พบผลลัพธ์ทั้งหมด 459 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1565/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจมีสิทธิได้รับเงินชดเชย แม้ไม่ได้ทำสัญญาจ้างแรงงานโดยตรง และเงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ไม่ใช่เงินชดเชย
คำว่า นายจ้าง ลูกจ้าง ตามความหมายของกฎหมายแรงงานหมายรวมถึงบุคคลผู้เข้าทำงานให้แก่บุคคลอื่นใน งานอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรมโดยได้รับค่าจ้างเป็นผลประโยชน์ตอบแทนทั่วไป หากลูกจ้างประเภทใดที่ไม่ต้องการให้อยู่ในบังคับของกฎหมายแรงงานก็กำหนดเป็นข้อยกเว้นไว้ อันมีข้าราชการและข้าราชการส่วนท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย แม้ฐานะของโจทก์จะเรียกว่า พนักงาน มิได้เรียกลูกจ้างโดยตรง ก็ต้องถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจได้รับความคุ้มครองของกฎหมายแรงงาน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 3 แก้ไขฉบับที่ 3 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2507 ข้อ 2 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยโจทก์มิได้กระทำการอันต้องด้วยข้อยกเว้นที่นายจ้างจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแล้วจำเลยก็ต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่โจทก์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยข้างต้น ข้อ 12
เงินชดเชยเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับตามกฎหมาย มิใช่เป็นสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายฐานละเมิดและกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความตามหลักทั่วไปที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คือมีกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องขึ้นได้
เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ ตามข้อบังคับว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงานและคนงานของจำเลย ที่พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 42 กำหนดให้จัดตั้งกองทุนขึ้น โดยนำเงินสะสมที่หักไว้จากเงินเดือนของโจทก์ทุกเดือน กับเงินของจำเลยอีกจำนวนหนึ่งเป็นเงินสมทบจ่าย มีหลักเกณฑ์และวิธีการแตกต่างกันไปจากเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน เงินสงเคราะห์นี้จึงเข้าลักษณะเป็นเงินประเภทอื่นต่างหากจากเงินชดเชย ดังกำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 2 ดังกล่าว เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยจึงต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่โจทก์
เงินชดเชยเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับตามกฎหมาย มิใช่เป็นสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายฐานละเมิดและกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความตามหลักทั่วไปที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คือมีกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องขึ้นได้
เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ ตามข้อบังคับว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงานและคนงานของจำเลย ที่พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 42 กำหนดให้จัดตั้งกองทุนขึ้น โดยนำเงินสะสมที่หักไว้จากเงินเดือนของโจทก์ทุกเดือน กับเงินของจำเลยอีกจำนวนหนึ่งเป็นเงินสมทบจ่าย มีหลักเกณฑ์และวิธีการแตกต่างกันไปจากเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน เงินสงเคราะห์นี้จึงเข้าลักษณะเป็นเงินประเภทอื่นต่างหากจากเงินชดเชย ดังกำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 2 ดังกล่าว เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยจึงต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1565/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้างรัฐวิสาหกิจสิทธิรับเงินชดเชย แม้เรียกตำแหน่งอื่น และอายุความการฟ้องเรียกเงินชดเชย
คำว่านายจ้าง ลูกจ้าง ตามความหมายของกฎหมายแรงงาน หมายรวมถึงบุคคลบุคลลผู้เข้าทำงานให้แก่บุคคลอื่นในงานอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรม โดยได้ได้รับค่าจ้างเป็นผลประโยชน์ตอบแทนทั่วไป หากลูกจ้างประเภทใดที่ไม่ต้องการให้อยู่ในบังคับของกฎหมายแรงงานก็กำหนดเป็นข้อยกเว้นไว้ อันมีข้าราชการส่วนท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย แม้ฐานะของโจทก์จะเรียกว่า พนักงานมิได้เรียกลูกจ้างโดยตรง ก็ต้องถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้าง ของจำเลย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ได้รับความคุ้มครองของกฎหมายแรงงาน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 3 แก้ไขฉบับที่ 3 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2507่ข้อ 2 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยโจทก์มิได้กระทำการอันต้องด้วยข้อยกเว้นที่นายจ้างจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแล้ว จำเลยก็ต้องจ่าย เงินชดเชยค่าโจทก์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยข้างต้น ข้อ 12
เงินชดเชยเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับตามกฎหมาย มิใช่เป็นเป็นสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทดนหรือค่าเสียหายฐานละเมิด และกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความตามหลักทั่ว ไปที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คือมีกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องขึ้นได้
เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ ตามข้อบังคับว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงานและคนงานของจำเลย ที่พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 42 กำหนดให้จัดตั้งกองทุนขึ้น โดยนำเงินสะสมที่หักไว้จากเงินเดือนของโจทก์ทุกเดือน กับเงินของจำเลยอีกจำนวนหนึ่งเป็นเงินสมทบจ่าย มีหลักเกณฑ์ และวิธีการแตกต่างกันไปจากเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน เงินสงเคราะห์จึงเข้าลักษณะเป็นเงินประเภทอื่นต่างหากจากเงินชดเชย ดังกำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 2 ดังกล่าว เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยจึงต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่โจทก์
เงินชดเชยเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับตามกฎหมาย มิใช่เป็นเป็นสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทดนหรือค่าเสียหายฐานละเมิด และกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความตามหลักทั่ว ไปที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คือมีกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องขึ้นได้
เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ ตามข้อบังคับว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงานและคนงานของจำเลย ที่พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 42 กำหนดให้จัดตั้งกองทุนขึ้น โดยนำเงินสะสมที่หักไว้จากเงินเดือนของโจทก์ทุกเดือน กับเงินของจำเลยอีกจำนวนหนึ่งเป็นเงินสมทบจ่าย มีหลักเกณฑ์ และวิธีการแตกต่างกันไปจากเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน เงินสงเคราะห์จึงเข้าลักษณะเป็นเงินประเภทอื่นต่างหากจากเงินชดเชย ดังกำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 2 ดังกล่าว เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยจึงต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1521/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คสั่งจ่าย: ผู้ทรงคนหลังมีสิทธิเรียกร้อง แม้ผู้สั่งจ่ายจะโต้แย้งการโอนเช็ค และการลงวันออกเช็คไม่สมบูรณ์ไม่ทำให้ฟ้องขาดอายุความ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา910 วรรคสุดท้าย บัญญัติไว้ความว่า ถ้าตั๋วเงินมิได้ลงวันออกตั๋วผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายคนหนึ่งคนใดทำการโดยสุจริตจะจดวันตามที่ถูกต้องแท้จริงลงก็ได้ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นจำเลยผู้สั่งจ่าย หรือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายคนหนึ่งคนใดเป็นผู้ลงวันออกเช็คพิพาทก็ไม่ทำให้ความสมบูรณ์ของเช็คเสียไปคดีไม่จำต้องวินิจฉัยว่า จำเลยได้ลงวันออกเช็คด้วยตนเองหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1421/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 ต้องคำนึงถึงอายุจำเลยก่อนวางโทษ และความร่วมมือในการให้การ
การลดมาตราส่วนโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 โดยวางโทษก่อนแล้วลดมาตราส่วนเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลลดมาตราส่วนโดยคำนวณจากอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ แล้วจึงวางโทษแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนการพิจารณาคดีเช็คเนื่องจากโจทก์ไม่มาศาลและเดินทางไปต่างประเทศ
คดีความผิดต่อ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คนัดแรกตัวโจทก์ไม่มาศาลโดยไม่ทราบเหตุขัดข้องนัดที่ 2 โจทก์ไปสาธารณรัฐประชาชนจีนโดยคำเชิญเกี่ยวกับธุรกิจยังไม่กลับเป็นเหตุควรต้องเลื่อนการพิจารณาไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างผู้แทนสหภาพแรงงาน: ศาลไม่จำเป็นต้องรอผลคดีอาญา
ข้อพิพาทระหว่างลูกจ้างกับโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างในชั้นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์คือ ลูกจ้างอ้างว่าโจทก์เลิกจ้างเพราะลูกจ้างเป็นผู้แทนสหภาพแรงงานเจรจาต่อรองกับโจทก์โจทก์อ้างว่าลูกจ้างทำผิดอาญา ผิดระเบียบข้อบังคับอย่างร้ายแรง จึงเลิกจ้างข้ออ้างของโจทก์จึงเป็นประเด็นที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ต้องวินิจฉัย
ข้อที่ว่าลูกจ้างลักทรัพย์ของนายจ้างศาลยังพิจารณาไม่ได้พิพากษาก็ไม่มีกฎหมายบังคับให้คณะกรรมการต้องรอการพิจารณาไว้ก่อน
