คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชลูตม์ สวัสดิทัต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 914 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 621/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่เกิดจากการฉ้อฉล หากไม่ฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่รู้เหตุ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ทั้ง มาตรา 237 และมาตรา 1300 แต่ขณะที่จำเลยรับโอนที่ดินแปลงพิพาทจาก ล. ศาลยังมิได้พิพากษาให้ ล. โอนที่ดินดังกล่าวคืนให้โจทก์ โจทก์จึงมิใช่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม มาตรา 1300 คดีของโจทก์ต้องด้วย มาตรา 237 ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่เวลาที่เจ้าหนี้ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนหรือพ้นสิบปีนังแต่ได้ทำนิติกรรมนั้น
ล. โอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2520 โจทก์ยื่นฟ้อง ล. และจำเลยเป็นคดีอาญาว่าร่วมกันฉ้อโกงโจทก์เกี่ยวกับที่ดินแปลงพิพาทเมื่อ วันที่ 30 พฤษภาคม 2520 เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่พิพาทระหว่าง ล. กับจำเลยภายในหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน คดีของโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรื่องความไม่สุจริตในการซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาด ศาลรับฟ้องได้ เพราะเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์อ้างว่าได้มาโดยซื้อจากการขายทอดตลาดของศาลในคดีหนึ่ง จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทครึ่งหนึ่งตามคำพิพากษาฎีกาที่ได้พิพากษาในคดีที่โจทก์อ้าง และโจทก์ไม่สุจริตซื้อที่ดินพิพาททั้ง ๆ ที่ทราบว่าจำเลยครอบครองเป็นส่วนสัดมาเป็นเวลาร่วม 20 ปี จึงฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลย ดังนี้ เป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมโดยตรง เพราะเป็นเรื่องที่จำเลยกล่าวอ้างถึงความไม่สุจริตของโจทก์ในการซื้อที่ดินพิพาท อันจะทำให้โจทก์ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. ม.1330 จึงชอบที่ศาลจะรับฟ้องแย้งไว้พิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีมันเนย: การตีความ 'เนย' ตาม พ.ร.ก. และหน้าที่ในการยื่นรายการภาษีที่ถูกต้อง
การที่พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ฯ(ฉบับที่ 28)พ.ศ.2511 และ (ฉบับที่ 57) พ.ศ.2518 นำคำว่า'นอกจากมันเนย' ไปต่อท้ายคำว่า'เนย' แสดงว่าพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามประมวลรัษฎากรถือว่า 'เนย' มีความหมายถึง'มันเนย' ด้วย จึงกำหนดข้อยกเว้นไว้ในพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ประสงค์จะเก็บภาษีการค้าสำหรับมันเนยในอัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับฉะนั้นโจทก์นำสินค้ามันเนยเข้ามาในราชอาณาจักรช่วงเวลาที่พระราชกฤษฎีกา ฯ (ฉบับที่43) พ.ศ.2516 ซึ่งไม่ได้กำหนดยกเว้นสำหรับสินค้ามันเนยไว้บังคับโจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าร้อยละ 7 ของรายรับ
โจทก์ผู้นำเข้ามีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องยื่นแสดงรายการค้าเพื่อเสียภาษีให้ถูกต้อง เมื่อโจทก์ยื่นแสดงรายการค้าเพื่อเสียภาษีไม่ถูกต้องหรือผิดพลาด ทำให้จำนวนที่ต้องเสียภาษีคลาดเคลื่อน เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจเรียก ให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89,89 ทวิ
การที่โจทก์เสียภาษีนำสินค้าผ่านพิธีการศุลกากร โดยสำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการค้าแล้วมิได้หมายความว่าโจทก์ได้ชำระภาษีการค้าตามใบแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินโดยถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏแก่เจ้าพนักงานประเมินในภายหลังว่าโจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้อง โจทก์ก็หาพ้นจากหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำว่า 'เนย' ในพระราชกฤษฎีกาภาษีอากร และหน้าที่ในการชำระภาษีที่ถูกต้อง
