คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชลูตม์ สวัสดิทัต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 914 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3016/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินรัฐจัดสรรยังไม่เป็นสิทธิสมบูรณ์ โจทก์ซื้อต่อไม่มีสิทธิฟ้องบุกรุก
ที่ดินของรัฐซึ่งเดิมเป็นที่รกร้างว่างเปล่า อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1304(1) แม้ทางราชการจะนำมาจัดสรรให้ราษฎรเข้าทำกินจ. เป็นผู้จับสลากได้ตามระเบียบว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อประชาชนที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20(6),27,33 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินแต่จะยังมิได้รับใบจอง เพียงแต่นำหลักไปปักเป็นเขตไว้โดยมิได้ทำประโยชน์อะไร จ. หาได้ที่ดินเป็นสิทธิของตนโดยสมบูรณ์ไม่ ที่ดินแปลงนี้ยังเป็นที่ดินของรัฐและอธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจสั่งให้ จ. ออกจากที่ดิน ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 32 ได้ จ. ไม่มีสิทธิที่จะโอนขายให้แก่โจทก์ แม้โจทก์ได้รับโอนไว้และครอบครองมาโจทก์ก็หาเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานบุกรุกได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3016/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินรัฐจัดสรร: สิทธิไม่สมบูรณ์, โอนขายไม่ได้, ฟ้องบุกรุกไม่ได้
ที่ดินของรัฐซึ่งเดิมเป็นที่รกร้างว่างเปล่า อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1304(1) แม้ทางราชการจะนำมาจัดสรรให้ราษฎรเข้าทำกินจ. เป็นผู้จับสลากได้ตามระเบียบว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อประชาชนที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20(6), 27, 33 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินแต่จะยังมิได้รับใบจอง เพียงแต่นำหลักไปปักเป็นเขตไว้โดยมิได้ทำประโยชน์อะไร จ. หาได้ที่ดินเป็นสิทธิของตนโดยสมบูรณ์ไม่ ที่ดินแปลงนี้ยังเป็นที่ดินของรัฐและอธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจสั่งให้ จ. ออกจากที่ดิน ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 32 ได้ จ. ไม่มีสิทธิที่จะโอนขายให้แก่โจทก์ แม้โจทก์ได้รับโอนไว้และครอบครองมาโจทก์ก็หาเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานบุกรุกได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2939/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลเมื่อทราบราคาสินค้า ผู้ส่งมีหน้าที่แจ้งราคา
ผู้ขนส่งต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าซึ่งเป็นของมีค่า ในเมื่อผู้ส่งได้แจ้งราคาของสินค้านั้นแก่ผู้ขนส่งแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2936/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้อง, การรับฟังพยาน และการใช้ข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาคดีอาญาในคดีแพ่ง
บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างปฏิบัติในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 โดยขับขี่รถยนต์คันหมายเลขทะเบียนที่ระบุ ซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของผู้ครอบครอง ดังนี้ เป็นข้อความที่บรรยายถึงความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 ว่าเป็นลูกจ้างนายจ้างกัน และขับรถในทางการที่จ้าง
