คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชลูตม์ สวัสดิทัต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 914 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2700/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์: ศาลไม่อนุญาตขายทรัพย์สินหากผู้แทนโดยชอบธรรมใช้เงินผิดวัตถุประสงค์และก่อหนี้เพิ่ม
ผู้ร้องเป็นมารดาผู้เยาว์ได้รับเงิน 4,000,000 บาท เพียงเวลา 2 ปี ก็ใช้จ่ายเงินไปจนหมด โดยไม่มีรายการใดที่แสดงว่าได้ใช้จ่ายไปเพื่อประโยชน์แก่ผู้เยาว์นอกจากการเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามปกติเท่านั้นมิหนำซ้ำยังก่อหนี้สินเพิ่มขึ้นอีก 1,400,000 บาท ที่ดินมีโฉนดพร้อมตึกแถว 2 ชั้น อยู่ในแหล่งชุมชนและมีราคาสูง หากยังเป็นของผู้เยาว์อยู่ต่อไปจะเป็นประโยชน์ยิ่งกว่าขาย ศาลจึงไม่อนุญาตให้ผู้ร้องขายทรัพย์ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2501/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องฉ้อโกงหลังร้องทุกข์ออกเช็คเด้ง – กรรมเดียวฟ้องได้
การที่ผู้เสียหายไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค และได้มีการสอบสวนตามที่ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ ไว้ เมื่อผลการสอบสวนปรากฏว่าเป็นความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวหรือสืบเนื่องมาจากการกระทำผิดซึ่งเป็นกรรมเดียวกับข้อหาออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คด้วย ถือได้ว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ในข้อหาฉ้อโกงด้วยแล้ว การสอบสวนจึงเป็นไปโดยชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2501/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องอาญาฐานฉ้อโกงแม้ไม่ได้ร้องทุกข์โดยตรง หากผลสอบสวนเชื่อมโยงกับการกระทำผิดฐานออกเช็คโดยเจตนา
การที่ผู้เสียหายไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค และได้มีการสอบสวนตามที่ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ไว้ เมื่อผลการสอบสวนปรากฏว่าเป็นความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวหรือสืบเนื่องมาจากการกระทำผิดซึ่งเป็นกรรมเดียวกับข้อหาออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คด้วย ถือได้ว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ในข้อหาฉ้อโกงด้วยแล้วการสอบสวนจึงเป็นไปโดยชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2457/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานหลังสืบพยานโจทก์: เหตุผลความพลั้งเผลอของทนายไม่เพียงพอ
จำเลยยื่นคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยาน อ้างว่าเป็นเพราะความพลั้งเผลอของทนายจำเลยโดยมิได้จงใจ และมิใช่เพื่อประวิงการดำเนินคดีของศาล ภายหลังที่ศาลสืบพยานโจทก์เสร็จและนัดฟังคำพิพากษาแล้ว ดังนี้ ไม่เป็นเหตุที่จะอ้างได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสาม และถือไม่ได้ว่ามีเหตุสมควรอื่นใด ที่จะ อนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้และการเพิกถอนการชำระหนี้ในคดีล้มละลาย พิจารณาความยินยอมของลูกหนี้ก่อนการยื่นล้มละลาย
ธนาคารผู้คัดค้านโอนเงินฝากประจำของลูกหนี้ที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดลูกหนี้ที่ 1 ไปเข้าบัญชีกระแสรายวันของลูกหนี้ที่ 1 เมื่อวันที่ 28กันยายน 2522 เป็นการชำระหนี้ที่ลูกหนี้ที่ 1 เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีธนาคารเพื่อหักหนี้ เกิดจากหนังสือค้ำประกันยินยอมการหักบัญชีเงินฝากประจำชำระหนี้ระหว่างลูกหนี้ที่ 2 กับธนาคารผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 1ธันวาคม 2520 ก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ทั้งสองล้มละลายเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2522 ธนาคารผู้คัดค้านในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 ในมูลหนี้ค้ำประกันและเป็นลูกหนี้ของจำเลยที่ 2 ในมูลหนี้เงินฝากประจำที่ธนาคารรับฝากไว้แม้ว่าจะไม่มีข้อตกลงดังกล่าว ธนาคารผู้คัดค้านก็มีสิทธิที่จะหักกลบลบหนี้ระหว่างหนี้ตามสัญญาค้ำประกันกับมูลหนี้เงินฝากประจำนั้นได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 102 ทั้งตามมาตรา 115 ใช้คำว่าลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำ มุ่งถึงกิริยาที่ยินยอม มิได้ใช้คำว่าผู้อื่นทำด้วยความยินยอมของลูกหนี้ ดังนี้ จึงถือไม่ได้ว่าลูกหนี้ที่ 2 ได้กระทำหรือยินยอมให้ธนาคารผู้คัดค้านกระทำการโอนบัญชีและหักหนี้เมื่อวันที่ 28กันยายน 2522 ในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายโดยมุ่งหมายให้ธนาคารผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นตามมาตรา 115เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขอให้เพิกถอนการโอนดังกล่าวไม่ได้(ประชุมใหญ่ครั้งที่8/2527)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักหนี้จากเงินฝากประจำก่อนล้มละลาย: การยินยอมของลูกหนี้และการกระทำที่ไม่เข้าข่ายการเพิกถอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ธนาคารผู้คัดค้านโอนเงินฝากประจำของลูกหนี้ที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดลูกหนี้ที่ 1 ไปเข้าบัญชีกระแสรายวันของลูกหนี้ที่ 