คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ภิญโญ ธีรนิติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 459 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1842/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งไล่ออกลูกจ้าง: การปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งมอบอำนาจของผู้ว่าการรถไฟฯ
โจทก์เป็นลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 โจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงฐานทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงอันเป็นความผิดซึ่งมีโทษถึงไล่ออกเมื่อมีการตั้งกรรมการสอบสวนกรณีที่โจทก์ถูกกล่าวหาดังกล่าวและจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาได้พิจารณาพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนแล้วเห็นว่าโจทก์ทำความผิดจริงก็มีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงานได้ตามที่ได้รับมอบอำนาจ โดยมิต้องนำเรื่องเสนอที่ประชุมผู้อำนวยการฝ่ายและหัวหน้าสำนักงานให้พิจารณาเสียก่อนไม่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบการและคำสั่งของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1799/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตายจากการทำร้ายร่างกายโดยเจตนา ไม่ถือเป็นการประสบอันตรายจากการทำงาน
แม้จะฟังว่า ผู้ช่วยผู้จัดการบริษัท อ. สั่งให้ผู้ตายดำเนินการให้ ป. ย้ายออกไปจากห้องพักของบริษัท ซึ่ง ป. อยู่โดยไม่มีสิทธิ ผู้ตายสั่งให้คนตาม ป. ไป พบ ป.ไม่ไป ผู้ตายจึงไปพบ ป. เพื่อเจรจาเรียกห้องพักคืน แต่ในการเจรจานั้นได้ความว่า ผู้ตายได้ทำร้ายร่างกาย ป. ก่อน โดยไม่จำเป็น ดังนี้ เป็นเรื่องผู้ตายทำร้ายร่างกาย ป.ไปตามเจตนาของผู้ตายเอง หาเกี่ยวเนื่องกับการเจรจาเรียกห้องพักคืนอันเป็นการทำงานให้นายจ้างไม่ เมื่อ ป. บันดาลโทสะ ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย ความตายของผู้ตายจึงเกิดขึ้นเนื่องจากผู้ตายทำร้ายร่างกาย ป.ก่อน ถือไม่ได้ว่าผู้ตายประสบอันตรายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างอันจะทำให้ภริยาของผู้ตายมีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนเงินทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1799/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความสัมพันธ์ของการบาดเจ็บจากการทำงานเพื่อขอรับเงินทดแทน: การทำร้ายร่างกายก่อนการถูกยิงไม่ถือเป็นอันตรายจากการทำงาน
แม้จะฟังว่าผู้ช่วยผู้จัดการบริษัท อ. สั่งให้ผู้ตายดำเนินการให้ ป. ย้ายออกไปจากห้องพักของบริษัทซึ่ง ป. อยู่โดยไม่มีสิทธิ ผู้ตายสั่งให้คนตาม ป. ไปพบ ป. ไม่ไป ผู้ตายจึงไปพบ ป. เพื่อเจรจาเรียกห้องพักคืน แต่ในการเจรจานั้นได้ความว่าผู้ตายได้ทำร้ายร่างกาย ป. ก่อนโดยไม่จำเป็น ดังนี้ เป็นเรื่องผู้ตายทำร้ายร่างกาย ป. ไปตามเจตนาของผู้ตายเองหาเกี่ยวเนื่องกับการเจรจาเรียกห้องพักคืนอันเป็นการทำงานให้นายจ้างไม่ เมื่อ ป. บันดาลโทสะใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย ความตายของผู้ตายจึงเกิดขึ้นเนื่องจากผู้ตายทำร้ายร่างกาย ป. ก่อน ถือไม่ได้ว่าผู้ตายประสบอันตรายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างอันจะทำให้ภริยาของผู้ตายมีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1795/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีประกันภัย: สัญญาประกันภัยมีอายุความ 2 ปีนับจากวันเกิดเหตุ ไม่ใช่ 1 ปีตามมูลละเมิด
จำเลยร่วมเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุความรับผิดของจำเลยร่วมเกิดขึ้นตามสัญญาประกันภัย การที่โจทก์ฟ้องหรือขอให้ศาลเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีเพื่อใช้ค่าสินไหมทดแทน ไม่ใช่ฟ้องในมูลหนี้ละเมิด แต่โจทก์ฟ้องโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาประกันภัย จึงมีอายุความ2ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 882 วรรคแรก จะนำอายุความ 1 ปี ตามมาตรา448 วรรคแรกบังคับไม่ได้
เมื่อฟังว่าจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดเนื่องจากฟ้องโจทก์ขาดอายุความเรียกร้องจากจำเลยที่ 3 แล้ว จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยก็ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1795/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้รับประกันภัยตามสัญญาสัญญาประกันภัย ไม่ใช่ละเมิด
จำเลยร่วมเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ ความรับผิดของจำเลยร่วมเกิดขึ้นตามสัญญาประกันภัย การที่โจทก์ฟ้องหรือขอให้ศาลเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีเพื่อใช้ค่าสินไหมทดแทน ไม่ใช่ฟ้องในมูลหนี้ละเมิด แต่โจทก์ฟ้องโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาประกันภัย จึงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคแรก จะนำอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 448 วรรคแรก บังคับไม่ได้
เมื่อฟังว่า จำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดเนื่องจากฟ้องโจทก์ขาดอายุความเรียร้องจากจำเลยที่ 3 แล้ว จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัย ก็ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานในการพิพากษาเกินคำขอเพื่อความเป็นธรรมในคดีเลิกจ้าง
แม้โจทก์มิได้ขอค่าจ้างในกรณีเลิกจ้างโดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้ามาในคำฟ้อง ศาลแรงงานกลางก็มีอำนาจที่จะพิพากษาเกินคำขอ โดยให้จำเลยชำระเงินค่าจ้างแก่โจทก์คนละ15 วันในคดีดังกล่าวได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52ในเมื่อพิจารณาแล้วเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลแรงงานมีอำนาจพิพากษาเกินคำขอได้หากเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรม แม้โจทก์มิได้ขอค่าจ้างในคำฟ้อง
