คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ภิญโญ ธีรนิติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 459 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2096/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขข้อบกพร่องอำนาจฟ้องระหว่างการพิจารณาคดี โดยการยื่นความยินยอมจากคู่สมรส
โจทก์เป็นหญิงมีสามีฟ้องคดีโดยไม่มีหนังสือให้ความยินยอมของสามี จำเลยโต้แย้งอำนาจฟ้อง ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์ได้ยื่นหนังสือยินยอมของสามีโจทก์ให้โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแล้วและศาลมีคำสั่งอนุญาต ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2096/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขข้อบกพร่องอำนาจฟ้องระหว่างการพิจารณาคดี โดยการยื่นหนังสือยินยอมของคู่สมรส
โจทก์เป็นหญิงมีสามีฟ้องคดีโดยไม่มีหนังสือให้ความยินยอมของสามี จำเลยโต้แย้งอำนาจฟ้อง ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ได้ยื่นหนังสือยินยอมของสามีโจทก์ ให้โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแล้ว และศาลมีคำสั่งอนุญาต ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์ตามประมวลกฎกมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2067/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากข้อเท็จจริงที่ศาลล่างฟังไม่สามารถเอาผิดจำเลยได้ แม้โจทก์อุทธรณ์ประเด็นข้อกฎหมาย
คดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์ฎีกาข้อกฎหมายว่าโจทก์มิได้อุทธรณ์นอกฟ้อง แต่เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้งสองฟังมาไม่อาจเอาผิดแก่จำเลยทั้งสองได้แล้วฎีกาปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2029/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการคำนวณค่าชดเชย: การแจ้งเรื่องถูกจับกุม, การประพฤติไม่เหมาะสม, และค่าครองชีพ
เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่ได้แจ้งเรื่องถูกจับให้ผู้บังคับบัญชาทราบการที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ได้แจ้งเรื่องนี้แล้ว จึงเป็น อุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯมาตรา 54
แม้โจทก์ขาดงานเพราะถูกจับและถูกควบคุมตัวตลอดมาโจทก์ก็ชอบที่จะแจ้งเรื่องที่ถูกจับให้ผู้บังคับบัญชาทราบ การที่โจทก์ไม่แจ้ง ถือว่าเป็นการประพฤติไม่เหมาะสมตามระเบียบว่าด้วยการจ้างและเลิกจ้างคนงานฯ ของจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้
เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์เป็นข้อที่โจทก์มิได้ตั้งประเด็นมาในคำฟ้อง คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยให้
การที่โจทก์ไปทำงานไม่ได้เพราะถูกจับและถูกควบคุมตัวตลอดมา ถือไม่ได้ว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่ การไม่แจ้งเหตุขัดข้องหรือไม่ขอลางาน หาทำให้เป็นการละทิ้งหน้าที่ขึ้นไม่ การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นการ ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47(4) อันจำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยจ่ายค่าครองชีพให้โจทก์เกี่ยวข้องกับภาวะค่าครองชีพโดยเฉพาะอย่างไร การที่จำเลยจ่ายค่าครองชีพให้โจทก์เป็นประจำทุกเดือนมีจำนวนแน่นอนทำนองเดียวกับเงินเดือนค่าครองชีพ ที่โจทก์ได้รับจึงเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนที่จำเลยจ่ายให้เป็นการตอบแทน การทำงาน จึงเป็นค่าจ้างซึ่งต้องนำมาคำนวณค่าชดเชยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2029/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชยกรณีลูกจ้างถูกจับกุมและแจ้งเหตุล่าช้า รวมถึงการคำนวณค่าจ้าง
เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่ได้แจ้งเรื่องถูกจับให้ผู้บังคับบัญชาทราบการที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ได้แจ้งเรื่องนี้แล้ว จึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 54
แม้โจทก์ขาดงานเพราะถูกจับและถูกควบคุมตัวตลอดมา โจทก์ก็ชอบที่จะแจ้งเรื่องที่ถูกจับให้ผู้บังคับบัญชาทราบ การที่โจทก์ไม่แจ้ง ถือว่าเป็นการประพฤติไม่เหมาะสมตามระเบียบว่าด้วยการจ้างและเลิกจ้างคนงานฯ ของจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้
เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์เป็นข้อที่โจทก์มิได้ตั้งประเด็นมาในคำฟ้อง คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยให้
การที่โจทก์ไปทำงานไม่ได้เพราะถูกจับและถูกควบคุมตัวตลอดมา ถือไม่ได้ว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่ การไม่แจ้งเหตุขัดข้องหรือไม่ขอลางานหาทำให้เป็นการละทิ้งหน้าที่ขึ้นไม่ การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47 (4) อันจำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยจ่ายค่าครองชีพให้โจทก์เกี่ยวข้องกับภาวะค่าครองชีพโดยเฉพาะอย่างไร การที่จำเลยจ่ายค่าครองชีพให้โจทก์เป็นประจำทุกเดือนมีจำนวนแน่นอนทำนองเดียวกับเงินเดือน ค่าครองชีพที่โจทก์ได้รับจึงเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนที่จำเลยจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงาน จึงเป็นค่าจ้างซึ่งต้องนำมาคำนวณค่าชดเชยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2023/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลแรงงานที่ขัดต่อกฎหมายองค์คณะ: การพิจารณาคดีต้องมีผู้พิพากษาสมทบ
