คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ภิญโญ ธีรนิติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 459 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2322/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเดินสะพัด: สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นยังคงมีอยู่จนกว่าจะเลิกสัญญาและหักทอนบัญชี
แม้หลังจากจำเลยเบิกเงินครั้งสุดท้ายแล้วจำเลยไม่ได้นำเงินฝากและไม่ได้เบิกเงินไปและไม่มีการหักทอนบัญชีกัน สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยก็ยังมีอยู่ไม่เลิกกัน โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามสัญญาตลอดมาจนกว่าจะมีการเลิกสัญญาและหักทอนบัญชีกันแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2298/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายกิจการและการเลิกจ้าง การส่งตัวลูกจ้างไปทำงานบริษัทใหม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
โจทก์เคยเป็นลูกจ้างของจำเลย แต่จำเลยได้ขายกิจการให้แก่บริษัทมหานครขนส่ง จำกัด โดยมีข้อตกลงให้รับลูกจ้างของจำเลยไปทำงานทั้งหมดด้วย เมื่อได้ความว่าบริษัทมหานครขนส่ง จำกัด ได้ตั้งอัตราเงินเดือนให้โจทก์ทุกคนใหม่ และไม่นับอายุการทำงานต่อจากที่เคยทำมากับจำเลยให้ จึงเป็นกรณีที่บริษัทมหานครขนส่งจำกัด ตกลงจ้างโจทก์ใหม่ หาใช่รับโอนโจทก์มาจากบริษัทจำเลยไม่ การที่ จำเลยส่งตัวโจทก์ให้แก่บริษัทมหานครขนส่ง จำกัด จึงเป็นการที่จำเลย ให้โจทก์ออกจากงาน อันเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 46 แก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2517 ข้อ 1 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะจำเลยเลิกจ้างโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2298/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายกิจการและการเลิกจ้าง ลูกจ้างย้ายไปทำงานบริษัทใหม่โดยได้อัตราเงินเดือนและอายุงานใหม่ ถือเป็นการเลิกจ้าง
โจทก์เคยเป็นลูกจ้างของจำเลย แต่จำเลยได้ขายกิจการให้แก่บริษัทมหานครขนส่ง จำกัด โดยมีข้อตกลงให้รับลูกจ้างของจำเลยไปทำงานทั้งหมดด้วย เมื่อได้ความว่าบริษัทมหานครขนส่ง จำกัด ได้ตั้งอัตราเงินเดือนให้โจทก์ทุกคนใหม่ และไม่นับอายุการทำงานต่อจากที่เคยทำมากับจำเลยให้ จึงเป็นกรณีที่บริษัทมหานครขนส่ง จำกัด ตกลงจ้างโจทก์ใหม่ หาใช่รับโอนโจทก์มาจากบริษัทจำเลยไม่ การที่จำเลยส่งตัวโจทก์ให้แก่บริษัทมหานครขนส่ง จำกัด จึงเป็นการที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงาน อันเป็นการเลิกจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 46 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2517 ข้อ 1 ซึ่งใชับังคับอยู่ในขณะจำเลยเลิกจ้างโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2265/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานขัดคำสั่งและขาดงาน แม้ขาดงานเพียง 1 วัน ก็มีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย หากเคยตักเตือนแล้ว
ประมวลการลงโทษผู้ปฏิบัติงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยฯ อันเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ว่าด้วยวินัยและโทษทางวินัยซึ่งจำเลยผู้เป็นนายจ้างต้องจัดให้มีตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน กำหนดไว้ว่า กรณีลูกจ้างขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาไม่ไปปฏิบัติงานและขาดงานมีโทษให้ไล่ออกจากงาน ข้อนี้มิได้ระบุว่าต้องขาดงานกี่วันจึงจะมีความผิด ดังนั้น หากโจทก์ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาไม่ไปปฏิบัติงานและขาดงานแม้เพียง1 วัน ก็มีความผิดและถูกลงโทษให้ออกจากงานได้กรณีนี้เป็นเรื่องที่นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานฯ ตามข้อ 47(3) แห่งประกาศดังกล่าว มิใช่เป็นเรื่องนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามข้อ 47(4)ฉะนั้น ประมวลการลงโทษฯ จึงหาได้ขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่กำหนดว่าลูกจ้างต้องขาดงานติดต่อกัน 3 วันไม่
โจทก์เคยถูกลงโทษภาคทัณฑ์และตัดเงินเดือนมาแล้ว 3 ครั้งฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาที่สั่งโดยชอบ ซึ่งตามคำสั่งลงโทษมีข้อความอันถือได้ว่าได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วเมื่อโจทก์มากระทำผิดฐานขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาที่สั่งโดยชอบอีก และได้เคยตักเตือนเป็นหนังสือมาแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิให้โจทก์ออกจากงานอันเป็นการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ กรณีหาใช่วินิจฉัยนอกประเด็นหรือนำความผิดที่ลงโทษเสร็จสิ้นไปแล้วมาลงโทษอีกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2265/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานขัดคำสั่งและขาดงาน แม้ขาดงานเพียงวันเดียว ก็ชอบด้วยกฎหมาย หากเคยตักเตือนแล้ว
