พบผลลัพธ์ทั้งหมด 459 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2633/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจหน้าที่เทศบาลในการรับถนนและระวังแนวเขตที่ดิน: นายกเทศมนตรีไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายอาญา
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 53 เทศบาลไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องรับถนนที่มีผู้ยกให้และผู้ว่าราชการจังหวัดก็ไม่มีอำนาจสั่งให้เทศบาลรับถนนที่มีผู้ยกให้ดังกล่าวนอกจากมีอำนาจควบคุมดูแลเทศบาลให้ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามกฎหมายดังบัญญัติไว้ในมาตรา 71 เท่านั้น ฉะนั้น ถึงแม้จำเลยซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดที่สั่งให้จำเลยรับถนนที่โจทก์กับผู้มีชื่อยกให้ การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา165
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 50(2),53 เทศบาลมีหน้าที่จัดให้มีการบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ หาได้บัญญัติให้เทศบาล หรือจำเลยมีหน้าที่ต้องระวังแนวเขตและลงชื่อรับทราบแนวเขตตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 70ไม่ ฉะนั้นแม้จำเลยจะไม่ยอมลงชื่อรับรองแนวเขตทางสาธารณะ การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 50(2),53 เทศบาลมีหน้าที่จัดให้มีการบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ หาได้บัญญัติให้เทศบาล หรือจำเลยมีหน้าที่ต้องระวังแนวเขตและลงชื่อรับทราบแนวเขตตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 70ไม่ ฉะนั้นแม้จำเลยจะไม่ยอมลงชื่อรับรองแนวเขตทางสาธารณะ การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2535/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเงินทดแทนเกินกำหนด 30 วันตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
คดีก่อนโจทก์ยื่นฟ้องโดยมิได้วางเงินที่จะต้องชดใช้ต่อศาลเป็นการขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานศาลจึงไม่รับฟ้องโดยเห็นว่าโจทก์ไม่มีสิทธิจะฟ้องคดีโจทก์ก็มิได้อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาการวางเงินหรือคำสั่งไม่รับฟ้องอย่างใดการที่โจทก์มาฟ้องเป็นคดีนี้ใหม่ แม้จะเป็นเรื่องเดียวกับคดีก่อนก็เป็นการฟ้องคนละคดีจะถือวันยื่นฟ้องคดีก่อนมาเป็นวันฟ้องคดีนี้หาได้ไม่เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เกินกว่าระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งของอธิบดีกรมแรงงานเกี่ยวกับเงินทดแทน คำสั่งของอธิบดีเป็นที่สุด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2504/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี: การนำเงินเข้าบัญชีถือเป็นการรับสภาพหนี้ ทำให้ระยะอายุความสะดุดหยุดลง
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ มีข้อความ ว่าจะชำระหนี้เมื่อทวงถาม ปกติย่อมต้องฟ้องคดีภายใน10 ปี นับแต่ วันที่กู้เพราะอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไป แต่นับแต่ วันทำสัญญา จำเลยได้นำเงินเข้าและเบิกเงินจากบัญชีตลอดมาการนำ เงินเข้าบัญชีเป็นการตัดทอนหนี้สินระหว่างโจทก์จำเลยตามลักษณะของบัญชีเดินสะพัดถือได้ว่าจำเลยรับสภาพต่อโจทก์ด้วยใช้เงินให้บางส่วน หรือด้วยส่งดอกเบี้ย อายุความย่อมสะดุดหยุดลงทุกครั้งที่นำเงินเข้าบัญชี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 ปรากฏว่านับจากวันที่ จำเลยนำเงินเข้าบัญชีครั้งสุดท้ายถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์ จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2503/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดินโดยอาศัยการครอบครองเป็นส่วนสัดและการสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรม
