พบผลลัพธ์ทั้งหมด 459 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ฝ่าฝืนข้อบังคับบริษัทโดยได้รับการว่ากล่าวตักเตือนแล้ว ถือเป็นการเลิกจ้างโดยชอบตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 35 ให้ศาลบันทึกรายการแห่งข้อหา ไม่จำต้องบันทึกโดยละเอียดดังเช่นคำฟ้องเป็นหนังสือ เมื่อพิจารณาคำฟ้องที่ศาลบันทึกไว้ ประกอบกับคำสั่งของจำเลยที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอน ซึ่งโจทก์ส่งศาลและศาลนำมาแนบท้ายคำฟ้องไว้ ถือว่ามีรายละเอียดที่โจทก์อ้างว่าคำสั่งของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอน ครบถ้วนเป็นรายการแห่งข้อกฎหมายบัญญัติไว้แล้วจึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์กำหนดเพียงว่า การขาดงานเป็นการกระทำผิดวินัย โดยมิได้ระบุโทษไว้ เต่เมื่อลูกจ้างขาดงาน 1 วัน เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ก็ถือได้ว่าลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง หากได้ว่ากล่าวและตักเตือนโดยชอบแล้ว นายจ้างย่อมมีอำนาจเลิกจ้างลูกจ้างได้ ตามมาตรา 123 (3) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
เมื่อนายจ้างได้ว่ากล่าวและตักเตือนลูกจ้างเป็นหนังสือมาแล้วหลายครั้ง ในการที่ลูกจ้างขาดงานครั้งก่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นการว่ากล่าวและตักเตือนเป็นโทษหรือไม่ก็ตาม ย่อมเป็นการว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือ ตามความหมายของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 (3) แล้ว
แม้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์กำหนดเพียงว่า การขาดงานเป็นการกระทำผิดวินัย โดยมิได้ระบุโทษไว้ เต่เมื่อลูกจ้างขาดงาน 1 วัน เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ก็ถือได้ว่าลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง หากได้ว่ากล่าวและตักเตือนโดยชอบแล้ว นายจ้างย่อมมีอำนาจเลิกจ้างลูกจ้างได้ ตามมาตรา 123 (3) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
เมื่อนายจ้างได้ว่ากล่าวและตักเตือนลูกจ้างเป็นหนังสือมาแล้วหลายครั้ง ในการที่ลูกจ้างขาดงานครั้งก่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นการว่ากล่าวและตักเตือนเป็นโทษหรือไม่ก็ตาม ย่อมเป็นการว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือ ตามความหมายของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 (3) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ฝ่าฝืนข้อบังคับบริษัท แม้ไม่มีระบุโทษชัดเจน ศาลยืนตามอำนาจนายจ้าง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 35 ให้ศาลบันทึกรายการแห่งข้อหา ไม่จำต้องบันทึกโดยละเอียดดังเช่นคำฟ้องเป็นหนังสือ เมื่อพิจารณาคำฟ้องที่ศาลบันทึกไว้ ประกอบกับคำสั่งของจำเลยที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอน ซึ่งโจทก์ส่งศาลและศาลนำมาแนบท้ายคำฟ้องไว้ ถือว่ามีรายละเอียดที่โจทก์อ้างว่าคำสั่งของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนครบถ้วนเป็นรายการแห่งข้อหาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้วจึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์กำหนดเพียงว่า การขาดงานเป็นการกระทำผิดวินัย โดยมิได้ระบุโทษไว้ แต่เมื่อลูกจ้างขาดงาน 1 วัน เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ก็ถือได้ว่าลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างหากได้ว่ากล่าวและตักเตือนโดยชอบแล้วนายจ้างย่อมมีอำนาจเลิกจ้างลูกจ้างได้ตามมาตรา 123(3) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518
เมื่อนายจ้างได้ว่ากล่าวและตักเตือนลูกจ้างเป็นหนังสือมาแล้วหลายครั้ง ในการที่ลูกจ้างขาดงานครั้งก่อน ๆ ไม่ว่าจะเป็นการว่ากล่าวและตักเตือนเป็นโทษหรือไม่ก็ตามย่อมเป็นการว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือ ตามความหมายของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123(3) แล้ว
