คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ภิญโญ ธีรนิติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 459 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2418/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: โจทก์มีหน้าที่นำสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นธรรม โดยอ้างว่าโจทก์ถูกกล่าวหาว่าปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และการสอบสวนฟังว่าโจทก์มีมลทินมัวหมองส่อทุจริตซึ่งความจริงโจทก์มิได้กระทำผิดดังที่ถูกกล่าวหา จำเลยให้การว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมายข้อบังคับฯ เพราะโจทก์มีมลทินมัวหมองในเรื่องทุจริตต่อหน้าที่อันเป็นการผิดวินัยอย่างร้ายแรง ดังนี้ ประเด็นที่ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้กระทำผิดวินัยตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่เสียก่อน ซึ่งข้อนี้โจทก์มีภาระหน้าที่นำสืบตามที่กล่าวอ้าง ลำพังแต่ คำฟ้อง คำให้การ คำแถลงรับของคู่ความและพยานเอกสารที่คู่ความอ้างส่งต่อศาล ข้อเท็จจริงยังฟังเป็นยุติไม่ได้ว่าโจทก์ได้กระทำผิดวินัยตามที่ถูกกล่าวหาจริงหรือไม่แต่ได้ความว่าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าโจทก์กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาจริง แต่ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันแน่ชัดถึงชั้นทุจริตต่อหน้าที่อันจะไล่ออกจากงานได้ จึงมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานฐานมีมลทินมัวหมองในเรื่องทุจริต่อหน้าที่ตามข้อบังคับฯ ฉะนั้น ที่ศาลแรงงานกลางหยิบยกเอกสารคำให้การของ ธ.ที่ให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนแต่ผู้เดียวมาวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้กระทำผิดและไม่มีมลทินมัวหมอง ทั้งๆ ที่ไม่มีการสืบพยานหักล้างข้อเท็จจริงผลการสอบสวนให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงไม่ชอบด้วยการพิจารณาว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐาน แม้ข้อนี้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนี้เมื่อข้อเท็จจริงยังไม่อาจรับฟังเป็นยุติได้ และโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างมีหน้าที่นำสืบแถลงไม่สืบพยาน เช่นนี้ โจทก์จึงไม่มีทางชนะคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2418/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยต้องพิสูจน์ความผิดทางวินัยของลูกจ้าง โจทก์มีหน้าที่นำสืบพยาน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นธรรม โดยอ้างว่าโจทก์ถูกกล่าวหาว่าปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และการสอบสวนฟังว่าโจทก์มีมลทินมัวหมองส่อทุจริตซึ่งความจริงโจทก์มิได้กระทำผิดดังที่ถูกกล่าวหา จำเลยให้การว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยชอบด้วยข้อบังคับฯ เพราะโจทก์มีมลทินมัวหมองในเรื่องทุจริตต่อหน้าที่อันเป็นการผิดวินัยอย่างร้ายแรง ดังนี้ ประเด็นที่ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้กระทำผิดวินัยตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่เสียก่อน ซึ่งข้อนี้โจทก์มีภาระหน้าที่นำสืบตามที่กล่าวอ้างลำพังแต่ คำฟ้อง คำให้การ คำแถลงรับของคู่ความและพยานเอกสารที่คู่ความอ้างส่งต่อศาล ข้อเท็จจริงยังฟังเป็นยุติไม่ได้ว่าโจทก์ได้กระทำผิดวินัยตามที่ถูกกล่าวหาจริงหรือไม่ แต่ได้ความว่าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าโจทก์กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาจริง แต่ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันแน่ชัดถึงขั้นทุจริตต่อหน้าที่อันจะไล่ออกจากงานได้ จึงมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานฐานมีมลทินมัวหมองในเรื่องทุจริตต่อหน้าที่ตามข้อบังคับฯ ฉะนั้น ที่ศาลแรงงานกลางหยิบยกเฉพาะคำให้การของ ธ.ที่ให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนแต่ผู้เดียวมาวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้กระทำผิดและไม่มีมลทินมัวหมอง ทั้ง ๆ ที่ไม่มีการสืบพยานหักล้างข้อเท็จจริงผลการสอบสวนให้เห็นเป็นอย่างอื่นจึงไม่ชอบด้วยการพิจารณาว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐาน แม้ข้อนี้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนี้เมื่อข้อเท็จจริงยังไม่อาจรับฟังเป็นยุติได้ และโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างมีหน้าที่นำสืบแถลงไม่สืบพยาน เช่นนี้ โจทก์จึงไม่มีทางชนะคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2396/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งตามหลังคดีอาญา: ศาลต้องยึดข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาอาญา หากจำเลยชดใช้เงินแล้ว ไม่ต้องรับผิดอีก
ในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานั้น การพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา เมื่อศาลต้องฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเอาเงินของโจทก์ร่วมไป แต่ได้ใช้ให้โจทก์ร่วมครบถ้วนแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินให้โจทก์ร่วมอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2396/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ศาลต้องถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาอาญา หากจำเลยชดใช้แล้ว ไม่ต้องรับผิดใช้เงินอีก
ในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานั้น การพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาเมื่อศาลต้องฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเอาเงินของโจทก์ร่วมไป แต่ได้ใช้ให้โจทก์ร่วมครบถ้วนแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินให้โจทก์ร่วมอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2363/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อฟ้องคดีซ้ำในประเด็นที่ศาลเคยวินิจฉัยแล้ว ถือเป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย
