พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4159/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีไม้สักแปรรูปและไม้สักอันยังมิได้แปรรูปเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานมีไม้สักแปรรูปเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 48 วรรคหนึ่ง, 73 วรรคสอง (1) ส่วนความผิดฐานมีไม้สักอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 48 วรรคหนึ่ง, 69 วรรคสอง (1) ความผิดทั้งสองฐานอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแยกต่างหากจากกันได้ แม้จำเลยจะมีไม้ของกลางไว้ในครอบครองคราวเดียวกันก็ตาม การกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน หาใช่เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดกฎหมายหลายบทไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7490/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีอาญาที่ศาลต้องพิจารณาความชัดเจนของคำรับสารภาพและข้อหาที่ฟ้อง รวมถึงการแก้ไขคำพิพากษาที่ผิดพลาดด้านกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2496 มาตรา 27 และมาตรา 27 ทวิ เป็นคนละฐานความผิดกัน และมีบทกำหนดโทษแตกต่างกัน ทั้งตามคำฟ้องโจทก์แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในข้อหาใดข้อหาข้อหนึ่งเพียงข้อหาเดียวดังนั้นจะลงโทษจำเลยที่ 1 ทั้งสองข้อหาไม่ได้ คำรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ที่ว่า ขอให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการนั้นไม่ชัดเจนพอจะชี้ขาดว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำผิดฐานใด และเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบต่อไปให้ได้ความถึงข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 โดยชัดแจ้ง เพื่อศาลจะได้นำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาปรับบทลงโทษได้ และการที่ศาลจะเลือกปรับบทลงโทษจำเลยได้นั้นหมายถึงกรณีที่ข้อเท็จจริงในคดีเป็นอันยุติแล้วว่าจำเลยได้กระทำอย่างไร หากข้อเท็จจริงยังไม่เป็นที่ชัดแจ้งแล้ว ศาลก็ไม่อาจวินิจฉัยได้ว่าจำเลยมีความผิดฐานใดหรือไม่เมื่อโจทก์ไม่สืบพยาน ศาลจะลงโทษจำเลยที่ 1 โดยอาศัยเพียงแต่คำรับสารภาพดังกล่าวหาได้ไม่ และคดีไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสอบถามคำให้การจำเลยที่ 1ใหม่ ศาลต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานมีไม้ยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองมาด้วยนั้นเป็นการไม่ชอบ เพราะคำขอท้ายฟ้องโจทก์มิได้ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 69 อันเป็นมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดมาด้วย ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษในความผิดข้อหาดังกล่าว ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนและฟ้องคดีอาญา: การกำหนดเขตอำนาจและขอบเขตการสอบสวนความผิดหลายกระทง
คดีนี้ไม่ว่าความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำเภอ ดอนสักจังหวัดสุราษฎร์ธานีหรือเกิดในเขตอำเภอ ขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชก็ตามแต่เมื่อปรากฎว่าจำเลยทั้งเจ็ดมีที่อยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชแล้วพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ขนอม ย่อมมีอำนาจสอบสวนความผิดคดีนี้ได้การสอบสวนจึงชอบแล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนในท้องที่ดังกล่าวได้ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา134นั้นหาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่แม้เดิมตั้งข้อหาหนึ่งแต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหาอื่นด้วยก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาหลังตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา120แล้วทั้งการทำไม้หวงห้ามการแปรรูปไม้ในเขตควบคุมการมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองและการมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการกระทำอันเป็นความผิดต่างกรรมกันดังนั้นแม้จะมิได้มีการแจ้งข้อหาจำเลยที่4และที่7ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปแต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหานี้ด้วยก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหานี้แล้วโจทก์มีอำนาจฟ้องศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่4และที่7ในความผิดข้อหานี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีอาญา: พิจารณาจากภูมิลำเนาจำเลย และการสอบสวนความผิดต่างกรรม