เหตุที่จำเลยทำบันทึกข้อตกลงเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมโดยกำหนดส่วนของที่ดินด้วย และทำบันทึกให้จดทะเบียนบรรยายส่วนกรรมสิทธิ์ในโฉนดเกิดจากการกระทำของโจทก์และ ว. โดยจำเลยสำคัญผิดในข้อสารสำคัญแห่งนิติกรรมว่าแบ่งตามที่ครอบครองเป็นส่วนสัด จึงตกเป็นโมฆะไม่อาจแบ่งที่ดินให้โจทก์ตามที่ได้จดทะเบียนบรรยายส่วนกรรมสิทธิ์ที่ดินไว้ เมื่อโจทก์จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมต่างครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของเป็นส่วนสัด จึงต้องแบ่งที่พิพาทตามส่วนดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม, ค่าจ้างค้างจ่าย, ดอกเบี้ยผิดนัด, หลักฐานสำเนา, การคิดดอกเบี้ย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยชำระค่าจ้างที่ค้างค่าจ้างในการที่ไม่บอกเลิกจ้างล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อน ค่าชดเชยค่าเสียหายและเงินที่โจทก์ออกทดรองไปก่อน จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้ไล่โจทก์ออกจากงานแต่โจทก์ลาออกเองเนื่องจากทราบว่าจำเลยกำลังจะดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ในข้อหายักยอก โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชย ค่าเสียหายและค่าจ้างที่ไม่บอกเลิกจ้างล่วงหน้า ศาลแรงงานกลางจึงตั้งประเด็นวินิจฉัยว่า ที่โจทก์ออกจากบริษัทจำเลยนั้นเป็นเพราะจำเลยเลิกจ้างโจทก์หรือว่าเพราะโจทก์ลาออกเอง แล้ววินิจฉัยว่า จำเลยไล่โจทก์ออกมิใช่โจทก์ลาออกเอง ดังนี้ จะถือว่าศาลมิได้วินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยได้ให้การต่อสู้ไว้เลยหาได้ไม่
เอกสารเรื่องเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายเป็นเพียงภาพถ่ายอันเป็นสำเนาเอกสาร จำเลยแถลงไม่รับรองความถูกต้อง โจทก์มิได้แถลงว่าต้นฉบับมีอยู่หรือไม่ อยู่ที่ใด เหตุใดโจทก์จึงไม่อ้างมาแสดงต่อศาล ดังนี้ ไม่อาจรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา93
ค่าจ้างที่จำเลยต้องจ่ายให้โจทก์เนื่องจากเลิกจ้างโดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา582 มิใช่ค่าจ้างตามบทนิยามในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ จำเลยจึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ตามข้อ31 แต่ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 และค่าเสียหายตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 เกิดขึ้นในทันทีที่นายจ้างเลิกจ้างเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้จ่ายเงิน 2 จำนวนนี้แก่โจทก์ ก็ย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดแต่นั้นจึงต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ในอัตราร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี
เอกสารเรื่องเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายเป็นเพียงภาพถ่ายอันเป็นสำเนาเอกสาร จำเลยแถลงไม่รับรองความถูกต้อง โจทก์มิได้แถลงว่าต้นฉบับมีอยู่หรือไม่ อยู่ที่ใด เหตุใดโจทก์จึงไม่อ้างมาแสดงต่อศาล ดังนี้ ไม่อาจรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา93
ค่าจ้างที่จำเลยต้องจ่ายให้โจทก์เนื่องจากเลิกจ้างโดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา582 มิใช่ค่าจ้างตามบทนิยามในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ จำเลยจึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ตามข้อ31 แต่ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 และค่าเสียหายตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 เกิดขึ้นในทันทีที่นายจ้างเลิกจ้างเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้จ่ายเงิน 2 จำนวนนี้แก่โจทก์ ก็ย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดแต่นั้นจึงต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ในอัตราร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม, ค่าชดเชย, ค่าจ้างที่ไม่บอกกล่าวล่วงหน้า, ดอกเบี้ย, หลักฐานเอกสาร
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยชำระค่าจ้างที่ค้างค่าจ้างในการที่ไม่บอกเลิกจ้างล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อน ค่าชดเชย ค่าเสียหายและเงินที่โจทก์ออกทดรองไปก่อน จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้ไล่โจทก์ออกจากงานแต่โจทก์ลาออกเอง เนื่องจากทราบว่าจำเลยกำลังจะดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ในข้อหายักยอก โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชย ค่าเสียหายและค่าจ้างที่ไม่บอกเลิกจ้างล่วงหน้า ศาลแรงงานกลางจึงตั้งประเด็นวินิจฉัยว่า ที่โจทก์ออกจากบริษัทจำเลยนั้นเป็นเพราะจำเลยเลิกจ้างโจทก์หรือว่าโจทก์ลาออกเอง แล้ววินิจฉัยว่า จำเลยไล่โจทก์ออก มิใช่โจทก์ลาออกเอง ดังนี้ จะถือว่าศาลมิได้วินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยได้ให้การต่อสู้ไว้เลยหาได้ไม่
