พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอุทธรณ์โดยผู้ไม่มีคุณสมบัติเป็นทนายความ และสิทธิในการฎีกาที่ยังไม่ได้รับการพิจารณา
คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยได้ลงลายมือชื่อผู้เรียงโดย ธ. ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนและไม่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นทนายความ อีกทั้งไม่ได้เป็นบุคคลที่ได้รับการยกเว้น และตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 ผู้เรียงหรือแต่งฟ้องอุทธรณ์ จะต้องเป็นการกระทำของทนายความที่ได้รับอนุญาต หรือของตัวความเองอันเป็นการเฉพาะตัว ไม่อาจตั้งตัวแทน หรือไม่อาจอนุญาตให้ผู้ใดผู้หนึ่งช่วยเหลือได้ คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ครบองค์ประกอบตาม ป.วิ.อ.มาตรา 215 ประกอบด้วยมาตรา 158(7) ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะยกอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่อาจจะสั่งให้แก้ไขได้ ตามนัยแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 215 ประกอบด้วยมาตรา 161 วรรคหนึ่ง
ฎีกาของจำเลยเรื่องให้ลงโทษจำเลยสถานเบาหรือรอการลงโทษจำเลย เมื่อยังไม่ได้รับการพิจารณาจากศาลอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะฎีกาในข้อดังกล่าวได้ เป็นการต้องห้ามหรือไม่ต้องด้วยองค์ประกอบแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา216 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะได้สั่งรับฎีกาของจำเลยข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
ฎีกาของจำเลยเรื่องให้ลงโทษจำเลยสถานเบาหรือรอการลงโทษจำเลย เมื่อยังไม่ได้รับการพิจารณาจากศาลอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะฎีกาในข้อดังกล่าวได้ เป็นการต้องห้ามหรือไม่ต้องด้วยองค์ประกอบแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา216 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะได้สั่งรับฎีกาของจำเลยข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากผู้เรียงไม่ใช่ทนายความ และการฎีกาเรื่องโทษก่อนศาลอุทธรณ์พิจารณา
คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยได้ลงลายมือชื่อผู้เรียงโดย ธ. ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนและไม่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นทนายความ อีกทั้งไม่ได้เป็นบุคคลที่ได้รับการยกเว้น และตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 ผู้เรียงหรือแต่งฟ้องอุทธรณ์ จะต้องเป็นการกระทำของทนายความที่ได้รับอนุญาตหรือของตัวความเองอันเป็นการเฉพาะตัว ไม่อาจตั้งตัวแทน หรือไม่อาจอนุญาตให้ผู้ใดผู้หนึ่งช่วยเหลือได้ คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ครบองค์ประกอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 215 ประกอบด้วยมาตรา 158(7) ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะยกอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่อาจจะสั่งให้แก้ไขได้ ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 215 ประกอบด้วยมาตรา 161 วรรคหนึ่ง
ฎีกาของจำเลยเรื่องให้ลงโทษจำเลยสถานเบาหรือรอการลงโทษจำเลย เมื่อยังไม่ได้รับการพิจารณาจากศาลอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะฎีกาในข้อดังกล่าวได้ เป็นการต้องห้ามหรือไม่ต้องด้วยองค์ประกอบแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 วรรคหนึ่งแม้ศาลชั้นต้นจะได้สั่งรับฎีกาของจำเลยข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
ฎีกาของจำเลยเรื่องให้ลงโทษจำเลยสถานเบาหรือรอการลงโทษจำเลย เมื่อยังไม่ได้รับการพิจารณาจากศาลอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะฎีกาในข้อดังกล่าวได้ เป็นการต้องห้ามหรือไม่ต้องด้วยองค์ประกอบแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 วรรคหนึ่งแม้ศาลชั้นต้นจะได้สั่งรับฎีกาของจำเลยข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทนายโดยมีส่วนแบ่งจากทรัพย์สินที่ได้จากการดำเนินคดีเป็นโมฆะ เนื่องจากขัดหลักจริยธรรมและขัดต่อความสงบเรียบร้อย
วิชาชีพทนายความเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะผูกขาดที่ผู้ที่เป็นทนายความได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย หลายประการ รวมทั้งการห้ามมิให้ผู้ที่มิได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความว่าความในศาล หรือแต่งฟ้อง คำให้การ ฟ้องอุทธรณ์ แก้อุทธรณ์ ฟ้องฎีกา แก้ฎีกา คำร้องหรือคำแถลงอันเกี่ยวแก่การพิจารณาคดีในศาลให้แก่บุคคลอื่นอย่างผู้ที่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 ผู้ที่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความจึงย่อมมีพันธกรณีต่อสังคมที่จะต้องปฏิบัติและดำรงตนให้ต้องกับหลักจริยธรรมทางวิชาชีพของทนายความ ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความในฐานะที่ทนายความมีส่วนสำคัญในการประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรมแก่คู่ความดุจเป็นเจ้าหน้าที่ของศาล ทนายความไม่พึงทำสัญญากับลูกความของตน ในลักษณะที่ตนเองมีส่วนได้เสียโดยตรงในคดีจนกระทบกระเทือนการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
