พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4396/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท - การกระทำผิดฐานพนัน, ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน, และการปรับบทกฎหมายที่ถูกต้อง
ความผิดฐานร่วมกันเล่นการพนันและฐานร่วมกันฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ถึงที่ 15 มีเจตนาเล่นการพนันและฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในเวลาเดียวกัน อันเป็นเจตนาเดียวกัน การกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ถึงที่ 15 จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่หลายกรรมต่างกัน ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ถึงที่ 15 เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน เป็นการไม่ชอบ และการที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนัน ย่อมเป็นความผิดฐานฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินอีกบทหนึ่งด้วย โดยเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ที่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้ปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานนี้ด้วยทั้งที่โจทก์บรรยายฟ้องและจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ จึงเป็นการไม่ชอบ ส่วนจำเลยที่ 2 ความผิดฐานเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ ฐานร่วมกันเล่นการพนันและฐานร่วมกันฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน จำเลยที่ 2 มีเจตนาเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ เล่นการพนัน และฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในเวลาเดียวกัน อันเป็นเจตนาเดียวกัน การกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหลายบท มิใช่หลายกรรมต่างกัน ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน เป็นการไม่ชอบเช่นเดียวกัน กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และมาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 และกรณีเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ถึงที่ 15 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 และมาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4172/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและอายุความฟ้องคดี
จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกทำหนังสือให้โจทก์ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้เยาว์สละมรดกของ ต. โดยไม่ได้รับความยินยอมของ ม. มารดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ และไม่ได้รับอนุญาตจากศาล อันเป็นการมิชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1611 หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ดำเนินการจัดการแบ่งมรดกโดยโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 การกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ และถือไม่ได้ว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดลง เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก ซึ่งการจัดการมรดกดังกล่าวเป็นการจัดการไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฟ้องโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3038/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาจำเลยผู้ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์: ต้องมีผลกระทบต่อสิทธิของตนจึงฎีกาได้
แม้คู่ความฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาในชั้นอุทธรณ์จะมีสิทธิฎีกาต่อศาลฎีกาได้ หากไม่มีบทกฎหมายให้คำพิพากษานั้นเป็นที่สุดหรือบัญญัติห้ามมิให้ฎีกา แต่คดีนี้จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองจะมีสิทธิฎีกาได้ต่อเมื่อคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิของจำเลยทั้งสอง สำหรับที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า ร. ผู้จัดการมรดกของ ก. โจทก์ และ น. ทายาท ไม่ทราบเรื่องและไม่ยินยอมให้กระทำการดังกล่าว คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง เนื่องจากจำเลยทั้งสองยังมีข้อโต้แย้งอยู่ จำเลยทั้งสองก็ให้เหตุผลในการฎีกาประเด็นนี้ว่า จำเลยทั้งสองเกรงว่าจะมีการนำเอาข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับฟังได้ในเบื้องต้นโดยผิดพลาดคลาดเคลื่อนดังกล่าวไปใช้อ้างในทางที่ไม่ถูกต้องและไม่ชอบว่าข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับฟัง เพราะนอกจากคดีนี้แล้วยังมีคดีอื่น ๆ อีกหลายคดีที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงดังกล่าว ซึ่งจะสร้างความวุ่นวายยุ่งยากให้จำเลยทั้งสองนำสืบอธิบายข้อเท็จจริง ก็เป็นเพียงการคาดคะเนของจำเลยทั้งสอง การรับฟังข้อเท็จจริงในเบื้องต้นของศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงหาได้กระทบกระเทือนหรือมีผลทำให้จำเลยทั้งสองอาจได้รับความเสียหายแต่ประการใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2756/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ผนังร่วมหลังรื้อถอนอาคาร: สิทธิของเจ้าของที่ดินแต่ละส่วนยังคงอยู่
