พบผลลัพธ์ทั้งหมด 459 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะ "พนักงาน" ตามข้อบังคับบริษัท แม้ไม่ได้มาทำงานประจำทุกวัน
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทจำเลยมิได้นิยามคำว่า "พนักงาน" ไว้ จึงต้องถือว่าคำนี้มีความหมายตามที่เข้าใจกันโดยทั่วไปการที่โจทก์มิได้มาทำงานที่บริษัทจำเลยเป็นประจำทุกวันเพราะลักษณะงานในหน้าที่ของโจทก์ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการบริษัทจำเลยไม่จำเป็นต้องทำเช่นนั้นหาทำให้โจทก์ไม่เป็นพนักงานไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุครบ 60 ปี ไม่ใช่กำหนดระยะเวลาจ้าง: รัฐวิสาหกิจต้องจ่ายค่าชดเชย
การที่กฎหมายและระเบียบของรัฐวิสาหกิจกำหนดให้ลูกจ้างต้องพ้นจากตำแหน่งเมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์มิใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้าง เพราะมิได้กำหนดให้ผูกพันจ้างกันจนกว่าพนักงานจะมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์แต่เป็นเรื่องกำหนดคุณสมบัติพนักงานของรัฐวิสาหกิจเป็นการทั่วไปดังนั้น เมื่อรัฐวิสาหกิจเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ จึงต้องจ่ายเงินค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1646/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการพิจารณาคดีเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมก่อนมีผลบังคับใช้ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงาน
ปัญหาที่ว่าศาลแรงงานกลางจะนำบทบัญญัติมาตรา 49 แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาใช้บังคับแก่การเลิกจ้างก่อนกฎหมายดังกล่าวใช้บังคับได้หรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ แม้จะมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่า กันมาก็ตาม
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ ประกาศใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม 2522 และมาตรา 49 มีผลเป็นการให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะไม่ต้องถูกนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมตั้งแต่กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับโจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งและอัตราเงินเดือนไม่ต่ำกว่าเดิม แต่เมื่อได้ความว่าเป็นกรณีที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานโดยไม่เป็นธรรมตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2521 ซึ่งตามมาตรา 81 (9) แพ่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 บัญญัติให้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่จะวินิจฉัยชี้ขาดและมีคำสั่ง ศาลแรงงานกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาและพิพากษาสั่งให้จำเลยรับโจทก์เข้าทำงานตามที่โจทก์ขอโดยอาศัยมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ ประกาศใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม 2522 และมาตรา 49 มีผลเป็นการให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะไม่ต้องถูกนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมตั้งแต่กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับโจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งและอัตราเงินเดือนไม่ต่ำกว่าเดิม แต่เมื่อได้ความว่าเป็นกรณีที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานโดยไม่เป็นธรรมตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2521 ซึ่งตามมาตรา 81 (9) แพ่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 บัญญัติให้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่จะวินิจฉัยชี้ขาดและมีคำสั่ง ศาลแรงงานกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาและพิพากษาสั่งให้จำเลยรับโจทก์เข้าทำงานตามที่โจทก์ขอโดยอาศัยมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างรายปีที่บอกเลิกได้ง่าย, หน้าที่จ่ายโบนัสตามระเบียบ, สิทธิค่ารักษาพยาบาลตามระเบียบ
แม้สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจะระบุว่า เป็นสัญญาที่ได้กระทำขึ้นมีกำหนดเป็นรายปี แต่ความในสัญญาโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างเมื่อใดก็ได้ หรือจะต่ออายุสัญญาจ้างออกไปครั้งละ 1 ปี นานเท่าใดก็ได้ ดังนั้น เวลาที่กำหนดไว้ 1 ปี ไม่มีผลบังคับอย่างแท้จริง โจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างที่มีระยะเวลาการจ้างกำหนดไว้แน่นอนอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้เมื่อเลิกจ้าง