การที่พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ฯ(ฉบับที่ 28)พ.ศ.2511 และ (ฉบับที่ 57) พ.ศ.2518 นำคำว่า "นอกจากมันเนย" ไปต่อท้ายคำว่า "เนย" แสดงว่าพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามประมวลรัษฎากรถือว่า "เนย" มีความหมายถึง "มันเนย" ด้วย จึงกำหนดข้อยกเว้นไว้ในพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ประสงค์จะเก็บภาษีการค้าสำหรับมันเนยในอัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับ ฉะนั้นโจทก์นำสินค้ามันเนยเข้ามาในราชอาณาจักรช่วงเวลาที่พระราชกฤษฎีกา ฯ (ฉบับที่43) พ.ศ.2516 ซึ่งไม่ได้กำหนดยกเว้นสำหรับสินค้ามันเนยไว้บังคับ โจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าร้อยละ 7 ของรายรับ
โจทก์ผู้นำเข้ามีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องยื่นแสดงรายการค้าเพื่อเสียภาษีให้ถูกต้อง เมื่อโจทก์ยื่นแสดงรายการค้าเพื่อเสียภาษีไม่ถูกต้องหรือผิดพลาด ทำให้จำนวนที่ต้องเสียภาษีคลาดเคลื่อน เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจเรียก ให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89, 89 ทวิ
การที่โจทก์เสียภาษีนำสินค้าผ่านพิธีการศุลกากร โดยสำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการค้าแล้ว มิได้หมายความว่าโจทก์ได้ชำระภาษีการค้าตามใบแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินโดยถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏแก่เจ้าพนักงานประเมินในภายหลังว่าโจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้อง โจทก์ก็หาพ้นจากหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบในคดีแพ่ง: โจทก์มีหน้าที่นำสืบข้ออ้างก่อน หากจำเลยปฏิเสธ
จำเลยให้การตอนแรกปฏิเสธว่าสามีจำเลยไม่เคยกู้ยืมเงินโจทก์สัญญากู้ยืมโจทก์ทำปลอมขึ้น เท่ากับจำเลยปฏิเสธว่าไม่มีมูลหนี้ที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์ เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าสามีจำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินไป โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงตามที่กล่าวอ้าง
จำเลยให้การตอนหลังว่าสามีตนเคยลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมซึ่งไม่ได้กรอกข้อความให้โจทก์ยึดถือไว้เพื่อเป็นประกันการชำระค่าเช่านา จะเป็นฉบับเดียวกับสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องหรือไม่ จำเลยไม่ได้ให้การยอมรับ และตอนสุดท้ายก็ยืนยันว่าสัญญานี้เป็นเอกสารปลอม เพราะลายมือชื่อในช่องผู้กู้ไม่ใช่ลายมือชื่อของสามีจำเลย คำให้การเช่นนี้มีประเด็นที่จำเลยจำนำสืบได้
เมื่อหน้าที่นำสืบตกอยู่แก่ฝ่ายโจทก์ การจะให้จำเลยนำสืบอาจเป็นเหตุให้จำเลยเสียเปรียบได้. เมื่อจำเลยไม่นำพยานเข้าสืบก่อนตามคำสั่งศาลชั้นต้นจึงจะถือว่าจำเลยไม่ประสงค์สืบพยานหาได้ไม่ เพราะจำเลยได้คัดค้านไว้แล้ว และเมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จจำเลยก็แถลงขอสืบพยานแต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา กรณีมีเหตุสมควรให้พิจารณาคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบในคดีแพ่ง: โจทก์กล่าวอ้างต้องนำสืบก่อน การให้จำเลยนำสืบก่อนอาจเสียเปรียบ
จำเลยให้การตอนแรกปฏิเสธว่าสามีจำเลยไม่เคยกู้ยืมเงิน โจทก์สัญญากู้ยืมโจทก์ทำปลอมขึ้น เท่ากับจำเลยปฏิเสธว่าไม่มีมูลหนี้ที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์ เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าสามีจำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินไป โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงตามที่กล่าวอ้าง
จำเลยให้การตอนหลังว่าสามีตนเคยลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมซึ่งไม่ได้กรอกข้อความให้โจทก์ยึดถือไว้เพื่อเป็นประกันการชำระค่าเช่านา จะเป็นฉบับเดียวกับสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องหรือไม่ จำเลยไม่ได้ให้การยอมรับ และตอนสุดท้ายก็ยืนยันว่าสัญญานี้เป็นเอกสารปลอม เพราะลายมือชื่อในช่องผู้กู้ไม่ใช่ลายมือชื่อของสามีจำเลย คำให้การเช่นนี้มีประเด็นที่จำเลยจำนำสืบได้