กรมธรรม์ประกันภัยเป็นพยานหลักฐานสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดี แม้โจทก์จะไม่ได้ส่งสำเนาให้จำเลยก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วันศาลก็รับฟังเอกสารนี้ได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 มิได้บัญญัติข้อยกเว้นไว้ว่า ในการพิจารณาคดีส่วนแพ่ง ถ้าปรากฏข้อเท็จจริงเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ศาลไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2926-2929/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการพิจารณาคดีไม่ชอบ ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ และการนำสืบไม่เกินขอบเขตคำฟ้อง
จำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การวันนัดพร้อมจำเลยที่ 2 มิได้มาศาลศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ไม่เคยแจ้งวันนัดให้จำเลยที่ 2 ทราบเลย ดังนี้ กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 นับตั้งแต่วันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกและภายหลังแต่นั้นมาไม่ชอบ และไม่มีผลผูกพัน จำเลยที่ 2 ต้องยกคำพิพากษาของศาลล่าง ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า อ. ลูกจ้างของจำเลยขับรถยนต์บรรทุกโดยประมาทล้ำเข้ามาในช่องทางเดินรถด้านขวาด้วยความเร็วสูง เป็นเหตุให้ชนกับรถยนต์นั่ง ทำให้สามีโจทก์ที่ 1 ตาย โจทก์ที่ 2 บาดเจ็บสาหัส ดังนี้ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว การที่โจทก์นำสืบว่า อ. ขับรถยนต์บรรทุกแซงรถยนต์บรรทุกคันอื่นขึ้นมาเฉี่ยวชนกับรถฝ่ายโจทก์ เป็นการนำสืบถึงรายละเอียด ไม่เป็นการนำสืบนอกคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2881-2882/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองความถูกต้องของประกาศกรมศิลปากรเรื่องโบราณสถาน
สำเนาเอกสารเป็นประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดจำนวนและขอบเขตโบราณสถาน ได้มีการลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ศาลจึงรับฟังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2791-2792/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของตัวแทน, หนังสือมอบอำนาจ, สัญญาซื้อขาย, การบอกเลิกสัญญา, ค่าบำเหน็จนายหน้า
นิติบุคคลที่จะเป็นตัวแทนฟ้องความแทนผู้อื่นตามที่ได้รับมอบอำนาจไม่จำต้องมีวัตถุประสงค์เป็นตัวแทนฟ้องความอีกต่างหากถ้าเรื่องที่เป็นความอยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้น(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 263/2503)
หนังสือมอบอำนาจทำขึ้นในต่างประเทศ มีการรับรองโดยเจ้าหน้าที่ศาลแห่งเมืองนั้นโดยมีสถานกงสุลไทยรับรองมาอีกชั้นหนึ่งว่าตราที่ประทับในหนังสือมอบอำนาจเป็นตราที่ถูกต้องของศาลชั้นสูงใบมอบอำนาจนี้ถือว่าถูกต้องตามกฎหมายของประเทศนั้น จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
โจทก์และจำเลยมีเจตนาจะให้วัตถุประสงค์แห่งสัญญาซื้อขายเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยก็ชอบที่จะบอกเลิกสัญญาเสียได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อนตามมาตรา 387 แต่เมื่อจำเลยมิได้บอกเลิกสัญญากลับขอให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาต่อไปโดยไม่ถือว่าโจทก์ผิดสัญญา ถือว่าจำเลยและโจทก์มิได้ถือเอากำหนดเวลาเป็นสาระสำคัญต่อไป ต่อมาจำเลยจะบอกเลิกสัญญากับโจทก์ทันทีไม่ได้ต้องกำหนดระยะเวลาพอสมควรบอกกล่าวให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาก่อน เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ จำเลยจึงบอกเลิกสัญญาได้
เมื่อโจทก์ที่ 2 ได้ชี้ช่องให้โจทก์ที่ 1 และจำเลยได้ทำสัญญากันเสร็จจำเลยก็ต้องรับผิดใช้ค่าบำเหน็จให้แก่โจทก์ที่ 2 ตามที่จำเลยกับโจทก์ที่ 2 ได้ตกลงกันไว้โดยไม่ต้องคำนึงว่าคู่สัญญาจะได้ปฏิบัติตามสัญญานั้นในเวลาต่อไปหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2791-2792/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของตัวแทน, หนังสือมอบอำนาจ, สัญญาซื้อขาย, การบอกเลิกสัญญา, ค่าบำเหน็จนายหน้า
