คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เพียร ศรีอรุณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 535 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อทางละเมิด: การแบ่งความรับผิดของผู้ขับขี่รถแทรกเตอร์และรถโดยสาร กรณีไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร
โจทก์ที่ 1 สามีผู้ตายขับรถแทรกเตอร์มีกระบะพ่วงท้ายผู้ตายนั่งมาด้วยในรถกระบะโดยมิได้ติดโคมไฟท้ายรถกระบะให้มีแสงสว่างสามารถมองเห็นได้ในระยะไกล จำเลยขับรถโดยสารแล่นตามหลังไม่อาจมองเห็นรถที่โจทก์ขับในระยะไกล จึงไม่อาจหยุดรถหรือหลบหลีกได้ทันเกิดชนกันเสียหาย ดังนี้ ถือว่าความเสียหายที่เกิดขึ้น โจทก์ที่ 1มีส่วนประมาทมากกว่าจำเลยจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 1 แต่จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 บุตรของผู้ตาย หนึ่งในสามส่วน(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 676/2524)
การที่จำเลยชดใช้ค่าทำศพให้ ส. ซึ่งมิใช่บิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เป็นการชำระให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าทำศพ ไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298 จำเลยจึงยังต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรผู้ตายที่มีสิทธิเรียกร้องค่าทำศพผู้ตายอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการสินสมรสหลัง พ.ร.บ. 2519: สามีมีอำนาจจำหน่ายมรดกที่เป็นสินสมรสได้หากไม่มีข้อตกลงอื่น
พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519มาตรา 7 บัญญัติขึ้นเพื่อเป็นการแก้ไขข้อขัดข้องในระยะเริ่มแรกที่ประกาศใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ โดยให้คู่สมรสฝ่ายที่มีอำนาจจัดการสินบริคณห์อยู่แล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมคงมีอำนาจจัดการต่อไป ไม่ขัดต่อหลักการชายหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกันตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่มาตรา 1477บัญญัติว่า อำนาจจัดการสินสมรสรวมถึงอำนาจจำหน่ายด้วย ดังนั้น ที่ มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ใช้คำว่าอำนาจจัดการก็ย่อมหมายความรวมถึงอำนาจ จำหน่ายด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 1473 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรายพิพาทเป็นสินสมรสที่จำเลยที่1(สามี) ได้รับมรดกจากบิดา ไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจจำหน่ายได้ โดยไม่ต้องรับความยินยอมจากโจทก์ (ภรรยา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการสินสมรสหลัง พ.ร.บ. 2519: สามีมีอำนาจจำหน่ายมรดกที่เป็นสินสมรสได้โดยไม่ต้องมียินยอมภรรยา
พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 7 บัญญัติขึ้นเพื่อเป็นการแก้ไขข้อขัดข้องในระยะเริ่มแรกที่ประกาศใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ โดยให้คู่สมรสฝ่ายที่มีอำนาจจัดการสินบริคณห์อยู่แล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมคงมีอำนาจจัดการต่อไป ไม่ขัดต่อหลักการชายหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกันตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่มาตรา 1477 บัญญัติว่า อำนาจจัดการสินสมรสรวมถึงอำนาจจำหน่ายด้วย ดังนั้น ที่ มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ใช้คำว่าอำนาจจัดการก็ย่อมหมายความรวมถึงอำนาจ จำหน่ายด้วยเช่นกันแต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 1473แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรายพิพาทเป็นสินสมรสที่จำเลยที่1 (สามี) ได้รับมรดกจากบิดา ไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจจำหน่ายได้ โดยไม่ต้องรับความยินยอมจากโจทก์ (ภรรยา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3963/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแย่งการครอบครองที่ดินและการฟ้องคืนการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375
