พบผลลัพธ์ทั้งหมด 459 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2004/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกล่าวอ้างหนี้ไม่สมบูรณ์จากดอกเบี้ยเกินอัตรากฎหมาย จำเลยต้องนำสืบพยานพิสูจน์
คำให้การของจำเลยทั้งสองที่ว่า จำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือกู้เงิน และจำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันตามฟ้องจริง แต่จำเลยที่ 1 ได้รับเงินจากโจทก์เพียง10,000 บาท เหตุที่จำนวนเงินในหนังสือสัญญาเป็น 16,000 บาท เพราะโจทก์นำดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไปรวมเข้าด้วยนั้น เป็นการกล่าวอ้างว่าหนี้ตามสัญญาบางส่วนไม่สมบูรณ์ มิใช่เป็นเรื่องที่กล่าวอ้างว่าสัญญาปลอมจำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงที่ตนกล่าวอ้างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84 เมื่อคู่ความต่างไม่สืบพยาน จำเลยทั้งสองต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1911/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการเรียกร้องหนี้จากบุคคลภายนอกที่มิได้เป็นลูกหนี้โดยตรงของผู้ล้มละลาย
ลูกหนี้ผู้ล้มละลายได้กู้เงินจากโจทก์แล้วนำไปให้สมาชิกของลูกหนี้กู้แล้วสมาชิกเอาเงินที่กู้ยืมมาจากลูกหนี้เอาไปให้ ล. กู้ยืมต่อ ล. จึงมิใช่ลูกหนี้ของลูกหนี้ผู้ล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจเรียกร้องให้ ล. ชำระเงินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1903/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานไม่ใช่คำวินิจฉัยที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย นายจ้างไม่ต้องปฏิบัติตามหากเห็นว่าไม่ถูกต้อง
พนักงานตรวจแรงงานได้ออกคำเตือนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานให้บริษัทโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ ฉ. ลูกจ้างโจทก์ คำเตือนนี้ไม่มีลักษณะเป็นคำวินิจฉัยชี้ขาดที่มีผลบังคับในกฎหมาย ทั้งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ก็มิได้ระบุกรณีฝ่าฝืนคำเตือนว่าเป็นผิดอาญา การออกคำเตือนจึงไม่ใช่การโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ และไม่ใช่กรณีที่จำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลบริษัทโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1902/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงาน การจ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน และความรับผิดของนายจ้าง
จำเลยจ้างให้โจทก์ทำงานจนกว่าจำเลยจะหาคนทำงานแทนโจทก์ได้ เป็นเวลากว่า 3 ปี จำเลยจึงหาคนมาทำงานแทนโจทก์ได้ จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ ดังนี้ โจทก์มิได้ตกลงรับจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่จำเลยและจำเลยจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นหากแต่เป็นเรื่องโจทก์ตกลงทำงานให้แก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างในหน้าที่ซึ่งจำเลยมอบให้ และจำเลยตกลงจะให้สินจ้างเป็นรายเดือนตลอดเวลาที่โจทก์ทำงานให้ ลักษณะของสัญญาจ้างระหว่างจำเลยกับโจทก์จึงเป็นสัญญาจ้างแรงงาน หาใช่สัญญาจ้างทำของไม่
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 45 ประกอบด้วยข้อ 10 และข้อ 32 ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีไม่น้อยกว่าปีละ 6 วัน และนายจ้างกับลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าสะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีไปรวมหยุดในปีอื่นก็ได้ เมื่อนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำ โดยลูกจ้างไม่มีความผิด นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน แม้ตามสภาพของงานโจทก์ต้องไปทำงานให้จำเลยสัปดาห์ละเพียง 2 หรือ3 วัน ก็ไม่มีกฎหมายหรือประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนดข้อยกเว้นไว้ว่าลูกจ้างไม่มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีอีกและไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กำหนดล่วงหน้าให้วันใดในแต่ละสัปดาห์เป็นวันทำงานซึ่งโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อน ฉะนั้น จึงจะถือว่านอกจากเวลาทำงานสัปดาห์ละ 2-3 วันแล้วนอกนั้นเป็นวันหยุดของโจทก์ทั้งสิ้นย่อมไม่ถูกต้อง การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำของจำเลยได้ทำงานให้จำเลยมาเป็นเวลากว่า 3 ปี โดยไม่เคยหยุดพักผ่อนประจำปีเลย จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีปีละ 6 วัน รวม 18 วัน