คดีก่อน โจทก์ฟ้องอ้างเหตุว่าจำเลยไม่ทำบัญชีทรัพย์เกี่ยวกับการจัดการมรดกให้ทายาทและศาลทราบ ซึ่งศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยมิได้ละเลยหน้าที่ของผู้จัดการมรดกและได้ทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลแล้วฉะนั้นการที่โจทก์อ้างในคดีนี้อีกว่าจำเลยมิได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายใน เวลาที่กฎหมายกำหนด เป็นการไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ผู้จัดการมรดก จึงเป็น การรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้ วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2335/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไม่ใช่ค่าจ้างสำหรับคำนวณค่าทดแทนกรณีประสบภัยจากการทำงาน
เมื่อ ม. ลูกจ้างทำงานประจำอยู่ที่สำนักงานของโจทก์เงินเดือนปกติที่โจทก์จ่ายให้แก่ ม. จึงเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานอยู่แล้ว ส่วนเงินค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางซึ่งโจทก์จ่ายให้ ม. เมื่อออกไปทำงานต่างจังหวัดเป็นครั้งคราวนั้น เป็นการตอบแทนการออกไปทำงานในต่างจังหวัดนอกเหนือจากการทำงานในเวลาปกติของวันทำงาน ไม่มีพฤติการณ์ใดส่อแสดงว่า โจทก์จ่ายเงินค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางให้แก่ ม.. เป็นส่วนหนึ่งของการตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานด้วยเงินค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางกรณีนี้จึงหาใช่ค่าจ้างอันอาจนำมารวมคำนวณค่าทดแทนได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2335/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไม่ใช่ค่าจ้างสำหรับคำนวณค่าทดแทนกรณีประสบอันตรายจากการทำงาน
เมื่อ บ.ลูกจ้างทำงานประจำอยู่ที่สำนักงานของโจทก์ เงินเดือนปกติที่โจทก์จ่ายให้แก่ เป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานอยู่แล้ว ส่วนเงินค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางซึ่งโจทก์จ่ายให้ บ.เมื่ออกไปทำงานต่างจังหวัดเป็นครั้งคราวนั้น เป็นการตอบแทนการออกไปทำงานในต่างจังหวัดนอกเหนือจากการทำงานในเวลาปกติของวันทำงาน ไม่มีพฤติการณ์ใดส่อแสดงว่า โจทก์จ่ายเงินค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางให้แก่ บ. เป็นส่วนหนึ่งของการตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานด้วยเงินค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางกรณีนี้จึงหาใช่ค่าจ้างอันอาจนำมารวมคำนวณค่าทดแทนได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2334/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขใบรับรองแพทย์เพื่อลาป่วยถือเป็นเอกสารปลอม นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การที่โจทก์แก้ไขใบรับรองแพทย์ซึ่งต้องยื่นต่อจำเลยตามระเบียบ เพื่อเป็นหลักฐานในการพิจารณาอนุญาตให้โจทก์ลาป่วย โดยเพิ่มวันที่แพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวขึ้นอีก1 วัน และได้ยื่นใบรับรองแพทย์ที่แก้ไขแล้วต่อจำเลยนั้น เป็นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม การกระทำของโจทก์ดังกล่าวย่อมทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จึงเป็นการกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาต่อนายจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(1)ตอนท้าย จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2323/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำชี้ขาดคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไม่เป็นที่สุดหากไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือขาดเหตุผลสนับสนุน ผู้เสียหายมีสิทธิฟ้อง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 25 วรรคสอง และประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับลงวันที่ 14 ตุลาคม 2519 ข้อ 1 บัญญัติว่า คำชี้ขาดของคณะบุคคล (คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์) นั้นให้เป็นที่สุด หมายความว่า เป็นคำชี้ขาดที่ถูกต้องตามที่กฎหมายให้อำนาจที่จะชี้ขาดเช่นนั้นได้ หากคำชี้ขาดใดไม่มีกฎหมายให้อำนาจ หรือปราศจากพยานหลักฐานและเหตุผลสนับสนุนเพียงพอ คำชี้ขาดนั้นย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นที่สุด ผู้ที่ได้รับความเสียหายเพราะคำชี้ขาดย่อมมีอำนาจฟ้องคดีขอให้ศาลเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ต้องท้ายตามมาตรา 25 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อตามคำฟ้องกล่าวอ้างว่า คำชี้ขาดจำเลยเป็นคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่มีเหตุผลเพียงพอในการทำคำวินิจฉัยแล้ว จึงเป็นคำฟ้องที่จะต้องรับไว้พิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2323/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำชี้ขาดคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไม่เป็นที่สุดหากไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องเพิกถอนได้
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 25 วรรคสองและประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับลงวันที่ 14 ตุลาคม 2519 ข้อ 1 บัญญัติว่า คำชี้ขาดของคณะบุคคล(คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์) นั้นให้เป็นที่สุด หมายความว่า เป็นคำชี้ขาดที่ถูกต้องตามที่กฎหมาย ให้อำนาจที่จะชี้ขาดเช่นนั้นได้ หากคำชี้ขาดใดไม่มีกฎหมายให้อำนาจหรือปราศจากพยานหลักฐานและเหตุผลสนับสนุนเพียงพอ คำชี้ขาดนั้นย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นที่สุด ผู้ที่ได้รับความเสียหายเพราะคำชี้ขาดย่อมมีอำนาจฟ้องคดีขอให้ศาลเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 25 วรรคสองดังนั้น เมื่อตามคำฟ้องกล่าวอ้างว่า คำชี้ขาดของจำเลยเป็นคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่มีเหตุผลเพียงพอในการทำคำวินิจฉัยแล้ว จึงเป็นคำฟ้องที่จะต้องรับไว้พิจารณาต่อไป
of 46