การที่จำเลยคัดค้านว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย ถือได้ว่าจำเลยบอกกล่าวแสดงเจตนาไปยังโจทก์ที่จะไม่ยึดถือที่พิพาทแทนโจทก์ต่อไปอันเป็นการแย่งการครอบครองของโจทก์ โจทก์ต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเสียภายในหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3791/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดรวมกันได้ หากแยกขายอาจได้ราคาต่ำกว่า และไม่มีหลักฐานสมคบกันกดราคา
ทรัพย์ที่ขายทอดตลาดเป็นสถานีบริการน้ำมัน มีบ้านบังกาโลว์4 หลัง ถ้าแยกขายผู้ซื้อก็จะต้องรื้อสิ่งปลูกสร้างไปอาจทำให้ขายได้ราคาต่ำกว่าขายรวมกัน เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีอำนาจขายทรัพย์สินดังกล่าวรวมกันได้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3791/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดรวมทรัพย์สิน: สถานีบริการน้ำมันและสิ่งปลูกสร้างอื่น เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจพิจารณาได้
ทรัพย์ที่ขายทอดตลาดเป็นสถานีบริการน้ำมัน มีบ้านบังกาโลว์4 หลัง ถ้าแยกขายผู้ซื้อก็จะต้องรื้อสิ่งปลูกสร้างไปอาจทำให้ขายได้ราคาต่ำกว่าขายรวมกัน เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีอำนาจขายทรัพย์สินดังกล่าวรวมกันได้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3619/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีบุกรุกมรดก: ทายาทมีสิทธิฟ้องได้แม้ไม่ได้รับมอบอำนาจจากทายาทอื่น หากมรดกยังไม่ได้แบ่งแยก
บิดาโจทก์ถึงแก่กรรมโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ที่พิพาทส่วนของบิดาโจทก์จึงเป็นมรดกตกได้แก่ทายาท แม้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกผู้หนึ่งจะมิได้รับมอบอำนาจจากทายาทอื่น แต่ที่พิพาทยังมิได้แบ่งแยกให้เป็นของผู้ใด โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้บุกรุกที่พิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3518/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อไม่ต่ออายุ และเจตนาเลิกสัญญาระหว่างคู่กรณี
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและการต่ออายุสัญญาทั้งสี่ครั้งได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนในวันสุดท้ายของอายุสัญญาทุกครั้งเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาครั้งสุดท้ายแล้วจำเลยมิได้เบิกเงินหรือนำเงินเข้าบัญชีอีก พฤติการณ์ของคู่กรณีที่ปฏิบัติต่อกันแสดงให้เห็นว่าเจตนาได้ว่า หากไม่มีการต่ออายุสัญญาออกไป ก็ให้ถือว่าให้เลิกสัญญากันเมื่อสิ้นสุดอายุสัญญาโดยไม่จำต้องมีการบอกเลิกสัญญาอีก จึงต้องหักทอนบัญชีเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาครั้งสุดท้ายโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3518/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อไม่ต่ออายุ การคิดดอกเบี้ยทบต้นจำกัดเฉพาะระยะเวลาสัญญา
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและการต่ออายุสัญญาทั้งสี่ครั้งได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนในวันสุดท้ายของอายุสัญญาทุกครั้ง เมื่อครบกำหนดอายุสัญญาครั้งสุดท้ายแล้วจำเลยมิได้เบิกเงินหรือนำเงินเข้าบัญชีอีก พฤติการณ์ของคู่กรณีที่ปฏิบัติต่อกันแสดงให้เห็นว่าเจตนาได้ว่า หากไม่มีการต่ออายุสัญญาออกไป ก็ให้ถือว่าให้เลิกสัญญากันเมื่อสิ้นสุดอายุสัญญาโดยไม่จำต้องมีการบอกเลิกสัญญาอีก จึงต้องหักทอนบัญชีเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาครั้งสุดท้ายโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3395/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณรางวัลตาม พ.ร.บ.บำเหน็จปราบปรามผู้กระทำผิด: ราคาของกลางในคำฟ้องหรือราคาขายทอดตลาด
การจ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาของกลางตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 8 นั้น ต้องถือราคาที่โจทก์กล่าวมาในคำฟ้อง
of 54