เมื่อหน้าที่นำสืบตกอยู่แก่ฝ่ายโจทก์ การจะให้จำเลยนำสืบอาจเป็นเหตุให้จำเลยเสียเปรียบได้. เมื่อจำเลยไม่นำพยานเข้าสืบก่อนตามคำสั่งศาลชั้นต้นจึงจะถือว่าจำเลยไม่ประสงค์สืบพยานหาได้ไม่ เพราะจำเลยได้คัดค้านไว้แล้ว และเมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จจำเลยก็แถลงขอสืบพยานแต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณากรณีมีเหตุสมควรให้พิจารณาคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 314-316/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความครอบครองที่ดิน: ที่บ้านที่สวน vs. ที่ดินมือเปล่า, การรบกวนการครอบครอง และผลของการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน
การแย่งการครอบครองที่บ้าน ที่สวน ที่ต้องใช้อายุความ9 ปี 10 ปี ตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ บทที่ 42 นั้น ต้องได้ความว่ามีสภาพเป็นที่บ้านที่สวนมาก่อนประกาศใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ถ้าไม่ปรากฏว่าเป็นที่บ้านที่สวนมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 แล้ว ก็ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 อันว่าด้วยที่ดินมือเปล่าซึ่งผู้ยึดถือมีแต่สิทธิครอบครอง
การร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนนั้น ไม่ทำให้การครอบครองที่ดินสะดุดหยุดลง เพราะมิใช่เป็นการฟ้องคดีต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีที่มิชอบ เมื่อเอกสารสำคัญสูญหายจากการยึดของหน่วยงานอื่น โจทก์ไม่ต้องรับผิด
โจทก์ไม่สามารถนำเอกสารตามหมายเรียกไปมอบให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนโดยมิใช่เพราะความผิดของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์จงใจขัดขืนหรือหลีกเลี่ยงไม่นำเอกสารมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินให้โจทก์เสียภาษีในอัตราร้อยละ 2 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย ตามมาตรา 71(1) และแม้โจทก์จะให้ความยินยอมในการประเมิน ดังกล่าวก็หาทำให้การประเมินซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับกลายเป็นการประเมินที่ชอบไปแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อเอกสารสูญหายระหว่างถูกยึด เจ้าของภาษีไม่ต้องรับภาระ
โจทก์ไม่สามารถนำเอกสารตามหมายเรียกไปมอบให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนโดยมิใช่เพราะความผิดของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์จงใจขัดขืนหรือหลีกเลี่ยงไม่นำเอกสารมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินให้โจทก์เสียภาษีในอัตราร้อยละ 2 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายตามมาตรา 71(1) และแม้โจทก์จะให้ความยินยอมในการประเมินดังกล่าวก็หาทำให้การประเมินซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับกลายเป็น การประเมินที่ชอบไปแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 284/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเช็คไม่ตัดสิทธิผู้ค้ำประกันตามสัญญากู้ยืมและค้ำประกัน ศาลต้องวินิจฉัยมูลหนี้หลัก
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กู้เงินไป 700,000 บาทจำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 1 นำ เช็คของลูกค้า 6 ฉบับเป็นเงิน 242,239 บาท มาชำระหนี้ โจทก์นำไปชำระหนี้แก่ ธ.ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ธ. นำเช็คมาคืน โจทก์ได้ชำระเงินตามเช็คทั้ง 6 ฉบับไปแล้ว จำเลยที่ 1 ยังเป็นหนี้โจทก์อยู่ 242,239 บาท ดังนี้ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ ดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องโดยอาศัยมูลหนี้ ตามสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกัน ส่วนที่โจทก์บรรยายถึง เช็ค 6 ฉบับมาด้วย ก็เพื่อแสดงให้เห็นพฤติการณ์ที่จำเลย ที่ 1 นำเช็คมาชำระหนี้เงินกู้ยืมแล้วโจทก์ยังไม่ได้รับเงินเท่านั้น ฉะนั้นการวินิจฉัยว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ จึงต้องวินิจฉัยตามมูลหนี้ที่โจทก์ฟ้อง คือสัญญากู้ยืม และค้ำประกันจะนำอายุความเรื่องเช็คมาวินิจฉัยว่าคดีของ โจทก์ขาดอายุความไม่ได้ เพราะเป็นการนอกประเด็นตามคำฟ้อง
สัญญาค้ำประกันที่ค้ำประกันรวมถึงหนี้ในอนาคตด้วยนั้น มีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 681
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยโดยมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ เป็นการผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
of 92