พบผลลัพธ์ทั้งหมด 914 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 284/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันรวมถึงหนี้ในอนาคต สิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันต้องพิจารณาร่วมกัน แม้เช็คขาดอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กู้เงินไป 700,000 บาท จำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 1 นำ เช็คของลูกค้า 6 ฉบับเป็นเงิน 242,239 บาท มาชำระหนี้ โจทก์นำไปชำระหนี้แก่ ธ. ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ธ. นำเช็คมาคืน โจทก์ได้ชำระเงินตามเช็คทั้ง 6 ฉบับไปแล้ว จำเลยที่ 1 ยังเป็นหนี้โจทก์อยู่ 242,239 บาท ดังนี้ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ ดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันส่วนที่โจทก์บรรยายถึงเช็ค 6 ฉบับมาด้วย ก็เพื่อแสดงให้เห็นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 นำเช็คมาชำระหนี้เงินกู้ยืมแล้วโจทก์ยังไม่ได้รับเงินเท่านั้น ฉะนั้นการวินิจฉัยว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ จึงต้องวินิจฉัยตามมูลหนี้ที่โจทก์ฟ้อง คือสัญญากู้ยืมและค้ำประกันจะนำอายุความเรื่องเช็คมาวินิจฉัยว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความไม่ได้ เพราะเป็นการนอกประเด็นตามคำฟ้อง
สัญญาค้ำประกันที่ค้ำประกันรวมถึงหนี้ในอนาคตด้วยนั้น มีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 681
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยโดยมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ เป็นการผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
สัญญาค้ำประกันที่ค้ำประกันรวมถึงหนี้ในอนาคตด้วยนั้น มีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 681
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยโดยมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ เป็นการผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 257/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหลังศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลล่าง: มาตรา 218 ว.พ.ก.ค.
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นโดยลงโทษปรับจำเลย 2,000 บาท และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลยมีกำหนด 5 ปีนั้น คู่ความจะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากสัญญาซื้อขายหุ้น: 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 และประเด็นเอกสารไม่ติดอากรแสตมป์
การที่จำเลยรับเงินค่าซื้อหุ้นไว้จากสามีโจทก์ เป็นการรับไว้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ กรณีจึงไม่เป็นเรื่องลาภมิควรได้ โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืน เป็นเรื่องฟ้องเรียกทรัพย์คืน ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องอยู่ในบังคับแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คือมีอายุความ 10 ปี
ข้อที่จำเลยให้การไว้ เมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ และจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้าน ถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อต่อสู้นั้นแล้ว จึงเป็นปัญหาที่มิได้ว่ากันมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ข้อที่จำเลยให้การไว้ เมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ และจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้าน ถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อต่อสู้นั้นแล้ว จึงเป็นปัญหาที่มิได้ว่ากันมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากการซื้อขายหุ้น และการใช้เอกสารหลักฐานที่ไม่ติดอากรแสตมป์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ตกลงขายหุ้นของบริษัท อ. ให้แก่สามีโจทก์ แต่จำเลยไม่โอนหุ้นที่ตกลงซื้อขายให้แก่สามีโจทก์จนกระทั่งสามีโจทก์ได้ถึงแก่กรรม โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของสามีไม่ประสงค์จะซื้อหุ้นดังกล่าวอีก ทั้งการซื้อขายหุ้นมิได้ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นโมฆะ โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาซื้อขายหุ้นแล้ว ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินค่าซื้อหุ้นแก่โจทก์ ดังนี้เป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 และกรณีไม่ใช่ลาภมิควรได้เพราะการที่จำเลยรับเงินค่าซื้อหุ้นไว้จากสามีโจทก์เป็นการรับไว้ โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ จึงนำกำหนดอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 มาใช้แก่คดีนี้ไม่ได้