นิติบุคคลที่จะเป็นตัวแทนฟ้องความแทนผู้อื่นตามที่ได้รับมอบอำนาจไม่จำต้องมีวัตถุประสงค์เป็นตัวแทนฟ้องความอีกต่างหากถ้าเรื่องที่เป็นความอยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้น (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 263/2503)
หนังสือมอบอำนาจทำขึ้นในต่างประเทศ มีการรับรองโดยเจ้าหน้าที่ศาลแห่งเมืองนั้นโดยมีสถานกงสุลไทยรับรองมาอีกชั้นหนึ่งว่าตราที่ประทับในหนังสือมอบอำนาจเป็นตราที่ถูกต้องของศาลชั้นสูงใบมอบอำนาจนี้ถือว่าถูกต้องตามกฎหมายของประเทศนั้น จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
โจทก์และจำเลยมีเจตนาจะให้วัตถุประสงค์แห่งสัญญาซื้อขายเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยก็ชอบที่จะบอกเลิกสัญญาเสียได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อนตามมาตรา 387 แต่เมื่อจำเลยมิได้บอกเลิกสัญญากลับขอให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาต่อไปโดยไม่ถือว่าโจทก์ผิดสัญญาถือว่าจำเลยและโจทก์มิได้ถือเอากำหนดเวลาเป็นสาระสำคัญต่อไปต่อมาจำเลยจะบอกเลิกสัญญากับโจทก์ทันทีไม่ได้ต้องกำหนดระยะเวลาพอสมควรบอกกล่าวให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาก่อนเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ จำเลยจึงบอกเลิกสัญญาได้
เมื่อโจทก์ที่ 2 ได้ชี้ช่องให้โจทก์ที่ 1 และจำเลยได้ทำสัญญากันเสร็จจำเลยก็ต้องรับผิดใช้ค่าบำเหน็จให้แก่โจทก์ที่ 2 ตามที่จำเลยกับโจทก์ที่ 2 ได้ตกลงกันไว้โดยไม่ต้องคำนึงว่าคู่สัญญาจะได้ปฏิบัติตามสัญญานั้นในเวลาต่อไปหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2668/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การขับรถเร็วเกินกว่าวิสัยและการป้องกันได้
จำเลยขับรถมาด้วยความเร็วสูง เมื่อเฉี่ยวชนท้ายรถคันหนึ่งแล้วก็ไม่สามารถหยุดได้ทันท่วงทีก่อนที่จะแล่นไปไปชนท้ายรถโจทก์ ซึ่งอยู่ห่างจุดที่รถเฉี่ยวชนประมาณ 25 เมตร กรณีเป็นเรื่องที่อาจป้องกันได้ถ้าจำเลยไม่ขับรถเร็วจนเกินไป ไม่เป็นเหตุสุดวิสัยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 8 จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม มาตรา 437

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2611/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: ผู้เช่าซื้อไม่ต้องรับผิดหากขายรถได้ราคาเกินค่างวดค้างชำระ และผลผูกพันของผู้ค้ำประกัน
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์มีข้อความว่า เงินค่างวดที่ค้างชำระ ถึงแม้เจ้าของจะกลับเข้าครอบครองรถแล้ว หากเจ้าของจำหน่ายรถได้เงินไม่ครบถ้วนตามราคาที่ค้างชำระในสัญญาเท่าใด เจ้าของมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ผู้เช่าซื้อชดใช้จนครบจำนวนที่ขาดได้ด้วย ดังนี้ หมายถึงไม่ครบถ้วนตามราคาที่ค้างชำระ จึงต้องเอาค่าเช่าซื้อที่ชำระแล้วไปหักค่าเช่าซื้อทั้งหมด เหลือเท่าใดเป็นค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ หากขายรถพิพาทได้ราคาต่ำกว่าค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ส่วนที่ขาดให้โจทก์จนครบ หากขายได้ราคาไม่ต่ำหว่าก็ไม่ต้องรับผิด เมื่อปรากฏว่าโจทก์ขายรถพิพาทได้เงินสูงกว่าค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์อีก แม้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจะขาดนักและมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ด้วย เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้
of 92