื่องขอรับบำเหน็จตกทอด นำส่งให้ถึงกระทรวงการคลังและให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาสั่งก็ตามเมื่อกองทัพอากาศจำเลยที่ 1 ได้เสนอความเห็นส่งต่อไปถึงกระทรวงการคลัง ขอให้กันบำเหน็จตกทอดส่วนของภรรยาไว้ เพราะภรรยาคนแรกของผู้ตายยังมิได้ดำเนินการให้ศาลสั่งว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ตายเป็นโมฆะ จนเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้รับเงินบำเหน็จตกทอดส่วนของโจทก์นั้น ถือได้แล้วว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ผู้ตายอยู่กินฉันสามีภรรยากับ ส.ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และยังไม่ขาดจากการสมรสต่อมาผู้ตายจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ ตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาศาลแสดงว่าการสมรสของโจทก์เป็นโมฆะ จะถือว่าโจทก์ไม่เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายหาได้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิรับบำเหน็จตกทอดส่วนของภรรยา ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะวินิจฉัยคดีโดยเพียงแต่พิจารณาฟ้องอุทธรณ์คำแก้อุทธรณ์ เอกสารและหลักฐานทั้งปวงในสำนวนความได้ฉะนั้น แม้ศาลอุทธรณ์จะมีอำนาจพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ได้แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรที่จะวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่แล้วในสำนวนก็ชอบจะทำได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3653/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินและการโอนสิทธิแก่บุคคลภายนอก: ผลของการแจ้งยึดต่อสิทธิของบุคคลภายนอกที่รับซื้อทรัพย์สินก่อนการแจ้งยึด
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยที่ 3 เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2523 ย่อมมีผลต่อจำเลยที่ 3 ตั้งแต่ วันยึด แต่เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดิน ทราบวันที่ 17 เมษายน 2523 ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ได้โอน ขายที่ดินซึ่งถูกยึด ให้แก่ พ. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2523 การยึด ที่ดินดังกล่าวจึงใช้ ยัน พ.ไม่ได้ เมื่อพ. จดทะเบียนขายฝากที่ดิน ให้แก่ผู้ร้อง ในวันเดียวกับที่รับโอน และไม่ไถ่ตามกำหนดผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยที่ดินที่ถูกยึดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3560/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานครอบครองและจำหน่ายกัญชาเป็นความผิดต่างฐาน โจทก์ขอลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงได้
ความผิดฐานมีกัญชาไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่าย และความผิดฐานจำหน่ายกัญชาเป็นความผิดต่างฐานกัน การที่โจทก์แยกฟ้องเป็นข้อ ก. และข้อ ข. ก็เห็นเจตนาของโจทก์ได้ว่าขอให้ลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ย่อมหมายความว่ารับว่าได้กระทำผิดทั้งสองกรรม ซึ่งเป็นความผิดต่างฐานกันตามฟ้อง จึงต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3560/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกฟ้องความผิดฐานครอบครองและจำหน่ายยาเสพติดเป็นกระทงความผิดได้ แม้จำเลยรับสารภาพตามฟ้อง
ความผิดฐานมีกัญชาไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่าย และความผิดฐานจำหน่ายกัญชาเป็นความผิดต่างฐานกัน การที่โจทก์แยกฟ้องเป็นข้อ ก. และข้อ ข. ก็เห็นเจตนาของโจทก์ได้ว่าขอให้ลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ย่อมหมายความว่ารับว่าได้กระทำผิดทั้งสองกรรม ซึ่งเป็นความผิดต่างฐานกันตามฟ้อง จึงต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3328/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาชำระหนี้ในสัญญาเช่าซื้อ หากไม่ถือเป็นสาระสำคัญ ต้องบอกกล่าวทวงถามก่อนบอกเลิกสัญญา
แม้สัญญาเช่าซื้อจะกำหนดว่าจำเลยต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างเป็นรายเดือนภายในวันที่ 1 ของทุก ๆ เดือน แต่ตามที่ปฏิบัติจำเลยมิได้ชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์ในวันที่ 1 ของเดือนเป็นส่วนมาก เห็นได้ว่าโจทก์จำเลยมิได้มีเจตนาที่จะถือเอากำหนดเวลาเป็นสาระสำคัญ ดังนั้น ในงวดต่อมาแม้จำเลยจะไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามวันที่กำหนดไว้ในสัญญาโจทก์ก็จะบอกเลิกสัญญาทันทีไม่ได้ ต้องกำหนดระยะเวลาพอสมควรบอกกล่าวให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อที่ติดค้างอยู่ก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387