ประมวลการลงโทษผู้ปฏิบัติงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย ฯ อันเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ว่าด้วยวินัยและโทษทางวินัย ซึ่งจำเลยผู้เป็นนายจ้างต้องจัดให้มีการประกาศกระทรางมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน กำหนดไว้ว่า กรณีลูกจ้างขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาไม่ไปปฏิบัติงานและขาดงานมีโทษให้ไล่ออกจากงาน ข้อนี้มิได้ระบุว่าต้องขาดงานกี่วันจึงจะมีความผิด ดังนั้น หากโจทก์ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาไม่ไปปฏิบัติงานและขาดงานแม้เพียง 1 วัน ก็มีความผิดและถูกลงโทษให้ออกจากงานได้ กรณีนี้เป็นเรื่องที่นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานฯ ตามข้อ 47 (3) แห่งประกาศดังกล่าว มิใช่เป็นเรื่องนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามข้อ 47 (4) ฉะนั้น ประมวลการลงโทษฯ จึงหาได้ขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่กำหนดว่าลูกจ้างต้องขาดงานติดต่อกัน 3 วันไม่
โจทก์เคยถูกลงโทษภาคทัณฑ์และตัดเงินเดือนแล้ว 3 ครั้ง ฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาที่สั่งโดยชอบ ซึ่งตามคำสั่งลงโทษมีข้อความอันถือได้ว่าได้มาตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เมื่อโจทก์มากระทำผิดฐานขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาที่สั่งโดยชอบอีก และได้เคยตักเตือนเป็นหนังสือมาแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิให้โจทก์ออกจากงานอันเป็นการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ กรณีหาใช่วินิจฉัยนอกประเด็นหรือนำความผิดที่ลงโทษเสร็จสิ้นไปแล้วมาลงโทษอีกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2261-2264/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จจากการเกษียณอายุ ต้องรวมเงินรางวัลพิเศษคำนวณตามข้อบังคับและกฎหมายแรงงาน
จำเลยเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมมาดำเนินการ ตามสัญญาเช่ากำหนดให้จำเลยรับโอนพนักงานและคนงานเข้าทำงานต่อไปและให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ระเบียบว่าด้วยเวลาทำงาน โดยที่เงินบำเหน็จตามคำสั่งดังกล่าวได้วางระเบียบให้จ่ายเท่ากับค่าจ้างปกติในเดือนสุดท้ายของปีที่ออกปีละ 1 เดือนโจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุจำเลยจ่ายเงินบำเหน็จให้โดยคำนวณเฉพาะเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีทำงานแต่ไม่นำเงินรางวัลพิเศษที่โจทก์ได้รับเป็นรายเดือนมารวมคำนวณด้วยดังนี้ คำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องระเบียบว่าด้วยเวลาทำงาน เป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานซึ่งจำเลยในฐานะผู้เช่าโรงงานสุราจะต้องถือปฏิบัติตามข้อสัญญาที่ทำไว้กับผู้ให้เช่าและจำเลยในฐานะที่เป็นนายจ้างจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวอันเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่วางไว้ด้วยเมื่อได้ความว่าเงินรางวัลพิเศษที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานและคนงานที่มีเงินเดือนหรือค่าจ้างเต็มอัตรา เกินอัตรา หรือไม่มีอัตราโดยจ่ายเป็นรายเดือนและมีขั้นวิ่งเหมือนเงินเดือนถือได้ว่าเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดเวลาทำงาน ฯลฯและเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ และเงินรางวัลพิเศษนี้เป็นค่าจ้างปกติตามบทนิยามคำว่า 'ค่าจ้างปกติ' ในคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง ระเบียบว่าด้วยเวลาทำงานฯ ฉะนั้น จึงต้องนำเงินรางวัลพิเศษไปรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างคำนวณเป็นเงินบำเหน็จตามคำสั่งดังกล่าวด้วยแม้จำเลยได้มีหนังสือแจ้งทุกหน่วยงานว่า ไม่ถือว่าเงินรางวัลพิเศษเป็นค่าจ้างที่จะนำมารวมคำนวณเงินบำเหน็จก็ไม่มีผลบังคับเพราะขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยและคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมดังกล่าวแล้ว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 แก้ไขเพิ่มเติมโดย ฉบับที่ 5 เป็นเรื่องกำหนดข้อยกเว้นการจ่ายเงินค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้างไม่เกี่ยวกับจ่ายเงินบำเหน็จเช่นคดีนี้ทั้งเป็นกฎหมายที่ออกมาภายหลังที่โจทก์เกษียณอายุออกจากงานแล้วไม่อาจนำมาปรับกับคดีนี้ได้
เงินบำเหน็จมิใช่เป็น 'ส่วนหนึ่งของเงินจ้าง' ตามความหมายในมาตรา 165(9) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อันจะมีอายุความ 2 ปีแต่เป็นการเรียกร้องเงินบำเหน็จในกรณีที่ลูกจ้างเกษียณอายุออกจากงานตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติว่ามีอายุความฟ้องร้องเท่าใดจึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเฮโรอีนเพื่อแบ่งหรือให้ผู้อื่นถือเป็นการ 'จำหน่าย' ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด
จำเลยมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจะนำไปให้ผู้อื่นหรือแบ่งให้ผู้อื่นเป็นการมีไว้เพื่อจำหน่ายตามความหมายของมาตรา4 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2213/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับเงินทดแทน: นายจ้างมีสิทธิทักท้วงการจ่ายเงินทดแทนซ้ำซ้อนหรือเกินสิทธิ
การที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้วินิจฉัยให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นภริยาของลูกจ้างที่ประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตายในขณะปฏิบัติหน้าที่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทนและได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบ ย่อมเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่า เป็นการแจ้งให้นายจ้างทราบ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2516 ข้อ 16 และย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์ผู้เป็นนายจ้างได้จ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนตามข้อ 2 ทั้งการจ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้างนั้นอาจเป็นเหตุให้นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่มขึ้นได้ด้วยตามนัยแห่ง ข้อ 3 โจทก์จึงมีส่วนได้เสียอยู่ด้วยในการจ่ายหรือไม่จ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิ แม้เงินทดแทนนั้นจะจ่ายจากกองทุนเงินทดแทนก็ตาม เมื่อโจทก์ทักท้วงว่าจำเลยที่ 3ไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทนแล้ว แต่จำเลยที่ 2 ยืนยันว่าจะจ่ายเงินทดแทนแก่จำเลยที่ 3ดังนี้ ย่อมต้องถือว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์กับจำเลยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานแล้ว ซึ่งข้อนี้ฝ่ายจำเลยก็ทราบดีดังจะเห็นได้จากหนังสือของจำเลยที่ 2 ยืนยันคำวินิจฉัยไปยังโจทก์ได้กล่าวไว้ด้วยว่า ถ้าโจทก์ไม่เห็นพ้องด้วย ก็ขอให้ร้องต่อศาลภายใน 15 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2213/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเงินทดแทน: นายจ้างมีส่วนได้เสียเมื่อมีการจ่ายเงินทดแทนซ้ำซ้อนหรือผิดพลาด
การที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้วินิจฉัยให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นภริยาของลูกจ้างที่ประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตายในขณะปฏิบัติหน้าที่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทน และได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบ ย่อมเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่า เป็นการแจ้งให้นายจ้างทราบ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน และการอุทธรณ์ ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2516 ข้อ 16 และย่อมแสดงอยู่ในตัวว่า โจทก์ผู้เป็นนายจ้างได้จ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนตามข้อ 2 ทั้งการจ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้างนั้นอาจเป็นเหตุให้นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่มขึ้นได้ด้วยตามนัยแห่ง ข้อ 3 โจทก์จึงมีส่วนได้เสียอยู่ด้วยในการจ่ายหรือไม่จ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิ แม้เงินทดแทนนั้นจะจ่ายจากองทุนเงินทดแทนก็ตาม เมื่อโจทก์ทักท้วงว่าจำเลยที่ 3 ไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทนแล้ว แต่จำเลยที่ 2 ยืนยันว่าจะจ่ายเงินทดแทนแก่จำเลยที่ 3 ดังนี้ ย่อมต้องถือว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์กับจำเลยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานแล้ว ซึ่งข้อนี้ฝ่ายจำเลยก็ทราบดี ดังจะเห็นได้จากหนังสือของจำเลยที่ 2 ยืนยันคำวินิจฉัยไปยังโจทก์ได้กล่าวไว้ด้วยว่า ถ้าโจทก์ไม่เห็นพ้องด้วย ก็ขอให้ร้องต่อศาลภายใน 15 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเคร่งครัดเพื่อประโยชน์นายจ้าง ไม่ถือเป็นความผิดอันควรเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าทดแทน
การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำในตำแหน่งหัวหน้าแผนกต้อนรับของโรงแรมจำเลย เคร่งครัดต่อการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการลาและเวลาทำงานของลูกจ้างอื่นที่อยู่ใต้บังคับบัญชา ก็เพื่อรักษาผลประโยชน์ให้แก่จำเลยดังนั้นจึงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์กระทำผิดระเบียบข้อบังคับที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนให้ได้
of 46