เมื่อจำเลยที่ 1 เท่านั้นที่เป็นนายจ้างซึ่งต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นแต่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล และไม่ปรากฏเหตุที่จะต้องรับผิดเป็นส่วนตัวต่อโจทก์ด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์และข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะเป็นเรื่องอำนาจฟ้อง ศาลฎีกายกขึ้นอ้างได้เอง
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 45 ประกอบด้วยข้อ 10 และข้อ 32 ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีไม่น้อยกว่าปีละ 6 วัน และนายจ้างกับลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าสะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีไปรวมหยุดในปีอื่นก็ได้ เมื่อนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำ โดยลูกจ้างไม่มีความผิด นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน แม้ตามสภาพของงานโจทก์ต้องไปทำงานให้จำเลยสัปดาห์ละเพียง 2 หรือ3 วัน ก็ไม่มีกฎหมายหรือประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนดข้อยกเว้นไว้ว่าลูกจ้างไม่มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีอีกและไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กำหนดล่วงหน้าให้วันใดในแต่ละสัปดาห์เป็นวันทำงานซึ่งโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อน ฉะนั้น จึงจะถือว่านอกจากเวลาทำงานสัปดาห์ละ 2-3 วันแล้วนอกนั้นเป็นวันหยุดของโจทก์ทั้งสิ้นย่อมไม่ถูกต้อง การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำของจำเลยได้ทำงานให้จำเลยมาเป็นเวลากว่า 3 ปี โดยไม่เคยหยุดพักผ่อนประจำปีเลย จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีปีละ 6 วัน รวม 18 วัน
เมื่อจำเลยที่ 1 เท่านั้นที่เป็นนายจ้างซึ่งต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นแต่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล และไม่ปรากฏเหตุที่จะต้องรับผิดเป็นส่วนตัวต่อโจทก์ด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์และข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะเป็นเรื่องอำนาจฟ้อง ศาลฎีกายกขึ้นอ้างได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1902/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงาน vs. จ้างทำของ, สิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปี, ความรับผิดของนายจ้างและกรรมการ
จำเลยจ้างให้โจทก์ทำงานจนกว่า จำเลยจะหาคนทำงานแทนโจทก์ได้ เป็นเวลากว่า 3 ปี จำเลยจึงหาคนมาทำงานแทนโจทก์ได้ จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ ดังนี้ โจทก์มิได้ตกลงรับจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งสำเร็จให้แก่จำเลย และจำเลยจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น หากแต่เป็นเรื่องโจทก์ตกลงทำงานให้แก่จำเลยผู้เป็นนายจ้าง ในหน้าที่ซึ่งจำเลยมอบให้ และจำเลยตกลงจะให้สินจ้างเป็นแรงงาน หาใช่สัญญาจ้างทำของไม่
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 45 ประกอบด้วย ข้อ 10 และข้อ 32 ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี ไม่น้อยกว่าปีละ 6 วัน และนายจ้างกับลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าสะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปี ไปรวมหยุดในปีอื่นก็ได้ เมื่อนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำโดยลูกจ้างไม่มีความผิด นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี เท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน แม้ตามสภาพของงานโจทก์ต้องไปทำงานให้จำเลยสัปดาห์ละเพียง 2 หรือ 3 วัน ก็ไม่มีกฎหมายหรือประกาศกระทรวงมหาดไทย กำหนดข้อยกเว้นไว้ว่าลูกจ้างไม่มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีอีก และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กำหนดล่วงหน้าให้วันใดในแต่ละสัปดาห์เป็นวันทำงานซึ่งโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อน ฉะนั้น จึงจะถือว่านอกจากเวลาทำงานสัปดาห์ละ 2-3 วัน แล้วนอกนั้นเป็นวันหยุดของโจทก์ทั้งสิ้นย่อมไม่ถูกต้อง การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำของจำเลยได้ทำงานให้จำลยมาเป็นเวลากว่า 3 ปี โดยไม่เคยหยุดพักผ่อนประจำปีเลย จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีละ 6 วัน รวม 18 วัน