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 206 ลงวันที่ 15 กันยายน 2519 ข้อ 19 มิได้กำหนดให้ใบรับเงินค่าซื้อหุ้นบริษัทต้องปิดอากรแสตมป์ ดังนั้น ใบรับเงินค่าซื้อหุ้นแม้มิได้ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้
ข้อที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้ แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาท และจำเลยก็มิได้โต้แย้งคัดค้าน ถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อนี้แล้ว จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 206 ลงวันที่ 15 กันยายน 2519 ข้อ 19 มิได้กำหนดให้ใบรับเงินค่าซื้อหุ้นบริษัทต้องปิดอากรแสตมป์ ดังนั้น ใบรับเงินค่าซื้อหุ้นแม้มิได้ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้
ข้อที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้ แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาท และจำเลยก็มิได้โต้แย้งคัดค้าน ถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อนี้แล้ว จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 197/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร: ความสมัครใจของผู้เสียหายและการแสดงเจตนาเป็นภรรยา
จำเลยไม่เคยมีภรรยา ได้รักใคร่ชอบพอกับผู้เสียหายผู้เสียหายหนีบิดามาอยู่กับจำเลยโดยสมัครใจเป็นเวลาประมาณ6 เดือน แล้วจึงกลับไปอยู่กับบิดาเนื่องจากถูกมารดาจำเลยขับไล่มิใช่เพราะถูกจำเลยทอดทิ้ง หลังจากนั้นบิดาผู้เสียหายไปแจ้งความดำเนินคดีกับจำเลยข้อหาพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร จำเลยส่งญาติผู้ใหญ่ไปทำพิธีขอขมา บิดาผู้เสียหายยอมรับการขอขมาและยอมรับว่าจำเลยเป็นบุตรเขย จำเลยอยู่บ้านผู้เสียหายหนึ่งคืนแล้วออกจากบ้านผู้เสียหายไปทำนาที่จังหวัดนครปฐมและไม่กลับไปหาผู้เสียหายอีกเลย ผู้เสียหายเองก็ไม่ต้องการกลับไปอยู่กินกับจำเลยที่บ้านของจำเลย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยพาผู้เสียหายไปเพื่อเป็นภรรยาหาใช่เพื่อการอนาจารไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 152/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าตลอดชีพไม่จดทะเบียนมีผลบังคับใช้ได้ 3 ปี การฟ้องขับไล่ก่อนครบกำหนดไม่มีอำนาจฟ้อง
เอกสารหมาย ล.2 มีข้อความว่า โจทก์ได้ให้จำเลยเช่าเคหะช่วงล่างตึกสามชั้นตึกเลขที่611/1ถนนเทอดไทตำบลบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ ให้อยู่ตลอดชีพ จึงได้ทำสัญญาไว้เป็นหลักฐาน แล้วลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้เช่าเอกสารดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าเป็นตราสารตามความหมายในประมวลรัษฎากร คงเป็นเพียงหลักฐานการเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 อย่างหนึ่งเท่านั้น แม้ไม่ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยอ้างว่าจำเลยอาศัย หากทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยเช่า ก็ไม่เป็นเหตุยกฟ้องเพราะการอาศัยหรือการเช่าเป็นการกล่าวอ้างถึงมูลเดิมว่าจำเลยเข้าอยู่ในตึกพิพาทได้อย่างไรเท่านั้น ไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี ศาลต้องวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในที่พิพาทต่อไปหรือไม่
โจทก์ตกลงให้จำเลยเช่าตึกพิพาทตลอดอายุของจำเลย แต่การเช่ารายนี้ไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ฉะนั้น จำเลยจึงมีสิทธิบังคับโจทก์ให้จำเลยเช่าตึกพิพาทได้มีกำหนด 3 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยก่อนครบกำหนด 3ปี
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยอ้างว่าจำเลยอาศัย หากทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยเช่า ก็ไม่เป็นเหตุยกฟ้องเพราะการอาศัยหรือการเช่าเป็นการกล่าวอ้างถึงมูลเดิมว่าจำเลยเข้าอยู่ในตึกพิพาทได้อย่างไรเท่านั้น ไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี ศาลต้องวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในที่พิพาทต่อไปหรือไม่
โจทก์ตกลงให้จำเลยเช่าตึกพิพาทตลอดอายุของจำเลย แต่การเช่ารายนี้ไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ฉะนั้น จำเลยจึงมีสิทธิบังคับโจทก์ให้จำเลยเช่าตึกพิพาทได้มีกำหนด 3 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยก่อนครบกำหนด 3ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 152/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าตลอดชีพที่ไม่ได้จดทะเบียน มีผลเป็นสัญญาเช่าระยะเวลา 3 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ
เอกสารหมาย ล.2 มีข้อความว่า โจทก์ได้ให้จำเลยเช่าเคหะช่วงล่างตึกสามชั้น ตึกเลขที่ 611/1 ถนนเทอดไท ตำบลบางยี่เรือเขตธนบุรี กรุงเทพฯ ให้อยู่ตลอดชีพ จึงได้ทำสัญญาไว้เป็นหลักฐาน แล้วลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้เช่าเอกสารดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าเป็นตราสารตามความหมายในประมวลรัษฎากร คงเป็นเพียงหลักฐานการเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 538 อย่างหนึ่งเท่านั้น แม้ไม่ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยอ้างว่าจำเลยอาศัย หากทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยเช่า ก็ไม่เป็นเหตุยกฟ้องเพราะการอาศัยหรือการเช่าเป็นการกล่าวอ้างถึงมูลเดิมว่าจำเลยเข้าอยู่ในตึกพิพาทได้อย่างไรเท่านั้น ไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี ศาลต้องวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในที่พิพาทต่อไปหรือไม่
โจทก์ตกลงให้จำเลยเช่าตึกพิพาทตลอดอายุของจำเลย แต่การเช่ารายนี้ไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ฉะนั้น จำเลยจึงมีสิทธิบังคับโจทก์ให้จำเลยเช่าตึกพิพาทได้มีกำหนด 3 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยก่อนครบกำหนด 3 ปี
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยอ้างว่าจำเลยอาศัย หากทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยเช่า ก็ไม่เป็นเหตุยกฟ้องเพราะการอาศัยหรือการเช่าเป็นการกล่าวอ้างถึงมูลเดิมว่าจำเลยเข้าอยู่ในตึกพิพาทได้อย่างไรเท่านั้น ไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี ศาลต้องวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในที่พิพาทต่อไปหรือไม่
โจทก์ตกลงให้จำเลยเช่าตึกพิพาทตลอดอายุของจำเลย แต่การเช่ารายนี้ไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ฉะนั้น จำเลยจึงมีสิทธิบังคับโจทก์ให้จำเลยเช่าตึกพิพาทได้มีกำหนด 3 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยก่อนครบกำหนด 3 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่ & นิติกรรมอำพราง: ผู้ให้เช่าไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ สัญญาเช่าไม่เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาไถ่
ผู้ให้เช่าหาจำต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ให้เช่าเสมอไปไม่ เมื่อจำเลยทำสัญญาเช่าบ้านและที่ดินกับโจทก์ แล้วจำเลยผิดสัญญา โจทก์บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้ จำเลยจะยกเหตุที่โจทก์ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ที่ให้เช่ามาเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้
ทรัพย์ที่โจทก์ให้เช่าเป็นของบุตรโจทก์ การฟ้องขับไล่จำเลยจึงไม่ใช่เป็นการจัดการสินสมรสของโจทก์กับสามีอันจะต้องทำร่วมกันตามป.พ.พ. ม.1476
กรณีจะเป็นนิติกรรมอำพรางได้จะต้องปรากฏว่า นิติกรรมที่อำพรางและนิติกรรมที่ถูกอำพรางคู่กรณีจะต้องเป็นบุคคลเดียวกันและต้องทำขึ้นในคราวเดียวกัน จำเลยนำที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไปขายฝากโจทก์ร่วมโดยโจทก์เป็นผู้ลงชื่อรับซื้อฝากแทนโจทก์ร่วมต่อมาจำเลยไม่ได้ไถ่ภายในกำหนด ทรัพย์ดังกล่าวจึงเป็นของโจทก์ร่วมต่อมาจำเลยทำสัญญาเช่าจากโจทก์ สัญญาเช่านี้มิได้เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาไถ่ทรัพย์คืน แต่เป็นนิติกรรมที่โจทก์จำเลยมีเจตนาให้มีผลบังคับกันโดยแท้จริง มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
ทรัพย์ที่โจทก์ให้เช่าเป็นของบุตรโจทก์ การฟ้องขับไล่จำเลยจึงไม่ใช่เป็นการจัดการสินสมรสของโจทก์กับสามีอันจะต้องทำร่วมกันตามป.พ.พ. ม.1476
กรณีจะเป็นนิติกรรมอำพรางได้จะต้องปรากฏว่า นิติกรรมที่อำพรางและนิติกรรมที่ถูกอำพรางคู่กรณีจะต้องเป็นบุคคลเดียวกันและต้องทำขึ้นในคราวเดียวกัน จำเลยนำที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไปขายฝากโจทก์ร่วมโดยโจทก์เป็นผู้ลงชื่อรับซื้อฝากแทนโจทก์ร่วมต่อมาจำเลยไม่ได้ไถ่ภายในกำหนด ทรัพย์ดังกล่าวจึงเป็นของโจทก์ร่วมต่อมาจำเลยทำสัญญาเช่าจากโจทก์ สัญญาเช่านี้มิได้เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาไถ่ทรัพย์คืน แต่เป็นนิติกรรมที่โจทก์จำเลยมีเจตนาให้มีผลบังคับกันโดยแท้จริง มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 70/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยึดสัญญาคู่ฉบับ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ ถือเป็นความผิดฐานยักยอกเอกสาร
สัญญากู้ยืมเงินคู่ฉบับเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินระหว่างผู้เสียหายกับจำเลย จำเลยเอาไปดูแล้วไม่ยอมคืนให้ผู้เสียหาย ทั้งกลับปฏิเสธอ้างว่าผู้เสียหายคืนให้จำเลยเพราะจำเลยชำระหนี้แล้ว ดังนี้ จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกลับไปวิวาทพร้อมอาวุธ ไม่เป็นการป้องกันตัว
จำเลยโต้เถียงกับผู้ตายแล้วกลับบ้านไปนำปืนติดตัวมาหาผู้ตายอีก แสดงว่าจำเลยสมัครใจที่จะกลับไปวิวาทกับผู้ตาย เพราะจำเลยมีทางหลีกเลี่ยงไม่กลับไปพบผู้ตายได้แต่ก็ไม่กระทำ เมื่อผู้ตายเตะจำเลย จำเลยก็ยิงผู้ตายทันที การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการป้องกันตัว