พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10228/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้รับมอบอำนาจฟ้องแทนและการแต่งคำฟ้องโดยมิได้เป็นทนายความ
การที่โจทก์มอบอำนาจให้ ส. เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนต่อจำเลยทั้งสอง ส. ในฐานะตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจจึงมีหน้าที่ที่จะต้องทำกิจการที่ตัวการมอบหมายให้สำเร็จลุล่วงไป ประกอบกับ ป.วิ.พ. มาตรา 1 ได้มีบทวิเคราะห์ศัพท์ คำว่าคู่ความหมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล และเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาให้รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้นๆ ตามกฎหมายหรือในฐานะทนายความ ดังนั้น ส. ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องคดีแทน ย่อมอยู่ในฐานะคู่ความมีอำนาจยื่นคำฟ้องต่อศาลได้และชอบที่จะเรียงหรือแต่คำฟ้องรวมทั้งลงชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องแทนโจทก์ได้ด้วย และเมื่อพิจารณาตาม พ.ร.บ.ทนายความฯ มาตรา 33 ซึ่งบัญญัติห้ามมิให้ผู้ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นทนายความว่าความในศาลหรือแต่งคำฟ้อง แต่ก็บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ว่าการเรียงหรือแต่งฟ้องนั้น ไม่ห้ามไปถึงบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น ส. ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์แม้มิได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง และการเรียงหรือแต่งคำฟ้องแทนโจทก์ก็มิใช่การว่าความอย่างทนายความดังที่ ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง บัญญัติห้ามไว้ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10081/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแทนของตัวแทนที่มิได้เป็นทนายความ: คำฟ้องชอบด้วยกฎหมายเมื่อได้รับมอบอำนาจตาม ป.วิ.พ.
การที่โจทก์มอบอำนาจให้ ส. เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนแก่จำเลยทั้งสอง ส. ในฐานะตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจึงมีหน้าที่ที่จะต้องทำกิจการที่ตัวการมอบหมายให้สำเร็จลุล่วงไปประกอบกับ ป.วิ.พ. มาตรา 1 ได้มีบทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "คู่ความ" หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้อง หรือถูกฟ้องต่อศาล และเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาให้รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้นๆ ตามกฎหมาย หรือในฐานะทนายความ ดังนั้น ส. ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องคดีแทนย่อมอยู่ในฐานะคู่ความมีอำนาจยื่นคำฟ้องต่อศาลได้และชอบที่จะเรียงหรือแต่งฟ้องรวมทั้งลงชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องแทนโจทก์ได้ด้วย และ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความว่าความในศาล หรือแต่งฟ้อง แต่ก็บัญญัติยกเว้นไว้ว่า การแต่งฟ้องนั้นไม่ห้ามไปถึงบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น แม้ ส. ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์มิได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง และการเรียงหรือแต่งฟ้องแทนโจทก์มิใช่การว่าความอย่างทนายความดังที่ ป.วิ.พ.มาตรา 60 วรรคสอง บัญญัติห้ามไว้ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9744/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้รับมอบอำนาจฟ้องแทนโจทก์: ชอบด้วยกฎหมายแม้ไม่ได้เป็นทนายความ
การที่โจทก์มอบอำนาจให้ ส. เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนแก่จำเลยทั้งสอง ส. ในฐานะตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจึงมีหน้าที่ที่จะต้องทำกิจการที่ตัวการมอบหมายให้สำเร็จลุล่วงไป ประกอบกับ ป.วิ.พ. มาตรา 1 ได้มีบทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า คู่ความ หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้อง หรือถูกฟ้องต่อศาลและเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาให้รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมาย หรือในฐานะทนายความ ดังนั้น ส. ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องคดีแทนย่อมอยู่ในฐานะคู่ความมีอำนาจยื่นคำฟ้องต่อศาลได้และชอบที่จะเรียงหรือแต่งฟ้องรวมทั้งลงชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องแทนโจทก์ได้ด้วย และพ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความว่าความในศาล หรือแต่งฟ้อง แต่ก็บัญญัติยกเว้นไว้ว่า การแต่งฟ้องนั้นไม่ห้ามไปถึงบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น ส. ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์แม้มิได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง และการเรียงหรือแต่งฟ้องแทนโจทก์ก็มิใช่การว่าความอย่างทนายความดังที่ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง บัญญัติห้ามไว้ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8400/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากผู้เรียงฟ้องไม่ได้เป็นทนายความ ทำให้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การฝ่าฝืนข้อห้ามตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33 มีโทษทางอาญาตามมาตรา 82 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ล. มิได้เป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความและไม่เป็นบุคคลซึ่งอยู่ในข้อยกเว้นตามมาตรา ๓๓ การที่ ล. เรียงหรือแต่งฟ้องฎีกาให้จำเลย จึงเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาซึ่งเกิดจากการกระทำอันไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3397/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากผู้เรียงฟ้องมิได้เป็นทนายความ และการไม่อาจฎีกาลดโทษ
คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมีจำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ และมี ธ. ลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงและเขียน โดย ธ. มิได้เป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความและไม่ปรากฏว่าเป็นบุคคลซึ่งอยู่ในข้อยกเว้นตามมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ.ทนายความฯ การที่ ธ. เรียงหรือแต่งฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลย จึงเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ครบองค์ประกอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 215 ประกอบด้วยมาตรา 158 (7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2547 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการว่าความของข้าราชการ: คดีไม่มีข้อพิพาทต้องมีกฎหมายรองรับ
บุคคลใดจะใช้สิทธิทางศาลโดยเสนอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ได้นั้น จะต้องมีกฎหมายสารบัญญัติสนับสนุนว่าเป็นกรณีจำเป็นต้องร้องขอต่อศาลเพื่อรับรองหรือคุ้มครองสิทธิของตนที่มีอยู่ด้วย กรณีของผู้ร้องไม่มีกฎหมายสารบัญญัติบทใดสนับสนุนให้ผู้ร้องมาใช้สิทธิทางศาลได้ หากผู้ร้องเห็นว่าผู้ร้องมีสิทธิที่จะว่าความอย่างทนายความได้ตามบทบัญญัติของ ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคหนึ่ง และ พ.ร.บ.ทนายความฯ มาตรา 33 แต่ศาลชั้นต้นที่พิจารณาคดีนั้นไม่อนุญาตให้ผู้ร้องว่าความอย่างทนายความก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องดำเนินการต่อไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตเป็นอีกคดีหนึ่งหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิทางศาลโดยการยื่นคำร้องคดีไม่มีข้อพิพาท ต้องมีกฎหมายรองรับสิทธิที่ถูกละเมิด
การที่บุคคลใดจะใช้สิทธิทางศาลโดยเสนอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ได้จะต้องมีกฎหมายสารบัญญัติสนับสนุนว่าเป็นกรณีจำเป็นต้องร้องขอต่อศาลเพื่อรับรองหรือคุ้มครองสิทธิของตนที่มีอยู่ด้วย ดังนั้นเมื่อไม่มีกฎหมายสารบัญญัติสนับสนุนให้ผู้ร้องมาใช้สิทธิทางศาลได้หากผู้ร้องเห็นว่าผู้ร้องมีสิทธิที่จะว่าความอย่างทนายความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 แต่ศาลชั้นต้นที่พิจารณาคดีนั้นไม่อนุญาตให้ผู้ร้องว่าความอย่างทนายความ ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องดำเนินการต่อไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตเป็นอีกคดีหนึ่งหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการว่าความของข้าราชการ: การใช้สิทธิทางศาลต้องมีกฎหมายรองรับโดยตรง
การที่บุคคลใดจะใช้สิทธิทางศาลโดยเสนอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ได้นั้น จะต้องมีกฎหมายสารบัญญัติสนับสนุนว่าเป็นกรณีจำเป็นต้องร้องขอต่อศาลเพื่อรับรองหรือคุ้มครองสิทธิของตนที่มีอยู่ด้วย การที่ผู้ร้องเห็นว่าผู้ร้องซึ่งได้รับมอบอำนาจจากผู้แทนนิติบุคคลมีสิทธิที่จะว่าความอย่างทนายความได้ในคดีก่อนตามบทบัญญัติของ ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคหนึ่ง และ พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 ดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง แต่ศาลชั้นต้นที่พิจารณาคดีนั้นไม่อนุญาตให้ผู้ร้องว่าความอย่างทนายความ ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องดำเนินการต่อไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตเป็นอีกคดีหนึ่งเช่นนี้หาได้ไม่ เพราะกรณีของผู้ร้องไม่มีกฎหมายสารบัญญัติบทใดสนับสนุนให้ผู้ร้องมาใช้สิทธิทางศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2174/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความปฏิบัติหน้าที่หลังถูกจำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนทนายความ ถือละเมิดอำนาจศาล