เมื่อจำเลยที่ 1 เท่านั้นที่เป็นนายจ้างซึ่งต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล และไม่ปรากฏเหตุที่จะต้องรับเป็นส่วนตัวต่อโจทก์ด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์และข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะเป็นเรื่องอำนาจฟ้อง ศาลฎีกายกขึ้นอ้างได้เอง
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 45 ประกอบด้วย ข้อ 10 และข้อ 32 ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี ไม่น้อยกว่าปีละ 6 วัน และนายจ้างกับลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าสะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปี ไปรวมหยุดในปีอื่นก็ได้ เมื่อนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำโดยลูกจ้างไม่มีความผิด นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี เท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน แม้ตามสภาพของงานโจทก์ต้องไปทำงานให้จำเลยสัปดาห์ละเพียง 2 หรือ 3 วัน ก็ไม่มีกฎหมายหรือประกาศกระทรวงมหาดไทย กำหนดข้อยกเว้นไว้ว่าลูกจ้างไม่มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีอีก และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กำหนดล่วงหน้าให้วันใดในแต่ละสัปดาห์เป็นวันทำงานซึ่งโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อน ฉะนั้น จึงจะถือว่านอกจากเวลาทำงานสัปดาห์ละ 2-3 วัน แล้วนอกนั้นเป็นวันหยุดของโจทก์ทั้งสิ้นย่อมไม่ถูกต้อง การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำของจำเลยได้ทำงานให้จำลยมาเป็นเวลากว่า 3 ปี โดยไม่เคยหยุดพักผ่อนประจำปีเลย จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีละ 6 วัน รวม 18 วัน
เมื่อจำเลยที่ 1 เท่านั้นที่เป็นนายจ้างซึ่งต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล และไม่ปรากฏเหตุที่จะต้องรับเป็นส่วนตัวต่อโจทก์ด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์และข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะเป็นเรื่องอำนาจฟ้อง ศาลฎีกายกขึ้นอ้างได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการพิจารณาขึ้นเงินเดือนเป็นของนายจ้าง แม้มีหลักเกณฑ์ แต่ต้องพิจารณาครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่วางไว้
การให้บำเหน็จความชอบแก่พนักงานเป็นอำนาจโดยเฉพาะของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างหาใช่เป็นสิทธิของพนักงานไม่ การพิจารณาขึ้นเงินเดือนกรณีปกติหนึ่งขั้นมีหลักเกณฑ์วางไว้โจทก์ทั้งสองไม่ได้รับการพิจารณาขึ้นเงินเดือนเพราะเหตุข้อเดียวที่จำเลยอ้างว่าโจทก์มีวันลาป่วยเกินสิทธิข้ออ้างของจำเลยนี้ฟังไม่ได้ยังมีหลักเกณฑ์ข้ออื่น ๆ อีกที่จำเลยไม่ได้พิจารณาจำเลยจึงต้องพิจารณาความดีความชอบประจำปีของโจทก์ใหม่
แม้จำเลยจะมอบให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นใช้ดุลพินิจเลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีปกติหนึ่งขั้นของพนักงานตามหลักเกณฑ์และคำสั่งของจำเลยเพราะมีพนักงานอยู่เป็นจำนวนมากก็ตามแต่ขั้นสุดท้ายก็เป็นอำนาจของผู้อำนวยการธนาคารจำเลยที่จะพิจารณาสั่งและตามคำสั่งของจำเลยก็กำหนดไว้ชัดว่าผู้ที่จะสั่งขึ้นเงินเดือนหรือไม่ขึ้นเงินเดือนก็คือผู้อำนวยการธนาคารจำเลย กรณีจึงหาใช่เป็นอำนาจพิจารณาเด็ดขาดของผู้บังคับบัญชาชั้นต้นเท่านั้นไม่