เอกสารเรื่องเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายเป็นเพียงภาพถ่ายอันเป็นสำเนาเอกสาร จำเลยแถลงไม่รับรองความถูกต้อง โจทก์มิได้แถลงว่าต้นฉบับมีอยู่หรือไม่ อยู่ที่ใด เหตุใดโจทก์จึงไม่อ้างมาแสดงต่อศาล ดังนี้ ไม่อาจรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93
ค่าจ้างที่จำเลยต้องจ่ายให้โจทก์เนื่องจากเลิกจ้างโดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 มิใช่ค่าจ้างตามบทนิยามในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ จำเลยจึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีตามข้อ 31 แต่ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 และค่าเสียหายตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 เกิดขึ้นในทันทีที่นายจ้างเลิกจ้างเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้จ่ายเงิน 2 จำนวนนี้แก่โจทก์ ก็ย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดแต่นั้นจึงต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ในอัตราร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี
เอกสารเรื่องเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายเป็นเพียงภาพถ่ายอันเป็นสำเนาเอกสาร จำเลยแถลงไม่รับรองความถูกต้อง โจทก์มิได้แถลงว่าต้นฉบับมีอยู่หรือไม่ อยู่ที่ใด เหตุใดโจทก์จึงไม่อ้างมาแสดงต่อศาล ดังนี้ ไม่อาจรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93
ค่าจ้างที่จำเลยต้องจ่ายให้โจทก์เนื่องจากเลิกจ้างโดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 มิใช่ค่าจ้างตามบทนิยามในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ จำเลยจึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีตามข้อ 31 แต่ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 และค่าเสียหายตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 เกิดขึ้นในทันทีที่นายจ้างเลิกจ้างเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้จ่ายเงิน 2 จำนวนนี้แก่โจทก์ ก็ย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดแต่นั้นจึงต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ในอัตราร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2449/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากความขัดแย้งในการทำงาน ศาลฎีกาพิจารณาเหตุผลความจำเป็นและความสมเหตุสมผลของนายจ้าง
โจทก์กับ ช. หัวหน้าแผนกมีการขัดแย้งกันในการทำงานทำให้งานในแผนกนั้นระส่ำระสายเป็นที่เสียหายแก่จำเลยผู้เป็นนายจ้าง จึงเป็นเหตุจำเป็นและสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ การที่จำเลยไม่เลิกจ้าง ช. ด้วยก็เพราะจำเลยเห็นว่าหากให้คนทั้งสองออกจากตำแหน่งจะเกิดความเสียหายแก่งานของจำเลย จึงต้องให้คนใดคนหนึ่งออกเพียงคนเดียว และเห็นว่าควรเอา ช. ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกไว้ เห็นได้ว่าจำเลยมีเหตุผลสมควรที่ปฏิบัติเช่นนั้น ฉะนั้น การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ผู้เดียวโดยไม่ได้ดำเนินการอย่างใดกับ ช. จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2449/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากความขัดแย้งในการทำงาน การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