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1410 สิทธิเหนือพื้นดินเป็นกรณีที่เจ้าของที่ดินก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินเป็นคุณแก่บุคคลอื่น ข้อเท็จจริงในคดีนี้รับฟังได้ว่า โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 17394 พร้อมสิ่งปลูกสร้างตึกแถว 6 ชั้น จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 17395 พร้อมสิ่งปลูกสร้างตึกแถว 7 ชั้น โดยตึกแถวของโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 ปลูกสร้างในลักษณะมีผนังแบ่งตึกแถวออกเป็นคูหา (ผนังร่วม) มีฐานรากและโครงสร้างหลักเชื่อมต่อเป็นอันเดียวกัน ต่อมาจำเลยที่ 1 รื้อถอนตึกแถวของจำเลยที่ 1 เหลือเพียงผนังร่วมในส่วนที่ติดกับตึกแถวของโจทก์ทั้งสอง ผนังร่วมในส่วนที่ติดกับตึกแถวของโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมจึงต่างอยู่บนที่ดินของโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 กรณีจึงไม่ใช่เรื่องสิทธิเหนือพื้นดินไม่สามารถนำ ป.พ.พ. มาตรา 1415 มาปรับใช้ได้
เมื่อพิจารณาว่าวัตถุประสงค์และสภาพการใช้งานผนังร่วมตึกแถวใช้เพื่อแบ่งกั้นตึกแถวออกเป็นคูหา ผนังร่วมเปรียบได้กับผนังกำแพงซึ่งหมายเขตที่ดิน โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 จึงเป็นเจ้าของรวมกันและหลักกรรมสิทธิ์ยังคงมีอยู่ หาได้เปลี่ยนแปลงเพราะสภาพการใช้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงไป โจทก์ทั้งสองทราบดีว่าผนังร่วมระหว่างตึกแถวของโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 เป็นกรรมสิทธิ์รวม แม้ต่อมาภายหลังสภาพของผนังร่วมระหว่างตึกแถวเปลี่ยนแปลงไปและไม่อาจใช้ได้ตามวัตถุประสงค์เดิม แต่ผนังร่วมก็ยังคงบ่งบอกเขตแดนกรรมสิทธิ์ของที่ดินอันเป็นประโยชน์แก่เจ้าของรวม กรรมสิทธิ์ผนังร่วมระหว่างตึกแถวของโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 จึงหาได้เปลี่ยนแปลงไปไม่ จำเลยที่ 1 ยังคงมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์ทั้งสอง แม้จำเลยที่ 2 จะทำประตูบ้านหรือประตูเข้าพื้นที่ใหม่ในตำแหน่งใหม่ โดยรื้อถอนประตูเดิมทิ้งก็ตาม ก็ไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในผนังร่วมระหว่างตึกแถวของโจทก์ทั้งสองและของจำเลยที่ 1 ได้สละสิทธิในการใช้ประโยชน์ผนังร่วมดังกล่าวไปด้วย ในเมื่อจำเลยที่ 1 ยังคงหวงกันผนังร่วมในฝั่งที่ดินของจำเลยที่ 1 อยู่เช่นเดิม กรณีหามีเหตุอันใดให้จำเลยที่ 1 ต้องเสียไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในส่วนของจำเลยที่ 1 และให้โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ผนังร่วมตึกแถวที่เหลือจากการรื้อถอนทั้งหมดแต่เพียงฝ่ายเดียว
เมื่อพิจารณาว่าวัตถุประสงค์และสภาพการใช้งานผนังร่วมตึกแถวใช้เพื่อแบ่งกั้นตึกแถวออกเป็นคูหา ผนังร่วมเปรียบได้กับผนังกำแพงซึ่งหมายเขตที่ดิน โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 จึงเป็นเจ้าของรวมกันและหลักกรรมสิทธิ์ยังคงมีอยู่ หาได้เปลี่ยนแปลงเพราะสภาพการใช้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงไป โจทก์ทั้งสองทราบดีว่าผนังร่วมระหว่างตึกแถวของโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 เป็นกรรมสิทธิ์รวม แม้ต่อมาภายหลังสภาพของผนังร่วมระหว่างตึกแถวเปลี่ยนแปลงไปและไม่อาจใช้ได้ตามวัตถุประสงค์เดิม แต่ผนังร่วมก็ยังคงบ่งบอกเขตแดนกรรมสิทธิ์ของที่ดินอันเป็นประโยชน์แก่เจ้าของรวม กรรมสิทธิ์ผนังร่วมระหว่างตึกแถวของโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 จึงหาได้เปลี่ยนแปลงไปไม่ จำเลยที่ 1 ยังคงมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์ทั้งสอง แม้จำเลยที่ 2 จะทำประตูบ้านหรือประตูเข้าพื้นที่ใหม่ในตำแหน่งใหม่ โดยรื้อถอนประตูเดิมทิ้งก็ตาม ก็ไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในผนังร่วมระหว่างตึกแถวของโจทก์ทั้งสองและของจำเลยที่ 1 ได้สละสิทธิในการใช้ประโยชน์ผนังร่วมดังกล่าวไปด้วย ในเมื่อจำเลยที่ 1 ยังคงหวงกันผนังร่วมในฝั่งที่ดินของจำเลยที่ 1 อยู่เช่นเดิม กรณีหามีเหตุอันใดให้จำเลยที่ 1 ต้องเสียไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในส่วนของจำเลยที่ 1 และให้โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ผนังร่วมตึกแถวที่เหลือจากการรื้อถอนทั้งหมดแต่เพียงฝ่ายเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานให้กู้ยืมเงินเกินอัตราดอกเบี้ย และการปลอมเอกสารสิทธิ การกระทำความผิดเกิดขึ้นเมื่อให้กู้ ไม่ใช่เมื่อได้รับดอกเบี้ย
ความผิดฐานให้บุคคลอื่นกู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เกิดขึ้นและสำเร็จแล้วในทันทีที่จำเลยให้ผู้เสียหายทั้งห้ากู้เงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด มิใช่ว่าจำเลยจะต้องได้รับดอกเบี้ยจากผู้เสียหายทั้งห้าก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4871/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยตั้งสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต และให้เด็กนั่งดริ๊งค์บริการลูกค้า รวมถึงให้เด็กมีเพศสัมพันธ์กับลูกค้า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.สถานบริการ และ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก
จําเลยรับและให้ผู้เสียหายทั้งสองทํางานเป็นเด็กนั่งดริ๊งก์บริการลูกค้า ลูกค้าที่ร่วมโต๊ะจะกอด จูบ ลูบ คลําตัวผู้เสียหายทั้งสอง ค่านั่งดริ๊งก์ชั่วโมงละ 120 บาท จําเลยหักไว้ 20 บาท จําเลยบอกให้ผู้เสียหายที่ 1 ออกไปมีเพศสัมพันธ์กับลูกค้า ได้ค่าตัว 1,500 บาท จําเลยหักไว้ 500 บาท และบอกให้ผู้เสียหายที่ 2 ออกไปกับลูกค้าแต่ผู้เสียหายที่ 2 ปฏิเสธเนื่องจากมีประจำเดือน การกระทำของจำเลยทําให้อํานาจปกครองของ ท. และ ณ. ถูกรบกวน โดย ท. และ ณ. ไม่รู้เห็นยินยอม เป็นการพรากผู้เสียหายทั้งสองไปจากอํานาจปกครองเพื่อการอนาจาร