ข้อสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยในส่วนที่ตกลงให้สินจ้างกันอีกร้อยละ 5 ของทุนทรัพย์สินสมรสที่จำเลย จะได้รับแบ่งมานี้ เป็นข้อสัญญาที่ให้ทนายความเข้ามีส่วนได้เสียในทางการเงินโดยตรงในผลของคดี จึงไม่ต้องด้วย หลักจริยธรรมทางวิชาชีพของทนายความ ย่อมถือว่าเป็นข้อสัญญาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน แม้ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 ที่คณะกรรมการสภาทนายความ ออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 มิได้บัญญัติห้ามมิให้ทนายความเข้าเป็นทนายความโดยวิธีสัญญาเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความอย่าง พ.ร.บ.ทนายความสองฉบับก่อน แต่การวางระเบียบบังคับแก่ทนายความตาม พ.ร.บ.ทนายความกับความสมบูรณ์ของสัญญาระหว่างทนายความและลูกความเป็นคนละส่วนกัน การที่ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 มิได้กำหนดให้การเข้าเป็นทนายความโดยวิธีสัญญาเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความของทนายความเป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความ อย่าง พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2477 และ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2508 มีผลเพียงว่าการทำสัญญาในลักษณะนี้ไม่เป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความอันเป็นมูลจะลงโทษตามมาตรา 52 เท่านั้น หามีผลให้ข้อสัญญาซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเนื่องจากไม่ต้องด้วยหลักจริยธรรมทางวิชาชีพของทนายความกลับมี ความสมบูรณ์แต่ประการใดไม่ สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์จำเลยในส่วนนี้จึงเป็นโมฆะ
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2542)
ข้อสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยในส่วนที่ตกลงให้สินจ้างกันอีกร้อยละ 5 ของทุนทรัพย์สินสมรสที่จำเลย จะได้รับแบ่งมานี้ เป็นข้อสัญญาที่ให้ทนายความเข้ามีส่วนได้เสียในทางการเงินโดยตรงในผลของคดี จึงไม่ต้องด้วย หลักจริยธรรมทางวิชาชีพของทนายความ ย่อมถือว่าเป็นข้อสัญญาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน แม้ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 ที่คณะกรรมการสภาทนายความ ออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 มิได้บัญญัติห้ามมิให้ทนายความเข้าเป็นทนายความโดยวิธีสัญญาเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความอย่าง พ.ร.บ.ทนายความสองฉบับก่อน แต่การวางระเบียบบังคับแก่ทนายความตาม พ.ร.บ.ทนายความกับความสมบูรณ์ของสัญญาระหว่างทนายความและลูกความเป็นคนละส่วนกัน การที่ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 มิได้กำหนดให้การเข้าเป็นทนายความโดยวิธีสัญญาเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความของทนายความเป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความ อย่าง พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2477 และ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2508 มีผลเพียงว่าการทำสัญญาในลักษณะนี้ไม่เป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความอันเป็นมูลจะลงโทษตามมาตรา 52 เท่านั้น หามีผลให้ข้อสัญญาซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเนื่องจากไม่ต้องด้วยหลักจริยธรรมทางวิชาชีพของทนายความกลับมี ความสมบูรณ์แต่ประการใดไม่ สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์จำเลยในส่วนนี้จึงเป็นโมฆะ
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2542)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8045/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียงคำฟ้องอุทธรณ์ต้องเป็นไปตามกฎหมายทนายความ ผู้ลงลายมือชื่อต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้เรียงตามกฎหมาย
แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7)ประกอบมาตรา 215 มิได้กำหนดคำว่า "ผู้เรียง" จะเป็นใคร ทั้งมิได้กำหนดผู้ลงลายมือชื่อผู้เรียงเป็นสาระสำคัญก็ตาม แต่พระราชบัญญัติทนายความพ.ศ. 2528 มาตรา 33 กำหนดให้ทนายความหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะเป็นผู้เรียงคำฟ้องอุทธรณ์ให้แก่บุคคลอื่น เมื่อปรากฏว่าส. ลงลายมือชื่อในช่องผู้เรียงคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมิได้เป็นบุคคลตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยจึงมิชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยลงลายมือชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์นั้นก็ไม่กลับทำให้มีผลสมบูรณ์ขึ้นมาได้ ความหลงผิดคลาดเคลื่อนในกรณีจำเลยมิได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงคำฟ้องอุทธรณ์ดังกล่าวไม่เป็นข้อแก้ตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8045/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียงคำฟ้องอุทธรณ์ต้องเป็นทนายความหรือเจ้าพนักงาน มิฉะนั้นคำฟ้องไม่สมบูรณ์