แม้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์กำหนดเพียงว่า การขาดงานเป็นการกระทำผิดวินัย โดยมิได้ระบุโทษไว้ แต่เมื่อลูกจ้างขาดงาน 1 วัน เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ก็ถือได้ว่าลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างหากได้ว่ากล่าวและตักเตือนโดยชอบแล้วนายจ้างย่อมมีอำนาจเลิกจ้างลูกจ้างได้ตามมาตรา 123(3) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518
เมื่อนายจ้างได้ว่ากล่าวและตักเตือนลูกจ้างเป็นหนังสือมาแล้วหลายครั้ง ในการที่ลูกจ้างขาดงานครั้งก่อน ๆ ไม่ว่าจะเป็นการว่ากล่าวและตักเตือนเป็นโทษหรือไม่ก็ตามย่อมเป็นการว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือ ตามความหมายของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123(3) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2210/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาดข้อพิพาทเรื่องค่าจ้างและสวัสดิการที่ไม่ขัดกับกฎหมาย
โจทก์กับสหภาพแรงงานมีข้อขัดแย้งซึ่งตกลงกันไม่ได้กรมแรงงานได้รับเรื่องข้อขัดแย้งดังกล่าวส่งให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พิจารณา คำชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่ชี้ขาดให้โจทก์ปรับปรุงอัตราค่าจ้างลำดับต่ำสุดถึงลำดับอื่น ๆ เป็นการชี้ขาดไปตามข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ จึงมีอำนาจชี้ขาดได้ตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ เพราะหาได้ชี้ขาดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำไม่และคำชี้ขาดไม่ขัดกับประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวที่กำหนดให้ปรับอัตราค่าจ้างเฉพาะขั้นต่ำเป็นวันละ 45 บาท โดยมิได้กำหนดให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นอื่น ๆ ด้วยคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จึงมีอำนาจชี้ขาดได้
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มิได้ให้ความหมายของคำว่า'สวัสดิการ' ไว้ จึงต้องถือตามความหมายทั่วไป ซึ่งหมายความถึงการให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ การที่โรงงานสุรานายจ้างจำหน่ายสุราให้ลูกจ้างในราคาต่ำกว่าราคาที่จำหน่ายทั่วไป ย่อมเป็นการอนุเคราะห์ช่วยเหลือลูกจ้างอย่างหนึ่ง จึงเป็นสวัสดิการซึ่งเป็นสภาพการจ้างตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ ข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างในเรื่องนี้เป็นข้อพิพาทแรงงานคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจชี้ขาดได้เช่นกัน
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มิได้ให้ความหมายของคำว่า'สวัสดิการ' ไว้ จึงต้องถือตามความหมายทั่วไป ซึ่งหมายความถึงการให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ การที่โรงงานสุรานายจ้างจำหน่ายสุราให้ลูกจ้างในราคาต่ำกว่าราคาที่จำหน่ายทั่วไป ย่อมเป็นการอนุเคราะห์ช่วยเหลือลูกจ้างอย่างหนึ่ง จึงเป็นสวัสดิการซึ่งเป็นสภาพการจ้างตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ ข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างในเรื่องนี้เป็นข้อพิพาทแรงงานคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจชี้ขาดได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2194/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดวินัยร้ายแรงจากการฝ่าฝืนข้อบังคับการรับพนักงานเข้าทำงาน แม้พนักงานมีความสามารถ