จำเลยให้การว่าจำเลยชำระค่าเช่าซื้อทุกงวดให้โจทก์ตลอดมาโดยโจทก์ไม่เคยโต้แย้ง จำเลยไม่เคยผิดสัญญาเช่าซื้อ ดังนั้น การที่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์จำเลยมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นข้อสำคัญ ก็เป็นการวินิจฉัยว่าจำเลยไม่เคยผิดสัญญาเช่าซื้อดังที่จำเลยให้การนั่นเอง จึงหาเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3328/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ต้องบอกกล่าวให้โอกาสชำระหนี้ก่อน หากเจตนาไม่ได้ถือกำหนดเวลาเป็นสาระสำคัญ
แม้สัญญาเช่าซื้อจะกำหนดว่าจำเลยต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างเป็นรายเดือนภายในวันที่ 1 ของทุก ๆ เดือน แต่ตามที่ปฏิบัติจำเลยมิได้ชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์ในวันที่ 1 ของเดือนเป็นส่วนมาก เห็นได้ว่าโจทก์จำเลยมิได้มีเจตนาที่จะถือเอากำหนดเวลาเป็นสาระสำคัญ ดังนั้นในงวดต่อมาแม้จำเลยจะไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามวันที่กำหนดไว้ในสัญญา โจทก์ก็จะบอกเลิกสัญญาทันทีไม่ได้ ต้องกำหนดระยะเวลาพอสมควรบอกกล่าวให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อที่ติดค้างอยู่ก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387
จำเลยให้การว่าจำเลยชำระค่าเช่าซื้อทุกงวดให้โจทก์ตลอดมาโดยโจทก์ไม่เคยโต้แย้ง จำเลยไม่เคยผิดสัญญาเช่าซื้อดังนั้น การที่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์จำเลยมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นข้อสำคัญ ก็เป็นการวินิจฉัยว่าจำเลยไม่เคยผิดสัญญาเช่าซื้อดังที่จำเลยให้การนั่นเองจึงหาเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3298/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีโรงเรือน: อาคารสำนักงานธนาคารพาณิชย์ไม่ได้รับการงดเว้นภาษี แม้มีผู้ดูแลรักษา
แม้ธนาคารโจทก์ใช้อาคารพิพาทเป็นสำนักงานประกอบธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ของโจทก์เองแต่อย่างเดียว หรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษา ก็เพื่อประโยชน์ในการประกอบธุรกิจของโจทก์เอง อาคารพิพาทจึงไม่อยู่ในความหมายของคำว่าโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆซึ่งเจ้าของอยู่เองหรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษา ตามพระราชบัญญัติ ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 10 ไม่ได้รับงดเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือน (ที่มา-เนติ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3031/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาญาต้องได้ตัวจำเลยมาอยู่ในอำนาจศาลก่อนนัดสืบพยาน การนัดสืบพยานก่อนได้ตัวจำเลยเป็นกระบวนการข้ามขั้นตอน
ในคดีอาญา เมื่อศาลไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งประทับฟ้องแล้ว ศาลชอบที่จะต้องออกหมายเรียกหรือหมายจับจำเลยมาแล้วแต่ควรอย่างใดเพื่อให้ได้ตัวจำเลยมาอยู่ในอำนาจศาลเสียก่อนแล้วจึงทำการพิจารณาต่อไป การที่ศาลสั่งกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์โดยยังไม่ได้ตัวจำเลยมาศาล จึงเป็นกระบวนพิจารณาข้ามขั้นตอนของกฎหมาย เมื่อจำเลยไม่มาศาลตามนัด ในวันนั้นก็ไม่มีตัวจำเลยอยู่ในอำนาจศาล วันเวลาที่นัดไว้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นวันเวลานัดสืบพยานโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มาศาลตามวันเวลาดังกล่าวจะถือเป็นเหตุยกฟ้องโดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 ประกอบด้วยมาตรา 181 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3031/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาญาต้องได้ตัวจำเลยก่อนนัดสืบพยาน หากจำเลยไม่มาศาลตามนัด โจทก์ก็ต้องไม่ถูกยกฟ้อง
ในคดีอาญา เมื่อศาลไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งประทับฟ้องแล้วศาลชอบที่จะต้องออกหมายเรียกหรือหมายจับจำเลยมาแล้วแต่ควรอย่างใดเพื่อให้ได้ตัวจำเลยมาอยู่ในอำนาจศาลเสียก่อนแล้วจึงทำการพิจารณาต่อไป การที่ศาลสั่งกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์โดยยังไม่ได้ตัวจำเลยมาศาล จึงเป็นกระบวนพิจารณาข้ามขั้นตอนของกฎหมาย เมื่อจำเลยไม่มาศาลตามนัด ในวันนั้นก็ไม่มีตัวจำเลยอยู่ในอำนาจศาลวันเวลาที่นัดไว้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นวันเวลานัดสืบพยานโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มาศาลตามวันเวลาดังกล่าวจะถือเป็นเหตุยกฟ้องโดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา166 ประกอบด้วยมาตรา 181 หาได้ไม่
of 92