ข้อที่ว่าลูกจ้างลักทรัพย์ของนายจ้างศาลยังพิจารณาไม่ได้พิพากษาก็ไม่มีกฎหมายบังคับให้คณะกรรมการต้องรอการพิจารณาไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1322/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธินายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างฐานฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน การเล่นการพนันในบริษัทเป็นเหตุร้ายแรง
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานนั้น มีกฎหมายบังคับให้นายจ้างจะต้องจัดให้มีตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 68ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 2 และข้อ 14 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ดังนั้น จำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง จะต้องจัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและต้องมีรายการต่าง ๆ ตามที่ข้อ 68 กำหนดไว้ซึ่งข้อ 68(6) มีรายการเรื่องวินัยและโทษทางวินัยด้วยฉะนั้น นายจ้างจึงมีสิทธิที่จะออกข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่าการเล่นการพนันในบริเวณบริษัทเป็นความผิดสถานหนักมีโทษถึงปลดออกหรือไล่ออก และไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยได้ ส่วนการจ่ายค่าชดเชย ต้องบังคับตามข้อ 47(3)ของประกาศกระทรวงมหาดไทย ระเบียบข้อบังคับของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
การเล่นการพนันในบริเวณบริษัท ไม่ว่าจะเป็นเวลาในขณะปฏิบัติงานหรือนอกเวลาก็ตาม นอกจากจะเป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมายอาญาแล้ว ยังเป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรมทำลายความสามัคคีในระหว่างหมู่คณะ ทำให้ผลงานของลูกจ้างลดน้อยลง และอาจทำให้บริษัทจำเลยได้รับความเสียหายทางชื่อเสียง การฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่ร้ายแรง
การเล่นการพนันในบริเวณบริษัท ไม่ว่าจะเป็นเวลาในขณะปฏิบัติงานหรือนอกเวลาก็ตาม นอกจากจะเป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมายอาญาแล้ว ยังเป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรมทำลายความสามัคคีในระหว่างหมู่คณะ ทำให้ผลงานของลูกจ้างลดน้อยลง และอาจทำให้บริษัทจำเลยได้รับความเสียหายทางชื่อเสียง การฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่ร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าและการมีอำนาจฟ้องคดี กรณีจำเลยค้างชำระค่าเช่า และโจทก์แจ้งบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนดชำระค่าเช่า
ตามสัญญาเช่า จำเลยต้องชำระค่าเช่าให้โจทก์ภายในวันที่ 5 ของเดือน ทุกเดือนที่เช่า โจทก์บอกเลิกการเช่าโดยจำเลยได้รับหนังสือบอกเลิกการเช่า วันที่ 3 ตุลาคม 2521ซึ่งเป็นเวลาก่อนกำหนดที่จำเลยต้องชำระค่าเช่าเดือนที่ล่วงแล้วแก่โจทก์ โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2521 ซึ่งเป็นเวลาหลังที่จำเลยต้องชำระค่าเช่าเดือนที่โจทก์ฟ้องคดี ถือว่าโจทก์บอกเลิกการเช่าโดยบอกกล่าวให้จำเลยรู้ตัวก่อน กำหนดเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1289/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินงอกริมตลิ่ง: ที่ดินงอกย่อมเป็นของเจ้าของที่ดินเดิม แม้จะมีการอุทิศเป็นถนนสาธารณะ
เดิมที่พิพาทเป็นที่ชายตลิ่งน้ำท่วมถึงได้เปลี่ยนสภาพเป็นที่น้ำท่วมไม่ถึงมาได้ 4 - 5 ปี ที่พิพาทอยู่หน้าที่ดินโจทก์ด้านริมแม่น้ำ และมีทางเดินเล็ก ๆ เรียบริมแม่น้ำอันเป็นทางเดินในที่ดินโฉนดของโจทก์ หรืองอกจากที่ดินของโจทก์ ทางเดินนี้แม้ชาวบ้านจะอาศัยใช้เป็นทางสัญจรไปมาก็หาใช่ทางสาธารณะไม่ หากจะเป็นก็เพียงทางภารจำยอม ต้องถือว่าทางเดินดังกล่าวเป็นที่ดินของโจทก์ ที่พิพาทติดกับทางเดิน จึงเป็นที่งอกจากที่ดินมีโฉนดของโจทก์และเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์เจ้าของที่ดินตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1308 ถึงแม้ต่อมาโจทก์จะอุทิศที่ดินที่เป็นทางเดินให้เป็นถนนสาธารณะก็หาทำให้ที่พิพาทเป็นที่งอกซึ่งเป็นกรรมสิทธิของโจท์แล้วเปลี่ยนแปลงไม่ได้ และจะถือว่าเป็นที่งอกจากที่สาธารณะมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1289/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินงอกริมตลิ่ง: ที่ดินงอกย่อมเป็นของเจ้าของที่ดินเดิม แม้มีการอุทิศที่ดินเป็นถนนสาธารณะในภายหลัง
เดิมที่พิพาทเป็นที่ชายตลิ่งน้ำท่วมถึงได้เปลี่ยนสภาพเป็นที่น้ำท่วมไม่ถึงมาได้ 4-5 ปีที่พิพาทอยู่หน้าที่ดินโจทก์ด้านริมแม่น้ำและมีทางเดินเล็ก ๆ เรียบริมแม่น้ำอันเป็นทางเดินในที่ดินโฉนดของโจทก์หรืองอกจากที่ดินของโจทก์ ทางเดินนี้แม้ชาวบ้านจะอาศัยใช้เป็นทางสัญจรไปมา.ก็หาใช่ทางสาธารณะไม่ หากจะเป็นก็เพียงทางภารจำยอม ต้องถือว่าทางเดินดังกล่าวเป็นที่ดินของโจทก์ ที่พิพาทติดกับทางเดินจึงเป็นที่งอกจากที่ดินมีโฉนดของโจทก์และเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์เจ้าของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1308 ถึงแม้ต่อมาโจทก์จะอุทิศที่ดินที่เป็นทางเดินให้เป็นถนนสาธารณะก็หาทำให้ที่พิพาทที่เป็นที่งอกซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แล้ว เปลี่ยนแปลงไปไม่ และจะถือว่าเป็นที่งอกจากที่สาธารณะมิได้