จำเลยมีหน้าที่ตามระเบียบที่ต้องจ่ายโบนัสให้โจทก์ แม้จะมีสัญญาจ้างกำหนดว่า ให้ถือว่าลูกจ้างยังอยู่ภายใต้กฎและระเบียบข้อบังคับที่มีอยู่แล้ว และหรือที่จะได้กำหนดขึ้นใหม่ แก้ไขเปลี่ยนแปลงสำหรับลูกจ้างโดยเฉพาะเป็นบางครั้งบางคราวในกรณีพิเศษ โดยฝ่ายบริหารของบริษัทก็ตาม ก็เป็นเพียงแต่ให้สิทธิจำเลยที่จะกำหนดขึ้นใหม่ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบที่มีอยู่แล้ว หากยังมิได้แก้ไขก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบเดิม จะไม่ปฏิบัติตามโดยอ้างว่า มีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขหาได้ไม่ จำเลยไม่มีสิทธิที่จะไม่ให้โบนัสแก่โจทก์
เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลแล้ว การที่จำเลยจ่ายค่ารักษาพยานบาลให้โจทก์ครึ่งหนึ่งนั้น ไม่เป็นเหตุให้โจทก์กลับมีสิทธิขึ้น จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลอีกกึ่งหนึ่งให้โจทก์
จำเลยมีหน้าที่ตามระเบียบที่ต้องจ่ายโบนัสให้โจทก์ แม้จะมีสัญญาจ้างกำหนดว่า ให้ถือว่าลูกจ้างยังอยู่ภายใต้กฎและระเบียบข้อบังคับที่มีอยู่แล้ว และหรือที่จะได้กำหนดขึ้นใหม่ แก้ไขเปลี่ยนแปลงสำหรับลูกจ้างโดยเฉพาะเป็นบางครั้งบางคราวในกรณีพิเศษ โดยฝ่ายบริหารของบริษัทก็ตาม ก็เป็นเพียงแต่ให้สิทธิจำเลยที่จะกำหนดขึ้นใหม่ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบที่มีอยู่แล้ว หากยังมิได้แก้ไขก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบเดิม จะไม่ปฏิบัติตามโดยอ้างว่า มีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขหาได้ไม่ จำเลยไม่มีสิทธิที่จะไม่ให้โบนัสแก่โจทก์
เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลแล้ว การที่จำเลยจ่ายค่ารักษาพยานบาลให้โจทก์ครึ่งหนึ่งนั้น ไม่เป็นเหตุให้โจทก์กลับมีสิทธิขึ้น จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลอีกกึ่งหนึ่งให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างรายปีที่มีสิทธิบอกเลิกได้, หน้าที่จ่ายโบนัสตามระเบียบ, และสิทธิค่ารักษาพยาบาลตามข้อกำหนด
แม้สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจะระบุว่า เป็นสัญญาที่ได้กระทำขึ้นมีกำหนดเป็นรายปี แต่ความในสัญญาโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างเมื่อใดก็ได้ หรือจะต่ออายุสัญญาจ้าง ออกไปครั้งละ 1 ปี นานเท่าใดก็ได้ ดังนั้น เวลาที่กำหนดไว้ 1 ปีไม่มีผลบังคับอย่าง แท้จริงโจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างที่มีระยะเวลา การจ้างกำหนด ไว้แน่นอนอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องจ่าย ค่าชดเชยให้ เมื่อเลิกจ้าง
จำเลยมีหน้าที่ตามระเบียบที่ต้องจ่ายโบนัสให้โจทก์แม้จะมีสัญญาจ้างกำหนดว่าให้ถือว่าลูกจ้างยังอยู่ภายใต้กฎและระเบียบข้อบังคับของบริษัทที่มีอยู่แล้วและหรือที่จะได้กำหนดขึ้นใหม่ แก้ไขเปลี่ยนแปลงสำหรับลูกจ้างโดยเฉพาะเป็นบางครั้งบางคราวในกรณีพิเศษโดยฝ่ายบริหารของบริษัทก็ตาม ก็เป็นเพียงแต่ให้สิทธิจำเลยที่จะกำหนดขึ้นใหม่หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบที่มีอยู่แล้ว หากยังมิได้แก้ไขก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบเดิม จะไม่ปฏิบัติตามโดยอ้างว่ามีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขหาได้ไม่ จำเลยไม่มีสิทธิที่จะไม่ให้โบนัสแก่โจทก์
เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลแล้ว การที่จำเลยจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้โจทก์ครึ่งหนึ่งนั้น ไม่เป็นเหตุให้โจทก์กลับมีสิทธิขึ้น จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลอีกกึ่งหนึ่งให้โจทก์
จำเลยมีหน้าที่ตามระเบียบที่ต้องจ่ายโบนัสให้โจทก์แม้จะมีสัญญาจ้างกำหนดว่าให้ถือว่าลูกจ้างยังอยู่ภายใต้กฎและระเบียบข้อบังคับของบริษัทที่มีอยู่แล้วและหรือที่จะได้กำหนดขึ้นใหม่ แก้ไขเปลี่ยนแปลงสำหรับลูกจ้างโดยเฉพาะเป็นบางครั้งบางคราวในกรณีพิเศษโดยฝ่ายบริหารของบริษัทก็ตาม ก็เป็นเพียงแต่ให้สิทธิจำเลยที่จะกำหนดขึ้นใหม่หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบที่มีอยู่แล้ว หากยังมิได้แก้ไขก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบเดิม จะไม่ปฏิบัติตามโดยอ้างว่ามีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขหาได้ไม่ จำเลยไม่มีสิทธิที่จะไม่ให้โบนัสแก่โจทก์
เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลแล้ว การที่จำเลยจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้โจทก์ครึ่งหนึ่งนั้น ไม่เป็นเหตุให้โจทก์กลับมีสิทธิขึ้น จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลอีกกึ่งหนึ่งให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1568/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ศาลยืนบังคับใช้ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานกับรัฐวิสาหกิจ
โจทก์มาแถลงข้อหาด้วยวาจาต่อหน้าศาลแรงงานกลางศาลแรงงานกลางสอบถามตามที่จำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม แล้วบันทึกรายการแห่งข้อหาไว้ ตามมาตรา 35แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 โดยในตอนต้นกล่าวถึงการที่โจทก์ถูกจำเลยเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม คำขอบังคับในตอนท้ายกล่าวว่า ให้จำเลยปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน โดยจ่ายค่าชดเชยรวม 14,400บาทนั้น ย่อมเข้าใจได้แล้วว่าโจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน นั่นเอง ไม่เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม
การฟ้องเรียกค่าชดเชย ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจด้วย จึงมิใช่กิจการที่ได้รับยกเว้นมิให้ใช้บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานและเมื่อโจทก์เป็นผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างเพื่อรับค่าจ้าง และงานนั้นไม่เกี่ยวกับงานบ้านไม่ว่าจำเลยจะเรียกโจทก์ว่าพนักงานหรือเรียกว่าลูกจ้างและจำเลยจะวางข้อบังคับกำหนดระเบียบปฏิบัติงาน และระเบียบการลงโทษ การแต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อนชั้น เลื่อนขั้นเงินเดือนของพนักงาน ตลอดจนจัดให้มีกองทุนสงเคราะห์แก่พนักงานไว้อย่างไร ก็ยังต้องถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ตามบทนิยามของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน อยู่นั่นเอง
การฟ้องเรียกค่าชดเชย ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจด้วย จึงมิใช่กิจการที่ได้รับยกเว้นมิให้ใช้บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานและเมื่อโจทก์เป็นผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างเพื่อรับค่าจ้าง และงานนั้นไม่เกี่ยวกับงานบ้านไม่ว่าจำเลยจะเรียกโจทก์ว่าพนักงานหรือเรียกว่าลูกจ้างและจำเลยจะวางข้อบังคับกำหนดระเบียบปฏิบัติงาน และระเบียบการลงโทษ การแต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อนชั้น เลื่อนขั้นเงินเดือนของพนักงาน ตลอดจนจัดให้มีกองทุนสงเคราะห์แก่พนักงานไว้อย่างไร ก็ยังต้องถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ตามบทนิยามของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน อยู่นั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1567/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีแรงงานต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 54
อุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางฟังมา ต้องห้ามตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1567/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีแรงงานต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 54
อุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางฟังมา ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1566/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ ถือเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมาย และเงินบำเหน็จไม่ใช่ค่าชดเชย
การที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานเพราะครบเกษียณอายุ เป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 ที่แก้ไขแล้ว
การที่จำเลยมีระเบียบว่า ลูกจ้างจะถูกสั่งให้ออกเมื่อปฏิบัติงานมาถึงสิ้นงบประมาณซึ่งเป็นปีที่มีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์นั้น มิใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้าง เพราะมิใช่เป็นการตกลงกันว่าจะจ้างกันจนกว่าลูกจ้างจะมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ แต่เป็นเรื่องกำหนดคุณสมบัติของลูกจ้างเป็นการทั่วไป โจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างประจำที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน
เงินบำเหน็จตามระเบียบของจำเลย เป็นเงินสงเคราะห์ที่จ่ายให้สำหรับความดี ความชอบในการที่ลูกจ้างได้ทำงานมาเกินกว่า 3 ปี และออกจากงานไปโดยไม่มีความผิดทางวินัยเป็นการจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์ยิ่งกว่าให้เงินจำนวนหนึ่ง แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง ทั้งข้อความ ตามระเบียบของจำเลยก็มิได้แสดงว่าประสงค์ให้เงินบำเหน็จนั้นเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายเงินบำเหน็จตามระเบียบของจำเลยจึงเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายข้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างหาใช่ค่าชดเชยไม่
การที่จำเลยมีระเบียบว่า ลูกจ้างจะถูกสั่งให้ออกเมื่อปฏิบัติงานมาถึงสิ้นงบประมาณซึ่งเป็นปีที่มีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์นั้น มิใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้าง เพราะมิใช่เป็นการตกลงกันว่าจะจ้างกันจนกว่าลูกจ้างจะมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ แต่เป็นเรื่องกำหนดคุณสมบัติของลูกจ้างเป็นการทั่วไป โจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างประจำที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน
เงินบำเหน็จตามระเบียบของจำเลย เป็นเงินสงเคราะห์ที่จ่ายให้สำหรับความดี ความชอบในการที่ลูกจ้างได้ทำงานมาเกินกว่า 3 ปี และออกจากงานไปโดยไม่มีความผิดทางวินัยเป็นการจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์ยิ่งกว่าให้เงินจำนวนหนึ่ง แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง ทั้งข้อความ ตามระเบียบของจำเลยก็มิได้แสดงว่าประสงค์ให้เงินบำเหน็จนั้นเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายเงินบำเหน็จตามระเบียบของจำเลยจึงเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายข้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างหาใช่ค่าชดเชยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1566/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมาย และเงินบำเหน็จไม่ใช่ค่าชดเชย
การที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานเพราะครบเกษียณอายุเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 ที่แก้ไขแล้ว
การที่จำเลยมีระเบียบว่า ลูกจ้างจะถูกสั่งให้ออกเมื่อปฏิบัติงานมาถึงสิ้นปีงบประมาณซึ่งเป็นปีที่มีอายุครบ 60ปีบริบูรณ์นั้น มิใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้างเพราะมิใช่ เป็นการตกลงกันว่าจะจ้างกันจนกว่าลูกจ้างจะมีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์ แต่เป็นเรื่องกำหนดคุณสมบัติของลูกจ้างเป็นการทั่วไป โจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างประจำที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน
เงินบำเหน็จตามระเบียบของจำเลย เป็นเงินสงเคราะห์ที่จ่ายให้สำหรับความดีความชอบในการที่ลูกจ้างได้ทำงานมาเกินกว่า3 ปี และออกจากงานไปโดยไม่มีความผิดทางวินัย เป็นการจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์ยิ่งกว่าให้เป็นเงินจำนวนหนึ่งแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง ทั้งข้อความตามระเบียบของจำเลยก็มิได้แสดงว่าประสงค์ให้เงินบำเหน็จนั้นเป็นค่าชดเชยตามกฎหมาย เงินบำเหน็จตามระเบียบของจำเลยจึงเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างหาใช่ค่าชดเชยไม่
การที่จำเลยมีระเบียบว่า ลูกจ้างจะถูกสั่งให้ออกเมื่อปฏิบัติงานมาถึงสิ้นปีงบประมาณซึ่งเป็นปีที่มีอายุครบ 60ปีบริบูรณ์นั้น มิใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้างเพราะมิใช่ เป็นการตกลงกันว่าจะจ้างกันจนกว่าลูกจ้างจะมีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์ แต่เป็นเรื่องกำหนดคุณสมบัติของลูกจ้างเป็นการทั่วไป โจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างประจำที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน
เงินบำเหน็จตามระเบียบของจำเลย เป็นเงินสงเคราะห์ที่จ่ายให้สำหรับความดีความชอบในการที่ลูกจ้างได้ทำงานมาเกินกว่า3 ปี และออกจากงานไปโดยไม่มีความผิดทางวินัย เป็นการจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์ยิ่งกว่าให้เป็นเงินจำนวนหนึ่งแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง ทั้งข้อความตามระเบียบของจำเลยก็มิได้แสดงว่าประสงค์ให้เงินบำเหน็จนั้นเป็นค่าชดเชยตามกฎหมาย เงินบำเหน็จตามระเบียบของจำเลยจึงเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างหาใช่ค่าชดเชยไม่