แม้โจทก์มิได้ขอค่าจ้างในกรณีเลิกจ้าง โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้ามาในคำฟ้อง ศาลแรงงานกลางก็มีอำนาจที่จะพิพากษาเกินคำขอ โดยให้จำเลยชำระเงินค่าจ้างแก่โจทก์คนละ 15 วันในคดีดังกล่าวได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 ในเมื่อพิจารณาแล้วเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1763-1764/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ค่าสินไหมทดแทนประกันภัยต่อบุคคลภายนอก และการรับผิดของผู้รับประกันภัยต่อค่าเสียหายจากการขาดความสามารถประกอบการงาน
ข้อความตามกรมธรรม์ประกันภัยเกี่ยวกับความรับผิดต่อบุคคลภายนอกที่ว่า ผู้รับประกันภัยจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดตามกฎหมายเมื่อความบาดเจ็บหรือมรณะของบุคคลภายนอกเนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัยนั้นมีความหมายว่า ในกรณีที่บุคคลภายนอกได้รับบาดเจ็บหรือถึงแก่ความตายผู้เอาประกันภัยจำต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกตามกฎหมายในค่าเสียหายอย่างไรแล้วผู้รับประกันภัยจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกในนามของผู้เอาประกันภัยดังนั้นเมื่อบุคคลภายนอกซึ่งได้รับบาดเจ็บชอบที่จะเรียกร้องให้ผู้เอาประกันภัยใช้ค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบการงานได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444 ผู้รับประกันภัยก็ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้ด้วย
โจทก์อ้างสำนวนการสอบสวนและเรียกสำนวนการสอบสวนนั้นมาเป็นพยานโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วแต่พนักงานอัยการส่งสำนวนการสอบสวนมาหลังจากโจทก์จำเลยสืบพยานเสร็จแล้วหากจำเลยเห็นว่าสำนวนการสอบสวนนั้นไม่ถูกต้องทำให้จำเลยเสียเปรียบจำเลยก็ชอบที่จะอ้างพยานหลักฐานเพิ่มเติมตามสิทธิที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิได้ห้ามรับฟังพยานเอกสารที่มิได้มีการนำสืบพยานบุคคลประกอบศาลย่อมมีอำนาจรับฟังและใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานเอกสารดังกล่าวประกอบพยานหลักฐานอื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1756/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจเนื่องจากขาดคุณสมบัติอายุเกิน 60 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46,(ฉบับที่ 2) ข้อ 1 อันเป็นประกาศที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ออกจากงาน ไม่มีข้อยกเว้นไว้เป็นพิเศษแก่กรณีที่พนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งต้องออกจากงานเพราะเหตุขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามด้วย การที่พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงานเพราะเหตุนี้ย่อมต้องถือว่าเป็นการออกเพราะการเลิกจ้างด้วย
การที่โจทก์เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจมาตรา 9(2) เพราะมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์แล้วและต้องพ้นจากตำแหน่งนั้น เห็นได้ว่าพระราชบัญญัตินี้มิได้ยกเว้นว่าการพ้นจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามไม่ให้ถือว่าเป็นการออกจากงานเพราะการเลิกจ้าง และการที่มีการกำหนดคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจในรูปของพระราชบัญญัติก็เพราะรัฐต้องการให้รัฐวิสาหกิจทั้งหลายใช้ข้อบังคับในเรื่องนี้ให้เป็นระเบียบเดียวกัน และมุ่งหมายจะให้เป็นข้อบังคับที่มั่นคงถาวรไม่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายมิใช่จะถือว่ามีผลยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานไปในตัวนอกจากนี้แม้พระราชบัญญัติดังกล่าวจะใช้คำว่า "พ้นจากตำแหน่ง" ผลก็เท่ากับให้รัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นนายจ้างจัดการให้ลูกจ้างออกจากงานอันต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้างอยู่นั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1756/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจเนื่องจากขาดคุณสมบัติ อายุเกิน 60 ปี และสิทธิในการได้รับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46, (ฉบับที่ 2) ข้อ 1 อันเป็นประกาศที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ออกจากงาน ไม่มีข้อยกเว้นไว้เป็นพิเศษ แก่กรณีที่พนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งต้องออกจากงานเพราะเหตุขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามด้วย การที่พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงาน เพราะเหตุนี้ย่อมตั้งถือว่าเป็นการออกเพราะการเลิกจ้างด้วย
การที่โจทก์เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 (2) เพราะมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ แล้วและต้องพ้นจากตำแหน่งนั้น เห็นได้ว่า พระราชบัญญัตินี้มิได้ยกเว้นว่า การพ้นจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามไม่ให้ถือว่าเป็นการออกจากงานเพราะการเลิกจ้าง และการที่มีการกำหนดคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ในรูปของพระราชบัญญัติก็เพราะรัฐต้องการให้รัฐวิสาหกิจทั้งหลายใช้ข้อบังคับในเรื่องนี้ให้เป็นระเบียบเดียวกัน และมุ่งหมายจะให้เป็นข้อบังคับที่มั่นคงถาวรไม่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย มิใช่จะถือว่า มีผลยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานไปในตัว นอกจากนี้แม้พระราชบัญญัติดังกล่าวจะใช้คำว่า พ้นจากตำแหน่ง ผลก็เท่ากับให้รัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นนายจ้างจัดการให้ลูกจ้างออกจากงานอันต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้างอยู่นั่นเอง
of 46