1 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2522 เป็นการชำระหนี้ที่ลูกหนี้ที่ 1 เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีธนาคารเพื่อหักหนี้ เกิดจากหนังสือค้ำประกันยินยอมการหักบัญชีเงินฝากประจำชำระหนี้ระหว่างลูกหนี้ที่ 2 กับธนาคารผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2520 ก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ทั้งสองล้มละลายเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2522 ธนาคารผู้คัดค้านในฐานเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 ในมูลหนี้ค้ำประกัน และเป็นลูกหนี้ของจำเลยที่ 2 ในมูลหนี้เงินฝากประจำที่ธนาคารรับฝากไว้ แม้ว่าจะไม่มีข้อตกลงดังกล่าว ธนาคารผู้คัดค้านก็มีสิทธิที่จะหักลบกลบหนี้ระหว่างหนี้ตามสัญญาค้ำประกันกับมูลหนี้เงินฝากประจำนั้นได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 102 ทั้งตามมาตรา 115 ใช้คำว่าลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำ มุ่งถึงกิริยาที่ยินยอม มิได้ใช้คำว่าผู้อื่นทำด้วยความยินยอมของลูกหนี้ ดังนี้ จึงถือไม่ได้ว่าลูกหนี้ที่ 2 ได้กระทำหรือยินยอมให้ธนาคารผู้คัดค้านกระทำการโอนบัญชีและหักหนี้เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2522 ในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายโดยมุ่งหมยให้ธนาคารผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นตามมาตรา 115 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขอให้เพิกถอนการโอนดังกล่าวไม่ได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2527)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาที่ความผิดอันยอมความได้ ศาลอนุญาตได้หากจำเลยไม่คัดค้าน ทำให้คำพิพากษาศาลล่างระงับ
ก่อนศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟัง โจทก์ยื่นคำร้องว่าตกลงกับจำเลยแล้ว ขอถอนฟ้อง เมื่อความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326,328,332 ที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเป็นความผิดอันยอมความได้ โจทก์ขอถอนฟ้อง จำเลยไม่คัดค้าน ศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ ถอนฟ้องได้คำพิพากษาของศาลล่างย่อมระงับไปในตัว ไม่มีผลบังคับ ต่อไป ศาลฎีกาสั่งจำหน่ายคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2429/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาออกเช็คชำระค่ากระบือ ไม่ใช่ประกันการชำระราคา แม้บัญชีปิดแล้ว ถือมีความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยรับกระบือจากโจทก์ 2 คราว และออกเช็คให้โจทก์ 2 ฉบับขณะออกเช็คบัญชีของจำเลยปิดแล้ว ดังนี้ เป็นการออกเช็คเพื่อชำระค่ากระบือที่โจทก์ขายขาดให้จำเลย ไม่เป็นการออกเช็คเพื่อประกันการชำระราคากระบือ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2412/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีและการฟ้องบุพการี: การบังคับให้ส่งมอบโฉนดและการไม่ขัดต่อมาตรา 1562
โจทก์และจำเลยเป็นบุตรของจำเลยร่วม ทั้งสามต่างเป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดที่ 2568 ร่วมกัน โจทก์ต้องการโฉนดมาเพื่อทำนิติกรรมจำหน่ายส่วนของตนและเข้าใจว่าจำเลยเป็นผู้เก็บโฉนดไว้ไม่ยอมมอบให้ จึงฟ้องจำเลยขอให้ส่งมอบโฉนดและเรียกค่าเสียหาย ต่อมาความปรากฏแก่ศาลว่าจำเลยร่วมเป็นผู้เก็บรักษาโฉนดไว้ ดังนี้จึงเป็นการสมควรและจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ ศาลจะมีคำสั่งเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)(ข) และพิพากษาบังคับจำเลยร่วมให้รับผิดตามฟ้องของโจทก์ได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 เป็นบทบัญญัติตัดสิทธิห้ามมิให้ฟ้องผู้บุพการีของตนจึงต้องแปลโดยเคร่งครัด การที่ศาลมีคำสั่งเรียกบิดาโจทก์เข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(3)(ข) ยังเรียกไม่ได้ว่าโจทก์ฟ้องบุพการีของตน จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1562

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2412/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีและการฟ้องบุพการี: ศาลมีอำนาจเรียกจำเลยร่วมได้หากมีเหตุผล และไม่ถือเป็นการฟ้องบุพการีโดยตรง
โจทก์และจำเลยเป็นบุตรของจำเลยร่วม ทั้งสามต่างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดที่ 2568 ร่วมกัน โจทก์ต้องการโฉนดมาเพื่อทำนิติกรรมจำหน่ายส่วนของตนและเข้าใจว่าจำเลยเป็นผู้เก็บโฉนดไว้ไม่ยอมมอบให้ จึงฟ้องจำเลยขอให้ส่งมอบโฉนดและเรียกค่าเสียหาย ต่อมาความปรากฏแก่ศาลว่าจำเลยร่วมเป็นผู้เก็บรักษาโฉนดไว้ ดังนี้จึงเป็นการสมควรและจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลจะมีคำสั่งเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(3)(ข) และพิพากษาบังคับจำเลยร่วมให้รับผิดตามฟ้องของโจทก์ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 เป็นบทบัญญัติตัดสิทธิห้ามมิให้ฟ้องผู้บุพการีของตน จึงต้องแปลโดยเคร่งครัด การที่ศาลมีคำสั่งเรียกบิดาโจทก์เข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3) (ข) ยังเรียกไม่ได้ว่าโจทก์ฟ้องบุพการีของตน จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1562
of 92