แม้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) ประกอบมาตรา 215 มิได้กำหนดคำว่า "ผู้เรียง" จะเป็นใคร ทั้งมิได้กำหนดผู้ลงลายมือชื่อผู้เรียงเป็นสาระสำคัญก็ตาม แต่มีบทกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้คือ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 ซึ่งกำหนดให้ทนายความหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะเป็นผู้เรียงคำฟ้องอุทธรณ์ให้แก่บุคคลอื่น เมื่อปรากฏว่า ส. ลงลายมือชื่อในช่องผู้เรียงคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมิได้เป็นบุคคลตามมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยจึงมิชอบด้วยกฎหมาย แม้จะได้ความว่า จำเลยลงลายมือชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์นั้นก็ตาม ย่อมไม่กลับทำให้มีผลสมบูรณ์ขึ้นมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1575/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเข้าเป็นคู่ความแทนผู้มรณะ และการลงลายมือชื่อในคำร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะในขณะที่คดียังไม่พ้นเวลาที่โจทก์จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ซึ่งพิพากษายกฟ้องโจทก์ ประกอบกับคดียังสามารถฎีกาต่อไปได้ คดีจึงยังไม่เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 วรรคสอง ถือได้ว่าคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลฎีกา ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะได้ตามมาตรา 42 วรรคแรก
ผู้ร้องไม่ได้เรียงคำร้องเอง แต่ก็ได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้ร้องและช่องผู้เรียงด้วยตนเอง แสดงว่าผู้ร้องยอมรับเอาคำร้องซึ่งผู้อื่นเรียบเรียงว่าเป็นของตนโดยชอบ การลงลายมือชื่อในฐานะเป็นผู้เรียงถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้เรียงโดยนิตินัยแล้ว คำร้องของผู้ร้องไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติทนายความ
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ไม่ถูกต้อง เพราะในชั้นนี้เป็นกรณีพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเท่านั้น ทั้งผู้ร้องเป็นผู้แก้อุทธรณ์ หาใช่โจทก์ไม่
ผู้ร้องไม่ได้เรียงคำร้องเอง แต่ก็ได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้ร้องและช่องผู้เรียงด้วยตนเอง แสดงว่าผู้ร้องยอมรับเอาคำร้องซึ่งผู้อื่นเรียบเรียงว่าเป็นของตนโดยชอบ การลงลายมือชื่อในฐานะเป็นผู้เรียงถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้เรียงโดยนิตินัยแล้ว คำร้องของผู้ร้องไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติทนายความ
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ไม่ถูกต้อง เพราะในชั้นนี้เป็นกรณีพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเท่านั้น ทั้งผู้ร้องเป็นผู้แก้อุทธรณ์ หาใช่โจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1049/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความขาดคุณสมบัติ การกระบวนการพิจารณาคดีเป็นโมฆะ
น. เป็นผู้ที่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความชั้นหนึ่งอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2528ใช้บังคับดังนั้นใบอนุญาตดังกล่าวจึงมีอายุใช้ได้จนถึงวันที่31ธันวาคม2528ตามที่พระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2528มาตรา84วรรคหนึ่งบัญญัติไว้หากน.ประสงค์จะทำการเป็นทนายความต่อไปจะต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตภายในเก้าสิบวันก่อนวันที่ใบอนุญาตฉบับเดิมสิ้นอายุแต่น. มิได้ยื่นคำขอต่อใบอนุญาตภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจึงเป็นการขาดต่อใบอนุญาตตามมาตรา39วรรคสอง การที่น. ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความอยู่ก่อนแล้วตามมาตรา40(3)ทำการเป็นทนายความของจำเลยในศาลชั้นต้นต่อแต่นั้นมาย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2528มาตรา33กระบวนพิจารณาที่น. ดำเนินการจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายแม้น. จะได้ยื่นคำขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความและนายทะเบียนสภาทนายความได้รับใบคำขอดังกล่าวไว้ในภายหลังก็ไม่อาจทำให้การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของน. ดังกล่าวแล้วกลับเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้ ตราบใดที่น. ยังไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นทนายความของสภาทนายความและจำเลยยังมิได้ยื่นใบแต่งทนายความตั้งน.เป็นทนายความของจำเลยเข้ามาใหม่กระบวนพิจารณาที่น.เป็นผู้ดำเนินการย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวเสียทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1049/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดคุณสมบัติทนายความและการเพิกถอนกระบวนการพิจารณา