แม้จำเลยจะมอบให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นใช้ดุลพินิจเลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีปกติหนึ่งขั้นของพนักงานตามหลักเกณฑ์และคำสั่งของจำเลยเพราะมีพนักงานอยู่เป็นจำนวนมากก็ตามแต่ขั้นสุดท้ายก็เป็นอำนาจของผู้อำนวยการธนาคารจำเลยที่จะพิจารณาสั่งและตามคำสั่งของจำเลยก็กำหนดไว้ชัดว่าผู้ที่จะสั่งขึ้นเงินเดือนหรือไม่ขึ้นเงินเดือนก็คือผู้อำนวยการธนาคารจำเลย กรณีจึงหาใช่เป็นอำนาจพิจารณาเด็ดขาดของผู้บังคับบัญชาชั้นต้นเท่านั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1898/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเสี่ยงการจับปลาในน่านน้ำต่างประเทศ นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินทดแทนหากลูกจ้างเสียชีวิตจากเหตุการณ์ไม่แน่นอน
เรือประมงที่เข้าไปจับปลาในน่านน้ำประเทศกัมพูชามิได้ถูกยิงเสมอไปผู้นำเรือเข้าไปจับปลาดังกล่าวจึงไม่อาจเล็งเห็นผลได้ว่าจะต้องถูกยิงหรือน่าจะถูกยิงได้รับอันตรายหรือถึงแก่ความตายโดยแน่แท้การที่ผู้ตายซึ่งเป็นไต้ก๋งเรือประมงของโจทก์นำเรือเข้าไปจับปลาในน่านน้ำดังกล่าวแล้วถูกยิงถึงแก่ความตายจึงมิใช่ผู้ตายประสบอันตรายเพราะเหตุจงใจให้ตนเองประสบอันตรายโจทก์จึงต้องจ่ายเงินทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1889/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการฟ้องของสหภาพแรงงาน และการบังคับใช้มติคณะรัฐมนตรีกับบริษัทเอกชน
บทบัญญัติมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เป็นเพียง กำหนดให้สหภาพแรงงานดำเนินกิจการต่าง ๆ โดยทางผู้แทนทั้งหลายที่เรียกว่าคณะกรรมการเท่านั้น และไม่มีมาตรา อื่นใดบังคับว่า สหภาพแรงงานจะดำเนินกิจการใด ๆ ได้ต้องอาศัยความเห็นชอบของคณะกรรมการทุกคน เมื่อข้อบังคับของสหภาพ แรงงานโจทก์มิได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น กรณีจึงต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 77 ว่าการจะทำความตกลงต่าง ๆ ในทางอำนวยกิจการของนิติบุคคลนั้น ให้เป็นไปตามเสียงข้างมาก ในหมู่ผู้จัดการทั้งหลายด้วยกัน
พระราชบัญญัติตั้งศาลแรงงาน ฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 36 ให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะมอบอำนาจให้สหภาพแรงงานซึ่งคนเป็นสมาชิก ดำเนินคดีที่เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานแทนลูกจ้างที่จะมอบอำนาจให้สหภาพแรงงาน ซึ่งตนเป็นสมาชิกดำเนินคดีที่เกี่ยวกับกฎหมาย แรงงานแทนลูกจ้าง ผู้นั้นได้เท่านั้น ไม่หมายถึงการฟ้องคดีในส่วนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสหภาพ แรงงานโดยเฉพาะ สหภาพแรงงานโจทก์มีวัตถุประสงค์ว่า เพื่อแสวงหาและคุ้มครองประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างและ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 98 (2) กำหนดให้สหภาพแรงงานมีอำนาจหน้าที่จัดการและดำเนินการเพื่อให้สมาชิกได้รับประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงาน ฉะนั้น เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ วินิจฉัยชี้ขาดข้อเรียกร้องของโจทก์ไปในทางเสื่อมประโยชน์ ของสมาชิก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนคำชี้ขาดได้
พระราชบัญญัติตั้งศาลแรงงาน ฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 36 ให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะมอบอำนาจให้สหภาพแรงงานซึ่งคนเป็นสมาชิก ดำเนินคดีที่เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานแทนลูกจ้างที่จะมอบอำนาจให้สหภาพแรงงาน ซึ่งตนเป็นสมาชิกดำเนินคดีที่เกี่ยวกับกฎหมาย แรงงานแทนลูกจ้าง ผู้นั้นได้เท่านั้น ไม่หมายถึงการฟ้องคดีในส่วนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสหภาพ แรงงานโดยเฉพาะ สหภาพแรงงานโจทก์มีวัตถุประสงค์ว่า เพื่อแสวงหาและคุ้มครองประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างและ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 98 (2) กำหนดให้สหภาพแรงงานมีอำนาจหน้าที่จัดการและดำเนินการเพื่อให้สมาชิกได้รับประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงาน ฉะนั้น เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ วินิจฉัยชี้ขาดข้อเรียกร้องของโจทก์ไปในทางเสื่อมประโยชน์ ของสมาชิก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนคำชี้ขาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1889/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสหภาพแรงงานฟ้องคดี – เสียงข้างมากกรรมการ – สิทธิลูกจ้างมอบอำนาจ – สัญญาเช่าผูกพันตามมติคณะรัฐมนตรี
บทบัญญัติมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 เป็นเพียงกำหนดให้สหภาพแรงงานดำเนินกิจการต่าง ๆ โดยทางผู้แทนทั้งหลายที่เรียกว่าคณะกรรมการเท่านั้น และไม่มีมาตราอื่นใดบังคับว่า สหภาพแรงงานจะดำเนินกิจการใด ๆ ได้ต้องอาศัยความเห็นชอบของคณะกรรมการทุกคน เมื่อข้อบังคับของสหภาพแรงงานโจทก์มิได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่นกรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 77 ว่าการจะทำความตกลงต่างๆ ในทางอำนวยกิจการของนิติบุคคลนั้น ให้เป็นไปตามเสียงข้างมากในหมู่ผู้จัดการทั้งหลายด้วยกัน
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ.2522 มาตรา 36 ให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะมอบอำนาจให้สหภาพแรงงานซึ่งตนเป็นสมาชิกดำเนินคดีที่เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานแทนลูกจ้างผู้นั้นได้เท่านั้น ไม่หมายถึงการฟ้องคดีในส่วนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสหภาพแรงงานโดยเฉพาะ สหภาพแรงงานโจทก์มีวัตถุประสงค์ว่า เพื่อแสวงหาและคุ้มครองประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างและพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา98(2) กำหนดให้สหภาพแรงงานมีอำนาจหน้าที่จัดการและดำเนินการเพื่อให้สมาชิกได้รับประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงาน ฉะนั้น เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์วินิจฉัยชี้ขาดข้อเรียกร้องของโจทก์ไปในทางเสื่อมประโยชน์ของสมาชิกโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนคำชี้ขาดได้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ.2522 มาตรา 36 ให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะมอบอำนาจให้สหภาพแรงงานซึ่งตนเป็นสมาชิกดำเนินคดีที่เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานแทนลูกจ้างผู้นั้นได้เท่านั้น ไม่หมายถึงการฟ้องคดีในส่วนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสหภาพแรงงานโดยเฉพาะ สหภาพแรงงานโจทก์มีวัตถุประสงค์ว่า เพื่อแสวงหาและคุ้มครองประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างและพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา98(2) กำหนดให้สหภาพแรงงานมีอำนาจหน้าที่จัดการและดำเนินการเพื่อให้สมาชิกได้รับประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงาน ฉะนั้น เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์วินิจฉัยชี้ขาดข้อเรียกร้องของโจทก์ไปในทางเสื่อมประโยชน์ของสมาชิกโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนคำชี้ขาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1888/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดชอบของรองผู้จัดการใหญ่ต่อการสูญหายของทรัพย์สิน และขอบเขตค่าชดเชยตามสัญญาจ้าง
ขณะเกิดเหตุโจทก์ดำรงตำแหน่งรองผู้จัดการใหญ่และรักษาการในตำแหน่งผู้จัดการใหญ่ของชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 การที่ปุ๋ยในคลังสินค้าของจำเลยที่ 1 หายไปโจทก์ให้คนไปสืบได้เพียง 7 วัน จึงยังมิได้รายงานให้คณะกรรมการดำเนินการของจำเลยที่ 1 ทราบ เป็นการใช้ดุลพินิจปฏิบัติหน้าที่ตามที่เห็นสมควรในพฤติการณ์เช่นนั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นการไม่รับผิดชอบในหน้าที่หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบแบบแผนข้อบังคับและคำสั่งของจำเลยที่ 1 หรือมิได้กระทำการโดยซื่อสัตย์สุจริตตามความในสัญญาจ้าง และหาใช่เป็นเรื่องไม่ดูแลรักษาทรัพย์สินตามระเบียบของจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับเรื่องวินัยไม่ จึงไม่ผิดวินัยหรือเงื่อนไขในสัญญาจ้างการที่โจทก์แถลงขอเรียกเงินตามฟ้องเพียง 230,000 บาทเห็นได้ว่าโจทก์ติดใจเรียกเงินทุกประเภทรวมทั้งค่าชดเชยด้วยทั้งไม่ติดใจเรียกดอกเบี้ยจากเงินที่กล่าวนี้อีกเมื่อศาลแรงงานกลางใช้ดุลพินิจลดเงินที่โจทก์ติดใจเรียกร้องลงมาเหลือเพียง 159,64246 บาท เงินจำนวนนี้จึงรวมค่าชดเชยไว้แล้วนั่นเอง เมื่อเงินจำนวนนี้สูงกว่าค่าชดเชยที่โจทก์อ้างว่ามีสิทธิได้รับตามกฎหมายแล้วโจทก์จึงไม่อาจอ้างว่าศาลใช้ดุลพินิจลดค่าชดเชยลงให้โจทก์ได้รับต่ำกว่าที่กฎหมายบังคับไว้