คดีนี้ไม่ว่าความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำเภอ ดอนสักจังหวัดสุราษฎร์ธานีหรือเกิดในเขตอำเภอ ขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชก็ตามแต่เมื่อปรากฎว่าจำเลยทั้งเจ็ดมีที่อยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชแล้วพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ขนอม ย่อมมีอำนาจสอบสวนความผิดคดีนี้ได้การสอบสวนจึงชอบแล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนในท้องที่ดังกล่าวได้ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา134นั้นหาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่แม้เดิมตั้งข้อหาหนึ่งแต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหาอื่นด้วยก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาหลังตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา120แล้วทั้งการทำไม้หวงห้ามการแปรรูปไม้ในเขตควบคุมการมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองและการมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการกระทำอันเป็นความผิดต่างกรรมกันดังนั้นแม้จะมิได้มีการแจ้งข้อหาจำเลยที่4และที่7ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปแต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหานี้ด้วยก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหานี้แล้วโจทก์มีอำนาจฟ้องศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่4และที่7ในความผิดข้อหานี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนและฟ้องคดีอาญา: เขตอำนาจ, การแจ้งข้อหา, ความผิดต่างกรรม
คดีนี้ไม่ว่าความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำเภอดอนสัก จังหวัด-สุราษฎร์ธานี หรือเกิดในเขตอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ก็ตามแต่เมื่อปรากฎว่าจำเลยทั้งเจ็ดมีที่อยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานี-ตำรวจภูธรอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชแล้ว พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอขนอม ย่อมมีอำนาจสอบสวนความผิดคดีนี้ได้ การสอบสวนจึงชอบแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนในท้องที่ดังกล่าวได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธี-พิจารณาความอาญา มาตรา 134 นั้น หาได้หมายความว่า พนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ แม้เดิมตั้งข้อหาหนึ่ง แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหาอื่นด้วย ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาหลังตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 120 แล้ว ทั้งการทำไม้หวงห้าม การแปรรูปไม้ในเขตควบคุม การมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครอง และการมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป โดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการกระทำอันเป็นความผิดต่างกรรมกัน ดังนั้นแม้จะมิได้มีการแจ้งข้อหาจำเลยที่ 4 และที่ 7 ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหานี้ด้วย ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหานี้แล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 4 และที่ 7ในความผิดข้อหานี้ได้
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธี-พิจารณาความอาญา มาตรา 134 นั้น หาได้หมายความว่า พนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ แม้เดิมตั้งข้อหาหนึ่ง แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหาอื่นด้วย ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาหลังตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 120 แล้ว ทั้งการทำไม้หวงห้าม การแปรรูปไม้ในเขตควบคุม การมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครอง และการมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป โดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการกระทำอันเป็นความผิดต่างกรรมกัน ดังนั้นแม้จะมิได้มีการแจ้งข้อหาจำเลยที่ 4 และที่ 7 ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหานี้ด้วย ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหานี้แล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 4 และที่ 7ในความผิดข้อหานี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำว่า “ครอบครอง” ใน พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ครอบคลุมทั้งการครอบครองเพื่อตนเองและแทนผู้อื่น
คำว่า "ครอบครอง" ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ มิได้หมายความเช่นเดียวกับคำว่า "สิทธิครอบครอง" ตาม ป.พ.พ. แต่มีความหมายกว้างกว่าโดยหมายความรวมถึงครอบครองเพื่อตนเองและครอบครองแทนผู้อื่นด้วย เพราะไม่มีกฎหมายใดจำกัดว่าต้องเป็นการครอบครองเพื่อตนเองเท่านั้นจึงจะเป็นความผิด อีกทั้งในทางอาญาการร่วมกันครอบครองก็เป็นความผิดเช่นเดียวกัน การที่จำเลยครอบครองไม้หวงห้ามเพื่อนำส่งโรงเลื่อยซึ่งเป็นนายจ้างจึงเป็นความผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1912/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางอาญาฐานทำไม้และมีไม้หวงห้าม โดยศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับไม่ถูกต้อง และการเพิ่มโทษจำคุกในชั้นฎีกาทำไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำไม้โดยตัดฟันไม้ยาง กับจำเลยมีไม้ยางอันเป็นไม้หวงห้าม ยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาต และคำขอท้ายฟ้องโจทก์ ได้ระบุอ้าง พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 ซึ่งเป็นบทมาตราความผิดและมาตรา 31 ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษ กับอ้างพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2484 มาตรา 69 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2503 มาตรา 12 ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษผู้ที่ฝ่าฝืนมีไม้ยาง ยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาต เพียงแต่โจทก์มิได้อ้าง พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 มาตรา 3 