พบผลลัพธ์ทั้งหมด 459 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาใช้ทุนการศึกษา: การคำนวณระยะเวลาชดใช้ และฐานะนิติบุคคลของโจทก์
พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรีบัญญัติให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนเป็นทบวงการเมืองและมีฐานะเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนโจทก์จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 72,73 และมีอำนาจฟ้อง
การดำรงตำแหน่งตุลาการรัฐธรรมนูญของจำเลยที่ 1 เป็นผลจากการคัดเลือกของคณะบุคคลตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2517 มาตรา 218 ที่ใช้ในขณะจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาการใช้ทุนการศึกษา ตามมาตรา 219 ข้าราชการจะเป็นตุลาการรัฐธรรมนูญไม่ได้ ทั้งจำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งตุลาการรัฐธรรมนูญภายหลังที่จำเลยที่ 1 ลาออกจากราชการ จึงไม่เป็นการรับราชการตามสัญญาดังกล่าว จะนำมาคำนวณเพื่อใช้ทุนการศึกษาไม่ได้
การดำรงตำแหน่งตุลาการรัฐธรรมนูญของจำเลยที่ 1 เป็นผลจากการคัดเลือกของคณะบุคคลตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2517 มาตรา 218 ที่ใช้ในขณะจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาการใช้ทุนการศึกษา ตามมาตรา 219 ข้าราชการจะเป็นตุลาการรัฐธรรมนูญไม่ได้ ทั้งจำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งตุลาการรัฐธรรมนูญภายหลังที่จำเลยที่ 1 ลาออกจากราชการ จึงไม่เป็นการรับราชการตามสัญญาดังกล่าว จะนำมาคำนวณเพื่อใช้ทุนการศึกษาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 500/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหนังสือทวงหนี้ไปยังภูมิลำเนาที่เปลี่ยนแปลง และผลของการไม่ปฏิเสธหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ผู้ร้องมีถิ่นที่อยู่หลายแห่งสับเปลี่ยนกันไป ถือได้ว่าบ้านแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นภูมิลำเนาของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 45 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งหนังสือทวงหนี้และหนังสือเตือนให้ผู้ร้องชำระหนี้ไปที่บ้านแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นการชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74,79 แล้ว
ผู้ร้องได้รับหนังสือทวงหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยชอบแล้วแต่มิได้ปฏิเสธหนี้ดังกล่าวภายในกำหนด ถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่ตามจำนวนที่แจ้งไปเป็นการเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 119 วรรคแรก
ผู้ร้องได้รับหนังสือทวงหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยชอบแล้วแต่มิได้ปฏิเสธหนี้ดังกล่าวภายในกำหนด ถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่ตามจำนวนที่แจ้งไปเป็นการเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 119 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 481/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: การถือข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาอาญา, อายุความ 10 ปี, การรับพยานหลักฐาน
โจทก์ขอส่งสำเนาคำพิพากษาคดีอาญาเป็นพยานหลักฐานภายหลังที่โจทก์แถลงต่อศาลว่าหมดพยานแล้ว แต่เป็นคำพิพากษาซึ่งศาลลงโทษจำเลยฐานบุกรุกอันเป็นมูลคดีนี้ซึ่งโจทก์ก็ได้กล่าวอ้างผลของคำพิพากษาและหมายเลขคดีอาญานั้นมาในฟ้องแล้ว จำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธ จึงถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงนั้นแล้ว โจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องนำสืบเกี่ยวกับข้อเท็จจริงนั้นอีก แต่เมื่อโจทก์อ้างส่งและศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลย่อมมีอำนาจที่จะรับสำเนาเอกสารดังกล่าวไว้ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86วรรคสาม 87(2)
เมื่อคดีอาญาดังกล่าวศาลฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำผิดฐานบุกรุกตึกแถวพิพาท คดีถึงที่สุดแล้ว การพิพากษาคดีนี้ซึ่งเป็นคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามคดีอาญานั้น
คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งจำเลยถูกฟ้องฐานบุกรุกและถูกลงโทษเสร็จเด็ดขาดแล้วก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ สิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องคดีแพ่งย่อมมีกำหนดอายุความ10 ปี ตามมาตรา 168 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา51วรรคสาม
เมื่อคดีอาญาดังกล่าวศาลฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำผิดฐานบุกรุกตึกแถวพิพาท คดีถึงที่สุดแล้ว การพิพากษาคดีนี้ซึ่งเป็นคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามคดีอาญานั้น
คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งจำเลยถูกฟ้องฐานบุกรุกและถูกลงโทษเสร็จเด็ดขาดแล้วก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ สิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องคดีแพ่งย่อมมีกำหนดอายุความ10 ปี ตามมาตรา 168 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา51วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 481/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การรับพยานหลักฐาน และอายุความฟ้องคดี
โจทก์ขอส่งสำเนาคำพิพากษาคดีอาญาเป็นพยานหลักฐานภายหลังที่โจทก์แถลงต่อศาลว่าหมดพยานแล้ว แต่เป็นคำพิพากษาซึ่งศาลลงโทษจำเลยฐานบุกรุกอันเป็นมูลคดีนี้ซึ่งโจทก์ก็ได้กล่าวอ้างผลของคำพิพากษา และหมายเลขคดีอาญานั้นมาในฟ้องแล้วจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธ จึงถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงนั้นแล้ว โจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องนำสืบเกี่ยวกับข้อเท็จจริงนั้นอีก แต่เมื่อโจทก์อ้างส่งและศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลย่อมมีอำนาจที่จะรับสำเนาเอกสารดังกล่าวไว้ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสาม, 87 (2)
เมื่อคดีอาญาดังกล่าวศาลฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำผิดฐานบุกรุกตึกแถวพิพาท คดีถึงที่สุดแล้ว การพิพากษาคดีนี้ซึ่งเป็นคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามคดีอาญานั้น
คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งจำเลยถูกฟ้องฐานบุกรุกและถูกลงโทษเสร็จเด็ดขาดแล้วก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ สิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องคดีแพ่งย่อมมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 168 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสาม
เมื่อคดีอาญาดังกล่าวศาลฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำผิดฐานบุกรุกตึกแถวพิพาท คดีถึงที่สุดแล้ว การพิพากษาคดีนี้ซึ่งเป็นคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามคดีอาญานั้น
คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งจำเลยถูกฟ้องฐานบุกรุกและถูกลงโทษเสร็จเด็ดขาดแล้วก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ สิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องคดีแพ่งย่อมมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 168 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกไต่สวนของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ทำให้หมดสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อศาล
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ออกหมายเรียกโจทก์ผู้อุทธรณ์มาไต่สวนได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 32
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวน โจทก์รับหมายเรียกแล้วไม่ไปชี้แจงและรับการไต่สวนโดยไม่มีเหตุสมควร โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาล ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 (2), 33
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวน โจทก์รับหมายเรียกแล้วไม่ไปชี้แจงและรับการไต่สวนโดยไม่มีเหตุสมควร โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาล ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 (2), 33
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ทำให้หมดสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยภาษี
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ออกหมายเรียกโจทก์ผู้อุทธรณ์มาไต่สวนได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 32
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนโจทก์รับหมายเรียกแล้วไม่ไปชี้แจงและรับการไต่สวนโดยไม่มีเหตุสมควร โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาล ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2),33
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนโจทก์รับหมายเรียกแล้วไม่ไปชี้แจงและรับการไต่สวนโดยไม่มีเหตุสมควร โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาล ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2),33
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 441/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: ต้องมีทางตันถึงทางสาธารณะจึงจะใช้สิทธิได้ การติดแม่น้ำหรือถนนสาธารณะโดยตรงไม่ใช่ทางตัน
ที่ดินที่โจทก์จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมและตกลงจะทำการแบ่งแยกนั้น ส่วนของโจทก์อยู่ติดแม่น้ำ ส่วนของจำเลยอยู่ติดถนนจึงไม่มีความจำเป็นที่โจทก์จะผ่านที่ดินส่วนของจำเลยไปสู่ทางสาธารณะกรณีที่จะใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสอง บังคับต้องเป็นกรณีที่มีทางออกถึงทางสาธารณะแต่การออกไปสู่ทาง สาธารณะมีสิ่งอื่นตามที่ กฎหมายกำหนดไว้ขวางกั้นจึงจะมีทางจำเป็นผ่านที่ดินแปลงอื่นไปสู่ทางสาธารณะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 397-398/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมจากการกู้เงินระหว่างสมรส แม้หย่าแล้ว เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์สินส่วนหนึ่งได้
การหย่าโดยคำพิพากษามีผลตั้งแต่เวลาคำพิพากษาถึงที่สุดสามีกู้เงินไปสร้างตึกแถวขาย เป็นการประกอบกิจการงานหาเลี้ยงครอบครัวจึงเป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482 เดิม ซึ่งเจ้าหนี้บังคับคดีแก่สินบริคณห์ได้ตามมาตรา 1480 แม้มิได้ฟ้องภริยาด้วยก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยนิติกรรมต้องจดทะเบียน มิฉะนั้นกรรมสิทธิ์ยังไม่โอน การครอบครองโดยไม่จดทะเบียนไม่ทำให้เป็นเจ้าของ
การได้ที่พิพาทมาโดยนิติกรรม เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรก กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทจึงยังไม่โอนมา
แม้ผู้ร้องจะได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทมาเป็นเวลา5 ปีเศษแล้วแต่ก็ได้ปล่อยปละละเลยมิได้ดำเนินการเพื่อให้มีการจดทะเบียนการได้มา แสดงว่าผู้ร้องไม่ประสงค์จะให้มีการจดทะเบียนการได้มาซึ่งที่พิพาทนั้น ผู้ร้องจึงมิใช่ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300
แม้ผู้ร้องจะได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทมาเป็นเวลา5 ปีเศษแล้วแต่ก็ได้ปล่อยปละละเลยมิได้ดำเนินการเพื่อให้มีการจดทะเบียนการได้มา แสดงว่าผู้ร้องไม่ประสงค์จะให้มีการจดทะเบียนการได้มาซึ่งที่พิพาทนั้น ผู้ร้องจึงมิใช่ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินต้องทำตามกฎหมาย หากไม่จดทะเบียนสิทธิ โอนกรรมสิทธิ์ไม่ได้ แม้ครอบครองทำประโยชน์แล้ว
การได้ที่พิพาทมาโดยนิติกรรม เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรก กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทจึงยังไม่โอนมา
แม้ผู้ร้องจะได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทมาเป็นเวลา 5 ปีเศษแล้ว แต่ก็ได้ปล่อยปละละเลยมิได้ดำเนินการเพื่อให้มีการจดทะเบียนการได้มา แสดงว่าผู้ร้องไม่ประสงค์จะให้มีการจดทะเบียนการได้มาซึ่งที่พิพาทนั้น ผู้ร้องจึงมิใช่ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300
แม้ผู้ร้องจะได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทมาเป็นเวลา 5 ปีเศษแล้ว แต่ก็ได้ปล่อยปละละเลยมิได้ดำเนินการเพื่อให้มีการจดทะเบียนการได้มา แสดงว่าผู้ร้องไม่ประสงค์จะให้มีการจดทะเบียนการได้มาซึ่งที่พิพาทนั้น ผู้ร้องจึงมิใช่ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300