แม้ศาลแรงงานกลางเพียงแต่ตรวจคำฟ้องและเอกสารประกอบคำฟ้องแล้วมีคำสั่งให้ยกฟ้อง โดยมิได้กระทำในรูปคำพิพากษาก็ตาม แต่เมื่อคำสั่งนั้นอาศัยเหตุที่ว่า ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามที่ปรากฏในคำฟ้องพอให้เห็นได้แล้วว่า โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะนำคดีมาสู่ศาล เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131 (2) มีผลเป็นการพิพากษาคดีแล้ว และการพิพากษาคดีนั้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 17, 18 ผู้พิพากษาศาลแรงงานจะกระทำไปโดยไม่มีผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้างรวมเป็นองค์คณะด้วยหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่าคำสั่งดังกล่าวมีแต่ผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางลงลายมือชื่อจึงไม่เป็นคำสั่งคำพิพากษาอันชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำสั่งศาลแรงงานกลางให้ศาลนั้นพิพากษาใหม่ให้ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2023/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลแรงงานที่อาศัยเหตุไม่มีอำนาจฟ้อง ถือเป็นการพิพากษาคดี ต้องมีองค์คณะครบถ้วน
แม้ศาลแรงงานกลางเพียงแต่ตรวจคำฟ้องและเอกสารประกอบคำฟ้องแล้วมีคำสั่งให้ยกฟ้อง โดยมิได้กระทำในรูปคำพิพากษาก็ตาม แต่เมื่อคำสั่งนั้นอาศัยเหตุที่ว่าข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามที่ปรากฏในคำฟ้องพอให้เห็นได้แล้วว่า โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะนำคดีมาสู่ศาลเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131(2) มีผลเป็นการพิพากษาคดีแล้ว และการพิพากษาคดีนั้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 17,18 ผู้พิพากษาศาลแรงงานจะกระทำไปโดยไม่มีผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างร่วมเป็นองค์คณะด้วยหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่าคำสั่งดังกล่าวมีแต่ผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางลงลายมือชื่อ จึงไม่เป็นคำสั่งคำพิพากษาอันชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำสั่งศาลแรงงานกลางให้ศาลนั้นพิพากษาใหม่ให้ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2019-2022/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยไม่ยินยอมและการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า บริษัทโจทก์จะเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างจากข้อตกลงเดิมเป็นให้ลูกจ้างทำงานเป็นผลัดหรือเป็นกะโดยลูกจ้างไม่ยินยอมไม่ได้เพราะการทำงานเป็นผลัดนั้นไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างการที่ลูกจ้างไม่ได้โต้แย้งประกาศระเบียบข้อบังคับการทำงานฉบับใหม่จะถือว่าลูกจ้างได้ยินยอมแล้วยังไม่ได้การไม่เข้าทำงานจึงมิใช่การหยุดงานหรือการนัดหยุดงานการเลิกจ้างจึงสืบเนื่องมาจากข้อเรียกร้องเกี่ยวกับสภาพการจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงยังมีผลบังคับอยู่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา123 โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์มีเจตนาที่จะเปลี่ยนแปลงข้อตกลงสภาพการจ้างหากจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างไม่เห็นด้วยก็ชอบที่จะโต้แย้งทันทีแต่ไม่อาจหยุดงานได้การหยุดงานจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายดังนี้ เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงซึ่งศาลแรงงานกลางฟังมาและไม่มีความตอนใดที่เป็นปัญหาข้อกฎหมายโดยชัดแจ้งจึงไม่เป็นอุทธรณ์ที่ศาลฎีกาจะรับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2008/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับการจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพและการชดใช้ค่าเสียหายจากการผิดนัด ตามระเบียบของธนาคาร
เมื่อตามระเบียบปฏิบัติงานของธนาคารจำเลยต้องจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพประเภทหนึ่งให้พนักงานเมื่อออกจากงานไม่ว่าจะด้วยเหตุใด ๆการที่รองผู้จัดการใหญ่ของจำเลยสั่งระงับการจ่ายเงินทุกประเภทที่โจทก์มีสิทธิได้รับเฉพาะคำสั่งที่ให้ระงับการจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพประเภทหนึ่งจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ซึ่งจำเลยต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายระหว่างผิดนัดคิดเป็นดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่มีคำสั่งจนถึงวันชำระเงินให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2004/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกล่าวอ้างหนี้ไม่สมบูรณ์จากดอกเบี้ยเกินอัตรากฎหมาย จำเลยต้องนำสืบพยานพิสูจน์
คำให้การของจำเลยทั้งสองที่ว่า จำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือกู้เงิน และจำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันตามฟ้องจริง แต่จำเลยที่ 1 ได้รับเงินจากโจทก์เพียง10,000 บาท เหตุที่จำนวนเงินในหนังสือสัญญาเป็น 16,000 บาท เพราะโจทก์นำดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไปรวมเข้าด้วยนั้น เป็นการกล่าวอ้างว่าหนี้ตามสัญญาบางส่วนไม่สมบูรณ์ มิใช่เป็นเรื่องที่กล่าวอ้างว่าสัญญาปลอมจำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงที่ตนกล่าวอ้างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84 เมื่อคู่ความต่างไม่สืบพยาน จำเลยทั้งสองต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
of 46