ที่ให้ยกเลิกความในมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2489 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2503 แล้วบัญญัติความใหม่ขึ้นแทนเท่านั้น ตามความที่บัญญัติขึ้นใหม่ยังคงเรียกว่ามาตรา 31 และ มาตรา 69 อยู่นั่นเอง การที่จำเลยกระทำความผิดหลังจากใช้กฎหมายซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมใหม่แล้ว แต่โจทก์มิได้ระบุอ้างพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงมิทำให้ฟ้องโจทก์ขาดความสมบูรณ์ เมื่อศาลฟังว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนเป็นความผิดตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งมีบทกำหนดโทษไว้ในมาตรา 31 และ พระราชบัญญัติป่าไม้ มาตรา 69 แล้ว ศาลก็ลงโทษจำเลยตามกำหนดโทษในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2522ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยต่ำกว่า อัตราโทษขั้นต่ำ ตามที่กฎหมายกำหนดที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำคุกจำเลยเพิ่มขึ้น เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกา ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยเพิ่มขึ้นไม่ได้
โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลย ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตามศาลชั้นต้น กับลงโทษปรับจำเลยแล้วรอการลงโทษจำคุกได้ และหากปรากฏว่า ศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับจำเลยน้อยกว่า ที่กฎหมายกำหนด ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษปรับจำเลยตามกฎหมายกำหนดตามที่โจทก์ฎีกาได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยต่ำกว่า อัตราโทษขั้นต่ำ ตามที่กฎหมายกำหนดที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำคุกจำเลยเพิ่มขึ้น เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกา ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยเพิ่มขึ้นไม่ได้
โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลย ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตามศาลชั้นต้น กับลงโทษปรับจำเลยแล้วรอการลงโทษจำคุกได้ และหากปรากฏว่า ศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับจำเลยน้อยกว่า ที่กฎหมายกำหนด ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษปรับจำเลยตามกฎหมายกำหนดตามที่โจทก์ฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 424/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชักลากไม้ผิดกฎหมาย แม้ไม่ได้ครอบครองไม้เอง ก็มีความผิดฐานชักลากโดยไม่ได้รับอนุญาต
ไม้ของกลางเป็นของแม่ยายจำเลย จำเลยเพียงรับจ้างหรือช่วยเหลือชักลาก ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีไม้ของกลางไว้ในครอบครองอันจะต้องได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติป่าไม้ แต่การที่จำเลยทำการชักลากไม้ของกลางโดยรู้อยู่ว่าไม้ของกลางเป็นไม้ผิดกฎหมายและไม่ได้รับอนุญาตให้ชักลาย จำเลยต้องมีความผิดฐานชักลายไม้ของกลางโดยไม่รับอนุญาต
แม้ทางพิจารณาได้ความว่าเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ 2 ตำบลแต่โจทก์บรรยายฟ้องว่า เหตุเกิดที่ตำบลหนึ่งใน 2 ตำบลนั้นเพียงตำบลเดียว แันเป็นตำบลที่เจ้าพนักงานตำรวจพบการกระทำผิดของจำเลยและจับจำเลยได้ เช่นนี้ ฟ้องก็สมบูรณ์ และเมื่อจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ก็ไม่เป็นเหตุให้ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์.
แม้ทางพิจารณาได้ความว่าเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ 2 ตำบลแต่โจทก์บรรยายฟ้องว่า เหตุเกิดที่ตำบลหนึ่งใน 2 ตำบลนั้นเพียงตำบลเดียว แันเป็นตำบลที่เจ้าพนักงานตำรวจพบการกระทำผิดของจำเลยและจับจำเลยได้ เช่นนี้ ฟ้องก็สมบูรณ์ และเมื่อจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ก็ไม่เป็นเหตุให้ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 424/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชักลากไม้ผิดกฎหมาย แม้รับจ้างแต่รู้ว่าเป็นไม้ผิดกฎหมาย มีความผิดฐานชักลากไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต
ไม้ของกลางเป็นของแม่ยายจำเลย จำเลยเพียงรับจ้างหรือช่วยเหลือชักลากยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีไม้ของกลางไว้ในครอบครองอันจะต้องได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติป่าไม้ แต่การที่จำเลยทำการชักลากไม้ของกลางโดยรู้อยู่ว่าไม้ของกลางเป็นไม้ผิดกฎหมายและไม่ได้รับอนุญาตให้ชักลากจำเลยต้องมีความผิดฐานชักลากไม้ของกลางโดยไม่รับอนุญาต
แม้ทางพิจารณาได้ความว่า เป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ 2 ตำบล แต่โจทก์บรรยายฟ้องว่าเหตุเกิดที่ตำบลหนึ่งใน 2 ตำบลนั้นเพียงตำบลเดียว อันเป็นตำบลที่เจ้าพนักงานตำรวจพบการกระทำของจำเลยและจับจำเลยได้เช่นนี้ ฟ้องก็สมบูรณ์และเมื่อจำเลยมิได้หลงต่อสู้ก็ไม่เป็นเหตุให้ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์
แม้ทางพิจารณาได้ความว่า เป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ 2 ตำบล แต่โจทก์บรรยายฟ้องว่าเหตุเกิดที่ตำบลหนึ่งใน 2 ตำบลนั้นเพียงตำบลเดียว อันเป็นตำบลที่เจ้าพนักงานตำรวจพบการกระทำของจำเลยและจับจำเลยได้เช่นนี้ ฟ้องก็สมบูรณ์และเมื่อจำเลยมิได้หลงต่อสู้ก็ไม่เป็นเหตุให้ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์