น. เป็นผู้ที่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความชั้นหนึ่งอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 ใช้บังคับ ดังนั้นใบอนุญาตดังกล่าวจึงมีอายุใช้ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2528 ตามที่พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 84 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ หาก น. ประสงค์จะทำการเป็นทนายความต่อไป จะต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตภายในเก้าสิบวันก่อนวันที่ใบอนุญาตฉบับเดิมสิ้นอายุ แต่ น. มิได้ยื่นคำขอต่อใบอนุญาตภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจึงเป็นการขาดต่อใบอนุญาตตามมาตรา 39 วรรคสอง
การที่ น. ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความอยู่ก่อนแล้วตามมาตรา 40 (3) ทำการเป็นทนายความของจำเลยในศาลชั้นต้นต่อแต่นั้นมา ย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33กระบวนพิจารณาที่ น.ดำเนินการจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ น. จะได้ยื่นคำขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความ และนายทะเบียนสภาทนายความได้รับใบคำขอดังกล่าวไว้ในภายหลัง ก็ไม่อาจทำให้การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของน. ดังกล่าวแล้วกลับเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้
ตราบใดที่ น. ยังไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นทนายความของสภาทนายความ และจำเลยยังมิได้ยื่นใบแต่งทนายความตั้ง น. เป็นทนายความของจำเลยเข้ามาใหม่ กระบวนพิจารณาที่ น. เป็นผู้ดำเนินการย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวเสียทั้งหมด
การที่ น. ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความอยู่ก่อนแล้วตามมาตรา 40 (3) ทำการเป็นทนายความของจำเลยในศาลชั้นต้นต่อแต่นั้นมา ย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33กระบวนพิจารณาที่ น.ดำเนินการจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ น. จะได้ยื่นคำขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความ และนายทะเบียนสภาทนายความได้รับใบคำขอดังกล่าวไว้ในภายหลัง ก็ไม่อาจทำให้การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของน. ดังกล่าวแล้วกลับเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้
ตราบใดที่ น. ยังไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นทนายความของสภาทนายความ และจำเลยยังมิได้ยื่นใบแต่งทนายความตั้ง น. เป็นทนายความของจำเลยเข้ามาใหม่ กระบวนพิจารณาที่ น. เป็นผู้ดำเนินการย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวเสียทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2908/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความขาดคุณสมบัติ/ใบอนุญาต การดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบ ศาลต้องเริ่มกระบวนการใหม่
เมื่อบุคคลที่โจทก์แต่งตั้งเป็นทนายความเข้าว่าต่างคดีให้โจทก์ในศาลชั้นต้น และลงชื่อในอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อศาลนั้น เป็นผู้ที่ขาดจากการเป็นทนายความและต้องห้ามมิให้ว่าความในศาลหรือแต่งคำฟ้องคำให้การ คำฟ้องอุทธรณ์คำฟ้องฎีกา ฯลฯ ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 44(3) และมาตรา 33 มาแต่แรก แม้ภายหลังจากนั้นต่อมาบุคคลดังกล่าวจะได้จดทะเบียนและได้รับอนุญาตให้เป็นทนายความประเภทตลอดชีพก็ตาม แต่ขณะที่ว่าต่างคดีให้โจทก์ได้ขาดจากการเป็นทนายความแล้ว ย่อมไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตั้งแต่วันที่บุคคลดังกล่าวรับแต่งตั้งจากโจทก์ให้เป็นทนายว่าต่างมาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งเป็นกรณีที่มิได้ปฎิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคแรกและมาตรา 62 ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนนี้ใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(2) ประกอบด้วยมาตรา 247 ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2908/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความขาดคุณสมบัติ ผู้รับแต่งตั้งว่าต่างคดี กระบวนพิจารณาไม่ชอบ ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
เมื่อบุคคลที่โจทก์แต่งตั้งเป็นทนายความเข้าว่าต่างคดีให้โจทก์ในศาลชั้นต้น และลงชื่อในอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อศาลนั้น เป็นผู้ที่ขาดจากการเป็นทนายความและต้องห้ามมิให้ว่าความในศาลหรือแต่งคำฟ้อง คำให้การ คำฟ้องอุทธรณ์คำฟ้องฎีกา ฯลฯ ตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา44 (3) และ มาตรา 33 มาแต่แรก แม้ภายหลังจากนั้นต่อมาบุคคลดังกล่าวจะได้จดทะเบียนและได้รับอนุญาตให้เป็นทนายความประเภทตลอดชีพก็ตาม แต่ขณะที่ว่าต่างคดีให้โจทก์ได้ขาดจากการเป็นทนายความแล้ว ย่อมไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตั้งแต่วันที่บุคคลดังกล่าวรับแต่งตั้งจากโจทก์ให้เป็นทนายว่าต่างมาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคแรกและมาตรา 62 ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนนี้ใหม่ ตามป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบด้วยมาตรา 247 ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้