โจทก์กับ ช. หัวหน้าแผนกมีการขัดแย้งกันในการทำงาน ทำให้งานในแผนกนั้นระส่ำระสายเป็นที่เสียหายแก่จำเลยผู้เป็นนายจ้าง จึงเป็นเหตุจำเป็นและสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ การที่จำเลยไม่เลิกจ้าง ช. ด้วยก็เพราะจำเลยเห็นว่าหากให้คนทั้งสองออกจากตำแหน่งจะเกิดความเสียหายแก่งานของจำเลย จึงต้องให้คนใดคนหนึ่งออกเพียงคนเดียว และเห็นว่าการเอา ข. ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกไว้ เห็นได้ว่าจำเลยมีเหตุผลสมควรที่บัญญัติเช่นนั้น ฉะนั้น การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ผู้เดียวไม่ได้ดำเนินการอย่างใดกับ ข. จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2448/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายจ้างวางข้อบังคับห้ามเล่นแชร์ การเลิกจ้าง และการคำนวณระยะเวลาทำงาน
จำเลยผู้เป็นนายจ้างมีอำนาจวางข้อบังคับห้ามมิให้ลูกจ้างเล่นแชร์ได้ แต่การเล่นแชร์เป็นสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งใช้บังคับได้ ไม่มีกฎหมายห้ามการเล่นแชร์ การเล่นแชร์ฝ่าฝืนข้อบังคับจึงไม่เป็นกรณีร้ายแรง
เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เริ่มทำงานในวันแรก ดังนั้น การนับระยะเวลาทำงานของโจทก์จึงต้องนับวันแรกแห่งระยะเวลาอันเป็นวันเริ่มทำการงานรวมคำนวณเข้าด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158
แม้จะมีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 42 บัญญัติถึงเรื่องการจ่ายค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้าง ก็มิได้ซ้ำหรือขัดแย้งกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และ 582 ซึ่งบัญญัติถึงการบอกกล่าวล่วงหน้าในการเลิกสัญญาจ้าง มาตราดังกล่าวจึงยังใช้บังคับในกรณีที่นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยอยู่แล้วด้วย
เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เริ่มทำงานในวันแรก ดังนั้น การนับระยะเวลาทำงานของโจทก์จึงต้องนับวันแรกแห่งระยะเวลาอันเป็นวันเริ่มทำการงานรวมคำนวณเข้าด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158
แม้จะมีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 42 บัญญัติถึงเรื่องการจ่ายค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้าง ก็มิได้ซ้ำหรือขัดแย้งกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และ 582 ซึ่งบัญญัติถึงการบอกกล่าวล่วงหน้าในการเลิกสัญญาจ้าง มาตราดังกล่าวจึงยังใช้บังคับในกรณีที่นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยอยู่แล้วด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2448/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจวางข้อบังคับห้ามเล่นแชร์ของนายจ้าง และการคำนวณระยะเวลาทำงานเพื่อค่าชดเชย
จำเลยผู้เป็นนายจ้างมีอำนาจวางข้อบังคับห้ามมิให้ลูกจ้างเล่นแชร์ได้ แต่การเล่นแชร์เป็นสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งใช้บังคับได้ ไม่มีกฎหมายห้ามการเล่นแชร์ การเล่นแชร์ฝ่าฝืนข้อบังคับจึงไม่เป็นกรณีร้ายแรง
เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เริ่มทำงานในวันแรก ดังนั้นการนับระยะเวลาทำงานของโจทก์จึงต้องนับวันแรกแห่งระยะเวลาอันเป็นวันเริ่มทำการงานรวมคำนวณเข้าด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158
แม้จะมีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯข้อ 46 บัญญัติถึงเรื่องการจ่ายค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้างก็มิได้ซ้ำหรือขัดแย้งกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา582 ซึ่งบัญญัติถึงการบอกกล่าวล่วงหน้าในการเลิกสัญญาจ้าง มาตราดังกล่าวจึงยังใช้บังคับในกรณีที่นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยอยู่แล้วด้วย
เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เริ่มทำงานในวันแรก ดังนั้นการนับระยะเวลาทำงานของโจทก์จึงต้องนับวันแรกแห่งระยะเวลาอันเป็นวันเริ่มทำการงานรวมคำนวณเข้าด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158
แม้จะมีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯข้อ 46 บัญญัติถึงเรื่องการจ่ายค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้างก็มิได้ซ้ำหรือขัดแย้งกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา582 ซึ่งบัญญัติถึงการบอกกล่าวล่วงหน้าในการเลิกสัญญาจ้าง มาตราดังกล่าวจึงยังใช้บังคับในกรณีที่นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยอยู่แล้วด้วย