คณะกรรมการสภาทนายความมีคำสั่งให้จำหน่ายชื่อผู้ถูกกล่าวหาออกจากทะเบียนทนายความตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 43 แล้วย่อมมีผลให้ผู้ถูกกล่าวหาขาดจากการเป็นทนายความตามมาตรา 44(4) ทันทีแม้ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งต่อสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความได้แต่การอุทธรณ์ไม่ถือว่าเป็นการทุเลาคำสั่งของคณะกรรมการสภาทนายความ ดังนั้นเมื่อผู้ถูกกล่าวหาทราบว่าคณะกรรมการสภาทนายความมีคำสั่งให้จำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนทนายความแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาต้องหยุดกระทำหน้าที่เป็นทนายความในระหว่างที่รอฟังคำวินิจฉัยของสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความ เพราะในระหว่างนั้นผู้ถูกกล่าวหาต้องห้ามมิให้ปฏิบัติหน้าที่ทนายความตามมาตรา 33
ผู้ถูกกล่าวหาได้ทราบคำสั่งของคณะกรรมการสภาทนายความตั้งแต่วันที่ 10เมษายน 2540 แต่ว่าความให้แก่จำเลยเรื่อยมาจนกระทั่งวันที่ 22 เมษายน 2542จึงขอถอนตัวจากการเป็นทนายความ การกระทำผู้ถูกกล่าวหาย่อมเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล อันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
การปฏิบัติหน้าที่ทนายความของผู้ถูกกล่าวหาในแต่ละครั้งถือเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมมิใช่กรรมเดียว ทั้งผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลหลายคดี จึงนับโทษติดต่อกันได้
ผู้ถูกกล่าวหาได้ทราบคำสั่งของคณะกรรมการสภาทนายความตั้งแต่วันที่ 10เมษายน 2540 แต่ว่าความให้แก่จำเลยเรื่อยมาจนกระทั่งวันที่ 22 เมษายน 2542จึงขอถอนตัวจากการเป็นทนายความ การกระทำผู้ถูกกล่าวหาย่อมเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล อันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
การปฏิบัติหน้าที่ทนายความของผู้ถูกกล่าวหาในแต่ละครั้งถือเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมมิใช่กรรมเดียว ทั้งผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลหลายคดี จึงนับโทษติดต่อกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2174/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความถูกจำหน่ายชื่อออกจากทะเบียน การปฏิบัติหน้าที่ทนายความโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และละเมิดอำนาจศาล
คำสั่งของคณะกรรมการสภาทนายความที่ให้จำหน่ายชื่อผู้ถูกกล่าวหาออกจากทะเบียนทนายความตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 43 ย่อมมีผลให้ผู้ถูกกล่าวหาขาดจากการเป็นทนายความตามมาตรา 44 (4) ทันที แม้ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งต่อสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความเพื่อให้วินิจฉัยอีกชั้นหนึ่งได้ การอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวก็ไม่ถือว่าเป็นการทุเลาคำสั่งของคณะกรรมการสภาทนายความ ดังนั้น เมื่อผู้ถูกกล่าวหาทราบว่าคณะกรรมการสภาทนายความมีคำสั่งให้จำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนทนายความแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาต้องหยุดกระทำหน้าที่เป็นทนายความในระหว่างที่รอฟังคำวินิจฉัยของสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความ เพราะในระหว่างนั้นผู้ถูกกล่าวหาต้องห้ามมิให้ปฏิบัติหน้าที่ทนายความตามมาตรา 33
ผู้ถูกกล่าวหาทำการเป็นทนายความในแต่ละครั้งถือว่าเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมมิใช่กรรมเดียว และเมื่อผู้ถูกกล่าวหาปฏิบัติหน้าที่ทนายความขณะถูกห้ามทำการเป็นทนายความเป็นการกระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลหลายคดี ศาลให้นับโทษติดต่อกันได้.
ผู้ถูกกล่าวหาทำการเป็นทนายความในแต่ละครั้งถือว่าเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมมิใช่กรรมเดียว และเมื่อผู้ถูกกล่าวหาปฏิบัติหน้าที่ทนายความขณะถูกห้ามทำการเป็นทนายความเป็นการกระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลหลายคดี ศาลให้นับโทษติดต่อกันได้.