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยมีหน้าที่รับพนักงานเข้าทำงาน โจทก์รับพนักงานโดยไม่คัดเลือกผู้มีคุณสมบัติผ่านคณะกรรมการสัมภาษณ์เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงาน และข้อตกลงระหว่างจำเลยกับสหภาพแรงงานข้อบังคับในเรื่องการรับพนักงานมีความสำคัญยิ่งต่อจำเลยการที่โจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับในเรื่องนี้จึงเป็นความผิดวินัยร้ายแรงจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2193/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานเล่นการพนันในที่ทำงานและเวลาทำงาน มิพักต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เล่นการพนันในที่ทำงานและในเวลาทำงาน เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานถือได้ว่าเป็นความผิดร้ายแรงซึ่งจำเลยมีอำนาจลงโทษให้เหมาะสมกับความผิดได้การที่จำเลยลงโทษโจทก์โดยเลิกจ้างและไม่จ่ายค่าชดเชย จึงกระทำได้โดยชอบตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 47(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2169/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยไม่ต้องรอรับคำให้การ หากทนายความทั้งสองฝ่ายตกลง
เมื่อทนายโจทก์ทนายจำเลยแถลงร่วมกันว่าคดีตกลงกันได้แล้วขอให้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความก็ไม่มีความจำเป็นที่ศาลชั้นต้นจะต้องมีคำสั่งรับคำให้การและคำแถลงจำเลยเพราะไม่เป็นสาระแก่คดีจะต้องพิจารณาต่อไปชอบที่ศาลจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความและพิพากษาตามยอมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2146/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนทางวินัยต้องมีผู้แทนสหภาพแรงงานเฉพาะกรณีจับกุมเท่านั้น
แม้ระเบียบข้อบังคับของกรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้จำเลยเช่าโรงงานจะวางข้อกำหนดให้มีการสอบสวนโดยมีผู้แทนสหภาพแรงงานของโรงงานเข้าร่วมด้วยเมื่อมีการจับกุมคนงานหรือสมาชิกสหภาพแรงงานของโรงงานในกรณีที่สงสัยว่ากระทำการทุจริตในบริเวณโรงงานแต่กรณีของโจทก์หาได้มีการจับกุมโจทก์หรือผู้ใดไม่จำเลยตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาโทษโจทก์ทั้งสองทางวินัยตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเท่านั้นกรณีจึงไม่ต้องตั้งผู้แทนสหภาพแรงงานเข้าร่วมสอบสวนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2136/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน – การเพิกถอย น.ส.3ก. – แม้เกิน 1 ปี – การแย่งการครอบครอง
ที่พิพาทเป็นของโจทก์และจำเลยมิได้ครอบครองที่พิพาทแม้ทางราชการจะออก น.ส.3ก สำหรับที่พิพาทให้จำเลยก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยแย่งการครอบครองโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องให้เพิกถอน น.ส.3ก ได้แม้จะเกิน 1 ปีนับแต่วันที่ทางราชการออกน.ส.3ก ให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2135/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานไม่ใช่คำวินิจฉัยชี้ขาด ไม่สร้างผลผูกพันทางกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานได้ทำคำเตือนถึงโจทก์ เพราะเห็นว่าโจทก์ฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน โดยไม่จ่ายค่าทำงานในวันหยุดแก่ลูกจ้างคำเตือนนี้มิใช่คำวินิจฉัยชี้ขาดอันมีผลทางกฎหมาย แม้จะกำหนดให้โจทก์ชำระเงินแก่ลูกจ้างโจทก์หาจำต้องปฏิบัติตามไม่คำเตือนดังกล่าวจึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์แต่อย่างใดและไม่ใช่กรณีที่โจทก์จำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลขอให้เพิกถอนคำเตือนของจำเลยโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2127/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดเดียว: จำหน่ายกัญชา - การมีไว้เพื่อจำหน่ายและการจำหน่ายเป็นกรรมเดียวกัน
จำเลยมีและจำหน่ายกัญชาไม่มีกัญชาเหลืออยู่อีกเป็นความผิด ฐานจำหน่ายกัญชากรรมเดียว ตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4,7,26,75